คุยเรื่องวิกิพีเดีย:ความโดดเด่น (บุคคล)
ความเห็นเพิ่มเติมในอดีต
แก้- ในอดีตได้เคยมีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง แต่ยังไม่มีการเขียน หรือเรียบเรียงแต่อย่างใด ซึ่งสามารถดูเพิ่มได้ที่
- แล้วพวกก่อการร้ายที่มีชื่อเสียงละครับ เช่น บิน ลาดิน, โช ซึงฮึย, ตี๋ใหญ่ รู้สึกว่าที่เขียนมานี้ยังไม่ครอบคลุม --Octra Dagostino 00:30, 26 สิงหาคม 2551 (ICT)
- ก็สมควรแน่นอนครับ เพราะคนทั่วไปรู้จักนี่ (ไม่งั้น บินลาเดน คงตีปีกแหงๆ แถมเดี๋ยวโดนไร้สาระฯแซวว่าไม่มีนะ จะบอกให้)--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง จงเหวิน) 00:34, 26 สิงหาคม 2551 (ICT)
- คุณ Octra Dagostino รู้ไหมว่า "วิกิพีเดียก็แก้ไขได้" --Manop | พูดคุย 00:37, 26 สิงหาคม 2551 (ICT)
- อ้าว ก็ไหนบอกว่าแสดงความคิดเห็นได้ไง --Octra Dagostino 06:46, 26 สิงหาคม 2551 (ICT)
- คุณ Octra Dagostino รู้ไหมว่า "วิกิพีเดียก็แก้ไขได้" --Manop | พูดคุย 00:37, 26 สิงหาคม 2551 (ICT)
- เพิ่มลงไปแล้วนะครับ ลองดู.--Octra Dagostino 13:14, 26 สิงหาคม 2551 (ICT)
- แจ่ม --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง จงเหวิน) 14:22, 26 สิงหาคม 2551 (ICT)
ชื่อเสียง
แก้- สงสัยนิดนึงนะคะ ขอเป็นวิทยาทานความรู้สักนิด คำว่ามีชื่อเสียงเนี่ย ชื่อเสียงทางด้านดีอย่างเดียวหรือเปล่าคะ? เคยคิดจะเขียนบทความรัสปูติน แต่ตอนนั้นโดนค้านว่าเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง (ในด้านไม่ดี ไม่ควรเขียนในวิกิ) เลยชะงักไป--Se:Rin 六 พูดคุย – 14:31, 26 สิงหาคม 2551 (ICT)
- ชื่อเสียงผมอธิบายไว้ในนั้นแล้วครับ รัสปูติน คนนี้เหรอ (มีหลายรัสปูติน) เกรกอรี เยฟิโมวิช รัสปูติน ถ้าวิกิภาษาอื่นมีได้ ทำไมภาษาไทยจะมีไม่ได้ --Octra Dagostino 15:43, 26 สิงหาคม 2551 (ICT)
นักวิชาเกิน เอ๊ย วิชาการ
แก้- ถ้าคนที่ได้เป็นที่ปรึกษา รมต หรือ รมช กระทรวงศึกษาฯ หรือ ทบวงหมาลัยนี่ จะนับไหมครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 12:32, 21 พฤศจิกายน 2551 (ICT)
เก็บกวาดบทความเรียลลิตี้โชว์
แก้- ส่วนนี้ถูกย้ายมาจาก วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (โครงการวิกิพีเดีย)
หลังจากที่ไล่เก็บกวาดบทความ เจอว่าบทความพวกเกี่ยวกับเรียลลิตี้โชว์ ที่มีปัญหา ก๊อปมาลง ไม่จัดรูปแบบ ภาพละเมิดลิขสิทธิ์ มีแต่เกร็ดข้อมูล ไม่มีอ้างอิง และไม่ใช่บุคคลสำคัญ และที่สำคัญพวกผู้ร่วมแข่งขันแต่ละคนน่าจะไม่ผ่านเกณฑ์ {{ใคร}} ยกเว้นแต่พวกที่มีผลงานด้านอื่นนอกเหนือจากการมาแข่งขัน เลยคิดว่าจะไล่จัดการคงเหลือแต่เพียง บทความรายการ บทความแต่ละฤดูกาล และผู้ชนะเลิศของแต่ละบทความ โดยคิดว่าจะเพิ่มหน้า "รายนามผู้แข่งขัน___" ถ้าใครมีความเห็นเพิ่มเติม อยากเพิ่มหรืออยากลดส่วนไหน รบกวนขอความเห็นด้วยครับ --Manop | พูดคุย 08:08, 1 มกราคม 2552 (ICT)
- ในที่นี้ผมเห็นด้วยกับคุณมานพทั้งหมดเลยครับ --lovekrittaya gwperi 10:17, 1 มกราคม 2552 (ICT)
- เห็นด้วย เพราะถ้าไม่ใช่บุคคลสำคัญในงานอื่น ๆ ด้วย ไม่ควรจะเอามาจัดเป็นหน้าของผู้เข้าแข่งขันนั้น ขนาดใน EN Wikipedia ยังไม่เป็นอย่างนี้เลย...ทางนั้นเขาทำแค่ List Of Contestant พอ ส่วนคนที่มีผลงานด้านอื่นและมีหน้าอยู่แล้ว (เช่น พอลล่า เทเลอร์ ใน TARA 2) เขาก็ Link ไปครับ
ส่วนประเด็นเรื่องภาพ การใช้ภาพ Fair Use เป็น Gallery ที่ไม่น่าจะเกี่ยวกับการแข่งขันโดยตรง มีคนบอกว่าไม่เหมาะสมนะ...อันนี้จะทำยังไงกันต่อไปก็อีกเรื่องนึง --Chris Vineyard Chat Contribs 10:21, 1 มกราคม 2552 (ICT)
- เรื่องการใช้ภาพ คงจะตามเรื่องนี้นะครับ วิกิพีเดีย:เนื้อหาที่ใช้งานโดยชอบธรรม หลายภาพที่โหลดมาเพื่อประดับบทความ ไม่ได้มีการทำให้บทความมีเนื้อหาเพิ่มขึ้น อ่านเข้าใจง่ายขึ้นแต่อย่างใด --Manop | พูดคุย 00:54, 4 มกราคม 2552 (ICT)
- รบกวนอ่านหน้า พูดคุย:เอกชัย วรรณแก้ว ประกอบด้วยครับ --Sry85 22:13, 15 มกราคม 2552 (ICT)
- ผมคิดว่า เริ่มสร้างบทความเรียลลิตี้ที่เป็นต้นแบบให้บทความประเภทนี้บทความอื่นๆ ตั้งแต่ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว 5 ดีไหมครับ เพราะรายการจะเริ่มเร็วๆ นี้แล้ว --~phenoCALYPSE~ 21:42, 2 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
บทความผู้สมัครผู้ว่าฯกทม
แก้- ส่วนนี้ถูกย้ายมาจาก วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (โครงการวิกิพีเดีย)
- จากวิกิพีเดีย:บุคคลที่มีชื่อเสียง# เงื่อนไขทั่วไป#ตัวอย่างเงื่อนไขเฉพาะทาง หัวข้อนักการเมือง ย่อที่สองกล่าวว่า "นักการเมืองที่ได้รับเลือกในระดับท้องถิ่น หรือนักการเมืองที่เสนอตัวแต่ไม่ได้รับเลือก ยังไม่สามารถรับประกันได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญ จนกว่าบุคคลเหล่านั้นจะถูกกล่าวถึงโดยตรงในแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ คือมิใช่แค่เพียงปรากฏชื่อในหัวข้อเรื่องอื่น และไม่อยู่ในผลงานใดๆ ที่บุคคลนั้นสร้างขึ้นเอง"
- และจาก en:Wikipedia:Biographies of living persons#Presumption in favor of privacy#Articles about people notable only for one event สรุปเอาไว้ในประโยคสุดท้ายเอาไว้ว่าอย่างชัดเจนว่า "Cover the event, not the person"
- ดังนั้น ผมขอเสนอให้ รวมบทความผู้สมัครฯที่ีเข้าข่ายว่าจะไม่ผ่านมาตรฐานความมีเชื่อเสียงเอาไว้ในบทความๆเดียวคือ รายนามและประวัติย่ิอของผู้เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552 ครับ
- มาตรการดังกล่าว อาจจะประยุกต์ใช้กับรายการเรียลริตีทั้งหลายที่กำลังปวดหัวได้นะครับ โดยใครยังไม่ดังพอ ก็ให้อยู่ในบทความเรียลริตี้ไปก่อน แต่ดังแล้ว ค่อยสร้างแยกออกมาได้ครับ
- --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 23:00, 11 มกราคม 2552 (ICT)
- ผมว่าหลายๆ คนมีชื่อเสียงอยู่แล้วด้วยนะครับ ส่วนนั้นคงข้ามไป ก็อาจจะเหลือบางคนที่ตกอยู่ในเกณฑ์นี้ (อย่างเช่นเรื่อง กงจักร ใจดี) จริงแล้วอาจไม่ต้องเปิดหน้าใหม่ก็ได้นะครับ พวกรายชื่ออาจจะรวมไว้ในหน้า การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552 เลยก็ได้นะครับ เพราะว่าผู้สมัครมีไม่เยอะเท่าไร --Manop | พูดคุย 23:16, 11 มกราคม 2552 (ICT)
ร่วมกันทบทวนนโยบายบุคคลสำคัญใหม่
แก้ผมว่าคงถึงเวลาทบทวนนโยบายกันแล้วละครับ ฝากช่วยกันหน่อยนะครับ ใครอยากดูอยากอ้างอิงวิกิพีเดียอังกฤษ (เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ) หรืออะไรก็ได้ ก็อ้างนะครับ แต่ช่วยมาสรุปเป็นนโยบายวิกิพีเดียไทยด้วย อย่าให้เป็นแบบหลายๆ ครั้งที่ว่า "...เพราะวิกิพีเดียภาษา__ว่ามา..." โดยการพูดคุยในส่วนนี้ถ้าพูดคุยเสร็จ จะมีการสรุปลงและก็ถือว่าเป็นเงื่อนไขหลักเลยละกันนะครับ แล้วก่อนจะเริ่มอยากจะบอกว่า อันนี้คือเรื่อง บุคคลที่มีชื่อเสียง หรือ บุคคลที่เป็นที่รู้จัก ไม่ใช่พิจารณากันที่ บุคคลสำคัญ/บุคคลไม่สำคัญ นโยบายทั่วไปก็มีอธิบายในหน้าหลักของหน้านี้แล้ว โดยการเก็บกวาดคือถ้าหน้าไหนไม่มีแหล่งอ้างอิงจะให้ติดป้าย {{ใคร}} (บอกผู้เขียนและบอกผู้อ่าน) และก็ตามด้วย {{ลบ}} (บอกผู้เขียนและบอกผู้ดูแลระบบ)
ย้อนกลับนิดหน่อยก่อนครับหลายคนคงคุ้นกันแล้ว วิกิพีเดียเก็บข้อมูลในลักษณะสารานุกรมที่มีการรวบรวมข้อมูลนอกเหนือจากสารานุกรมทั่วไปโดยเก็บชีวประวัติของบุคคลที่มีชื่อเสียงเข้าไปด้วย ซึ่งจุดนี้รวมถึง ดารา นักแสดง นักการเมือง นักเขียน นักวิชาการ นักกีฬา นักวาดการ์ตูน ฯลฯ โดยปัญหาที่เกิดตามมาคือบางคนบางคนเข้ามาเขียนอาจารย์ตัวเอง บางคนเข้ามาเขียนถึงเพื่อนตัวเอง หรือแม้แต่เขียนถึงตัวเอง ซึ่งบางทีก็เป็นการโปรโมต โฆษณาตัวบุคคล ซึ่งบางครั้งก็มีผลประโยชน์ขึ้นมา เช่น มีอาจารย์โรงเรียนสอนพิเศษ มาเขียนโฆษณาตัวเองให้คนกูเกิลมาเจอ (ตอนนี้น่าจะโดนลบไปหมดแล้ว)
คราวนี้ก็มาถึงปัญหาที่คุยกันก่อนหน้านี้เช่น บุคคลเหล่านี้ถ้าไม่มีแหล่งไหนพูดถึง จะทำอย่างไร ผมขอยกตัวอย่างเหตุการณ์ล่าสุดที่ผ่านมา ควรจะมีหรือไม่ ควรจะติดป้ายใครหรือว่าลบไปเลย
- คนร่วมแข่งขันเรียลลิตี ที่ไม่มีผลงานอื่น มีเยอะมาก ยกตัวอย่างเช่น ณัฐณิชา ทิพยมณฑล หรือ ราโมน่า เกรย์ (อยู่ในวิกิพีเดียไทยมาจะ 3 ปีแล้ว)
- บุคคลในข่าว/รายการ เช่น เอกชัย วรรณแก้ว
- ผู้ลงสมัครทางการเมืองที่ไม่เคยออกสื่อใด อย่าง การสมัครผู้ว่าที่ผ่านมา เช่น กงจักร ใจดี
- นอกจากนี้ อาจรวมถึง
- ภรรยานักการเมือง
- นักแสดงที่เป็นตัวประกอบ
- นักร้องในวงดนตรี
- ก่อนหน้านี้มีแอดมินวิกิพีเดียด้วย แต่โดนลบไปแล้ว
- บทความที่อาจหาแหล่งอ้างอิงยาก
- บทความเกี่ยวกับพระ เช่นใน หมวดหมู่:พระสงฆ์ไทย
ความเห็นส่วนตัวผมคงไม่มีอะไรมากไปกว่าเดิมครับ คิดว่าถ้าบุคคลนั้นดังจริงหรือมีชื่อเสียงจริงก็จะปรากฏในสื่ออื่นเอง โดยทางวิกิพีเดียไม่ต้องไปตัดสินความมีชื่อเสียงของตัวบุคคล แต่การตกลงไว้ล่วงหน้า ก็จะสะดวกในการจัดการนะครับ และที่ผมยกตัวอย่างเรียลลิตี้มาด้านบน เพราะเห็นว่ามันมีผลประโยชน์กันเต็มๆ เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลในประเภทอื่น ซึ่งการติดป้ายใคร ก็ไม่ช่วยให้บทความีอ้างอิงเพิ่มขึ้นมานะครับ ซึ่งแทนที่จะติดป้ายใครแล้วต่อด้วยป้ายลบ ก็ลบไปเลยง่ายกว่า --Manop | พูดคุย 09:40, 16 มกราคม 2552 (ICT)
- ส่วนตัวบอกว่าผู้คนที่เข้าแข่ง Reality ที่ไม่มีผลงานอื่นควรไปรวมในหน้ารายชื่อผู้เข้าแข่งขันและ (ถ้าจำเป็น) เขียนอธิบายย่อ ๆ พอย้ายไปรวมเสร็จ แล้วก็ลบหน้าของผู้เข้าแข่งอื่น ๆ ที่ว่าไปเลย ไม่ต้องมานั่งติด {{ใคร}} แล้วมาลบทีหลัง
สำหรับบุคคลในข่าวและผู้สมัครอื่น ๆ ก็คล้ายกัน ถ้าเหตุการณ์นั้นเป็นเหตุการณ์สำคัญจริง เช่นการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ก็น่าจะมีการสร้างรายนามผู้ลงสมัครแล้วย้ายหน้าของผู้สมัครที่ไม่เคยออกสื่อใดมารวมไว้ แต่ถ้าเป็นเหตุการณ์ไม่สำคัญ ก็ลบ (ถ้ามี) หรือไม่ต้องสร้างขึ้นมา
โดยสรุปแล้ว ผมเห็นว่าผู้ที่ไม่มีการปรากฏตัวในสื่ออื่น ๆ หรือเป็นเพียงตัวประกอบที่ยังไม่สำคัญ ควรจะเอาไว้ในบทความหลัก หรือบทความรวมรายชื่อ (เฉพาะในเหตุการณ์สำคัญ หรือรายการ Reality ที่ยาว ๆ) ส่วนนอกนั้น (ถ้าไม่สำคัญ ฯลฯ) ก็ลบไป... เพราะตามที่พี่มานพบอก... ถ้าสำคัญจริง ก็ปรากฏในสื่ออื่นเองครับ --Chris Vineyard Chat Contribs 09:59, 16 มกราคม 2552 (ICT)
- ส่วนตัวบอกว่าผู้คนที่เข้าแข่ง Reality ที่ไม่มีผลงานอื่นควรไปรวมในหน้ารายชื่อผู้เข้าแข่งขันและ (ถ้าจำเป็น) เขียนอธิบายย่อ ๆ พอย้ายไปรวมเสร็จ แล้วก็ลบหน้าของผู้เข้าแข่งอื่น ๆ ที่ว่าไปเลย ไม่ต้องมานั่งติด {{ใคร}} แล้วมาลบทีหลัง
- ขอแยกเป็นประเภทนิดส์นึง
- กรณีผู้เข้าแข่งขันรายการโทรทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นเรียลลิตี้หรือรายการใดๆ ถ้าไม่มีชื่อเสียงจากผลงานอื่นก็ไม่ควรมีหน้าบทความแยกของตัวเอง ให้รวมไปในหน้ารายการนั้นๆ ก็พอ เมื่อรวมแล้วให้ลบได้เลยไม่ต้องติดป้ายอะไรอีก เสียเวลาและทรัพยากร
- กรณีนักการเมือง โดยส่วนตัวยังรู้สึกว่าการให้ครอบคลุมลงไปถึงการเมืองระดับท้องถิ่น มันจะยิบย่อยเกินไป น่าจะเป็นระดับประเทศมากกว่า สำหรับกรณีการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. เนี่ยก็รู้สึกข้องใจเหมือนกันว่า จำเป็นต้องมีบทความประจำการเลือกตั้งทุกครั้งด้วยเหรอ (สงสัยจริงๆ นะ หรือว่าในทางสารานุกรมรัฐศาสตร์เค้าเก็บข้อมูลพวกนี้ละเอียดด้วย?) แต่ในตอนนี้เห็นว่าส่วนของผู้สมัครที่ไม่เคยมีผลงานด้านอื่นนอกจากการเป็นผู้สมัครผู้ว่าฯ ก็ควรให้รวมไปในบทความการเลือกตั้งค่ะ --Tinuviel | พูดคุย 13:58, 16 มกราคม 2552 (ICT)
- บางคนที่ไม่มีชื่อเสียง
- ภรรยานักการเมืองบางคนที่ไม่มีชื่อเสียง แต่ก็มีบทความนะครับ อย่างเช่น เม็กดา เกบเบิลส์ ภรรยาของ โจเซฟ เกบเบิลส์ ครับ --Horus 14:37, 16 มกราคม 2552 (ICT)
อีกประุเด็นนึงที่อยากจะเสนอก็คือว่า เกณฑ์ในการจำแนกยังไม่ชัดเจนพอครับ นั่นทำให้มีปัญหาในการตัดสินครับ
- ส่วนข้ออ้างที่ว่าภาษานั้นภาษานี้มี ไม่คิดว่าจำเป็นต้องนำมาใส่ใจครับ ส่วนตัวแล้ว บทความในวิกิภาษาอังกฤษ ปริมาณมากก็จริง แต่ไม่ตรงตามนโยบายของวิกิอังกฤษเองก็เยอะครับ การดูแลก็ไม่ทั่วถึง บทความมีเป็นล้าน แต่ผู้ดูแลมีแค่พัน คิดตามอัตราส่วนได้ว่าผู้ดูแลคนนึงต้องดูแลตั้งพันบทความ เขาดูแลไม่ไหวหรอกครับ ดังนั้นเลยรั่วออกมาเยอะ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 18:50, 16 มกราคม 2552 (ICT)
- น่าจะคัดเลือกเฉพาะบุคคลที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักพอสมควร ที่สำคัญคือมีผลงานการันตีนะคะ เห็นด้วยกับความคิดของคุณ Tinuviel ถ้าเจาะลึกละเอียดเกินไปสงสัยจะไม่ไหวค่ะ ถ้าพวกประเภทปลีกย่อย คนนั้นคนนี้แล้วนำมาเขียนเป็นบทความ จะเยอะแยะจนเกินไป วิกิพีเดียมีทุกอย่างให้ค้นหาก็จริง แต่ถ้าละเอียเกินไปแบบนี้ก็ไม่ไหวค่ะ--Se:Rin 六 พูดคุย – 08:14, 19 มกราคม 2552 (ICT)
- จาก วิกิพีเดีย:บุคคลที่มีชื่อเสียง หัวข้อเงื่อนไขทั่วไป
บุคคลนั้นเป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์ ซึ่งบุคคลในกลุ่มนี้มักจะมีการกล่าวถึงในหนังสือหรือตำราเรียนอยู่แล้ว (บุคคลสำคัญ)บุคคลนั้นได้รับรางวัลอันมีชื่อเสียงในระดับชาติหรือนานาชาติ หรือบุคคลที่มักจะได้รับการเสนอชื่อรับรางวัลดังกล่าวบุคคลที่มีผลงานอันเป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ- มีสื่อมากกว่าหนึ่งแหล่งกล่าวถึงเกี่ยวกับตัวบุคคลนั้น นอกเหนือจากเว็บไซต์ส่วนตัวหรือเว็บไซต์หน่วยงาน
- บุคคลที่กำลังเป็นประเด็นในเหตุการณ์ปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง
ผมว่า ข้อที่ระบุว่า มีสื่อกล่าวมากกว่า หนึ่งแหล่ง อาจจะยังไม่พอ น่าจะพ่วงไปว่า มีสื่อกล่าวมากกว่า 1 แหล่ง และมีประเด็นในเหตุการณ์ปัจจุบันอย่างต่อเนื่องด้วย
ส่วนหัวข้อนักร้อง ดารา ดาราเรียลลิตี้
- มีบทบาทและผลงานในภาพยนตร์ ละคร ละครเวที มากกว่าหนึ่งเรื่อง --- น่าจะระบุว่า บทเด่น
- มีผลงานและสร้างชื่อเสียงในวงการบันเทิง -- ข้อนี้ไม่ชัดเจน อาจระบุว่า ได้รับรางวัล
- มีกลุ่มแฟนคลับขนาดใหญ่ -- ไม่ชัดเจนเช่นกัน ตรวจสอบไม่ได้
ส่วนพวก ดาราเรียลลิตี้ ควรมีผลงานแสดงและออกอัลบั้มเดี่ยว ถึงน่าจะมีความสำคัญ ส่วนสมาชิกวงดนตรี หากไม่มีผลงานอื่นนอกเหนือจากการเป็นสมาชิกวง ก็น่ามีผู้กล่าวถึงมาก ๆ ถึงน่าจะมีบทความได้ --Sry85 12:57, 19 มกราคม 2552 (ICT)
- เห็นด้วย กับหลาย ๆ คนที่เขียนว่าปลีกย่อยเกินไปก็ไม่ไหว สำหรับเรื่อง Reality ถ้าไม่มีผลงานอื่น ๆ เป็นพิเศษหรือไม่มีลักษณะเด่น มันก็อยู่ในเกณฑ์ขาดความสำคัญได้ ก็ยังไม่ควรแยกออกมา (เช่นคนที่อยู่ในแม่แบบ {{รายชื่อผู้อยู่รอดคนสุดท้าย}} ของ เซอร์ไวเวอร์) และสำหรับสมาชิกวง ถ้าไม่สำคัญมากหรือไม่มีการกล่าวถึงก็ยังไม่ควรแยกประวัติของแต่ละคนออกมาเป็นหน้าใหม่ แต่ควรเขียนลงในหน้าวงก่อน หรือบางทีอาจไม่ต้องเขียนก็ได้ เพราะบทความหลายบทความก็ไม่เห็นกล่าวถึงสมาชิกของวงเลย --Chris Vineyard Chat Contribs 14:15, 19 มกราคม 2552 (ICT)
แล้วในกรณีของบุคคลที่เข้าไปเกี่ยวข้องในเหตุการณ์สำคัญ ซึ่งถูกอ้างถึงหรือกล่าวถึงในฐานะผู้เรียบเรียงเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วไป แต่ประวัติส่วนตัวสามารถหาได้จากหนังสืองานศพของเจ้าตัวเท่านั้น เช่น จิตต์ สังขดุลย์ (อดีตทหารผ่านศึกในยุทธนาวีเกาะช้าง ซึ่งเป็นผู้รวบรวมคำให้การและบันทึกเหตุการณ์ในการรบครั้งนั้น (หนังสือชื่อ "เมื่อธนบุรีรบ") และมีชื่อถูกอ้างถึงในฐานะผู้แต่งอยู่เสมอ) อย่างนี้ควรจะผ่านเกณฑ์บุคคลสำคัญได้หรือไม่ครับ --สุทธิพงษ์ พื้นแสน 11:35, 26 มกราคม 2552 (ICT)
- ขออนุญาตตอบว่า ผมคิดว่าขาดความสำคัญครับ ส่วนเนื้อหาที่สำคัญในบทความที่ไม่สำคัญนั้น อาจจะนำเอาไปรวมไว้กับเรื่องที่เกี่ยวข้องและสำคัญนั้นๆ --lovekrittaya gwperi 11:45, 26 มกราคม 2552 (ICT)
- ผมเห็นด้วยกับพี่มานพครับ ในบางหน้าที่เป็นการรวบรวมชื่อ เช่น รายชื่อนักฟุตบอล หรือบทความรางวัลต่างๆ บทความทีมฟุตบอล เป็นต้น ที่มีรายชื่อเยอะๆ นั้นผมคิดว่าไม่ได้ดังไปเสียทุกคน หรือไม่มีความดังในปัจจุบัน แต่เป็นบุคคลที่เคยโด่งดังในอดีต จึงเห็นด้วยว่าควรทบทวนกันใหม่ในบางประเด็น แต่กรณีคุณจิตต์ ที่คุณสุทธิพงษ์ยกมานั้น ผมเริ่มชักไม่แน่ใจ ว่าจะเข้าข่ายเป็นบทความ วกพด. ใหม่หรือไม่ --lovekrittaya gwperi 13:34, 6 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
- มีหน้าที่อาจเป็นปัญหา เช่น หน้าที่มีการรวบรวมนามสกุล เช่น บทความนามสกุลพระราชทาน หรือบทความนามสกุลที่นิยมใช้ ฯลฯ ซึ่งมีลิงก์แดงมากมายไว้ที่นามสกุลต่างๆ ทีนี้มีคนกดลิงก์แดงเข้าไปเขียนครับ ผมคิดว่าน่าจะมีการตีความนโยบายบุคคลสำคัญหรือมีชื่อเสียงในส่วนนี้ด้วยครับ (ส่วนตัวผมผมคิดว่าส่วนใหญ่ไม่น่าจะเข้าเกณฑ์) เพราะบ่อยครั้ง บทความที่ถูกลบ เริ่มสร้างโดยการคลิกลิงก์แดง ที่มีอยู่ก่อนหน้า แต่เป็นลิงก์แดงที่ไม่เหมาะสมหรือขัดกับเกณฑ์วิกิพีเดียไทย --lovekrittaya gwperi 02:50, 8 กุมภาพันธ์ 2552 (ICT)
กรณีจากหน้า "เอกชัย วรรณแก้ว"
แก้เหตุผลที่ผมเอาประวัติน้องคนนี้มาลง เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์กับคนทั่วไปครับ ลองอ่านแบบไม่คติดูนะครับ ----ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Chung (พูดคุย • หน้าที่เขียน)
เมื่อพิจารณาจาก
- บุคคลนั้นเป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์ ซึ่งบุคคลในกลุ่มนี้มักจะมีการกล่าวถึงในหนังสือหรือตำราเรียนอยู่แล้ว (บุคคลสำคัญ)
- บุคคลนั้นได้รับรางวัลอันมีชื่อเสียงในระดับชาติหรือนานาชาติ หรือบุคคลที่มักจะได้รับการเสนอชื่อรับรางวัลดังกล่าว
- บุคคลที่มีผลงานอันเป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ
- มีสื่อมากกว่าหนึ่งแหล่งกล่าวถึงเกี่ยวกับตัวบุคคลนั้น นอกเหนือจากเว็บไซต์ส่วนตัวหรือเว็บไซต์หน่วยงาน
- บุคคลที่กำลังเป็นประเด็นในเหตุการณ์ปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง
ที่มีการนำเสนอใน 1 รายการ กับ หนังสือ 1 เล่ม (ผู้ผลิตเดียวกันรึเปล่า) คิดว่าไม่เข้าข่ายบุคคลมีชื่อเสียง ไม่เช่นนั้น อีกหน่อย คนถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1 ที่ขึ้นหน้า 1 คงมีประวัติที่นี่เต็มไปหมด --Sry85
- ถ้าตามวิกิพีเดีย:บุคคลที่มีชื่อเสียง ก็คงได้แหละครับ มีสื่อสองแหล่งแล้ว (ทีวีบูรพา น่าจะเป็นเจ้าของเดียวกับ โมเดิร์นไนน์ มั้งครับ) แต่ก็ไม่ใช่หน้าที่ของวิกิพีเดียนี่ครับว่าจะแบ่งแยกสื่อเจ้าของเดียวกัน ถ้ามีสื่อออกมาเรื่องของข่าวเดียวกันในสองรูปแบบ ก็แสดงว่าสื่อนั้นเป็นที่สนใจ ส่วนคนถูกล็อตเตอรี่ขึ้นหน้าหนึ่ง คงไม่มีใครทำประวัติมั้งครับ ว่าเป็นใครมาจากไหน อย่างมากก็ลงแค่ชื่อ --Manop | พูดคุย 01:50, 14 มกราคม 2552 (ICT)
- เรียบเรียงข้อความหน่อยครับ เหมือนจะยกมาจากใน blog ทั้งหมดเลย t¸·´ ¯·.¸¸.ღp
- ผมหมายถึง ทีวีบูรพา เป็นฝ่ายผลิตรายการ ฅน ค้น คน ซึ่งเขาก็ผลิตนิตยสาร ฅ คน แล้วทางโมเดิร์นไนน์เขาก็มีหน้าเว็บไซต์ให้ทางทีวีบูรพา สำหรับประชาสัมพันธ์รายการ การที่ลงเว็บโมเดิร์นไนน์ มิใช่หมายถึงสื่อมาจากโมเดิร์นไนน์ หมายถึงสาระมาจากทีวีบูรพา ซึ่งหมายถึง นอกจากทีวีบูรพาแล้ว ไม่มีสื่ออื่นนอกเหนือจากนี้นำเสนอเลย ผมว่าเคสนี้ ถ้าเทียบความสำคัญแล้วยังน้อยกว่า ดารา นักร้องเรียลลิตี้เสียอีกนะครับ ที่มีออกรายการทุำกสัปดาห์ และยังมีสื่อพูดถึงตอนออกจากบ้าน--Sry85 10:15, 14 มกราคม 2552 (ICT)
- เรียบเรียงใหม่บางส่วนแล้วครับ ไม่ได้ลอกจากบล็อกมาทั้งหมดซะทีเดียว ผมคิดว่าเหตุผลเรื่องการลบควรจะมองในเรื่องคุณค่าด้วย ผมเห็นบทความที่คุณ Sry85 ถนัดอย่างนึงคือด้านศิลปะ ลองอ่านแล้วพิจารณาอีกทีนะครับ ผมคิดว่าถ้ามีใครสักคนที่ขาดโอกาสในการเล่าเรียนคล้ายๆกับคนในบทความนี้แล้วมาอ่าน ก็น่าจะเกิดกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อไป บางครั้งความดังบุคคลกับประโยชน์ของบทความก็ต้องเฉลียน้ำหนักและทดแทนกันได้ และที่คุณเอาเรื่องดารา นักร้องเรียลลิตี้มาเปรียบเทียบกับน้องในบทความ ผมคิดว่ามันต่างกันมากครับ คนที่ไปแสดงในเรียลลิตี้โชว์มักจะเป็นคนที่อยากมีชื่อเสียงและเดินเข้าไปหารายการ แต่กรณีในบทความนี้ตรงที่เขาเป็นผู้พิการที่ไม่ได้อยากดังอะไรเลยแต่มีความอุตสาหะในการใช้ชีวิต จนรายการเขาไปพบและนำมาออกอากาศเพื่อให้เป็นตัวอย่างและเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนที่ขาดโอกาสมีกำลังใจสู้ชีวิต และเป็นรายการช่วงไพร์มไทม์ที่มีคนติดตามมากพอสมควร หากคุณเข้าใจเรื่องศิลปะอยู่บ้างน่าจะเข้าใจนะครับว่าเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปะ ทั้งบุคลากรและผลงาน มันไม่ค่อยมีสื่อบ้านเราสนใจสักเท่าไหร่เท่ากับดาราหรือนักร้อง การที่จะให้มันดังจนถึงขนาดออกรายการทุำกสัปดาห์ หรือออกถี่กว่านี้ ถึงจะการันตีว่าดัง เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเกิดขึ้น น้อยครั้งมากครับ นอกเสียจากว่าคนทำงานศิลปะหรือผู้พิการคนนั้นจะเป็นคนที่ชอบพรีเซนต์ตัวเองจนมีชื่อเสียง (บ้านเรามีคนประเภทนี้เยอะมากซะด้วย) --ผู้ใช้:Chung
คือที่นำมาพูดถึง เพราะในประกาศ กำลังมีหัวข้อสนทนา วิกิพีเดีย:บุคคลที่มีชื่อเสียง ทั้งในส่วน บทความผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. กับ บทความเรียลลิตี้โชว์ อยู่ครับ ที่พิจารณาว่าสมควรลบหรือไม่ ตามนโยบายของวิกิพีเดีย ในเรื่องความมีชื่อเสียง การขาดความสำคัญ ตามที่กล่าวข้างต้นในเคสของน้องเขาคือ น้องออกทีวี แต่ในนโยบายระบุ "มีสื่อมากกว่าหนึ่งแหล่งกล่าวถึงเกี่ยวกับตัวบุคคลนั้น นอกเหนือจากเว็บไซต์ส่วนตัวหรือเว็บไซต์หน่วยงาน" ซึ่งตามที่คุณ 2T และคุณมานพ ยกลิงก์ มาว่ามีสื่ออื่นพูดถึง (พูดเรื่องเดียวกัน ในเดือนสิงหาคม ทั้งสิ้น) ถ้าเกณฑ์ว่าบทความนี้มีสื่อมากกว่าหนึ่งสื่อ ผ่านในเรื่องความสำคัญ ก็เท่ากับว่า บทความจำพวก เรียลลิตี้ กับ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ก็น่าจะผ่านเช่นเดียวกัน ปล. ผมก็จบด้านศิลปะมาเหมือนกันครับ --Sry85 14:38, 14 มกราคม 2552 (ICT)
- ประชาชาติธุรกิจ
- โลกวันนี้
- แนวหน้า อันนี้เป็นประชาสัมพันธ์รายการทีวี ไม่นับ
- ไทยรัฐ มีแต่รูปกับชื่อ
ก็เหมือนกรณีบทความสารพัดนักดนตรีสมาชิก ออกัส แหละครับ ไม่ต่างกันหรอก t¸·´ ¯·.¸¸.ღp
คือ ผมหากใช้เกณฑ์ว่า มีสื่อมากกว่า 1 สื่อ (เรื่องเดียวกัน / เนื้อหาเดียวกัน) ประเมินว่า บทความนี้มีความสำคัญ ไม่น่าลบ ผมก็เห็นว่า บทความจำพวกดาราเรียลลิตี้ ทุกบทความก็มีการประชาสัมพันธ์ในลักษณะนี้เช่นกัน ก็น่าจะเป็นบุคคลสำคัญเหมือนกัน ก็ต้องพิจารณากันต่อไป รวมถึงสมาชิกวงออกัสด้ัวย --Sry85 11:11, 14 มกราคม 2552 (ICT)
อย่างไรก็ตาม ผมขอเสนอ "ลบ" บทความ เนื้อหาในหลายสื่อ เป็นเรื่องเดียวกัน ไม่มีประเด็นเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง หรือมีผลงานใดที่ทำให้เป็นที่รู้จัก --Sry85 22:18, 15 มกราคม 2552 (ICT)
- ผมว่าเรื่องนอกเหนือจากตัวบทความ ต่อกันได้ที่ คุยเรื่องวิกิพีเดีย:บุคคลที่มีชื่อเสียง --Manop | พูดคุย 08:30, 16 มกราคม 2552 (ICT)
ดารา
แก้ผมลองปรับแล้วได้แบบนี้ครับ ลองช่วยกันดูหน่อย
ประกอบด้วยนักแสดงทุกประเภท (รวมถึงนักแสดงในภาพยนตร์สำหรับผู้ใหญ่ และสื่อเฉพาะกลุ่มอื่นๆ) นักร้อง วงดนตรี นางแบบ พิธีกร
- มีบทบาทหลักในภาพยนตร์ ละคร ละครเวที รายการโทรทัศน์ รวมแล้วมากกว่าหนึ่งเรื่อง ไม่นับกรณีที่เป็นดารารับเชิญ
- สร้างชื่อเสียงในวงการบันเทิง หรือได้รับรางวัลในวงการบันเทิง
- มีกลุ่มแฟนคลับขนาดใหญ่
- บุคคลที่กล่าวถึงปรากฏตัวตามสื่อต่าง ๆ มากพอสมควร ซึ่งใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้
- บทความควรกล่าวถึงชีวประวัติ มากกว่าเว็บแฟนคลับ หรือเว็บการแข่งขันรายการบันเทิง
สำหรับกลุ่มอื่น ๆ ในแวดวง ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:ความโดดเด่นของบทความ (ดนตรี)
- นักร้อง นักดนตรี และวงดนตรี ต้องเคยออกอัลบั้มกับค่ายเพลงมาแล้วมากกว่าสองอัลบั้ม หรือชนะเลิศการประกวดในระดับชาติหรือนานาชาติ กลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องมีสมบัติตามข้อหนึ่งก็ได้
- ผู้ที่ทำงานเป็นเบื้องหลังเช่น นักประพันธ์เพลง ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน จำเป็นต้องได้รับรางวัลในวงการบันเทิงจึงจะถือว่ามีชื่อเสียง กลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องมีสมบัติตามข้อหนึ่งและข้อสามก็ได้
--octahedron80 12:14, 15 กันยายน 2552 (ICT)
- พวกดาราเรียลลิตีโชว์ ดังครั้งเดียวเอาออกไปเถอะ ถ้าหลังรายการแล้วยังดังอยู่ค่อยคุยกันใหม่ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 12:46, 15 กันยายน 2552 (ICT)
- โดยเงื่อนไขข้อหนึ่ง คนกลุ่มนี้ตกอันดับอยู่แล้วครับ แต่อาจจะเขียนรวมกันได้ในรายการเรียลลิตีโชว์นั้น --octahedron80 01:10, 16 กันยายน 2552 (ICT)
- เห็นด้วยกับหลักการครับ แต่ (1) อาจปรับข้อความเล็กน้อย ตรงคำว่าหนังโป๊ น่าจะเป็นว่า นักแสดงทุกประเภท (รวมถึงนักแสดงภาพยนตร์สำหรับผู้ใหญ่ และสื่อเฉพาะกลุ่มอื่นๆ) ส่วนตรงที่กล่าวถึงเลขข้อ ก็น่าจะใส่เลขข้อไป จะได้ไม่สับสน (2) คำว่าจำนวนหนึ่ง ขนาดใหญ่ ... น่าจะจำเพาะมากขึ้น หรือมีตัวอย่างประกอบเพื่อให้แต่ละคนที่อ่านพิจาณาได้ไปในทำนองเดียวกันครับ --taweethaも 16:22, 15 กันยายน 2552 (ICT)
- ทำข้อ (1) แล้วครับ แต่สำหรับข้อ (2) ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเอาเท่าไร
หรือจะตัดเรื่องเสิร์ชเอนจินออกไปเลย จะได้ไม่ขัดแย้งกับเงื่อนไขที่ไม่ยอมรับ--octahedron80 00:43, 16 กันยายน 2552 (ICT)
- ทำข้อ (1) แล้วครับ แต่สำหรับข้อ (2) ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเอาเท่าไร
- สำหรับบทความเกี่ยวกับดนตรี ผมแปลเพิ่มในหน้านี้นะครับ วิกิพีเดีย:ความโดดเด่นของบทความ (ดนตรี)#เกณฑ์สำหรับบทความเกี่ยวกับนักดนตรี --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Sry85 (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 22:38, 15 กันยายน 2552 (ICT)
- นักดนตรี ข้อ 6 อ่านแล้วกำกวมครับ ไม่แน่ใจว่าสองคนหมายถึงสองคนไหน นักดนตรีด้วยกัน หรือนักดนตรี-แฟนคลับ หรือแฟนคลับสองคน ถ้าหมายถึงแฟนคลับผมว่าสองคนน้อยไปนะ ส่วนเรื่องสองอัลบั้มนี่ ผมคิดไว้แล้วว่า ถ้าดังจริงต้องมีการออกอัลบั้มที่สอง --octahedron80 00:41, 16 กันยายน 2552 (ICT)
- ข้อ 6 หมายถึง สมมติวงนั้นเป็นวงใหม่เอี่ยม แต่บังเอิญว่าสมาชิกวงเป็นดาราดังซัก 2 คนก็ผ่านเกณฑ์ หรือ ถ้าสมมติวงใหม่เอี่ยมวงนั้นมีสมาชิกคนนึง ที่เคยเป็นสมาชิกวงดังมาแล้ว 2 วง ก็ถือว่าผ่านเกณฑ์ ไม่ได้หมายถึงแฟนคลับ ตย. สมมตินะครับ วงใหม่ล่าสุด "น้อยหน่า" มีสมาชิก 5 คน มีสองคนเป็นคนดังคือมาริโอ้ เมาเร่อ กับบี้ เดอะสตาร์ ก็ถือว่าผ่าน หรือตัวอย่างที่ 2 วง "ส้มเช้ง" วงใหม่ล่าสุดมีสมาชิกคือ พี่ก้อ นักดนตรีที่เคยเป็นสมาชิกวงดังมาแล้ว 2 วง คือวงพีโอพี และกรูฟไรเดอร์ อันนี้ก็ผ่านเกณฑ์ --Sry85 00:59, 16 กันยายน 2552 (ICT)
- ควรพิจารณาถึงตัวบทความเองด้วยว่ากล่าวถึงความสำคัญของเนื้อหาหรือเปล่า (ไม่ใช่ว่าเขาดัง แต่เขียนไม่ดี) ตาม {{ไม่สำคัญ}} ครับ ไม่ทราบว่ากรณีนี้จะมีความเห็นอย่างไร --Horus | พูดคุย 22:52, 15 กันยายน 2552 (ICT)
- ความสำคัญกับความเป็นสารานุกรมมันคนละประเด็นกันนะครับ อย่าเอามาปนกัน เขียนไม่ดี คือไม่เป็นสารานุกรมหรือต้องการเก็บกวาด ถ้าสามารถเก็บกวาดให้เป็นสารานุกรมได้ก็ควรทำ ไม่ใช่แจ้งว่าไม่สำคัญ อย่างบทความนางงามจักรวาลในอดีต เนื้อหามีการอธิบายความสำคัญแล้ว แต่คุณฮอรัสกลับติดป้ายไม่สำคัญเสีย [1] ความสำคัญในที่นี้คือ บุคคลนั้นมีคุณค่าเพียงพอต่อการมีบทความเป็นของตัวเองหรือไม่ (มีชื่อเสียงหรือไม่) ไม่ได้พูดถึงลักษณะการเขียน --octahedron80 00:30, 16 กันยายน 2552 (ICT)
- คำว่าจำนวนหนึ่ง/ขนาดใหญ่ ผมเคยเสนอไปทีหนึ่งตอนอภิปรายกันคราวที่แล้ว แต่เห็นว่ามีความเห็นต่างๆ กัน บางท่านก็ต้องการมากกว่านั้น บางท่านก็ต้องการน้อยกว่านั้น ขึ้นอยู่กับวงการว่าเป็นบันเทิง การเมือง หรือ วิชาการ ทีนี้พูดถึงดารา ผมว่ามันก็น่าจะได้ลงเอยกันสักที โดยอาจจะแบ่งเป็น 2 ขั้น กล่าวคือ
- เกณฑ์ขั้นพื้นฐาน บุคคลที่กล่าวถึงต้องมีหลักฐานการยอมรับในระดับนี้ มิฉะนั้นลบทันที แต่ไม่ได้หมายความว่าถ้าถึงขั้นนี้แล้วจะลบไม่ได้ ยังต้องพิจารณากันต่อไป
- เกณฑ์ขั้นยอมรับ ถ้าถึงขั้นนี้แล้วจะกล่าวว่าไม่ดังไม่ได้ และถ้ายังไม่มีบทความก็เสนอเป็นบทความที่ต้องการได้ ทั้งนี้มีบางกลุ่มบุคคลที่ควรได้รับการพิจารณาขั้นนี้โดยใช้หลักเกณฑ์พิเศษ โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับรางวัลต่างๆ ก็ใส่รายชื่อรางวัลไปด้วย เช่น นางสาวไทย นางงามจักรวาล ส่วนรางวัลไหนฟังดูดีแต่ใม่ใช่ก็อาจจะใส่เป็นตัวอย่างไปด้วยว่าแบบนี้ไม่เอา ผมก็ไม่แน่ใจว่ามันมีรางวัลพวกนี้สักกี่มากน้อย
อนึ่งผมเสนอว่าเกณฑ์สำหรับดาราคงต้องสูงพอสมควร เพราะ (1) ลักษณะของอาชีพต้องอาศัยการที่ผู้คนรู้จักทำมาหากิน ความดังจึงสัมพันธ์อย่างสูงกับความสำเร็จทางอาชีพ (2) ส่วนใหญ่แล้วความดังของดารามีครึ่งชีวิตสั้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายที่ว่า อีก 5 ปี 10 ปี ต่อไป บทความดังกล่าวยังมีประโยชน์ เกณฑ์มันก็ต้องเข้มเผื่อคนลืม --taweethaも 09:28, 16 กันยายน 2552 (ICT)
- ลักษณะของป้ายไม่สำคัญ เป็นการแจ้งว่า (1) เนื้อหาไม่สำคัญ (2) ผู้เขียนไม่ระบุความสำคัญ แต่คนเขียนทำไมจึงเขียนได้น้อย เขียนแล้วก็ทำเป็นลืม ๆ ไป ไม่กลับมาแก้ไขอีก อย่างนี้ควรจะทำให้มันรวดเดียวผ่าน ไม่ใช่พอมีคนมาทักท้วงภายหลังก็ไม่ตอบสนองอีกครับ
- ในบทความนางงามที่ว่าที่คุณ Octa ระบุ เขาคงหมายถึงว่า (1) เนื้อหามีสำคัญ (2) ผู้เขียนระบุความสำคัญแล้ว แต่ทำไม่มาติดป้าย ไม่สำคัญอีก ต้องแยกแยะประเด็นให้ออก อย่ามาปนกัน เพราะดูเหมือนคุณจะสับสนอยู่ --Sry85 23:42, 16 กันยายน 2552 (ICT)
บุคคลที่เป็นที่สนใจในสื่อ?
แก้- เคอิโงะ ซาโต้
- หม่อง ทองดี ครับ --Horus | พูดคุย 15:10, 3 ตุลาคม 2552 (ICT)
ว่ากันตามหลักเงื่อนไขของ วิกิพีเดีย:บุคคลที่มีชื่อเสียง#เงื่อนไข
"ความมีชื่อเสียงของบุคคลสามารถพิจารณาจากข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้
- บุคคลนั้นเป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์ ซึ่งบุคคลในกลุ่มนี้มักจะมีการกล่าวถึงในหนังสือหรือตำราเรียนอยู่แล้ว (บุคคลสำคัญ)
- บุคคลนั้นได้รับรางวัลอันมีชื่อเสียงในระดับชาติหรือนานาชาติ หรือบุคคลที่มักจะได้รับการเสนอชื่อรับรางวัลดังกล่าว
- บุคคลที่มีผลงานอันเป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ
- มีสื่อมากกว่าหนึ่งแหล่งกล่าวถึงเกี่ยวกับตัวบุคคลนั้น นอกเหนือจากเว็บไซต์ส่วนตัวหรือเว็บไซต์หน่วยงาน
- บุคคลที่กำลังเป็นประเด็นในเหตุการณ์ปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง
- มีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้อย่างยิ่ง โดยไม่นับเว็บไซต์ที่บุคคลดังกล่าวสังกัดอยู่ หรือความเห็นส่วนตัว
- มีความสำคัญ มีอิทธิพลต่อสังคม และอิทธิพลดังกล่าว ต้องมีแหล่งอ้างอิงที่รองรับได้ "
สองคนข้างต้นผ่านข้อไหนครับ?
นอกจากนี้ จาก วิกิพีเดีย:บุคคลที่มีชื่อเสียง#บุคคลอันมีชื่อจากเหตุการณ์เดียว
สองคนข้างต้น มีความเกี่ยวข้องอะไรกับเหตุกาณ์สำคัญเหรอครับ?
กรณีน้องเคอิโงะ ก็แค่การที่สังคมให้การช่วยเหลือเด็กคนหนึ่งได้พบพ่อ ส่วนน้องหม่อง ก็แ่ค่เด็กที่ไปแข่งพับเครื่องบินกระดาษแต่มีปัญหากับความงี่เง่าของผู้ใหญ่ในสังคม แล้วงานแข่งพับเครื่องบินนี้ มีความสำคัญขนาดไหน และนอกจากนี้ ถ้าว่ากันตามนโยบายข้างต้นแล้ว เรื่องของน้องหม่องสมควรจะอยู่ในบทความการแข่งขันดังกล่าวครับ
ท่านผู้เชี่ยวชาญด้านคนดังมีความเห็นว่าอย่างไรกันบ้างครับ
--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 08:42, 8 ตุลาคม 2552 (ICT)
เห็นด้วยกับคุณบรั่นดีครับ --octahedron80 14:00, 8 ตุลาคม 2552 (ICT)
เห็นด้วยเช่นกัน --Tinuviel | พูดคุย 14:15, 8 ตุลาคม 2552 (ICT)
เห็นด้วยครับ --Mahatee | พูดคุย 15:14, 8 ตุลาคม 2552 (ICT)
ไม่ใช่ไม่เคยลบ ลบไปแล้วเฉพาะ เคอิโงะ ซาโต้
20:55, 29 กันยายน 2552 Taweetham (พูดคุย | หน้าที่เขียน | บล็อก) ลบ "เด็กชายเคอิโงะ ซาโต้" แล้ว (มีการแจ้งลบ: เนื้อหาเดิม: '{{ลบ|แค่ดังแว้บ ๆ เดี๋ยวก็ลืม ลบออกดีกว่ามั้ง}} {{ใคร}} '''เด็กชายเคอิโง�) (เรียกดู/เรียกคืน)
ก็ยังกลับมาใหม่ได้อีก มาใหม่ทีนี้ยาวกว่าเดิม
เห็นด้วยว่าตามนโยบายแล้วต้องลบแน่นอนครับ แต่ถ้าถ่วงเวลาไว้หน่อยก็อาจไม่ต้องลบบ่อยครับ ตอนนี้มีป้ายใครอยู่แล้ว พอถึงเวลามาสะสางป้ายนี้ ลบตอนข่าวจางไปก็ลบแล้วลืมกันไปเลย ลบตอนนี้ก็อาจจะมาใหม่อีกหรือเถียงกันอีก--taweethaも 15:16, 8 ตุลาคม 2552 (ICT)
- ไม่เห็นว่าสองบทความดังกล่าวจะทำให้มีประโยชน์ในอนาคตข้างหน้าอีกหลายปีแต่อย่างใด เนื่องจากดังแค่ชั่วครู่ก็ลึม (อยู่ใน Notability) ดังนั้นลบเถอะ กล่าวคือเห็นด้วยกับคุณ Brandy ทุกประการ --Chris Vineyard 16:55, 8 ตุลาคม 2552 (ICT)
จาก วิกิพีเดีย:บุคคลที่มีชื่อเสียง#เงื่อนไข ขอยกมาทั้งหมด และเน้นด้วยการทำตัวหนา
อันดับแรก บุคคลที่ถูกบันทึกในวิกิพีเดียนั้นจำเป็นต้อง มีชื่อเสียง โดยมีผลงานที่ถูกกล่าวถึงในสื่ออื่นนอกเหนือจากสื่อของบุคคลนั้น (เช่น เว็บไซต์ส่วนตัวที่บุคคลนั้นทำขึ้นมาเอง) หรือหน่วยงานที่บุคคลนั้นสังกัดอยู่ (เช่น อ้างอิงถึงบุคลากรของมหาวิทยาลัยจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย) อย่างไรก็ตามข้อมูลจากสื่อเว็บไซต์หรือหนังสือของบุคคลนั้นสามารถนำมาใช้อ้างอิงในส่วนของเนื้อหาได้ แต่ไม่ควรนำมาใช้อ้างอิงในการแสดงถึงความมีชื่อเสียงของตัวบุคคล นอกจากนี้เว็บไซต์ในรูปแบบของเว็บบอร์ด บล็อกส่วนตัว หรือวิกิ ไม่ควรนำมาใช้ในการยืนยันความมีชื่อเสียง เพราะเป็นรูปแบบของเว็บไซต์ที่สามารถเขียนขึ้นโดยผู้อ่านทั่วไป ความมีชื่อเสียงของบุคคลสามารถพิจารณาจากข้อหนึ่งข้อใดต่อไปนี้
- บุคคลนั้นเป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์ ซึ่งบุคคลในกลุ่มนี้มักจะมีการกล่าวถึงในหนังสือหรือตำราเรียนอยู่แล้ว (บุคคลสำคัญ)
- บุคคลนั้นได้รับรางวัลอันมีชื่อเสียงในระดับชาติหรือนานาชาติ หรือบุคคลที่มักจะได้รับการเสนอชื่อรับรางวัลดังกล่าว
- บุคคลที่มีผลงานอันเป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับชาติหรือนานาชาติ
- มีสื่อมากกว่าหนึ่งแหล่งกล่าวถึงเกี่ยวกับตัวบุคคลนั้น นอกเหนือจากเว็บไซต์ส่วนตัวหรือเว็บไซต์หน่วยงาน
- บุคคลที่กำลังเป็นประเด็นในเหตุการณ์ปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง
- มีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้อย่างยิ่ง โดยไม่นับเว็บไซต์ที่บุคคลดังกล่าวสังกัดอยู่ หรือความเห็นส่วนตัว
- มีความสำคัญ มีอิทธิพลต่อสังคม และอิทธิพลดังกล่าว ต้องมีแหล่งอ้างอิงที่รองรับได้
คิดว่าถ้าดูจากเกณฑ์ "มีสื่อมากกว่าหนึ่งแหล่งกล่าวถึงบุคคลนั้น" ทั้ง 2 คนสื่อกระหน่ำเล่นข่าวกันจนน่าเบื่อ คิดว่าผ่านเกณฑ์ในแง่ความชื่อเสียง เพราะจากเกณฑ์ด้านบนระบุว่า พิจารณาจากข้อใดข้อหนึ่ง ส่วนถ้าถามว่ามีความเป็นสารานุกรมหรือไม่ จาก วิกิพีเดีย:เงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม เมื่อพิจารณาจาก
- บทความสามารถมีความหมายในตัวเองภายในช่วงเวลาในอนาคต โดยไม่ต้องอ้างอิงบทความอื่น รวมไปถึงสามารถยืนยันแหล่งที่มาได้ และมีความสำคัญมากพอที่จะแยกออกมาเป็นบทความใหม่
- มีประโยชน์ - ในอีก 10 หรือ 100 ปีข้างหน้า บทความนั้นจะมีประโยชน์ต่อคนอื่นที่ไม่ใช่แค่ญาติพี่น้อง
- ไม่ใช่ที่รวมลิงก์ ที่รวมเบอร์โทรศัพท์หรือที่อยู่ รวมถึงคู่มือ ตำราต่าง ๆ ตามที่แสดงใน อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย
- ต้องไม่ใช่เอกสารต้นฉบับ
- ควรจะใช้แหล่งอ้างอิงทุติยภูมิในการพิสูจน์ยืนยัน
ตรงข้อ มีประโยชน์ - ในอีก 10 หรือ 100 ปีข้างหน้า บทความนั้นจะมีประโยชน์ต่อคนอื่นที่ไม่ใช่แค่ญาติพี่น้อง ตอบไม่ได้เหมือนกันว่ามีประโยชน์มั๊ย อาจจะมีประโยชน์ในอีก 10 ปีข้างหน้าก็ได้ หรืออาจจะไม่มีประโยชน์ ไม่รู้จะใช้อะไรมาวัดเหมือนกัน แต่เมื่อดูจากทั้ง 2 บทความแล้ว ถึงแม้มีความกำกวมเรื่องความมีชื่อเสียงและมีประโยชน์ แต่ขาดอ้างอิงมาสนับสนุนบทความ --Sry85 12:11, 9 ตุลาคม 2552 (ICT)
- คนเรามักมองเห็นค่าเมื่อสูญเสียมันไป หรือ ผ่านไปนานแล้วเพิ่งจะนึกได้ว่าจะต้องใช้มัน ข้อมูลปัจจุบันหลายอย่างคิดว่าไม่จำเป็นหรือไร้สาระ แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายต่อหลายคนกลับพยายามจะขุดเรื่องเก่าๆมาศึกษา หากเวลาผ่านไปสัก100ปี มีคนอยากศึกษาประวัติศาสตร์การให้ passport แก่คนต่างด้าว เรื่องน้องหม่องจะสำคัญขึ้นมาในบัดดล หรือ เชิงสังคมศาสตร์ ใครอยากรู้ว่าการตามหาพุพการีที่จากไปเมื่อเจอแล้วมีผลกระทบอย่างไร เคอิโงะกลายเป็นกรณศึกษาได้เลย การให้ความสำคัญอยู่ที่มุมมองของแต่ะคน ไม่ออกความเห็นว่าจะลบหรือไม่ เพราะวิกิก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับชั้นเชิงข้อมูลนัก นอกจากบันทึกเนื้อมีมีความสำคัญร่วมกัน ตรรกะทางด้านขอบเขตข้อมูลยังต้องการความเข้าใจและพัฒนาอีกต่อไป ---- I am Liger O.O คุยกันได้ 13:59, 9 ตุลาคม 2552 (ICT)
- คุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ของคุณ Liger ผมว่าน่าจะเหมาะสำหรับ วิกิซอร์ซ มากกว่า เพราะจะได้คัดลอกความจากหลักฐานปฐมภูมิที่เป็นสาธารณะลงไปได้ เช่น ถ้ามีประกาศของรัฐ หรือ การประกาศให้สัญชาติไทยที่ต้องลงในราชกิจจานุเบกษา ส่วนเรื่องลบหรือไม่ อย่างที่คุณ Sry85 เสนอในแง่มุมของเรื่องความมีชื่อเสียงมา ผมไปคิดดูอีกที ลองนึกถึงสารานุกรมแบบที่พิมพ์เป็นเล่มๆ บางครั้งหัวข้อที่เขารวมไว้ในสารานุกรมในแต่ละปีก็เป็นไปตามกระแสนิยมของข่าวด้วย เมื่อกระแสนิยมซาลงไปเรื่องบางเรื่องก็ถูกถอดถอนออกไปได้ ผมคิดว่าเวลาเท่านั้นจะเป็นเครื่องพิสูจน์ ส่วนอีกแง่หนึ่ง ลองคิดดูว่า วิกิพีเดียไทย เสียอะไร หรือ ได้อะไร จากการปล่อยให้บทความทั้งสองมีอยู่ที่นี่ไประยะหนึ่ง... ความเห็นส่วนตัวคิดว่าไม่เสียหายอะไรมากนัก เสียเรื่องนโยบาย และเสียเวลาต้องมาดูแลเก็บกวาด สองอย่าง ส่วนที่จะได้คือ อาจจะได้ผู้อ่านมากขึ้นจากคนที่ค้นข่าวของบุคคลทั้งสองเข้ามา ถ้าบทความทั้งสองอยู่รอดเดือนตุลาคมไป ลองมาดู traffic กันว่ามากน้อยแค่ไหน --taweethaも 21:35, 9 ตุลาคม 2552 (ICT)
- คนเรามักมองเห็นค่าเมื่อสูญเสียมันไป หรือ ผ่านไปนานแล้วเพิ่งจะนึกได้ว่าจะต้องใช้มัน ข้อมูลปัจจุบันหลายอย่างคิดว่าไม่จำเป็นหรือไร้สาระ แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายต่อหลายคนกลับพยายามจะขุดเรื่องเก่าๆมาศึกษา หากเวลาผ่านไปสัก100ปี มีคนอยากศึกษาประวัติศาสตร์การให้ passport แก่คนต่างด้าว เรื่องน้องหม่องจะสำคัญขึ้นมาในบัดดล หรือ เชิงสังคมศาสตร์ ใครอยากรู้ว่าการตามหาพุพการีที่จากไปเมื่อเจอแล้วมีผลกระทบอย่างไร เคอิโงะกลายเป็นกรณศึกษาได้เลย การให้ความสำคัญอยู่ที่มุมมองของแต่ะคน ไม่ออกความเห็นว่าจะลบหรือไม่ เพราะวิกิก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับชั้นเชิงข้อมูลนัก นอกจากบันทึกเนื้อมีมีความสำคัญร่วมกัน ตรรกะทางด้านขอบเขตข้อมูลยังต้องการความเข้าใจและพัฒนาอีกต่อไป ---- I am Liger O.O คุยกันได้ 13:59, 9 ตุลาคม 2552 (ICT)
- ในแง่ที่่ว่ามีประโยชน์หรือไม่ บางทีมันก็พูดยาก เพราะแต่ละคนมีความสนใจไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่นผมเอง ผมไม่ให้คุณค่าในกับประวัติดารานักร้องสักเท่าไรนัก ถึงแม้ว่าจะเป็นวงโปรดของผมก็เถอะ เพราะผมถือว่าผมฟังเพลงมากกว่าความต้องการที่จะรับรู้เรื่องราวของพวกเขา แต่คุณ Sry85 ที่ทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องเดียวกันนี้ ย่อมเห็นคุณของของเรื่องดังกล่าวแน่นอน
- อย่างไรก็ตาม การประเมินค่าของสิ่ง ๆ หนึ่งในวิกิพีเดีย ไม่สมควรจะถูกประเมินจากมุมมองของใครคนหนึ่งคนใด แต่ควรจะประเมินจากภาพรวมที่สังคมให้คุณค่ากับมัน ผมคิดแบบนั้นครับ
- ในกรณีนี้ อนาคตมันจะชี้ชัดออกมาเองแหละครับว่า สองคนนี้มีคุณค่าต่อสังคมจริงหรือไม่ เพราะถ้ามี พวกเขาจะเป็นที่กล่าวขานต่อไปเอง
- อย่างไรก็ตาม การเป็นแหล่งรวบรวมข่าวสารอย่างที่คุณไลเกอร์กล่าวมานั้น ผมกลับเห็นว่า มันออกจากแปลก ๆ ไปสักหน่อยนะครับ เหตุผลที่คุณยกมาอ้างเพื่อสนับสนุนน้องโคอิเงะ มันฟังแล้วเหมือนการทำตัวเป็นแหล่งเก็บข้อมูลสำรองเผื่อวันหน้าใครถูกบุพการีทิ้งจะได้เอาอย่าง/มูลนิธิช่วยเหลือสังคม ซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ของวิกิพีเดีย ดั่งที่ระบุไว้ใน วิกิพีเดีย:อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย#วิกิพีเดียไม่ใช่แหล่งเก็บข้อมูลสำรองนะครับ ส่วนกรณีที่ยกมาสนับสนุนน้องหม่อง ถ้าผมจำไม่ผิด เรื่องของน้องหม่องสมควรจะไปอยู่ในบทความ ประวัติหนังสือเดินทางไทย เสียมากกว่านะครับ อีกทั้งคนที่มีปัญหากับเรื่องหนังสือเดินทาง ใช่ว่ามีน้องหม่องคนเดียวเสียเมื่อไรหล่ะครับ บุคคลที่จัดได้ว่ามีสองสัญชาติในประเทศไทย อาจจะมีเป็นหมื่นนะคุณ ผมยังจำได้เลยว่า คนที่สอบเอ็นทรานซ์ ได้อันดับต้น ๆ ในรุ่นเดียวกับผม ก็มีปัญหาเนื่องด้วยเป็นบุคคลสองสัญชาตินะครับ
- อย่างไรก็ตาม การประเมินค่าของสิ่ง ๆ หนึ่งในวิกิพีเดีย ไม่สมควรจะถูกประเมินจากมุมมองของใครคนหนึ่งคนใด แต่ควรจะประเมินจากภาพรวมที่สังคมให้คุณค่ากับมัน ผมคิดแบบนั้นครับ
- และอีกนั่นแหละครับ เรื่องของเขาเองก็เลือนหายไปกับกระแสกาลเวลาเช่นกันครับผม ดังนั้น ผมคิดว่า เรื่องของน้องหม่องก็เป็นแค่หนึ่งในหลาย ๆ กรณีนี้ที่บังเอิญดัง ก็เท่านั้นแหละครับ
- โดยสรุปแล้ว ผมคิดว่า เราอาจจะหาทางออกด้วยการคงบทความนี้พร้อมป้าย "ใคร" เอาไว้ก่อน และเมื่อเวลาผ่านพ้นไป ค่อยมาประเมินกันใหม่ว่าบทความทั้งสอง จะยังคงมีความสำคัญมีคุณค่าแก่การจารึกเอาไว้หรือไม่ครับ
Whatever Will Be, Will Be
— เจย์ ลิฟวิงสตัน และ เรย์ อีแวนส์
--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 21:20, 10 ตุลาคม 2552 (ICT)
- ผมว่าเอาไว้จนกว่าจะหมดกระแส แล้วหลังจากนั้นค่อยพิจารณาต่อไปว่าจะทำยังไงกับบทความเหล่านี้ --Mahatee | พูดคุย 14:59, 11 ตุลาคม 2552 (ICT)
เหมือนกรณี ซูซาน บอยล์ ไหมครับ ใครก็ไม่รู้ จู่ ๆ ก็ดังข้ามคืน แค่ไปร้องเพลง --octahedron80 15:40, 11 ตุลาคม 2552 (ICT)
- อ้อ เดี๋ยวนี้จะตัดสินอะไรตาม"กระแส"แล้วรึ? เดี๋ยวก็เหมือนบทความประเทศไทย พอหมดกระแสก็กลัวจะไปสะกิดแผลเก่า ปล่อยค้างคาไว้จนทุกวันนี้ Choosing between Truth and safety of Lies... 16:58, 16 ตุลาคม 2552 (ICT)
- จด ๆ จ้อง ๆ จะท้องได้ไง เอ๊ย ไม่ใช่ มันแต่กลัว ๆ กัน แล้วเมื่อไรจะได้เรื่องหล่ะครับ หรือว่าจะเก่งกันแต่เรื่องหมาหมู่หล่ะเนี่ย (นี่ก็สะกิดแผลเก่าเมื่อปีก่อน อิอิอิ) --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 01:45, 24 ตุลาคม 2552 (ICT)
- เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ให้คงป้าย "ใคร" ไว้ก่อน แล้วคงกลับมาประเมินอีกครั้ง --Testdd 16:35, 29 ตุลาคม 2552 (ICT)
เพิ่มเติมเรื่องการอ้างอิง
แก้"เว็บไซต์ส่วนตัว สถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด ผลงานตีพิมพ์หรือผลงานอื่น ๆ ของบุคคลนั้นเอง อาจใช้เป็นแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ยืนยันข้อมูลที่เขียนได้ เพราะบางกรณีข้อมูลที่ให้โดยเจ้าตัวมีความน่าเชื่อถือมากกว่าคนอื่นบอกกล่าว (เช่นข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติส่วนตัว รสนิยมทางเพศ คำพูด หรือทัศนคติส่วนบุคคล) แต่จะไม่พิจารณาเป็นปัจจัยสำหรับพิจารณาความโดดเด่น ดังที่ได้กล่าวแล้ว" เพราะการอ้างอิงแหล่งที่มากับความโดดเด่นเป็นคนละประเด็น จึงต้องแยกอธิบายให้ชัดเจน --octahedron80 02:08, 30 สิงหาคม 2554 (ICT)
เกณฑ์แสดงความโดดเด่นของบทความ (บุคคล)
แก้อยากทราบว่าบุคคลที่จัดว่ามีความโดยเด่นประเภทบุคคล ต้องเป็นผู้ที่มีความโดดเด่นระดับชาติเท่านั้นหรือเปล่า หากเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในระดับท้องถื่นถือว่ามีความโดดเด่นหรือไม่ เช่นเป็นบุคคลที่ได้สร้างคุณงามความดีแก่ท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งจนคนในท้องถิ่นยอมรับ --Kunjeab (พูดคุย) 07:22, 19 กันยายน 2555 (ICT)
ขอความเห็น: บทความบันเทิงที่มีแหล่งอ้างอิงน่าสงสัย
แก้คำถามผมมีสั้น ๆ อยู่ว่า หากบทความบุคคลบันเทิง (เช่น "ดารา" หน้าใหม่ เน็ตไอดอล) มีแหล่งอ้างอิงเฉพาะเว็บออนไลน์อย่างกระปุก เอ็มไทย สนุก สโป๊กดาร์ก ฯลฯ แบบนี้จะถือว่าผ่านเกณฑ์ความสำคัญของบทความไหมครับ
ในเมื่อมีหน้าสำหรับนักร้อง ขออนุญาติใช้นะครับ
แก้มีหน้าของนักร้องแล้วขออนุญาติดึงจากดารานักแสดงนะครับ เพราะ หัวข้อของนักร้องก็มีอยูาแล้ว ไม่ต้องมั่วซั่วกับดศรส --Peeravich23 (คุย) 16:10, 13 กันยายน 2562 (ICT)