ความสัมพันธ์เกาหลีใต้–ไทย

ความสัมพันธ์เกาหลีใต้–ไทย เป็นความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐเกาหลี ทั้ง 2 ประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2501[1]

ความสัมพันธ์เกาหลีใต้–ไทย
Map indicating location of เกาหลีใต้ and ไทย

เกาหลีใต้

ไทย

ในช่วงสงครามเกาหลี ประเทศไทยเป็นชาติที่สองที่ส่งกองกำลังไปสนับสนุนเกาหลีใต้หลังจากสหรัฐ[2] โดยส่งทหารไปมากกว่า 10,000 นาย และมีรายงานว่ามีทหารไทยเสียชีวิต 137 นายและบาดเจ็บมากกว่า 300 นาย[2]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ โน มู-ฮย็อน ได้เยือนประเทศไทย และนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรได้เข้าเยี่ยม ณ กรุงโซล ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548[3]

กระทรวงอุตสาหกรรมของไทยรายงานว่าทั้งไทยและเกาหลีใต้มีมูลค่าการค้าอยู่ที่ 11.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2560[4] ข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2563 มีบริษัทเกาหลีใต้ 400 แห่งเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และการค้าขายระหว่างไทยกับเกาหลีใต้อยู่ที่ประมาณ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (470,000 ล้านบาท) ต่อปี[5]

ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2567 โคเรียนแอร์ ได้ทำการบินมายังท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง[6]นอกเหนือจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมินับเป็นสายการบินต่างชาติสายการบินแรกที่ทำการบินทั้งสองท่าอากาศยาน

การเปรียบเทียบ แก้

  สาธารณรัฐเกาหลี   ราชอาณาจักรไทย
ตราแผ่นดิน    
ธงชาติ    
ประชากร 51,446,201 คน 68,863,514 คน
พื้นที่ 100,363 ตร.กม. (38,750 ตร.ไมล์) 513,120 ตร.กม. (198,120 ตร.ไมล์)
ความหนาแน่น 507 คน/ตร.กม. (1,313.1 คน/ตร.ไมล์) 132.1 คน/ตร.กม. (342.1 คน/ตร.ไมล์)
เมืองหลวง โซล กรุงเทพมหานคร
เมืองที่ใหญ่ที่สุด โซล – 9,838,892 คน (เขตปริมณฑล 25,600,000 คน) กรุงเทพมหานคร – 8,305,218 คน (เขตปริมณฑล 10,624,700 คน)
การปกครอง ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประมุขแห่งรัฐ ประธานาธิบดี: ยุน ซ็อก-ย็อล พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
หัวหน้ารัฐบาล ประธานาธิบดี: คิม บู-คยุม นายกรัฐมนตรี: เศรษฐา ทวีสิน
ภาษาราชการ ภาษาเกาหลี ภาษาไทย
ศาสนาหลัก
กลุ่มชาติพันธุ์
จีดีพี (ราคาตลาด) 1.699 ล้านล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 32,766 ดอลลาร์) 516 พันล้านดอลลาร์ (ต่อหัว 7,607 ดอลลาร์)
ค่าใช้จ่ายทางทหาร 34.4 พันล้านดอลลาร์ 5.69 พันล้านดอลลาร์

วัฒนธรรม แก้

วงป็อปและละครโทรทัศน์เกาหลีได้รับความนิยมในประเทศไทยเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2558 จนถึงขั้นมีการสร้างคำใหม่ที่เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "กระแสเกาหลี"[5] เคป็อปส่งอิทธิพลต่ออาหาร แฟชั่น และความสนใจต่อศัลยกรรมความงามในประเทศไทย[2]

เอกอัครราชทูต แก้

รายชื่ออัครราชทูตและเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงกรุงโซลในอดีต[7]
# ชื่อ เริ่มวาระ หมายเหตุ
อัครราชทูต
หลวงสุนาวินวิวัฒน์ กันยายน พ.ศ. 2502 [8]
เอกอัครราชทูต
1 ชาญ อังศุโชติ สิงหาคม พ.ศ. 2504
2 ยวด เลิศฤทธิ์ พฤษภาคม พ.ศ. 2508
3 โชติ คล่องวิชา กันยายน พ.ศ. 2511
4 พยง ชุติกุล กันยายน พ.ศ. 2515
5 สุบรรณ เศวตมาลย์ กรกฎาคม พ.ศ. 2519 [9]
6 อาสา บูรณ์ยาประท้วง พฤศจิกายน พ.ศ. 2521
7 กำธร อุดมฤทธิรุจ พฤศจิกายน พ.ศ. 2525
8 สุชาติ จุฑาสมิต พฤศจิกายน พ.ศ. 2529
9 ชูชัย เกษมศานติ์ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
10 ธวัชชัย ทวีศรี ธันวาคม พ.ศ. 2537
11 วิชัย วรรณสิน กันยายน พ.ศ. 2540
12 สมบูรณ์ เสงี่ยมบุตร กันยายน พ.ศ. 2544
13 วศิน ธีรเวชญาณ มีนาคม พ.ศ. 2547
14 ธีรกุล นิยม กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
15 ชัยยงค์ สัจจิพานนท์ ตุลาคม พ.ศ. 2552
16 กิตติพงษ์ ณ ระนอง พฤษภาคม พ.ศ. 2555 [10]
17 ศรัณย์ เจริญสุวรรณ มีนาคม พ.ศ. 2559 [11]
18 สิงห์ทอง ลาภพิเศษพันธุ์ เมษายน พ.ศ. 2561
รายชื่ออัครราชทูตและเอกอัครราชทูตเกาหลีใต้กรุงกรุงเทพมหานครในอดีต[12]
# ชื่อ เริ่มวาระ หมายเหตุ
อัครราชทูต
ชเว ด็อก-ชิน (최덕신) 20 มกราคม พ.ศ. 2502 [12]
เอกอัครราชทูต
1 ยู แจ-ฮึง (유재흥) 30 สิงหาคม พ.ศ. 2503 [12]
2 อี ดง-ว็อน (이동원) 26 ธันวาคม พ.ศ. 2506
3 ชัง ซ็อง-ฮวัน (장성환) 21 ตุลาคม พ.ศ. 2507
4 ฮัน พโย-อุก (한표욱) 18 มีนาคม พ.ศ. 2511
5 อิม ยุน-ย็อง (임윤영) 10 มีนาคม พ.ศ. 2514
6 ซ็อน บย็อง-กยู (천병규) 27 เมษายน พ.ศ. 2517
7 พัก กึน (박근) 2 สิงหาคม พ.ศ. 2519
8 คิม อิน-คว็อน (김인권) 20 กันยายน พ.ศ. 2522
9 คว็อน แท-อุง (권태웅) 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524
10 คิม จวา-ซู (김좌수) 8 มกราคม พ.ศ. 2528
11 ช็อง จุน-ย็อน (정주년) 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532
12 ฮัน แท็ก-แช (한탁채) 1 กันยายน พ.ศ. 2535
13 ช็อง แท็ก-ดง (정태동) 14 มีนาคม พ.ศ. 2537
14 คิม แน-ซ็อง (김내성) 16 มีนาคม พ.ศ. 2540
15 คิม คุก-จิน (김국진) 12 มีนาคม พ.ศ. 2542
16 ชเว ฮย็อก (최혁) 5 มีนาคม พ.ศ. 2545
17 ยุน จี-จุน (윤지준) 17 มกราคม พ.ศ. 2547
18 ฮัน แท-กยู (한태규) 30 มีนาคม พ.ศ. 2549
19 ช็อง แฮ-มุน (정해문) 8 ตุลาคม พ.ศ. 2551
20 อิม แจ-ฮง (임재홍) 30 กันยายน พ.ศ. 2554
21 ช็อน แจ-มัน (전재만) 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555
22 โน ควัน-อิล (노광일) 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ระเบียงภาพ แก้

ดูเพิ่ม แก้

หนังสือและบทความ แก้

เว็บไซต์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "50th Anniversary of the Establishment of Diplomatic Relations between Thailand and the Republic of Korea". Royal Thai Embassy, Seoul. สืบค้นเมื่อ 18 September 2019.
  2. 2.0 2.1 2.2 Chongkittavorn, Kavi (17 September 2019). "Thailand's going bananas for Korea" (Opinion). Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 18 September 2019.
  3. "Official webpage of Embassy of the Republic of Korea in Thailand" (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-11. สืบค้นเมื่อ 2016-07-22.
  4. Apisitniran, Lamonphet (18 May 2018). "Thailand, S Korea agree to trade panel". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 18 September 2019.
  5. 5.0 5.1 Mala, Dumrongkiat (10 February 2020). "Dining on success of the Korean Wave". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 12 February 2020.
  6. KAL Plan festival season flights to DMK
  7. 태국게황 (ภาษาเกาหลี), 외교통상부 남아시아태평양국 동남아과, 2012, p. 111–112, ISSN 2005-4025
  8. "ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย–เกาหลีใต้ Diplomatic Relations between the Kingdom of Thailand and the Republic of Korea". หนังสือวิทยุสราญรมย์. วิทยุสราญรมย์ กระทรวงต่างประเทศ (41–42): 116–122. 2009-10-13. ISSN 1513-105X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-18. สืบค้นเมื่อ 2016-11-18.
  9. "朴大統領에信任狀 新任駐韓泰國大使" (ภาษาเกาหลี). 동아일보 (Dong-a Ilbo). 1976-07-20. p. 1.
  10. 김병만 (2012-05-18). 李대통령, 태국 등 주한대사 신임장 받아 (ภาษาเกาหลี). 연합뉴스 (Yonhap News). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-20. สืบค้นเมื่อ 2016-11-20.
  11. 신임 주한대사 신임장 제정 (ภาษาเกาหลี). 대한민국 외교부. 2016-03-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-20. สืบค้นเมื่อ 2016-11-20.
  12. 12.0 12.1 12.2 공관약사 (ภาษาเกาหลี). 주 태국 대한민국 대사관 (สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย). 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-07. สืบค้นเมื่อ 2016-05-10.