จิรายุส เนาวเกตุ
นายจิรายุส เนาวเกตุ (15 สิงหาคม พ.ศ. 2492) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล 3 สมัย ปัจจุบันเป็นแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติประจำจังหวัดสตูล[1] และเป็นประธานสมาพันธ์ นปช.ภาคใต้[2]
จิรายุส เนาวเกตุ | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2492 อำเภอละงู จังหวัดสตูล |
พรรคการเมือง | ประชาชาติ |
ประวัติ แก้ไข
จิรายุส เนาวเกตุ เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2492 เป็นบุตรของนายดนตร์ กับนางขจรกลิ่น เนาวเกตุ[3] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก [4]
งานการเมือง แก้ไข
จิรายุส ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกรวม 3 ครั้ง หลังจากนั้นเขาลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดสตูลอีกหลายครั้ง ในนามพรรคความหวังใหม่ (กลุ่มวาดะห์) พรรคมหาชน พรรคไทยรักไทย[5] แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้งอีกเลย ต่อมาเขาย้ายมาพักอาศัยและทำการเกษตรในจังหวัดพิษณุโลก กระทั่งในปี พ.ศ. 2557 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.พิษณุโลก สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อชาติ[6] และส่งบุตรชายลงสมัคร ส.ส.สตูล[7] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้ไข
จิรายุส เนาวเกตุ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[8]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[9]
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ “จตุพร” นำพลพรรคเสื้อแดงลุยเปิดเวทีปักษ์ใต้
- ↑ ยันนปช.วงแตก!เหตุความคิดเห็นต่างกัน
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2010-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรมการปกครอง
- ↑ https://www.fishmarket.co.th/images/uploads/Information/report_for_year/report-56.pdf
- ↑ ปราศรัยย่อย ทรท.ที่สตูลคนแค่ร้อย - “จิรายุส” ฟุ้งแก้จนต้องเลือก “แม้ว”
- ↑ รายงาน : เก็บตกบัญชีรายชื่อ พรรคการเมือง
- ↑ สีสันโค้งสุดท้ายสตูล ผู้สมัครสส. ขึ้นซาเล้งอ้อนขอคะแนนเสียง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๔, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙