ความสัมพันธ์ไทย–ฮ่องกง

ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างฮ่องกงและราชอาณาจักรไทย

ความสัมพันธ์ไทย–ฮ่องกง เป็นความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างประเทศไทยและฮ่องกง

ความสัมพันธ์ไทย–ฮ่องกง
Map indicating location of ไทย and ฮ่องกง

ไทย

ฮ่องกง

การเปรียบเทียบ แก้

  เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน   ราชอาณาจักรไทย
ตราแผ่นดิน    
ธงชาติ    
เอกราช
(1 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 (26 ปีที่แล้ว) –
สหราชอาณาจักรส่งมอบดินแดนให้ประเทศจีน)
6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1767 (256 ปีที่แล้ว) –
กอบกู้เอกราชจากราชวงศ์โก้นบอง
ประชากร 7,333,200 คน 68,863,514 คน
พื้นที่ 2,754.97 ตร.กม. (1,063.70 ตร.ไมล์) 513,120 ตร.กม. (198,120 ตร.ไมล์)
ความหนาแน่น 6,801 คน/ตร.กม. (17,614.5 คน/ตร.ไมล์) 132.1 คน/ตร.กม. (342.1 คน/ตร.ไมล์)
เมืองหลวง ฮ่องกง กรุงเทพมหานคร
เมืองที่ใหญ่ที่สุด ซ้าถิ่น​ – 692,806 คน กรุงเทพมหานคร – 8,305,218 คน (เขตปริมณฑล 10,624,700 คน)
การปกครอง ระบบฝ่ายบริหารที่ได้รับมอบอำนาจปกครองภายในรัฐเดี่ยวพรรคการเมืองเดียว ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประมุขแห่งรัฐ ประธานาธิบดี: สี จิ้นผิง พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
หัวหน้ารัฐบาล หัวหน้าฝ่ายบริหาร: จอห์น ลี นายกรัฐมนตรี: เศรษฐา ทวีสิน
ภาษาราชการ ภาษาจีนกลาง
ภาษาอังกฤษ
ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน
ภาษาไทย
ศาสนาหลัก
กลุ่มชาติพันธุ์
สกุลเงิน ดอลลาร์ฮ่องกง บาทไทย
จีดีพี (ราคาตลาด) 385.546 พันล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 51,168 ดอลลาร์) 516 พันล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 7,607 ดอลลาร์)
ค่าใช้จ่ายทางทหาร ไม่ทราบ 5.69 พันล้านดอลลาร์

ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ แก้

ประเทศไทยมีสถานกงสุลใหญ่ในฮ่องกง ซึ่งคือสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง โดยเป็นส่วนหนึ่งของชุดคณะผู้แทนทางทูตของประเทศในต่างประเทศ และกงสุลคนแรกประจำฮ่องกงได้รับการแต่งตั้งใน พ.ศ. 2411[1]

สถานกงสุลใหญ่ดังกล่าวตั้งอยู่ ณ อาคารเลขที่ 8 คอตตอนทรีไดร์ฟ เซนทรัล เกาะฮ่องกง ทั้งนี้ ฮ่องกงมีสิทธิในการปกครองตนเองอย่างเต็มที่ของการดำเนินความสัมพันธ์ทางการค้าต่างประเทศ ตลอดจนความสัมพันธ์ในสาขาต่าง ๆ ที่เหมาะสม[2]

ฮ่องกงมีตัวแทนโดยสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าฮ่องกงประจำประเทศสิงคโปร์ในประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย สำนักงานดังกล่าวได้รับสิทธิพิเศษและความคุ้มกันบางประการจากรัฐบาลเจ้าภาพที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกให้สำนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีการแทรกแซง โดยทั่วไปแล้ว สิทธิพิเศษและความคุ้มกันที่สำนักงานได้รับส่วนใหญ่ รวมถึงการไม่สามารถล่วงล้ำสถานที่ได้, การติดต่อทางจดหมาย, บันทึกสำคัญ และเอกสารอย่างเป็นทางการ ตลอดจนการยกเว้นสถานที่และตัวแทนจากการเสียภาษี[3] หลังจากการลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างฮ่องกงและสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2017 รัฐบาลฮ่องกงประกาศว่าจะจัดตั้งสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าในประเทศไทยเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกันระหว่างทั้งสองฝ่าย[4]

เชิงพาณิชย์และสังคม แก้

ฮ่องกงเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับห้าของไทยใน พ.ศ. 2557[5] ในขณะที่ไทยเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของฮ่องกง[6] ซึ่งฮ่องกงได้ครอบครองตลาดส่งออกของไทย 5 เปอร์เซ็นต์[5] ในขณะที่ไทยได้มีส่วน 0.8 เปอร์เซ็นต์จากข้อมูลของฮ่องกง[6]

คนไทยประมาณ 30,000 คนอาศัยอยู่ในฮ่องกง ในจำนวนนั้นหลายคนทำงานเป็นแม่บ้าน[7] ส่วนประเทศไทยเป็นสถานที่พักผ่อนยอดนิยมสำหรับชาวฮ่องกง นอกจากนี้ สภาธุรกิจไทย–ฮ่องกง ได้มีเบอร์นาร์ด ชาญวุฒิ ชาน เป็นประธาน ซึ่งเป็นสภาธุรกิจชั้นนำของไทยในฮ่องกง[8]

เหตุการณ์ แก้

ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทยที่ถูกเนรเทศ เขาถูกโค่นล้มในรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งภายหลัง เขาได้เนรเทศตัวเอง แล้วนักการเมืองไทยได้เดินทางโดยเครื่องบินสู่ฮ่องกงเป็นประจำเพื่อพบปะกับทักษิณ ชินวัตร นับตั้งแต่เขาลี้ภัย[9]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Hong Kong Government Gazette
  2. "Basic Law Full Text - chapter (7)". Basiclaw.gov.hk. 2008-03-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-08. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  3. "LCQ14: Privileges and immunities granted to Hong Kong ETOs". Info.gov.hk. 2010-11-24. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  4. "HK to open Thailand trade office". news.gov.hk. 2017-11-14. สืบค้นเมื่อ 2018-08-20.
  5. 5.0 5.1 "OEC - Import origins of Thailand (2014)". Atlas.media.mit.edu. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  6. 6.0 6.1 "OEC - Import origins of Hong Kong (2014)". Atlas.media.mit.edu. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  7. [1]
  8. "HK-Thailand Business Council". Hk-thai.com. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  9. "Bangkok Post". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.