คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) หรือโดยทั่วไปมักจะเรียกว่า วิศวะบางมด เป็นหน่วยงานระดับคณะ ในสังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เริ่มเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2503 และครบรอบการสภาปนา 60 ปีในปี พ.ศ. 2563

คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Faculty of Engineering
King Mongkut's University of Technology Thonburi
สถาปนาพ.ศ. 2503
วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี
พ.ศ. 2514
คณะวิศวกรรมศาสตร์
คณบดีศ.ดร.ชัย จาตุรพิทักษ์กุล
ที่อยู่
126 ถ.ประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร
สี  สีเลือดหมู
มาสคอต
เกียร์
เว็บไซต์https://eds.kmutt.ac.th/curriculum/courses-offered/foe/

เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ในประเทศไทยที่เก่าแก่เป็นอันดับที่ 3 ( โดยเรียงลำดับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่เก่าแก่ที่สุดของ ประเทศไทย ตามการก่อตั้งดังนี้ 1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด) 4.มหาวิทยาลัยขอนแก่น 5.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 6.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 7.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ 8.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ )

ประวัติ แก้

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เดิมคือ " วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี " ซึ่งสังกัด กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ ถนนประชาอุทิศ (ซอยสุขสวัสดิ์ 48) แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. 2503 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้รับการสถาปนาขึ้น เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 ในระยะเริ่มแรกนักศึกษารับจากผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สายวิทยาศาสตร์ (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปัจจุบัน) เข้าศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร 3 ปี ใน 4 สาขาวิชา คือ

  1. ช่างก่อสร้าง ปัจจุบันคือ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
  2. ช่างไฟฟ้า ปัจจุบันคือ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  3. ช่างยนต์ ปัจจุบันคือ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  4. ช่างโลหะ ปัจจุบันคือ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

พ.ศ. 2505 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้เข้าร่วมกับ สภาการศึกษาแห่งชาติ ในการใช้ วิธีสอบคัดเลือกรวมเพื่อรับนักศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ (การสอบเอนทรานซ์) ประกอบกับ ยูเนสโก (UNESCO) และกองทุนพิเศษสหประชาชาติ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ วิทยาลัย โครงการมีระยะเวลา 5 ปี โดยจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ให้มาช่วยดำเนินการสอน รวมทั้งให้ทุนการศึกษา อบรมเพิ่มเติมแก่อาจารย์ และจัดซื้ออุปกรณ์การศึกษาให้แก่วิทยาลัยตามความต้องการ

พ.ศ. 2506 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้แบ่งการบริหารเป็น 4 คณะวิชา คือ

  1. คณะวิชาช่างโยธา
  2. คณะวิชาช่างไฟฟ้า
  3. คณะวิชาช่างกล
  4. คณะวิชาสามัญ

พ.ศ. 2507 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ได้ปรับปรุงหลักสูตรที่เปิดสอน คือ

  1. หลักสูตรแผนกวิชาช่างก่อสร้าง (โยธา)
  2. หลักสูตรแผนกวิชาช่างก่อสร้าง (สถาปัตย์)
  3. หลักสูตรแผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
  4. หลักสูตรแผนกวิชาช่างยนต์
  5. หลักสูตรแผนกวิชาช่างโลหะ

พ.ศ. 2508 วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี โดยความเห็นชอบของ กระทรวงศึกษาธิการ และคณะรัฐมนตรี ให้ทำการเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) หลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร 3 ปี รวมมีระยะเวลาศึกษา 5 ปี (เทียบเท่าปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ ใน 4 สาขา (โยธา,ไฟฟ้า,เครื่องกล,อุตสาหการ) ) ซึ่งโครงการนี้ได้รับความช่วยเหลือจาก ยูเนสโก และกองทุนพิเศษสหประชาชาติอีก โครงการมีระยะเวลา 4 ปี ในรูปแบบเดียวกับโครงการแรก คือมี ผู้เชี่ยวชาญ ทุนการศึกษา อบรมแก่อาจารย์ และอุปกรณ์การศึกษา โดยสอนในหลักสูตร ปทส. ต่อจาก ปวส. เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2508 ในสาขาช่างยนต์,ช่างโลหะ และปี พ.ศ. 2509 ในสาขาช่างโยธา,ช่างไฟฟ้า

พ.ศ. 2514 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ได้รับการสถาปนาขึ้น เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2514 จากการรวม วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี, วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ และวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี โดย วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี มีสถานะเป็นวิทยาเขต คือ "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี" และเปลี่ยนจากหลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) มาเป็น หลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี ใน 4 สาขา (โยธา,ไฟฟ้า,เครื่องกล,อุตสาหการ) และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี ได้แบ่งการบริหารเป็น 7 ภาควิชา คือ

  1. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
  2. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  3. ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  4. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม
  5. ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
  6. ภาควิชาภาษาและสังคมศาสตร์
  7. ภาควิชาครุศาสตร์

พ.ศ. 2532 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปรับหลักสูตรปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี มาเป็นหลักสูตร 4 ปี

คณะวิศวกรรมศาสตร์มีการดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาตามที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษากำหนด โดยมีองค์ประกอบและดัชนีชี้วัดที่ชัดเจนทั้งเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (ทบวงมหาวิทยาลัย) และของ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และผ่านการตรวจประเมิน

โดย เรียงลำดับการจัดตั้ง ภาควิชา ดังนี้

  1. พ.ศ. 2506 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา เดิมคือ คณะวิชาช่างโยธา (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2503)
  2. พ.ศ. 2506 ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เดิมคือ คณะวิชาช่างไฟฟ้า (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2503)
  3. พ.ศ. 2506 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เดิมคือ คณะวิชาช่างกล (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2503)
  4. พ.ศ. 2513 ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ เดิมคือ แผนกวิชาช่างโลหะ คณะวิชาช่างกล (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2503)
  5. พ.ศ. 2517 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2517)
  6. พ.ศ. 2535 ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิคส์และโทรคมนาคม (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2535)
  7. พ.ศ. 2535 ภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2535)
  8. พ.ศ. 2535 ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2535)
  9. พ.ศ. 2540 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2530)
  10. พ.ศ. 2540 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ (เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2536)


รายนามคณบดี แก้

คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. อาจารย์ สุนทร ศรีนิลทา พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2509
2. รองศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2513
3. รองศาสตราจารย์ ดร.หริส สูตะบุตร พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2516 , พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2526
4. อาจารย์ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2529 , พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2541
5. รองศาสตราจารย์ ดร.เดช พุทธเจริญทอง พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2537 , พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2542
6. รองศาสตราจารย์ เกษม เพชรเกตุ พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2547
7. รองศาสตราจารย์ ดร.เอก ไชยสวัสดิ์ พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2551
8. รองศาสตราจารย์ ดร.บุญเจริญ ศิริเนาวกุล พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555 , พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2559
9. ศาสตราจารย์ ดร.ชัย จาตุรพิทักษ์กุล พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน


หลักสูตร แก้

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ถือว่าเป็น คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่เปิดสอนมีสาขาวิชาทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์ ในระดับปริญญาตรีมากที่สุด 1 ใน 3 ของประเทศไทย และในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมากที่สุดในประเทศไทย

หลักสูตรทั้งหมดของคณะวิศวกรรมศาสตร์ รวมทั้งสิน 57 สาขา สอนทั้งในหลักสูตรปกติ หลักสูตรนานาชาติ และหลักสูตร Residential College ของมหาวิทยาลัย Cambridge และ Oxford จากประเทศอังกฤษ

หลักสูตรปริญญาตรี 27 สาขา

ปริญญาตรี หลักสูตรปกติ
1 สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
2 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3 สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ
4 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
5 สาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด
6 สาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด (สหกิจศึกษา)
7 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
8 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (ระบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลังและพลังงาน)
9 สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
10 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
11 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและพลังงาน
12 สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์
13 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
14 สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์
15 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องมือ
16 สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ
17 สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

ปริญญาตรี (หลักสูตรนานาชาติ) ภายใต้การกำกับดูแลของ International Center for Engineering (ICE)
18 สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering)
19 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering)
20 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering)
21 สาขาวิชาวิศวกรรมอัตโนมัติ (Automation Engineering)
22 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics and Telecommunication Engineering)
23 สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)

ปริญญาตรี หลักสูตร Residential College ของมหาวิทยาลัย Cambridge และ Oxford จากประเทศอังกฤษ
24 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Residential College)
25 สาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (Residential College)
26 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (Residential College)
27 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (Residential College)

หลักสูตรปริญญาโท 20 สาขา
1 สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
2 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
3 สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา
4 สาขาวิชาวิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง
5 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
6 สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
7 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
8 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ
9 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
10 สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
11 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
12 สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ (หลักสูตรนานาชาติ)
13 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบการผลิต
14 สาขาวิชาวิศวกรรมโลหการ
15 สาขาวิชาวิศวกรรมการเชื่อม
16 สาขาวิชาวิศวกรรมคุณภาพ
17 สาขาวิชาเทคโนโลยีการขึ้นรูปวัสดุและนวัตกรรมการผลิต
18 สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
19 สาขาวิชาวิศวกรรมชีวภาพ
20 สาขาวิชาวาริชวิศวกรรม


หลักสูตรปริญญาเอก 10 สาขา
1 สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
2 สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
3 สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
4 สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและสารสนเทศ
5 สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
6 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
7 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบการผลิต
8 สาขาวิชาเทคโนโลยีการขึ้นรูปวัสดุและนวัตกรรมการผลิต
9 สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
10 สาขาวิชาวิศวกรรมชีวภาพ

โดยนอกจากหลักสูตรเหล่านี้แล้ว ยังมีการเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตและหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต ไปยังคณะเฉพาะทางต่างๆอีกมากมาย เช่น คณะพลังงงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม และ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

13°39′3.71311″N 100°29′43.13620″E / 13.6510314194°N 100.4953156111°E / 13.6510314194; 100.4953156111