คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก

คณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก

คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (อังกฤษ: Economic And Social Commission For Asia And The Pacific) หรือ แอสแคป (ESCAP) เป็นหนึ่งในห้าคณะกรรมการส่วนภูมิภาคของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 28 มีนาคม พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อแรกก่อตั้ง เรียกว่า คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งเอเซียและตะวันออกไกล (Economic Commission For Asia And The Far East, ECAFE)[1] ภารกิจ คือ การให้ความช่วยเหลือเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) ได้เปลี่ยนชื่อองค์กรเป็นคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอชียและแปซิฟิกดังในปัจจุบัน และเพื่อการพัฒนา คณะกรรมการฯ ได้ขยายการครอบคลุมไปยังประเทศในโอเชียเนีย คณะกรรมการฯ มีส่วนในการก่อตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank, ADB) และทางหลวงสายเอเชียหรือเครือข่ายทางหลวงแห่งเอเชีย (Asian Highway Network) ตลอดถึงคณะกรรมการพัฒนาแม่น้ำโขง (The Mekhong River Commission) เมื่อแรกตั้ง มีสำนักงานอยู่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐจีน ในปี พ.ศ. 2492 ได้ย้ายสำนักงานอยู่ ณ ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก
ชื่อย่อESCAP
ก่อตั้ง28 มีนาคม 1947; 77 ปีก่อน (1947-03-28)
ประเภทเสาหลัก – ย่อยภูมิภาค
สถานะตามกฎหมายดำเนินการอยู่
สํานักงานใหญ่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
เลขานุการบริหาร
ประเทศอินโดนีเซีย อาร์มิดา ซัลเซีย อาลีเชียบานา
องค์กรปกครอง
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ
เว็บไซต์www.unescap.org

ปัจจุบันเลขาธิการคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียแปซิฟิกคือ Armida Salsiah Alisjahbana ชาวอินโดนิเซีย ซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา [1]

รัฐสมาชิก

แก้

มีรัฐสมาชิกคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิกทั้งหมด 53 ประเทศและรัฐสมาชิกสมทบ 9 ประเทศ โดย 4 ประเทศสมาชิกไม่ได้ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียหรือโอเชียเนีย[2]

ประเทศสมาชิก

แก้

ประเทศต่อไปนี้เป็นรัฐสมาชิกของคณะกรรมการ:[3]

หมายเหตุ
แก้

สมาชิกสมทบ

แก้

ประเทศและดินแดนต่อไปนี้เป็นสมาชิกสมทบของคณะกรรมการ:[4]

หมายเหตุ
แก้
  • * ไม่ได้เป็นรัฐสมาชิกของสหประชาชาติ
  • † เปลี่ยนชื่อจาก Hong Kong ฮ่องกงเป็น Hong Kong, China ฮ่องกง ประเทศจีน (1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540)
  • ǂ เปลี่ยนชื่อเป็น Macau, China มาเก๊า ประเทศจีน (20 ธันวาคม พ.ศ. 2542) และเปลี่ยนเพิ่มเติมเป็น Macao, China มาเก๊า ประเทศจีน (4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543)

รายนามอดีตเลขาธิการคณะกรรมการฯ

แก้
  • นางสาว Shamshad Akhtar (ปากีสถาน) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 2014 – 2018)
  • นาง Noeleen Heyzer (สิงคโปร์) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 2007 – 2014)
  • นายคิม ฮัก ซู (เกาหลีใต้) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 2000 – 2007)
  • นาย Adrianus Mooy (อินโดนีเซีย) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 1995 – 2000)
  • นาย Ahmed Rafeeuddin (ปากีสถาน) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 1992 – 1994)
  • นาย SAMS Kibria (บังกลาเทศ) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 1981 – 1992)
  • นาย JBP Maramis (อินโดนีเซีย) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 1973 – 1981)
  • นาย U Nyun (พม่า) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 1959 – 1973)
  • นาย Chakravarthi V. Narasimhan (อินเดีย) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 1956 – 1959)
  • นาย PS Lokanathan (อินเดีย) (วาระการดำรงตำแหน่ง: 1947 – 1956)

อ้างอิง

แก้
  1. ใช้คำเรียกตามเว็บไซต์หลักของโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย แผนกประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์ โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ "ประวัติเขื่อนอุบลรัตน์". โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 2024-08-16.
  2. "ESCAP Members and Associate Members". ESCAP.
  3. United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (n.d.). "ESCAP Member States and Associate Members". United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific. United Nations. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2018.
  4. United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (n.d.). "ESCAP Member States and Associate Members". United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific. United Nations. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้