การฉ้อฉลแบบพอนซี
กลเม็ดพอนซี, ธุรกิจแบบพอนซี, หลักการฉ้อฉลแบบพอนซี (อังกฤษ: Ponzi scheme) หรือนิยามบัญญัติตรงความหมายในภาษาไทยว่า ธุรกิจแบบพีรามิดรวบยอด หรือ แชร์ลูกโซ่ เป็นปฏิบัติการลงทุนแบบฉ้อฉลที่ผู้ดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือเป็นองค์กร จ่ายผลกำไรให้แก่นักลงทุนโดยใช้เงินลงทุนใหม่จากนักลงทุนใหม่ แทนที่จะใช้ผลกำไรที่ผู้ดำเนินการลงทุนหาได้ ผู้ดำเนินการวิธีนี้มักจะโน้มน้าวชักชวนผู้ลงทุนใหม่ โดยให้ผลกำไรที่สูงกว่าการลงทุนประเภทอื่น ๆ ในรูปแบบที่ได้ผลเร็ว ไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทนที่สูงหรืออย่างสม่ำเสมอโดยไม่น่าเชื่อ
ธุรกิจพอนซีบางครั้งจะเริ่มตั้งตัวเป็นธุรกิจที่สมควรตามเหตุผล จนกระทั่งประสบความล้มเหลวที่จะได้ผลตอบแทนตามที่คาดหวัง แล้วธุรกิจก็จะกลายเป็นการฉ้อฉลแบบพอนซีถ้ายังดำเนินการต่อไปโดยแสดงผลตอบแทนที่ทำไม่ได้จริง ๆ ไม่ว่าสถานการณ์ตอนแรกจะเป็นอย่างไร การแสดงผลตอบแทนระดับสูงบังคับให้ต้องมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากนักลงทุนใหม่ ๆ เพื่อจะดำรงธุรกิจ[1]
การฉ้อฉลเป็นแบบธุรกิจที่มีชื่อตามนายชาลส์ พอนซี่[2] ที่กลายเป็นผู้มีชื่อเสียงอื้อฉาวหลังจากที่ได้ใช้เทคนิคนี้ในปี พ.ศ. 2463[3] แต่ความจริง ไอเดียนี้มีอยู่ในหนังสือนิยายมาตั้งนานแล้ว เช่น ในนิยายของชาลส์ ดิกคินส์ในปี 2387 (Martin Chuzzlewit) และในปี 2400 (Little Dorrit)[4] แต่นายพอนซี่ได้นำกลเม็ดนี้มาใช้จริง ๆ และได้เงินมามากจนเป็นผู้ที่รู้จักกันดีทั่วสหรัฐอเมริกา ธุรกิจเริ่มต้นของนายพอนซี่เป็นการซื้อและขายในต่างตลาดเวลาเดียวกัน (arbitrage) ซึ่งวิมัยบัตร (IRC) ที่สามารถใช้แลกแสตมป์ได้ แต่ไม่นานเท่าไรเขาก็ต้องเปลี่ยนไปใช้กลเม็ดพอนซี่โดยการเอาเงินทุนของนักลงทุนใหม่ไปจ่ายนักลงทุนเก่าและตัวเขาเอง[1] นายพอนซี่ได้โฆษณาว่า เขาสามารถให้ผลตอบแทนเป็นเท่าตัวภายใน 90 วัน จนเขาได้เงินรวมกัน 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 440 ล้านบาทคิดเทียบค่าเงินปัจจุบัน) จากผู้ลงทุน 30,000 คนภายใน 7 เดือนก่อนที่ธุรกิจจะล้มเหลว แล้วต่อมาจึงถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 5 ปีในฐานะฉ้อฉลผ่านไปรษณีย์
ในประเทศไทย แชร์แม่ชม้อย แชร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[5]เป็นรูปแบบหนึ่งของกลเม็ดพอนซี่[6] โดยทำเป็นสัญญากู้ยืมเพื่อลงทุนในแชร์น้ำมัน ส่วนการฉ้อฉลแบบพอนซี่ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์โลกคือ "คดีอื้อฉาวการลงทุนแมดอฟฟ์"[7][8] ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่อดีตประธานตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ นายเบอร์นาร์ด แมดอฟฟ์ ทำธุรกิจฉ้อฉลกับลูกค้า 4,800 รายโดยเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินคดีประเมินขนาดการฉ้อฉลว่าประมาณ 64,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,317,215 ล้านบาทต้นปี 2559)[7] แต่ที่อดีตประธานขององค์กรตรวจสอบและควบคุมของรัฐผู้หนึ่งประเมินว่า การฉ้อฉลจริง ๆ อยู่ที่ระหว่าง 10,000-17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 359,846 - 611,739 ล้านบาท) โดยไม่รวมเอารายได้ที่ไม่มีจริง ๆ ที่บันทึกใส่บัญชีของลูกค้า[9]
ลักษณะ
แก้โดยทั่วไปแล้ว ผู้ดำเนินการจะสัญญาว่าจะให้ผลกำไรที่พิเศษสำหรับเงินทุนที่ให้[10] โดยอาจจะกล่าวถึงรายละเอียดอย่างคลุมเครือว่าเป็น "การค้าขายสัญญาการประกันความเสี่ยงที่จะได้ผลข้างหน้า" (hedge futures trading) หรือ "โปรแกรมการลงทุนที่ได้ผลกำไรสูง" หรือ "การลงทุนนอกประเทศ" ผู้โปรโหมตแนวคิดจะขายแชร์ให้แก่ผู้ลงทุน โดยฉวยโอกาสจากการไม่มีความรู้หรือไม่มีความสามารถ หรืออ้างว่าจะใช้กลวิธีการลงทุนที่บริษัทมีกรรมสิทธิ์โดยเฉพาะที่ต้องเก็บเป็นความลับเพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่งอื่น
ธุรกิจพอนซี่บางครั้งเริ่มปฏิบัติการเป็นการลงทุนที่สมเหตุสมผล เช่น กองทุนบริหารความเสี่ยง แต่ว่า กองทุนบริหารความเสี่ยงสามารถเสื่อมลงกลายไปเป็นธุรกิจพอนซี่ถ้าเกิดการขาดทุนอย่างไม่คาดฝัน (หรือแม้แต่ไม่สามารถที่จะได้ผลกำไรตามที่สัญญาหรือตามที่คาดหวัง) และถ้าผู้ดำเนินการแทนที่จะยอมรับความผิดพลาดไม่สามารถทำได้ตามสัญญา กลับกุว่าได้ผลกำไรที่ไม่มีจริงและปลอมรายงานบัญชีเพื่อแสดงผลกำไรถ้าจำเป็น
มีวิธีหรือกลยุทธ์การลงทุนหลายอย่างที่ตอนแรกเป็นธุรกิจที่สมเหตุสมผล แต่ภายหลังกลับกลายไปเป็นธุรกิจพอนซี่ ยกตัวอย่างเช่น กรณีของนายแอลเลน สแตนฟอร์ด ที่ใช้บัตรเงินฝากของธนาคารเพื่อฉ้อโกงคนเป็นหมื่น ๆ ในรัฐเท็กซัส บัตรเงินฝากของธนาคารปกติเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยและมีประกันจากรัฐบาล แต่ว่า บัตรธนาคารของสแตนฟอร์ดเป็นเรื่องฉ้อฉล[11] ซึ่งรัฐบาลกลางสหรัฐฟ้องคดีว่าเป็นธุรกิจที่ฉ้อโกงทรัพย์สินเป็นจำนวนเงิน 7-8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 243,000-247,000 ล้านบาท)[12][13] และคดีแชร์แม่ชม้อย ที่นางชม้อย ทิพย์โสได้รับชวนจากเพื่อนร่วมงานให้ลงทุนค้าน้ำมันซึ่งตนเห็นว่าได้ผลตอบแทนสูงจริง จึงได้ชักชวนบุคคลอื่น ๆ ให้เขามาร่วมลงทุนด้วย จนในที่สุดก็กลายเป็นธุรกิจที่ฉ้อโกงประชาชนไปกว่า 4 พันล้านบาท
ในตอนแรกผู้โปรโหมตการลงทุนจะจ่ายค่าตอบแทนสูงเพื่อดึงดูดนักลงทุนเพิ่มขึ้น และเป็นการชักชวนให้นักลงทุนปัจจุบันเพิ่มเงินลงทุน เมื่อนักลงทุนอื่น ๆ เริ่มลงทุน ก็จะกลายเป็นผลที่สืบเนื่องกัน ผลตอบแทนที่ให้แก่นักลงทุนพวกแรกมาจากเงินลงทุนของนักลงทุนต่อ ๆ มา ไม่ใช่มาจากผลกำไรที่ได้จริง ๆ
บ่อยครั้ง ผลตอบแทนที่สูงจะกระตุ้นให้นักลงทุนไม่ถอนผลกำไรหรือต้นทุนออกจากกองทุน ดังนั้น ผู้ดำเนินการจึงไม่ต้องจ่ายเงินให้แก่นักลงทุนมากนัก เพียงแค่ต้องส่งใบแจ้งว่าตนกำลังได้ผลตอบแทนเท่าไร ซึ่งทำให้ดำรงภาพพจน์ได้ง่ายว่าเป็นการลงทุนที่มีผลตอบแทนสูง
ผู้ดำเนินการจะพยายามลดการถอนเงินโดยสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ สำหรับผู้ลงทุน บ่อยครั้งเป็นการไม่ให้ถอนเงินเป็นระยะเวลายาวขึ้น แลกกับผลกำไรที่เพิ่มขึ้น ผู้ดำเนินการบ่อยครั้งได้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นโดยแจ้งว่า ผู้ลงทุนไม่สามารถถ่ายโอนทุนจากโปรแกรมแรกไปยังโปรแกรมที่สอง และถ้ามีผู้ลงทุนไม่มากที่ต้องการถอนเงินตามสัญญา ก็จะมีการจ่ายเงินให้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างภาพพจน์หลอกลวงแก่ผู้ลงทุนอื่น ๆ ว่า กองทุนมีเงินจริง ๆ
การล่มสลายของธุรกิจ
แก้ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่สามารถยุติธุรกิจแบบพอนซี่ ไม่ช้าก็เร็วธุรกิจจำต้องล่มสลายเพราะเหตุดังต่อไปนี้[1]
- ผู้ดำเนินการหนี โดยเอาเงินทุนที่เหลือทั้งหมดไปด้วย (ยกเว้นเงินที่จ่ายไปแล้วกับผู้ลงทุนที่ถอนเงิน)
- เนื่องจากกลเม็ดจำเป็นต้องมีเงินทุนเข้ามาใหม่ ๆ เสมอเพื่อที่จะให้ผลตอบแทนที่สูง เมื่อเงินลงทุนใหม่น้อยลง ธุรกิจก็จะล้มเพราะว่าผู้ดำเนินการมีปัญหาในการจ่ายผลตอบแทน ผลตอบแทนที่สัญญาสูงยิ่งเท่าไร โอกาสธุรกิจล้มก็สูงขึ้นเท่านั้น และวิกฤติการณ์ถอนเงินไม่ได้ก็จะสร้างความตกใจกลัว ทำให้นักลงทุนจำนวนมากขึ้น ๆ ขอเงินคืน คล้ายกับที่มีเมื่อประชาชนมีปัญหากับธนาคาร
- ปัจจัยทางตลาดภายนอก เช่นเมื่อเศรษฐกิจตก ก็จะเป็นเหตุให้นักลงทุนถอนเงินบางส่วนหรือทั้งหมดออก
รูปแบบอื่น ๆ ที่มีส่วนคล้ายกัน
แก้- ธุรกิจแบบพีระมิดเป็นธุรกิจฉ้อฉลที่คล้ายกับธุรกิจพอนซี่เป็นบางส่วน โดยมีมูลฐานตั้งอยู่บนความเชื่อทางการเงินที่ไม่เป็นจริง รวมทั้งความหวังว่าจะได้ผลตอบแทนมีค่าสูง แต่ว่า มีลักษณะหลายอย่างที่ไม่เหมือนธุรกิจพอนซี่คือ[1]
- ในธุรกิจพอนซี่ ผู้ดำเนินการเกี่ยวข้องกับผู้ลงทุนโดยตรง ในธุรกิจแบบพีระมิด ผู้ที่สรรหาคนลงทุนได้ใหม่ได้ผลประโยชน์โดยตรง (และเป็นความจริงว่า การไม่ได้ผู้ลงทุนหมายความว่าจะไม่ได้ผลตอบแทน)
- ธุรกิจพอนซี่มักจะอ้างวิธีการลงทุนที่ไม่เหมือนใครและบ่อยครั้งจะดึงดูดนักลงทุนที่ร่ำรวยอยู่แล้ว เปรียบเทียบกับธุรกิจแบบพีระมิด ที่บอกตรง ๆ ว่า "เงินลงทุนใหม่" จะเป็นแหล่งได้ผลตอบแทน
- ธุรกิจแบบพีระมิดล้มเร็วกว่าธุรกิจพอนซี่ เพราะว่าจำเป็นที่จะต้องเพิ่มเงินทุนแบบยกกำลัง เพื่อที่จะดำรงผลตอบแทน เปรียบเทียบกับธุรกิจพอนซี่ ที่สามารถอยู่รอดได้โดยชักชวนให้นักลงทุนไม่ถอนเงินแต่ลงทุนผลตอบแทนที่ได้ และต้องมีผู้ลงทุนใหม่ ๆ น้อยกว่า
- ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ คล้ายกับธุรกิจพอนซี่ตรงที่ว่า ผู้มีส่วนร่วมคนหนึ่งได้ผลกำไรจากเงินทุนของผู้มีส่วนร่วมที่เข้ามาในภายหลัง จนกระทั่งเกิดความล้มเหลวที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ฟองสบู่เกิดขึ้นเพราะราคาของวัตถุสิ่งของที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในตลาดเปิด (เช่น ราคาหุ้น ราคาอสังหาริมทรัพย์ ราคาดอกทิวลิป) ที่เกิดขึ้นเพราะผู้ซื้อให้ราคาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากราคาในตลาดกำลังสูงขึ้น และเหมือนกับ ธุรกิจพอนซี ราคาของวัตถุนั้นสูงกว่ามูลค่าในตัว (มูลค่าตามความเป็นจริง) แต่ไม่เหมือนกับธุรกิจพอนซี่ เพราะไม่มีใครคนใดคนหนึ่งที่หลอกลวง
ดูเพิ่ม
แก้เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Ponzi Schemes - Frequently Asked Questions". U.S Securities and Exchange Commission. U.S Securities and Exchange Commission. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
- ↑ "Ponzi Schemes". US Social Security Administration. สืบค้นเมื่อ 2008-12-024.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Peck, Sarah (2010), Investment Ethics, John Wiley and Sons, p. 5, ISBN 978-0-470-43453-6
- ↑ Markopolos, Harry; Casey, Frank (2010), No One Would Listen: A True Financial Thriller, John Wiley and Sons, p. 50, ISBN 978-0-470-55373-2
- ↑ ออกหมายจับ! รศ.ดร.ดังโกงกว่าพันล้าน
- ↑ "Ponzi Scheme ต้นแบบของแชร์ลูกโซ่". นิตยสารผู้จัดการ. 2009-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-13. สืบค้นเมื่อ 2016-06-13.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 7.0 7.1 Bray, Chad (2009-03-12). "Madoff Pleads Guilty to Massive Fraud". The Wall Street Journal. Dow Jones, Inc. สืบค้นเมื่อ 2009-03-12.
- ↑ "Biggest Fraud in History $50 billion Madoff Ponzi Scheme". 2008-12-13.
- ↑ Hays, Tom; Larry Neumeister; Shlomo Shamir (2009-03-06). "Extent of Madoff fraud now estimated at far below $50b". Haaretz. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2009-03-07.
- ↑ "What is a Ponzi scheme?". Mijiki. Mijiki.com. สืบค้นเมื่อ 2012-06-23.
- ↑ Kurdas, Chidem (2012), Political Sticky Wicket: The Untouchable Ponzi Scheme of Allen Stanford
- ↑ Securities and Exchange Commission, Plaintiff v. Stanford International Bank Ltd., Stanford Group Company, Stanford Capital Management LLC, R. Allen Stanford, James M. Davis, Laura Pendergest-Holt, Defendants, case no. 3:09-cv-00298-L .
- ↑ [http: //www.reuters.com/article/ousiv/idUSN1737429520090217 "Stanford, aides failed to appear for testimony: U.S"]. Reuters. 2009-02-17.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Frankel, Tamar (2012). The Ponzi Scheme Puzzle: A History and Analysis of Con Artists and Victims. USA: Oxford University Press. ISBN 0199926611.
- Dunn, Donald (2004). Ponzi: The Incredible True Story of the King of Financial Cons (Library of Larceny) (Paperback). New York: Broadway. ISBN 0-7679-1499-6.
- Zuckoff, Mitchell (2005). Ponzi’s Scheme: The True Story of a Financial Legend. New York: Random House. ISBN 1-4000-6039-7.
- Leila Schneps and Coralie Colmez, Math on trial. How numbers get used and abused in the courtroom, Basic Books, 2013. ISBN 978-0-465-03292-1. (Eighth chapter: "Math error number 8: underestimation. The case of Charles Ponzi: American dream, American scheme").
- Ponzi Schemes FAQ Information and advice from the US Securities and Exchange Commission
- Fraud Awareness and Prevention Information about spotting fraud from the US Commodities Futures Trading Commission
- Ponzimonium เก็บถาวร 2014-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Free e-book about Ponzi schemes from the US Commodity Futures Trading Commission