กรวัชร์ ปานประภากร

พันตำรวจโท กรวัชร์ ปานประภากร (เกิด 9 มีนาคม 2504 -) อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ[1] กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการคดีพิเศษ อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม[2] อดีตรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ

กรวัชร์ ปานประภากร
อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ดำรงตำแหน่ง
15 มิถุนายน พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ.2564
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 มีนาคม พ.ศ. 2504 (63 ปี)
ศาสนาพุทธ
ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 20
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 36
ชื่อเล่นดำ
รับใช้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กระทรวงยุติธรรม
ประจำการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2526 - 2547
กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน

ประวัติ แก้

พันตำรวจโท กรวัชร์ ปานประภากร เกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2504 เป็นชาวอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย[3] ชื่อเล่น ดำ มีบุตร 2 คน[4]

มีผลงานสำคัญเช่น ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คลี่คลายคดีจ้างวานฆ่ากำนันยูร สามารถจับกุมกำนันเป๊าะ รื้อฟื้นคดีการฆาตกรรมนายห้างทอง ธรรมะวัฒนะ เป็นทีมสอบสวนและดำเนินคดีกรณีออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์มิชอบของผู้มีอิทธิพล จัวหวัดภูเก็ต คลี่คลายคดีการฆาตกรรมแกนนำต่อต้านการสร้างบ่อขยะราชาเทวะ เป็นคณะทำงานการสอบสวนการทุจริตของธนาคารกรุงเทพฯพาณิชยการ จำกัด (BBC) คลี่คลายกรณีการฆาตกรรมด้วยวัตถุระเบิดกลางตัวเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ในส่วนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ เช่น เป็นหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรณีขบวนการนำรถยนต์ใช้แล้วเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจดประกอบเป็นรถยนต์จากอุปกรณ์ชิ้นส่วนเก่า และเป็นหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กรณีการหายตัวไปของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน แกนนำชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย (นายบิลลี่)[5]

การศึกษา แก้

การฝึกอบรม แก้

  • หลักสูตรผู้กำกับการ รุ่นที่ 48 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สถาบันพัฒนาข้าราชการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • หลักสูตร Major Case Managementจากสถาบัน Federal Bureau of Investigation (FBI) สหรัฐอเมริกา
  • หลักสูตรสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ รุ่นที่ 4

การดำรงตำแหน่ง แก้

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แก้

  • พ.ศ. 2545 - รองผู้กำกับการ 4 กองบังคับการปราบปราม[6]

กระทรวงยุติธรรม แก้

  • พ.ศ. 2551 - ผู้อำนวยการส่วนคดีอาญาพิเศษ 1 สำนักคดีอาญาพิเศษ
  • พ.ศ. 2555 - ผู้บัญชาการสำนักปฏิบัติการคดีพิเศษภาค
  • พ.ศ. 2558 - ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ[7]
  • พ.ศ. 2559 - ผู้บัญชาการสำนักปฏิบัติการคดีพิเศษภาค
  • พ.ศ. 2560 - รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ[8]
  • พ.ศ. 2562 - ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม
  • พ.ศ. 2563 - อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน หน้า ๕ เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๓
  2. กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการคดีพิเศษ อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม
  3. ทำไม ...อธิบดีดีเอสไอ ต้องเป็น "กรวัชร์ ปานประภากร "
  4. ล้วงลึก! ความลับ ‘พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร’ มือปราบคดีบิลลี่ ครอบครัว-ศิลปะ-การเมือง
  5. เปิดประวัติอธิบดีดีเอสไอคนใหม่! “พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร” ผู้สางคดีจ้างวานฆ่ากำนันยูร-การหายตัวบิลลี่
  6. 'พ.ต.ท.กรวัชร์' ผงาดนั่งอธิบดีดีเอสไอ ครม.เห็นชอบแล้ว
  7. ปลัด ยธ.ลงนามคำสั่งย้าย 5 ผบ.สำนักคดีดีเอสไอ
  8. 2 พ.ต.ท. ‘กรวัชร์- ประวุธ’ คัมแบ็คเก้าอี้รองอธิบดีดีเอสไอ ผอ.คุกบำบัดพิเศษ นั่งรองฯกรมคุก
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๙๑, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๕๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๒๒๓, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔