คดีแชร์สหกรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คดีแชร์สหกรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ คดีนายสวัสดิ์ แสงบางปลา คดีนี้กล่าวหา รองศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ แสงบางปลา ในข้อหาร่วมกันทุจริตและฉ้อโกงบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยแบ่งเป็นสองคดีย่อยได้แก่คดีบริหารเงินสมาชิกสหกรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผิดพลาดโดยจงใจฉ้อโกงกับคดีแชร์ลูกโซ่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รวมเงินทั้งสิ้น 1,629,730,000 บาท

คดีดังกล่าวเป็นคดีความผิดพลาดทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับการฉ้อโกงจากการระดมเงินจากประชาชนที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2553-2560 โดยการระดมเงินจากประชาชนในรูปการทุจริตยักยอกทรัพย์ในฐานะผู้บริหารเงินสหกรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่ง รศ.ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา มีผู้เสียหายจำนวนมากกว่า 160 คน โดยเงินของอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำไปลงทุนกับ สหกรณ์ยูเนี่ยนคลองจั่น (สคจ.) 1,431 ล้านบาท สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี (ส. มงคลเศรษฐี) 200 ล้านบาท สหกรณ์เคหสถานนพเก้ารวมใจ (สค. นพเก้าฯ) 915 ล้านบาท ชุมนุมสหกรณ์ธนกิจไทย (ชส. ธนกิจไทย) 585 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 3,131 ล้านบาท[1]โดยอัยการระบุว่ามูลค่าความเสียหายของสหกรณ์จุฬาทั้งหมดอยู่ที่ 1,446 ล้านบาท


นอกจากนั้น รศ.ดร. สวัสดิ์ แสงบางปลา ยังก่อคดีหลอกให้อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเงินมาลงทุนส่วนตัวหรือหลอกเล่นแชร์ลูกโซ่จำนวน 183,730,000 บาท[2]หรือที่รู้จักในนามคดีแชร์ลูกโซ่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รวมเงินทั้งสิ้น 1,629,730,000 บาท[3](1,446 ล้านบาท รวมกับ 183,730,000 บาท)

สวัสดิ์ แสงบางปลา แก้

รองศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์ แสงบางปลา เป็นนักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดลหรือรู้จักกันในนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงได้รับนักสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2542 โดย ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้มอบโล่รางวัลให้ทำเนียบรัฐบาล และเป็น รองศาสตราจารย์ ประจำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้หลอกลวงบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้มาลงทุนโดยอ้างว่าตนได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยให้จำเลยกู้ยืมเงินไปซื้อสลากตามโควต้าเพื่อไปจำหน่ายเอากำไรต่อโดยจะได้ค่าตอบแทนร้อยละ 1 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ให้กู้ยืม หรือร้อยละ 12 ต่อปี และเดือนสุดท้ายจะได้รับผลตอบแทนคืนทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ย จนมีบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหลงเชื่อจำนวนมาก โดยมีเงินหมุนเวียนทั้งสิ้น 183,730,000 บาท

นอกจากคดีนี้แล้ว เขายังตกเป็นจำเลยร่วมกับ นางสาว เมธวัชร์ หรือพชกร คนมั่น ในความผิดฐานฟอกเงินที่สืบเนื่องจากการฉ้อโกงดังกล่าว วงเงินสูงถึง 641 ล้านบาทด้วย เบื้องต้น นางสาว เมธวัชร์ ให้การรับสารภาพในชั้นศาล และศาลพิพากษาจำคุกไปแล้ว 17 ปี รับสารภาพลดโทษเหลือ 8 ปี 6 เดือน ไม่รอลงอาญา ส่วน รศ.ดร. สวัสดิ์ ปฏิเสธข้อกล่าวหา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการไต่สวน[4]

เบื้องหลัง แก้

อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนหนึ่งได้เสียชีวิตลง และบุตรไปค้นเจอใบถอนเงิน และใบเสร็จรับเงิน จาก รศ.ดร. สวัสดิ์ แสงบางปลา 6 ใบ วงเงินรวม 24 ล้านบาท โดยเมื่อถึงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งถึงคิวต้องได้รับเงินแบ่งจ่ายรายเดือน แต่กลับไม่ได้รับเงิน ส่งผลให้บุตรเดินทางไปพูดคุยกับ รศ.ดร.สวัสดิ์ ที่สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขอเอาเงินดังกล่าวคืน แต่กลับไม่ได้รับเงิน ส่งผลให้เดินทางไปพูดคุยกับ รศ.ดร.สวัสดิ์ ที่สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขอเอาเงินดังกล่าวคืน โดย รศ.ดร.สวัสดิ์ ยินยอม และจะจ่ายเป็นเช็คธนาคารมาให้เดือนละ 2 ล้านบาท รวม 12 เดือน อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2560 ได้นำเช็คไปขึ้นเงิน แต่ไม่สามารถเบิกเงินได้ จึงติดต่อไปยัง รศ.ดร.สวัสดิ์ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560 ธนาคารได้แจ้งกลับมาว่า บัญชีเงินฝากดังกล่าวถูกปิดแล้ว และนับตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560 จนถึงปัจจุบันไม่สามารถติดต่อ รศ.ดร.สวัสดิ์ ได้แต่อย่างใด[5]

ลำดับเหตุการณ์ แก้

รองศาสตราจารย์ ดร. สวัสดิ์จะโทรศัพท์ชักชวนให้ร่วมลงทุน ก่อนจะเชิญชวนมาพบ และพูดจาหว่านล้อมให้กู้หุ้นสหกรณ์จุฬา โดยระบุว่า หากกู้หุ้นสหกรณ์จุฬาฯ เสียดอกเบี้ยร้อยละ 2.8 ต่อปี แต่เงินปันผลที่จะได้รับหากลงทุนกับนายสวัสดิ์คือร้อยละ 12 ต่อปี จึงคุ้มค่ากว่า ทำให้มีคนหลงเชื่อเป็นจำนวนมาก[6]ต่อมาในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้ออกประกาศลงราชกิจจานุเบกษาให้ผู้เสียหายยื่นหลักฐานภายในสามสิบวัน[7]โดยระบุตอนหนึ่งว่า รศ.ดร. สวัสดิ์นำเงินไปลงทุนในบริษัท อสังหาริมทรัพย์

ผลการพิจารณาคดีของศาลอาญา แก้

พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 2 เป็นโจทก์ฟ้อง รศ.ดร. สวัสดิ์ แสงบางปลา อดีตรองศาสตราจารย์ จุฬาฯและอดีตประธานกรรมการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ น.ส.จิรัชญา หรือ “ไข่เจียว” คุณยศยิ่ง และ น.ส.ภวิษย์พร ใบเกตุ เป็นจำเลยที่1-3 จากกรณีที่จำเลยร่วมกันฟอกเงินสหกรณ์จุฬาฯ 42 ล้านบาท จากการฉ้อโกงเงินประชาชนที่นำมาร่วมลงทุนซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือโควตาล็อตเตอรรี่คดีนี้ศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 31ม.ค.62 ให้จำคุก นายสวัสดิ์ จำเลยที่ 1 ไว้ 20 ปี จำคุก น.ส.ภวิษย์พร จำเลยที่ 3 ไว้ 3 ปี ยกฟ้องจำเลยที่ 2 ห้องพิจารณาคดี 704 [8]ต่อมา กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้รับคดีนี้เป็นคดีพิเศษ 25/2564 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564[9] สวัสดิ์เสียชีวิตภายในเรือนจำในอีกสองปีถัดจากนั้น คดีจึงสิ้นสุด

ผลที่ตามมา แก้

คดีดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างมากต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากนายสวัสดิ์ แสงบางปลา เป็นอดีตนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีผลการเรียนดีเยียมได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง บุคคลที่ถูกหลอกส่วนมากเป็นอาจารย์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น รศ.ดร. หรรษา สงวนน้อย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.นพ.ประสาร จิมากร อดีตหัวหน้าภาคพยาธิวิทยา[10] คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[11] ทั้งนี้ รศ.แม้น อมรสิทธิ์ อดีตหัวหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวกับ ไทยรัฐ ตอนหนึ่งว่า อยากให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติเข้ามาช่วยเหลือ ต่อมาอัยการได้ฟ้องร้อง รศ.ดร. บัญชา ชลาภิรมย์ อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฐานยักยอกทรัพย์[12]

ต่อมากรมสอบสวนคดีพิเศษมีมติฟ้องร้องผู้บริหารสหกรณ์จุฬาฐานนำเงินบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ สหกรณ์เครดิตยูเนียนมงคลเศรษฐี จำกัด, สหกรณ์เคหสถานนพเก้ารวมใจ จำกัด และสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น จำกัด กู้ยืม [13]

ภายหลังเหตุการณ์นับได้ว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นสถาบันที่เป็นมหาวิทยาลัยปิดที่ผลิตคนโกงอย่างน้อย 2 ราย ได้แก่ รศ.ดร.บัญชา ชลาภิรมย์ รศ.สวัสดิ์ แสงบางปลา มีผู้ถูกโกงรวมมากกว่า 160 ราย รวมเงินทั้งสิ้น 1,629,730,000 บาท มูลค่าสูงสุดในรอบหลายปีในคดีฉ้อโกงแชร์ลูกโซ่ยักยอกทรัพย์บริหารสินทรัพย์ผิดพลาดทุจริตและฟอกเงิน

ดูเพิ่มเติม​ แก้

คดีแชร์ชม้อย

อ้างอิง แก้

  1. บทเรียนโกงสหกรณ์จุฬาฯ
  2. ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เพิ่มโทษ "สวัสดิ์ แสงบางปลา" ฟอกเงินฉ้อโกงสหกรณ์จุฬาฯ
  3. บทเรียนโกงสหกรณ์จุฬาฯ
  4. คุกอ่วม“สวัสดิ์ แสงบางปลา” 200ปี 600 เดือน ฐานกู้ยืมเงินเป็นการฉ้อโกงปชช. ชดใช้ผู้เสียหาย
  5. หวั่นซ้ำรอยคลองจั่น! แจ้งความอดีต ปธ.สหกรณ์จุฬาฯหลอกลงทุน-เสียหายพันล.
  6. พฤติการณ์อดีต ปธ.สหกรณ์จุฬาฯก่อนคุก 250 ปีคดีฉ้อโกง-เหลือปมฟอกเงิน 641 ล.
  7. ปปง.ให้เวลา 30 วัน เหยื่อถูก'สวัสดิ์'โกง ยื่นหลักฐานขอชดใช้
  8. ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษ​ จำคุก​ 50​ ปี​ 'สวัสดิ์​ แสงบางปลา'​ฟอกเงิน​สหกรณ์จุฬาฯ
  9. ดีเอสไอรับคดีสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ เป็นคดีพิเศษ
  10. ภาคพยาธิวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  11. ออกหมายจับ! รศ.ดร.ดังโกงกว่าพันล้าน
  12. 'อัยการ'ยื่นฟ้องแล้ว! คดี'อดีตปธ.สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ'ยักยอกทรัพย์ฯ เสียหาย 1.4 พันล้าน
  13. DSI สรุปสำนวนคดีสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ ส่งอัยการแล้ว