ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ปี พ.ศ. 2503 ได้ก่อตั้ง วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี โดยเปิดสอนระดับ ปวส. ในสาขา ช่างโลหะ ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็น ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยเรียนรวมในชั้นปีที่ 1

ปี พ.ศ. 2504 ช่างโลหะ มีนักศึกษารุ่นแรก เรียนชั้นปีที่ 2 จำนวน 16 คน วิชาที่ทำการสอนมี ช่างกลึง ช่างหล่อ และช่างเชื่อม ไม่แยกสาขา

ปี พ.ศ. 2506 ช่างโลหะ มีมีนักศึกษารุ่นแรก จบชั้นปีที่ 3 จำนวน 11 คน โดยจบแล้วได้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และได้ก่อตั้ง แผนกวิชาช่างโลหะ คณะวิชาช่างกล วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี

ปี พ.ศ. 2508 เปลี่ยนชื่อ แผนกวิชาจาก ช่างโลหะ เป็น ช่างเทคนิคการผลิต (Manufacturing Technology) สังกัด คณะวิชาช่างกล วิทยาลัยเทคนิคธนบุรี และในปีนี้เริ่มเปิดสอนปี 4 – ปี 5 (จบแล้วได้วุฒิ ปทส.)

ปี พ.ศ. 2510 เปลี่ยนชื่อ แผนกจาก ช่างเทคนิคการผลิต เป็น แผนกเทคนิคการผลิต (Production Technology) เริ่มแผน ช่างกลึง เป็น สาขาวิชาช่างกลโรงงาน ช่างหล่อ เป็น สาขาวิชาหล่อโลหะ และ ช่างเชื่อม เป็น สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะแผ่น

ปี พ.ศ. 2513 เปลี่ยนชื่อ แผนกเทคนิคการผลิต เป็น ภาควิชาอุตสาหการ (Production Engineering) สังกัด คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตธนบุรี โดยนักศึกษาที่จบหลักสูตร 5 ปี จะได้รับวุฒิปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (วศ.บ. อุตสาหการ)

ปี พ.ศ. 2533 ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ได้ปรับการเรียนการสอนใหม่โดยลดเวลาเรียนจาก 5 ปี เหลือ 4 ปี เพื่อให้เข้ากับสภาวการณ์ในขณะนั้น

ปี พ.ศ. 2537 สาขาช่างกลโรงงาน (อาคารอุตสาหการ 1) ได้แยกตัวจากภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ จัดตั้งเป็นภาควิชาใหม่ ชื่อว่า ภาควิชาเครื่องมือและวัสดุ

ปี พ.ศ. 2545 ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ได้ก่อตั้ง สาขาเมคคาทรอนิกส์ ขึ้น โดยเป็นหลักสูตวิศวกรรมสมัยใหม่ ที่มุ่งผลิตวิศวกรให้มีความรู้ความสามารถในการออกแบบ วิเคราะห์ สร้าง บำรุงรักษา เครื่องจักรกลสมัยใหม่เช่น หุ่นยนต์ เครื่องจักรที่ ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ และการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบ วิเคราะห์และ ผลิต กระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติ ซึ่งนักศึกษาที่จบหลักสูตร จะได้รับปริญญาบัตร วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (วศ.บ.เมคคาทรอนิกส์)

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การเรียนการสอนของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการเน้นหนักทั้งทฤษฎีและปฏิบัติทุกสาขาวิชา นักศึกษาที่จบการศึกษาทุกคน จะสามารถออกแบบคำนวณและลงมือทำได้ทุกคน โดยนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ยังยึดถือคือ "การเรียนการสอนให้นักศึกษาได้รู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กันไป " จนกว่าความจำเป็นทางด้านเทคโนโลยีจะถึงจุดอิ่มตัว

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  • คัดจาก 40 ปี พระจอมเกล้าธนบุรี