หน้านี้เป็นหน้าพูดคุยสำหรับการแสดงความเห็นเพื่อพัฒนาวิกิพีเดีย ความโดดเด่น

บทความจากภาษาอังกฤษ แก้

ดูได้จากหน้าต่อไปนี้ในเทมเพลต en:Template:IncGuide en:Template:Notabilityguide --Manop | พูดคุย -   07:20, 6 ธันวาคม 2005 (UTC)

-- PaePae 08:22, 6 ธันวาคม 2005 (UTC)

ชื่อบทความน่าจะเป็น "แนวทาง..." แก้

ผมคิดว่าถ้าจะตามภาษาอังกฤษน่าจะใช้ว่าเป็น แนวทาง... มากกว่า เงื่อนไข... นะครับ ใช้คำว่าเงื่อนไขมันเหมือนจะเป็นขาว-ดำมากเกินไป (ซึ่งผมคิดว่าคงจะตัดสินอะไรกันแบบนั้นไม่ได้) และทุกคนคงไม่ได้มีความเห็นเหมือน ๆ กันในทุกเรื่องนะครับ ท่านอื่น ๆ คิดว่าอย่างไรครับ --- Jittat 12:43, 7 ธันวาคม 2005 (UTC)

แก้เลยครับ กดที่ปุ่ม "เปลี่ยนชื่อ" ด้านบนของบทความ แต่ถ้าไม่แน่ใจ ยังลังเล ยังตัดสินใจไม่ได้ก็รอความเห็นท่านอื่นต่อไปก็ได้ครับ เกือบสองปีละยังไม่มีความเห็น --Manop | พูดคุย 23:00, 22 กรกฎาคม 2007 (UTC)

มีเนื้อหา ไม่เป็นแค่โครง แก้

มีเนื้อหา ไม่เป็นแค่โครง - บทความสมบูรณ์จะถูกเขียนขึ้น ยกตัวอย่างเช่น 1 ปีข้างหน้าบทความนี้จะมีการเพิ่มเติมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 
ไม่เป็นเพียงโครงบทความ

อ่าน ตรง นี้ แล้ว เหมือน ว่า ไม่ควร มี โครง รึเปล่า? แต่ ข้างหลัง เหมือน จะ บอก ว่า โครง จะ สามารถ พัฒนา โดย ตัว ของ มัน เอง. ตรง นี้ อ่าน แล้ว ไม่ชัดเจน อัน อาจ ทำให้ เข้าใจผิด, ขอ อนุญาต เอา ออก ก่อน จะ ได้ รึเปล่า ครับ? --Ans 12:21, 10 ธันวาคม 2005 (UTC)

ถ้าเป็นอย่างนี้ล่ะครับ?
มีเนื้อหา หรือเป็นโครงที่ช่วยให้การเขียนบทความที่สมบูรณ์มากขึ้นทำได้สะดวก :ไม่เป็นเพียงโครงบทความเปล่า ๆ
--- Jittat 14:47, 10 ธันวาคม 2005 (UTC)
ไม่เข้าใจ อยู่ดี แหะ.
แต่ ไม่ว่า จะ เข้าใจ หรือ หมายความ กัน อย่างไร, ผม ก็ ขอ อนุญาต ตั้ง ข้อสังเกต และ แนวทาง บางอย่าง ใน เรื่อง ของ โครง ไว้ ก่อน ดังนี้ ครับ,
  • ทุกอย่าง ต้อง มี การ เริ่มต้น.
  • การ เริ่มต้น ด้วย ข้อความ เพียง 1-2 ประโยค ก็ ถือ เป็น การ เริ่มต้น.
  • ถ้า ไม่มี ก้าวแรก แล้ว จะ มี ก้าว ต่อไป ได้ อย่างไร.
  • ถ้า ใคร เขียน เนื้อหา เข้า มา ไม่ กี่ ประโยค แล้ว เรา เห็น ว่า น้อย ไป, ก็ ไป ลบ หรือ แจ้งลบ ของ เขา ออก ทั้งหมด, มัน จะ เหมือน ว่า เรา ไม่ เห็น ความ สำคัญ ของ การ มี ส่วนร่วม ของ เขา.
  • อัน ว่า ปรัชญา ของ wiki, ทุก การ มี ส่วนร่วม ของ ทุกคน มี ความ สำคัญ หมด.
  • ไม่ว่า จะ มาก จะ น้อย แค่ ไหน ก็ มี ความ สำคัญ หมด.
  • มี ส่วนร่วม กัน คนละนิด คนละหน่อย, ถ้า หลาย ๆ คน รวม ๆ กัน, ค่อย ๆ สะสม ไป เรื่อย ๆ มัน ก็ มาก ขึ้น มา เอง.
  • เหมือน ลูกบอลเก้งกิ ใน เรื่อง ดราก้อนบอล หนะ.
ผิด ถูก อย่างไร ก็ ขอ น้อม รับ คำ วิจารณ์ ครับ. --Ans 15:30, 10 ธันวาคม 2005 (UTC)
ตัวผมเองอยากให้เก็บโครงไว้นะครับ ถ้ามันมีเนื้อหาน้อยมาก ก็ดีกว่าไม่มีเลย แทนที่จะลบโครงหนึ่งบรรทัด (ถ้าเป็นไปได้) ก็อาจจะไปแปลจาก en มาสักสองบรรทัด น่าจะโอเค สรุปคือเห็นด้วยกับคุณ Ans นะครับ (จริง ๆ ก็แล้วแต่วัน บางวันก็เป็นพวก Inclusionist บางวันก็เป็นพวก Exclusionist หรือ Deletionist อิอิ) --- Jittat 15:41, 10 ธันวาคม 2005 (UTC)

ผมเจอหลายบทความที่เป็นโครงมานานมาก อายุพอๆ กับวิกิพีเดียไทยเลยนะครับ ยกตัวอย่างบทความ ลินุกซ์ เริ่มต้นเมื่อ 27 เมษายน 2547 (1 ปี กับอีก 7 เดือน) แต่ยังเป็นโครงนะครับ เลยไม่เข้าใจว่าต้องการอะไร แล้วก็ ลินุกซ์ เป็นหนึ่งในระบบปฏิบัติการที่สำคัญของโลกตัวหนึ่งนะครับ

อันนี้ตอบคุณ Jittat

บทความหนึ่งบรรทัดหรือสองบรรทัด ไม่ต่างกันครับ ขึ้นอยู่กับว่า มีเนื้อหาหรือเปล่า บางบทความมีห้าบรรทัด แต่อ่านมาแล้วเหมือนหนึ่งประโยค การตัดสินใจลบส่วนตัวของผมคือ "บทความนั้นมีความหมาย" "บทความนั้นมีประโยชน์กับคนอื่นนอกจากคนเขียน" "บทความนั้นมีแนวทางในการพัฒนา" และที่สำคัญ ถ้าได้เขียนบ่อยจะรู้ว่า บทความสั้น จะทำให้คนที่อยากมาเขียน ไม่อยากเขียน บทความสั้นที่มีการสร้างไว้แล้วเหมือน ส่วนตัวผมจะเขียนเรื่องเมือง ผมเจอ ปักกิ่ง หนึ่งบรรทัด ซึ่ง เซี่ยงไฮ้ สองบรรทัดซึ่งมีความหมายมากกว่าเยอะ ผมไม่คิดจะเขียนเพิ่ม แต่ไปเขียน นิวยอร์กที่มีมากกว่าหนึ่งย่อหน้า หรือ ชิคาโกที่ยังไม่มีใครเขียนดีกว่า
--Manop | พูดคุย -   21:04, 10 ธันวาคม 2005 (UTC)
นั่น เป็น ความ เห็น ส่วนตัว ใช่ ไหม ครับ? คุณ ไม่อยากเขียน ไม่ได้ หมายความ ว่า คนอื่น จะ ไม่อยากเขียน เหมือน กับ คุณ ใช่ ไหม ครับ?
ขอ ยก ตัวอย่าง การ์ตูนญี่ปุ่น, ซึ่ง ผม ขึ้น โครง ไว้ สั้น มาก ๆ, ขึ้น ไว้ ตั้งแต่ 4 พ.ค. 2004, แล้ว ผม ก็ ไม่ได้ เข้า ไป เขียน อีก เลย. หลังจาก นั้น นาน ถึง 3 เดือน จึง มี คน เริ่ม เข้า มา สาน ต่อ จน ปัจจุบัน มัน ก็ ดู เป็น รูป เป็น ร่าง มาก ขึ้น จน ได้ (ซึ่ง ผม ไม่ได้ มี ส่วนร่วม เลย ซักกะติ๊ด, หลังจากนั้น. ต้อง ขอ ขอบคุณ ทุกคน ที่ เข้า มา ช่วย สาน ต่อ).
ปล. ขออภัย ที่ เข้า มา ตอบ ช้า ไป หน่อย ครับ, เพิ่ง มี เวลา ได้ มา อ่าน หน้า นี้ หนะ ครับ.
--Ans 12:53, 8 พฤษภาคม 2006 (UTC)

ส่วนอันนี้ตอบคุณ Ans ทีละข้อ (ขออนุญาต trim เว้นวรรคนะครับ)

  1. ทุกอย่างต้องมีการเริ่มต้น การ เริ่มต้น ด้วย ข้อความ เพียง 1-2 ประโยค ก็ ถือ เป็น การ เริ่มต้น ถ้า ไม่มี ก้าวแรก แล้ว จะ มี ก้าว ต่อไป ได้ อย่างไร
    • ถูกครับ แต่คุณ Ans ควรจะสานต่องานที่ตัวเองเริ่มต้นให้เสร็จ อย่างน้อยสานต่อให้เห็นภาพว่าสิ่งที่เริ่มต้นคืออะไร วิกิพีเดียเป็นสารานุกรม ไม่ใช่พจนานุกรม ครับ --Manop | พูดคุย -   21:04, 10 ธันวาคม 2005 (UTC)
      • ในที่สุด ก็ อาจจะ มี คน อื่น มา สานต่อ ให้ ตาม ตัวอย่าง การ์ตูนญี่ปุ่น ที่ ยก ไว้ ข้างบน. --Ans 12:53, 8 พฤษภาคม 2006 (UTC)
  2. ถ้าใครเขียนเนื้อหาเข้ามาไม่กี่ประโยคแล้วเราเห็นว่าน้อยไป, ก็ไปลบหรือแจ้งลบของเขาออกทั้งหมด, มันจะเหมือนว่าเราไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของเขา.
    • คำตอบเหมือนข้อแรกครับ ถ้าคุณเริ่ม อย่างน้อยคุณควรจะเขียนให้รู้ว่าคืออะไร ไม่ใช่แต่เขียนว่า "นาย.กขค เป็นนักวิทยาศาสตร์สาขาวัสดุศาสตร์" แล้วจบแล้วบอกว่าเริ่มต้น และใส่เป็นโครงไว้
  3. อันว่าปรัชญาของwiki,ทุกการมีส่วนร่วมของทุกคนมีความสำคัญหมด.
    • นโยบายคือทุกคนมีส่วนร่วม แต่ย้อนกลับไปอ่านข้อ 1 ครับ หรือหัวข้อบทความว่า วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี --Manop | พูดคุย -   21:04, 10 ธันวาคม 2005 (UTC)
      • เสรี น่า จะ หมายถึง ให้ ทุกคน มี ส่วนร่วม. ในที่สุด มัน ก็ เป็น สารานุกรม ได้ ครับ, ถ้า มี คน มา สาน ต่อ. --Ans 12:53, 8 พฤษภาคม 2006 (UTC)
  4. ไม่ว่าจะมากจะน้อยแค่ไหนก็มีความสำคัญหมด.
    • ความสำคัญขึ้นอยู่กับเนื้อหาครับ ถ้าไม่มีเนื้อหาก็คิดไม่ได้ว่าสำคัญหรือเปล่า ก็อาจต้องลบรอคนที่ต้องการเขียนจริงๆ มาเขียนเนื้อหา --Manop | พูดคุย -   21:04, 10 ธันวาคม 2005 (UTC)
      • การ เปิด โอกาส ให้ คน ได้ มี ส่วนร่วม แม้ เพียง สัก เสี้ยว ของ กระผีก ก็ มี ความ สำคัญ ไม่ ยิ่งหย่อน กว่า กัน ครับ --Ans 12:53, 8 พฤษภาคม 2006 (UTC)
      • ก็อาจต้องลบรอคนที่ต้องการเขียนจริงๆ มาเขียนเนื้อหา <-- แล้ว เนื้อหา เพียง ไม่ กี่ วลี ที่ เคย มี คน ขึ้น เป็น โครง ไว้ ก็ จะ ถูก ลบ ไป เพื่อ รอ ให้ คน อื่น มา เริ่ม ใหม่ จาก ศูนย์ อีก หยั่งงั้น เหรอ ครับ? ให้ คน มา สานต่อ จาก 0.000000000000001 ก็ ยัง ดีกว่า (หรือ ไม่ได้ แย่ ไป กว่า) สานต่อ จาก 0.00 ไม่ใช่ เหรอ ครับ. ยิ่ง ไป กว่า นั้น การ มี ส่วนร่วม เพียง 0.00000000001 นั้น ก็ ยัง คง ความ สำคัญ ใน แง่ ว่า เป็น 1 สิทธิ 1 เสียง 1 ความตั้งใจ ของ การ มี ส่วนร่วม นะ ครับ, สำหรับ wiki. --Ans 13:10, 8 พฤษภาคม 2006 (UTC)
  5. มีส่วนร่วมกันคนละนิดคนละหน่อย,ถ้าหลายๆคนรวมๆกัน,ค่อยๆสะสมไปเรื่อยๆมันก็มากขึ้นมาเอง.
    • ไม่จริงครับ ขึ้นอยู่กับบทความ ถ้าบทความไหนมีผู้สนใจสูง บทความนั้นจะมีคนเขียนเยอะเหมือนกันเช่น ประเทศไทย มีหลายคนได้ แต่ถ้าบทความที่มีผู้สนใจเฉพาะกลุ่มอย่าง คุณครูจอมเวทย์ เนกิมะ! ก็มีเขียนเยอะจากผู้ร่วมเขียน 3-4 คนก็เป็นบทความสมบูรณ์ได้ครับ แต่ยิ่งกว่านั้นคือบทความที่ไม่มีผู้สนใจหรือเฉพาะกลุ่มมาก และคนในกลุ่มเขียนแต่โครง รอให้คนอื่นมาเพิ่มก็จะไม่มีคนเขียนครับ --Manop | พูดคุย -   21:04, 10 ธันวาคม 2005 (UTC)
      • มี ตัวอย่าง แย้ง ข้างบน ครับ --Ans 12:53, 8 พฤษภาคม 2006 (UTC)
  6. เหมือนลูกบอลเก็งกิในเรื่องดราก้อนบอลหนะ
    • ถ้าเทียบความสำคัญของลูกบอลเก็งกิ ศึกชิงจ้าวยุทธภพ หรือ เมฆสีทอง ก็นับเป็นสารานุกรมการ์ตูนได้ แต่คนที่จะมาเขียนก็คงไม่เยอะอยู่ดี --Manop | พูดคุย -   21:04, 10 ธันวาคม 2005 (UTC)
      • ไม่ได้ หมายถึง ตัว บทความ ลูกบอลเก้งกิ นะ ครับ, หมายถึง วิธี การ รวบรวม พลัง ของ ลูกบอลเก้งกิ นะ ครับ, ที่ ว่า พลังงาน จาก สิ่งมีชีวิต ทุกชนิด แม้ เพียง น้อยนิด ก็ รวม กัน เป็น บอลเก้งกิ ได้. --Ans 12:53, 8 พฤษภาคม 2006 (UTC)
  7. ผิดถูกอย่างไรก็ขอน้อมรับคำวิจารณ์ครับ
    • ในวิกิพีเดีย ไม่มีคำว่า"ผิด"หรือ"ถูก"ครับ ทุกคนมีความเห็น และทุกความเห็นมีน้ำหนักเท่ากัน

--Manop | พูดคุย -   21:04, 10 ธันวาคม 2005 (UTC)

ผมไม่คิดว่าเรื่องเช่นนี้ควรจะถูกกำหนดเป็นนโยบายหรือเป็นสิ่งที่เรียกว่าเงื่อนไข เพราะว่าสุดท้ายแล้วมันก็เป็นความเห็นของผู้ใช้เหมือน ๆ กัน สิ่งที่ควรนับเป็นนโยบายนั้นควรเป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นตรงกันหรือยอมรับได้หมด และเท่าที่คุยมาความเห็นค่อนข้างแตกต่างกันพอสมควร ดังนั้นผมขอเอาประโยคดังกล่าวออกจากหน้าเงื่อนไขแล้วกันครับ (ถ้าคุณ Manop ไม่มีปัญหาก็รบกวนช่วยเขียนตอบด้วย ผมจะได้เอาออกนะครับ) --- Jittat 03:50, 11 ธันวาคม 2005 (UTC)
จริงอย่างที่คุณ Jittat พูดครับผมลืมไป หลายอันผมไปตามวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมากไปหน่อย ^_^ นโยบายน่าจะเป็นสิ่งที่ทุกคนมีความเห็นเหมือนกันหมด นโยบายไทย น่าจะเป็นสิ่งที่คนไทยเห็นเหมือนกันหมด แฮะแฮะ ฝากคุณ Jittat ช่วยดูหน่อยครับ ถ้าผมเขียนอะไรไม่ดีฝากดูดูด้วยนะครับ ถ้าว่างออไนลน์มาคุยกันได้ครับ ชื่อผมอยู่ในหน้า วิกิพีเดีย:เมสเซนเจอร์ --Manop | พูดคุย -   04:15, 11 ธันวาคม 2005 (UTC)
ครับ ก็ต้องพูดคุยกันไปน่ะครับ เออ ตรงเกี่ยวกับโครงนี้ ภาษาอังกฤษเขียนไว้ตรงไหนน่ะครับ (ลองไปหาแล้วไม่เจอ) จะได้ไปดูว่าเค้าคุยอะไรกันบ้างน่ะครับ เพราะว่าผมก็อยากรู้เหมือนกันว่าทางโน้นเค้าทำกันยังไงน่ะครับ แล้วก็ไม่มีอะไรไม่ดีหรอกครับ ก็ช่วย ๆ กันครับ (เดี๋ยวผมไป add ครับ) --- Jittat 04:25, 11 ธันวาคม 2005 (UTC)
อีกนิดนะครับ บทความบางบทความ แม้ว่าจะเป็นโครง — ซึ่งจริง ๆ คนที่ใส่ไว้น่าจะใส่ไว้เพื่อหมายความว่าเนื้อหายังไม่ครบมากกว่า — เช่น ลินุกซ์ (ที่เห็นคุณ Manop ก็ไปช่วยแก้นี่ครับ) ผมว่าบทความนั้นก็เป็นบทความในสารานุกรมได้นะครับ แล้วจริง ๆ ก็จัดว่าเป็นบทความที่ใช้ได้บทความหนึ่งนะครับ --- Jittat 04:02, 11 ธันวาคม 2005 (UTC)
ลินุกซ์ ผมก็ไม่ค่อยรู้จักเท่าไรนะครับ ก็แปลแปลจากภาษาอังกฤษมามากกว่า ผมเคยใช้สองสามครั้งเองตอนไปใช้คอมเพื่อน ผมว่ามีอีกหลายอย่างที่ควรเพิ่ม เพราะตอนนี้ในลินุกซ์ มีแต่บทนำ กับประวัตินิดหน่อย กะว่าจะเพิ่มไม่วันนี้ก็พรุ่งนี้ --Manop | พูดคุย -   04:15, 11 ธันวาคม 2005 (UTC)
เยี่ยมครับ ขยันจัง ;) --- Jittat 04:25, 11 ธันวาคม 2005 (UTC)
ขอบคุณครับคุณ Jittat เห็นว่าได้แก้ไปแล้วในหน้าหลักหน้านี้ เรื่องลินุกซ์ผมลองไปอ่านส่วนที่เป็นโปรแกรมแล้วมึน คิดว่าคงรอให้ในวิกิพีเดีย มีผู้ใช้วิลินุกซ์ มาช่วยเขียนนะครับ ผมอ่านแล้วเจอหลายเรื่องที่ไม่รู้ เช่น Emacs, Vim, Eclipse KDevelop Anjuta--Manop | พูดคุย -   06:30, 11 ธันวาคม 2005 (UTC)


  • อย่าโต้กันไปโต้กันมาเลยครับ หันมาสร้างวิกิต่อไปเถอะครับ อยากทำอะไรก็ทำไป ค่อยๆทำวันละนิด เดี๋ยวมันก็เต็มเองอะครับ (ความหมายเอาไปแปลกันเอาเอง) ผู้ใช้:Mda 8 พฤษภาคม 2006

เงื่อนไขของบุคคลที่น่าจะถูกบรรจุในสารานุกรมได้ แก้

ถ้าเกิดว่ามีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ก็น่าจะอยู่ในสารานุกรมได้เลย (ถ้าไม่มีข้อใดเลย ก็อาจจะยังอยู่ได้ ลองเสนอเพิ่มเติมดู)

  • นักกีฬา
    • นักกีฬาสมัครเล่น ติดทีมชาติ หรือเป็นตัวแทนประเทศ
    • นักกีฬาอาชีพ เล่นในระดับสโมสรอาชีพ หรือทัวร์นาเมนต์ชิงเงินรางวัล
  • นักวิชาการ
    • ตำแหน่งทางวิชาการ: สมาชิกราชบัณฑิตยสถาน หรือ ตำแหน่งศาสตราจารย์
    • ตำแหน่งบริหาร: อธิการบดี ผู้อำนวยการศูนย์ อธิบดี ประธาน/นายกสมาคมวิชาการ หรือเทียบเท่า
    • รางวัล: รางวัลนักวิจัยดีเด่น รางวัลโนเบล lifetime achievement ฯลฯ
    • ความเป็นที่รู้จัก: เป็นผู้ดำเนินรายการทีวี วิทยุ สื่อกระแสหลัก คนทั่วไปรู้จัก
    • ผลงาน: มีผลงานที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป เช่น หนังสือ สิ่งประดิษฐ์
  • นักการเมือง
    • เคยเป็น หรือเป็น สส. สว. สจ. สข. ผู้ว่า รองผู้ว่า สสร.
    • เคยเป็น หรือเป็น หัวหน้าพรรค รองหัวหน้า เลขาธิการ หรือตำแหน่งสำคัญในพรรคการเมือง หรือเทียบเท่า
  • ศิลปิน นักร้อง นักแสดง
    • มีผลงานเชิงพาณิชย์ เช่น อัลบั้มเพลง เล่นภาพยนตร์ที่ฉายในโรงภาพยนตร์
    • ผลงานมีความสำคัญ หรือ เป็นตัวแทนของแขนง/แนวทางทางศิลปะที่เด่นชัด
    • รางวัล: ศิลปินแห่งชาติ ฯลฯ
  • นักเขียน
    • มีผลงานเป็นรูปเล่มตีพิมพ์ออกจำหน่าย
    • รางวัล: ศรีบูรพา ซีไรท์ โนเบล ฯลฯ
  • ผู้นำ
    • ผู้นำและมีอิทธิพลในวงการต่างๆ เช่นวงการบันเทิง ( ผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้สร้าง )
    • ผู้นำกลุ่มการเคลื่อนไหวที่มีอิทธิต่อสังคม

-- Bact 15 กรกฎาคม 2006

คุณ Bact สามารถนำไปเขียนได้ในหน้าหลักครับ โดยไม่ต้องเขียนเฉพาะในหน้าพูดคุย หน้าทุกหน้าในวิกิสามารถแก้ไขได้โดยผู้ใช้ทุกคนครับ (ตอบช้าไปหนึ่งปี)--Manop | พูดคุย 23:00, 22 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ความสำคัญ แก้

เห็นมีหลายบทความโดนลบไปด้วยเห็นเหตุผลว่า ขาดความสำคัญ อยากทราบความเห็นเรื่องความสำคัญครับ มานึกดูแล้ว วิกิพีเดียนี่ทำให้เสรีกับทุกๆคนได้ใช้ ถ้าบอกว่า เรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่สำคัญ เกณฑ์การตัดสินใจมันขึ้นอยู่กับ บรรดาผู้ดูแล ว่า รู้จักสิ่งๆนั้นหรือเปล่า บางทีระดับการอ้างอิง อาจไม่ช่วยให้การพิจารณาก็ได้ เช่น อ้างอิงจาก หนังสือวารสารท้องถิ่นที่หนึ่ง ซึ่งอาจไม่ดังระดับประเทศ สมควรลบหรือไม่ และประเด็นความสำคัญ ควรพิจารณากันใหม่ เพราะ เรื่องเฉพาะกลุ่ม ก็ควรพิจาณา เนื่องจาก ทุกคนควรมีความสำคัญเช่นกัน เพราะเกณฑ์การอ้างอิง อาจไม่เหมือนกันก็ได้ -- Liger ( ~ /|\ ~ ) คุยกันได้ 03:46, 16 กรกฎาคม 2007 (UTC)

{{ขาดความสำคัญ}} ไม่ได้บอกว่าบทความนี้ขาดความสำคัญนะครับ บอกว่าบทความนี้ "ไม่ได้กล่าวว่าสำคัญอย่างไร" เห็นอย่างบางเรื่องเขียนเสร็จเรียบร้อย อ่านจนจบผมยังไม่รู้เลยว่าคนนี้สำคัญอย่างไร มีแต่บอกว่า เกิดที่ไหน ลูกพ่อแม่ใคร เรียนที่นี่ ทำงานอะไร แล้วก็ตัดจบ นะครับ --Manop | พูดคุย 21:59, 22 กรกฎาคม 2007 (UTC)

เสนอเงื่อนไขความสำคัญของการแข่งขันกีฬา แก้

เห็นว่าเรื่องการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ซึ่งในบางครั้งเป็นที่รู้จักในวงแคบ เช่น ในมหาวิทยาลัยหรือระหว่างมหาวิทยาลัย จึงคาดว่ายังไม่มีเงื่อนไขมากำหนดหลักการของบทความประเภทนี้ และน่าจะมีการร่างเงื่อนไขขึ้นครับ โดยส่วนตัวเห็นว่าบทความที่ไม่มีแหล่งอ้างอิง ไม่ใช่การแข่งขันกีฬาระดับชาติหรือนานาชาติ ไม่ควรมีในวิกิพีเดียครับ --Horus | พูดคุย 19:08, 10 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

  • ผมเห็นด้วยกับแนวคิดที่ควรจะมีบทความการแข่งขันกีฬา เฉพาะระดับชาติ และนานาชาติ แต่กระนั้นก็พูดยากนะครับ ผมยังจำได้เรื่องบทความ หมู่บ้าน ตำบล ซึ่งผมเสนอให้ลบด้วยเหตุผลว่า ขาดความสำคัญ หรือ ไม่เป็นที่รู้จัก ไม่เป็นสารานุกรม แต่ก็ได้มีการร่วมกันพิจารณาให้ความเห็น และไม่ได้มีการลบบทความประเภทนั้นแต่อย่างใด ผมจึงมองว่า หากจะมีการจัดบรรทัดฐานบทความ ควรจะให้ความสำคัญกับ อ้างอิง เนื้อหา มากกว่า ความสำคัญ เช่น บทความต้องมีอ้างอิงอย่างเหมาะสม และมีเนื้อหาที่เพียงพอที่จะเป็นบทความที่ให้ความรู้ได้ (แบบว่าอ่านแล้วให้มันได้อะไรมากกว่าการรู้แค่ชื่อ) --Pongsak ksm 20:51, 10 พฤศจิกายน 2553 (ICT)
หมายความว่าถ้าบทความมามีแค่วัตถุประสงค์ วันเวลาที่จัด รายละเอียดเล็กน้อย ไม่น่าจะปล่อยไว้เป็นบทความหรือเปล่าครับ ผมคิดว่านี่น่าจะเป็นหลักการที่ใช้ได้กับบทความที่เขียนคล้ายกับโบชัวร์หรือเว็บไซต์แนะนำหน่วยงานอะไรทำนองนั้นเช่นเดียวกันด้วยครับ --Horus | พูดคุย 21:15, 10 พฤศจิกายน 2553 (ICT)
อาจพิจารณาในหน้า วิกิพีเดีย:ความโดดเด่นของบทความ (องค์กรและบริษัท) เพราะถือเป็น องค์กรคือกลุ่มที่มีคนมากกว่า 1 คนรวมตัวกันเพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง โดยหลักแล้ว ควรพิจารณาจากแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิ ว่ามีหรือไม่ --Sry85 23:04, 10 พฤศจิกายน 2553 (ICT)
ใช้แล้วครับ บทความที่มีรายละเอียดน้อยมาก จนไม่รู้ว่าอ่านจบแล้ว ทำให้รู้อะไรมากขึ้น ผมว่าก็ควรจะเตือนให้ปรับปรุง หากไม่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหา ก็ควรจะลบออกไปครับ (ไม่รู้ว่าจะมีคนเห็นด้วยกับผมหรือปล่าว) ผมสังเกตว่า บทความ "สั้นมาก" มีจำนวนไม่น้อยเลย แต่ก็ไม่มีใครคิดจะทำให้มันยาวขึ้น เอาเป็นว่าใครช่วยได้ก็ช่วยกันต่อไปครับ --Pongsak ksm 23:21, 10 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

ผมเห็นประเด็นอื่นครับ เช่นมีบทความประเทศนั้นที่ลงแข่งขันกีฬาระดับชาติหรือนานาชาติ แต่เนื้อหาจริงๆไม่มีอะไรเลย แม้แต่เหรียญรางวัลเดียวก็ยังไม่ได้ ผมจึงเห็นว่าลักษณะแบบนี้ไม่มีความสำคัญ ตัวอย่างเช่น ประเทศอียิปต์ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 บทความลักษณะนี้มีมากมาย ความสำคัญผมกำหนดให้อยู่ที่ระดับได้รับรางวัลอย่างน้อยหนึ่งอย่างครับ --octahedron80 17:26, 13 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

บทความที่มีลักษณะดังนี้จะแก้ไขอย่างไรครับ จะลบไปก็คาดว่าจำนวนบทความจะต้องลดฮวบแน่ --Horus | พูดคุย 17:00, 14 พฤศจิกายน 2553 (ICT)
คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณนะครับ--Saeng Petchchai 18:02, 14 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

ถูกแล้วครับ แต่ว่าวัฒนธรรมประนีประนอมมันก็อยู่คู่กับวิกิพีเดียมานานแล้วเหมือนกัน ถ้าไม่มีนี่ บทความสั้น ๆ ผมคงไม่ต้องมารอว่าลบได้หรือไม่ด้วยการพูดคุยแบบนี้แล้วล่ะครับ --Horus | พูดคุย 20:11, 14 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

สำหรับบทความกีฬาระดับชาติและนานาชาตินั้น ดิชั้นคิดว่าไม่น่าจะลบนะคะ บทความของแต่ละประเทศที่ร่วมแข่งขัน มันอาจจะดูมีเนื้อหาน้อยก็จริงหรือดูไม่มีความสำคัญ จริงแล้วมันก็มีความสำคัญอยู่ไม่น้อยเช่นกัน อย่างน้อยก็สามารถให้ข้อมูลที่ครบถ้วนในหลายๆด้าน สำหรับผู้ที่ต้องการค้นคว้าก็เป็นได้ อย่างบทความความในภาษาอังกฤษก็มีเนื้อหาเหล่านี้อย่างละเอียดครบถ้วน คิดว่าถ้าทุกคนช่วยกันคนละมือร่วมมือกันแล้ว เราก็จะสามารถปรับปรุงบทความให้มีคุณภาพได้อย่างแน่นอน ขอบคุณค่ะ -- Ahcuna 18:31, 16 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

ดูเหมือนว่าบทความกีฬาประเภทที่ว่ามีกำหนดการโผล่ขึ้นมาอีกมาก ({{เอเชียนเกมส์ 2010}}) --Horus | พูดคุย 20:27, 16 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

เป็นบทความระดับนานาชาติ และรองรับข้อมูลสำคัญที่เกิดขึ้น ทัพนักกีฬาทั้งหลายต่างทุ่มเทแรงกาย และแรงใจเพื่อคนทั้งประเทศกันอย่างเต็มที่ ชาวไทยก็ให้ความสนใจกันมิใช่น้อย ว่างๆมาช่วยกันเขียนเพิ่มก็ดีครับ --B20180 13:53, 17 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

จริง ๆ แล้วบทความเกือบครึ่งในวิกิพีเดียขณะนี้ก็ต้องการคนเขียนเพิ่ม แต่บางบทความได้ร้างมาตั้งแต่สัปดาห์แรกที่ผู้เขียนวางมือไปแล้ว จึงไม่อาจรับประกันได้ว่า "ช่วย ๆ กันเขียน" จะทำให้บทความสั้นลดลงหรือเปล่า คงต้องพึ่งแต่ผู้เขียนคนแรกเป็นหลักครับ --Horus | พูดคุย 18:54, 17 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

เราคิดว่า มีบทความได้ถ้ามีเนื้อหาค่ะ คือถ้าตั้งใจจะเขียนขึ้นมาแล้ว ต้องมีเนื้อหาจริงๆ ไม่ใช่มีแต่กล่องเปล่าๆ อย่าง กีฬายิงธนูในเอเชียนเกมส์ 2010 แบบนี้ไม่โอเคค่ะ และการขึ้นบทความว่างๆ โล่งๆ มาเพื่อขอ/รอให้คนอื่นว่างมา "ช่วยๆ กันเขียน" ก็ไม่น่าจะเป็นเหตุผลที่ยอมให้บทความนั้นคงอยู่ค่ะ เพราะไม่มีทางรู้ว่าสุดท้ายจะมีใครมาช่วยเขียนหรือเปล่า --Tinuviel | พูดคุย   16:11, 19 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

เดี๋ยวก่อนครับ กีฬายิงธนูในเอเชียนเกมส์ 2010 ย่อมมีเนื้อหาเพิ่มขึ้นแน่นอนครับ เพียงแต่ว่ารอให้มีการรับรองข้อมูลจากทางการก่อน ข้อมูลถึงจะมีขึ้นมา ขอให้ทำความเข้าใจตามนี้ด้วยครับ --B20180 21:57, 20 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

ขออภัยที่มาช้าครับ นึกว่าจะจบกันไปนานแล้วตอนที่คุณ Sry85 ยกนโยบายเดิมที่พอปรับใช้ได้มาให้ ผมมีความเห็นเพิ่มเติมกรณีที่คุณ octahedron80 และคุณ Tinuviel ยกตัวอย่างมา (ประเทศอียิปต์ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 และ กีฬายิงธนูในเอเชียนเกมส์ 2010) ผมเห็นด้วยว่าบทความทั้งสองมีลักษณะไม่พึงประสงค์โดยสามัญสำนึก แต่ว่าถ้ากดดูวิกิลิงก์ภาษาอังกฤษแล้ว ผมคิดว่าบทความทั้งสองผ่านเงื่อนไขความโดดเด่นที่สมควรมีบทความครับ

ดังนั้นผมจึงคิดว่าปัญหาที่เราคุยกันไม่ใช่การนับเงื่อนไขว่าอะไรโดดเด่นพอมีบทความหรือไม่ เพราะวิกิลิงก์ภาษาอังกฤษและนโยบายที่พอมีอยู่แล้วสามารถวินิจฉัยได้ ถ้าเห็นตรงกันตามนี้ค่อยมาอภิปรายกันต่อว่าจะทำอย่างไรกับบทความเหล่านี้ ซึ่งสั้นกว่าหรือไม่สมบูรณ์เท่าบทความในภาษาอังกฤษ จะลบได้หรือไม่ หรือจะปล่อยไว้รอการแก้ไขเพิ่มเติม ถ้าจะลบคงต้องคุยกันถึงหลักการว่าอย่างไรจึงจะลบได้ --taweethaも 16:21, 19 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

แล้วอีกอย่าง ก็ไม่ใช่ว่าผมจะมาขอหรือให้คนอื่นมาช่วยๆกันเขียน ซึ่งปกติแล้วพอไม่มีคนช่วย ผมก็ต้องเขียนเพิ่มเองในท้ายที่สุดอยู่ดี --B20180 22:12, 20 พฤศจิกายน 2553 (ICT)
ตอนนี้ กีฬายิงธนูในเอเชียนเกมส์ 2010 ไม่ได้มีแต่กล่องเปล่าๆแล้วนะครับ เนื่องจากมีข้อมูล Update มาให้แล้ว และผมเขียนเองทั้งหมดในตอนนี้ โดยไม่มีใครมาช่วย --B20180 06:55, 21 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

เดี๋ยวก่อนครับ ผมไม่ได้เจาะจงบทความใดบทความหนึ่ง แต่หมายถึงบทความทั้งหมดในประเภทเดียวกัน เพื่อให้เป็นเกณฑ์ในอนาคต สำหรับการเจาะจงเฉพาะกรณี ไม่ควรอภิปรายที่นี่นะครับ

@คุณ Taweetham สำหรับบทความที่ไม่มีวิกิพีเดียภาษาอื่นรองรับจะดำเนินการอย่างไรครับ --Horus | พูดคุย 13:40, 21 พฤศจิกายน 2553 (ICT)

ถ้าไม่มีในภาษาอื่นใช้หลัก วิกิพีเดีย:ความโดดเด่นของบทความ (องค์กรและบริษัท) ที่คุณ Sry85 ยกมาได้นะครับ และแนวโน้มคงจะเป็นว่าต้องถูกลบเป็นส่วนใหญ่เพราะไม่ผ่านเกณฑ์ ในทางตรงข้ามถ้ามีวิกิลิงก์ กดไปดูเห็นว่าสำคัญจริง ง่ายครับแค่แปล ก็พอถูๆ ไถๆ ไปได้ คนอื่นก็แปลได้ไม่จำเป็นต้องเป็นคนสร้างคนแรก แต่ถ้าไม่มีวิกิลิงก์คนเขียนต้องเริ่มใหม่จากศูนย์ โอกาสจะถูกแช่แข็งและถูกลบมีสูง --taweethaも 13:59, 21 พฤศจิกายน 2553 (ICT)
ถูกต้องตามที่คุณ Horus และคุณ Taweetham ว่ามา เราไม่ได้เจาะจงบทความใดบทความหนึ่ง (ที่ยกตัวอย่างไปนั่นก็คือการ "ยกตัวอย่าง" ค่ะ) เราพูดถึงภาพโดยรวมๆ ว่าการเขียนบทความที่มีเนื้อหาน้อยมากหรือมีแต่กล่องเป็นจำนวนมากๆ ลักษณะเหมือนทำเป็น template เอาไว้ แล้วไม่มีการพัฒนาต่อ โดยให้เหตุผลว่าบทความมีความสำคัญ (ซึ่งก็จริง ถ้าดูตามลิงก์วิกิพีเดียภาษาอื่น) แต่ประเด็นคือมันควรจะต้องมีเนื้อหานับตั้งแต่เริ่มต้นสร้างบทความ ไม่ใช่สร้างแค่โครงบทความเปล่าๆ รอไว้เป็นจำนวนมาก เพราะจะเป็นปัญหาต่อไปว่าจะมีใครมาคอยดูแลปรับปรุงข้อมูลให้บทความเหล่านั้นหรือเปล่า (ปล.ถึงคุณ B20180 ผู้ที่บอกให้ทุกคนช่วยกันคนละมือ ไม่ใช่คุณ แต่อย่างที่บอกคือเราพูดกันโดยรวมๆ เวลาอภิปรายจะไม่เจาะจงไปที่ผู้ใช้ท่านใดท่านหนึ่งนะคะ เพราะเรามุ่งที่เนื้อหาโดยรวมของการทำงาน ไม่ได้ไปมุ่งว่า "ใคร" ทำ ขอบคุณค่ะ) --Tinuviel | พูดคุย   22:57, 24 พฤศจิกายน 2553 (ICT)
ขออภัยที่มาช้า ผมขอเสนอเป็นว่าให้ผู้ดูแลระบบชะลอการจัดการบทความที่มีแต่กล่องไปก่อน โดยให้ดูเทียบกับเนื้อหาที่มีอยู่ในหน้าต่างประเทศ เนื่องจากการทำตั้งแต่เนิ่นๆ จะสามารถให้คนที่สนใจมา Update ได้ (ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน) เพราะหากทำทีเดียวหลังจากที่มีข้อมูลแล้วอาจใช้เวลานานมากวันเดียวอาจไม่เสร็จสำหรับบางคน (ข้อมูลบางบทความบางทีมาเยอะมาก) ส่วนหากมีการจัดการแข่งขันขึ้นจริงแล้ว เวลาผ่านไปเป็นเดือนก็ยังมีแต่กล่องเปล่า ก็ให้ดำเนินการแจ้งขยายความหรือแจ้งลบหรือลบได้ทันทีตามดุลพินิจของผู้ดูแลระบบครับ --B20180 16:07, 9 มกราคม 2554 (ICT)

หมายความว่า การแข่งขันที่ยังไม่เกิดขึ้นให้ชะลอไปก่อน แต่การแข่งขันที่เสร็จสิ้นไปแล้วให้ดำเนินมาตรการทั่วไปเลยใช่ไหมครับ --Horus | พูดคุย 16:17, 9 มกราคม 2554 (ICT)

อืมม คิดว่าเข้าใจตรงกัน น่าจะประมาณนั้นน่ะครับ --B20180 16:21, 9 มกราคม 2554 (ICT)

[1] เป็นไงครับ --Horus | พูดคุย 16:28, 9 มกราคม 2554 (ICT)

ประมาณว่า หากการแข่งขันเสร็จสิ้นแล้ว ยังไม่มีเนื้อหา และไม่มีข้อมูลในกล่อง หรือตาราง ให้แจ้งขยายความหรือแจ้งลบ ครับ --B20180 16:34, 9 มกราคม 2554 (ICT)
ถ้าเป็นอย่างนั้น ผมว่ามันคงจะเป็นหน้าว่างแล้วล่ะครับ ลบไปเลยไม่ดีกว่าหรือ --Horus | พูดคุย 16:47, 9 มกราคม 2554 (ICT)
งั้นเอาตามเวอร์ชั่น [2] ไปก่อนก็ได้ครับ เพราะตอนนี้ยังไม่พบปัญหาอะไร --B20180 16:51, 9 มกราคม 2554 (ICT)
ให้ใช้การพิจารณาความสำคัญ ตาม วิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/บทความที่มีแต่กล่องข้อมูล (จริงๆ) แทน เพื่อที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจบทความแต่ละประเภทมีโอกาสได้พัฒนาบทความโดยเท่าเทียมกัน --B20180 14:58, 26 กันยายน 2554 (ICT)

ตัวอักษรหัวเรื่อง แก้

Significant Coverage แก้

อยากทราบความเห็นของผู้ใช้คนอื่นว่า หลักการ Significant coverage จะใช้ได้มากน้อยเพียงใดในวิกิพีเดียภาษาไทยครับ ลองเล่าประสบการณ์ที่ผ่านมาก็ได้ว่าบทความที่คุณเขียนหาแหล่งอ้างอิงได้ยากง่ายเพียงใด เพราะรู้ ๆ กันว่าชาติไทยไม่ใช่ชาติที่ชอบการจดบันทึกเป็นกิจลักษณะ บางทีแหล่งข้อมูลเหล่านี้น่าจะหาได้ค่อนข้างยาก และอาจต้องมีการดัดแปลงหลักการข้อนี้เพื่อให้มีเนื้อหาท้องถิ่นให้มากขึ้น --Horus (พูดคุย) 12:28, 5 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

เพิ่มการตีความสำหรับบทความชีวประวัติ และบทความกลุ่มบันเทิง แก้

สวัสดีครับ เนื่องจากช่วงนี้มีปัญหาเกี่ยวกับบทความชีวประวัติและบทความบันเทิงค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่บทความกลุ่มนี้มักมีปัญหาคือ ไม่ค่อยมีเนื้อหาสารานุกรม มักเป็นเพียงการรวบรวมในลักษณะเรซูเม หรือมีลักษณะการเขียนขึ้่นเองโดยไม่มีแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิ จึงขอเสนอให้เพิ่มข้อความในแนวปฏิบัตินี้เล็กน้อย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เขียนบทความและผู้ทบทวนบทความในอนาคตทราบและยึดถือปฏิบัติ ดังนี้

  • บทความชีวประวัติจะต้องมีเนื้อหาประวัติ หมายถึงตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต ที่สำคัญเพียงพอให้ทราบความเป็นมาของบุคคลนั้น โดยมีแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิกล่าวถึงเนื้อหาดังกล่าวอย่างสำคัญ
  • บทความกลุ่มบันเทิงจะต้องมีส่วนที่กล่าวถึงในโลกความเป็นจริง และมีแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิกล่าวถึงเนื้อหาดังกล่าวอย่างสำคัญ

--Horus (พูดคุย) 09:44, 7 เมษายน 2562 (ICT)

เห็นด้วยครับช่วงหลังมานี้บทความกลุ่มเคป็อปเองก็เพิ่มขึ้นมาเยอะมาก และส่วนใหญ่เป็นบทความที่ไม่มีอะไรเลยนอกจากตารางสมาชิกและชื่อที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ และทุกครั้งที่มีการแก้ไขชื่อให้ถูกต้องก็จะมีผู้ใช้ไอพีย้อนการแก้ไขอยู่ดี --Wutzwz (คุย) 22:31, 7 เมษายน 2562 (ICT)
ต้องไม่ลืมครับว่าบทความเคป็อปนั้นแม้จะสั้น แต่ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษหรือเกาหลีก็มีเนื้อหายาวแล้ว คิดว่าน่าจะขยายความได้ครับ ส่วนใหญ่ที่ผมเห็นว่าเป็นปัญหามักเป็นพวกดาราไทย หรือละคร/หนังไทยมากกว่า --Horus (พูดคุย) 22:45, 7 เมษายน 2562 (ICT)
@Wutzwz: แล้วก็เวลาลบก็อยากให้ลบเฉพาะสิ่งที่ไม่ถูกต้องพอครับ เช่นในหน้าซากูระ มิยาวากิ ที่เหมือนเรซูเมคุณก็ไปเล่นลบทั้งหน้า อันที่จริงอันไหนที่วิกิอังกฤษมี อย่างผลการเลือกตั้งแบบคร่าว ๆ หรืองานแสดงภาพยนตร์ ก็คงไว้แล้วติดป้ายต้องการอ้างอิงก็ได้ครับ
ส่วน @Horus: ผมอยากให้งดไว้ในบางกรณีที่มีนักร้องหรือดาราบางคนที่จงใจไม่เปิดเผยประวัติตนเอง หรือใช้แต่นามแฝงในการออกงาน หรือแม้แต่บางคนที่หาข้อมูลได้เฉพาะหลังจากที่เข้าวงการบันเทิงไปแล้ว เป็นต้นครับ --Ingfa7599 (คุย) 18:24, 14 เมษายน 2562 (ICT)
@Ingfa7599 มีตัวอย่างเคสไหนในใจหรือครับ จะได้ลองดู เพราะเท่าที่ทราบอย่างน้อยก็ต้องมีเนื้อหาครอบครัว การศึกษา ประวัติการงานที่เขียนเป็นความเรียงได้ (ตรงนี้ก็เป็นชีวประวัติเหมือนกัน หรือผมอธิบายให้เข้าใจผิด?) --Horus (พูดคุย) 18:29, 14 เมษายน 2562 (ICT)
ไม่จำเป็นต้องเป็นคนในวงการบันเทิงก็ได้ครับ มีบทความในลักษณะชีวประวัติที่ไม่มีข้อมูลด้านนี้ เช่นในบทความนี้ครับ en:Satoshi Nakamoto --Ingfa7599 (คุย) 18:42, 14 เมษายน 2562 (ICT)
งั้นก็ขอชี้แจงครับว่าประวัติที่ว่ารวมถึงอาชีพการงานด้วย --Horus (พูดคุย) 18:43, 14 เมษายน 2562 (ICT)
แสดงว่าหากบทความมีแต่ประวัติการงาน แต่ไม่มีเนื้อหาอื่น เช่น เรื่องครอบครัว การศึกษา ก็ยังสำคัญเพียงพอที่จะทราบ "ความเป็นมา" ใช่ไหมครับ --Ingfa7599 (คุย) 18:50, 14 เมษายน 2562 (ICT)
ก็เอาเท่าที่แหล่งข้อมูลมีให้ครับ ถ้าคนดังที่ผลงานก็เอามาลงได้ หรือถ้าคนดังเพราะประวัติ (เช่นเป็นลูกเจ้า) ก็เอามาลงได้เหมือนกัน --Horus (พูดคุย) 18:51, 14 เมษายน 2562 (ICT)
กลับไปที่หน้าโครงการ "ความโดดเด่น"