งบประมาณแผ่นดินของไทย พ.ศ. 2558

งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 เป็นงบประมาณเพื่อจัดหาทุนแก่การดำเนินการของรัฐบาลสำหรับปีงบประมาณ 2558

งบประมาณแผ่นดินของไทย พ.ศ. 2558
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
วันที่เสนอ18 สิงหาคม พ.ศ. 2557
เสนอโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เสนอต่อรัฐสภาไทย
รัฐสภาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557
รัฐมนตรีฯ คลังประจิน จั่นตอง (หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช.)
รายจ่ายทั้งหมด2.575 ล้านล้านบาท (กำหนด)
การขาดดุล2.5 แสนล้านบาท (กำหนด)
เว็บไซต์สำนักงบประมาณ
‹ 2557
2559 ›

วันที่ 10 มิถุนายน 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นชอบกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 วงเงิน 2.575 ล้านล้านบาท ขาดดุล 2.5 แสนล้านบาท เป็นงบลงทุน 17.5% มีการเตือนว่า หน่วยงานที่เบิกจ่ายต่ำกว่าเป้ามากอาจถูกตัดงบประมาณลงทุนในปีงบประมาณ 2558[1] ในถ้อยแถลงงบประมาณปี 2558 ของเขาในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติครั้งแรกในวันที่ 18 สิงหาคม 2557 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

สภานิติบัญญัติแห่งชาติผ่านร่างงบประมาณฯ ในวาระแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2557[2] ในวาระสองและสามเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2557 โดยคณะกรรมาธิการปรับลดงบประมาณ 16,800 ล้านบาท สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยืนยันว่าให้สิทธิสมาชิกอภิปรายได้เต็มที่ ปฏิเสธเร่งรัดการพิจารณา แต่ต้องการให้ทันเบิกจ่ายในปีงบประมาณใหม่[3] ออกเป็นพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2557[4] ต่อมาในปีพ.ศ. 2560 สำนักงบประมาณรายงานว่ารัฐบาลขาดดุลงบประมาณ จำนวนเงินรวม 552921.7 ล้านบาทสูงสุดในรอบ 11 ปี[5]

งบประมาณ แก้

หน่วยงาน

งบประมาณ (ล้านบาท)

งบประมาณกลาง 374,768
สำนักนายกรัฐมนตรี 33,417
กระทรวงกลาโหม 192,949
กระทรวงการคลัง 185,852
กระทรวงการต่างประเทศ 8,567
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 7,931
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 9,511
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 80,999
กระทรวงคมนาคม 110,722
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 30,245
กระทรวงพลังงาน 1,976
กระทรวงพาณิชย์ 7,247
กระทรวงมหาดไทย 340,171
กระทรวงยุติธรรม 22,021
กระทรวงแรงงาน 33,638
กระทรวงวัฒนธรรม 7,047
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8,896
กระทรวงศึกษาธิการ 501,326
กระทรวงสาธารณสุข 109,658
กระทรวงอุตสาหกรรม 5,856
ส่วนราชการอื่น 105,419
หน่วยงานของรัฐสภา 6,613
หน่วยงานของศาล 20,022
จังหวัดและกลุ่มจังหวัด 17,782
รัฐวิสาหกิจ 147,569
สภากาชาดไทย 5,981
กองทุนและกองทุนหมุนเวียน 136,923
ชดใช้เงินคงคลัง 41,965
รวม 2,575,000

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้