กรณีการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
การร้องขอให้ตีความคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ในคดีปราสาทพระวิหาร (ระหว่างประเทศกัมพูชากับประเทศไทย) (อังกฤษ: Request for interpretation of the Judgment rendered by the International Court of Justice on 15 June 1962 in the case concerning the Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand)) เป็นคดีที่ประเทศกัมพูชายื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร (ระหว่างประเทศกัมพูชากับประเทศไทย) (Case concerning the Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand)) ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ซึ่งในคำพิพากษานั้น ศาลวินิจฉัยว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาและพิพากษาให้ไทยต้องถอนกำลังเจ้าหน้าที่ออกจากตัวปราสาทและบริเวณใกล้เคียง แต่ไม่ได้ระบุว่า อาณาบริเวณมากน้อยเพียงไรที่จะเป็นของกัมพูชาด้วย
คำขอตีความคำพิพากษาวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ในคดีว่าด้วยปราสาทพระวิหาร (คดีระหว่างกัมพูชาและไทย) (คดีระหว่างกัมพูชาและไทย) | |
---|---|
Request for Interpretation of the Judgment of 15 June 1962 in the Case concerning the Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand) (Cambodia v. Thailand) | |
สาระแห่งคดี | |
คำร้อง | ขอให้ศาลฯ ตีความคำพิพากษาที่ศาลฯ มีเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ในคดีว่าด้วยปราสาทพระวิหาร (คดีระหว่างกัมพูชาและไทย) และขอสิ่งชี้บอกมาตรการชั่วคราว |
คู่ความ | |
ผู้ร้อง | กัมพูชา |
ผู้คัดค้าน | ไทย |
ศาล | |
ศาล | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ |
สั่ง | |
" ให้ภาคีถอนทหารออกจาก "เขตปลอดทหารชั่วคราว" โดยรอบปราสาท " | |
ลงวันที่ | 18 กรกฎาคม 2554 |
วินิจฉัย | |
"
| |
ลงวันที่ | 11 พฤศจิกายน 2556 |
เว็บไซต์ | |
Request for Interpretation of the Judgment of 15 June 1962 in the Case concerning the Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand) (Cambodia v. Thailand) |
การตั้งต้นคดี
แก้เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 ที่ตัดสินไปแล้ว[1] และในวันเดียวกัน กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลระบุวิธีการชั่วคราวสำหรับรักษาสิทธิของกัมพูชาอย่างเร่งด่วน [2] ในคำร้องทั้งสองฉบับกัมพูชาได้กล่าวอ้างถึงความขัดแย้งไทย-กัมพูชาที่ยังคงเป็นปัญหามาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาวันที่ 2 พฤษภาคม 2554 ศาลแจ้งต่อสื่อมวลชนว่า คำร้องของกัมพูชาที่ขอให้ศาลตีความคำพิพากษาเดิมนั้นถือเป็นการเริ่มต้นคดีใหม่ ส่วนคำร้องที่ขอให้ศาลระบุวิธีการชั่วคราวนั้นถือเป็นกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวเนื่องกับคดีใหม่ดังกล่าว[3][4]
คำร้องขอให้ตีความคำพิพากษา
แก้เนื้อหาคำร้องของกัมพูชา
แก้กัมพูชาได้ยื่นคำร้องเป็นภาษาฝรั่งเศสความยาว 17 หน้า[5] มีใจความสำคัญดังนี้
กัมพูชาระบุว่าไทยมีข้อขัดแย้งต่อความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาเดิมในประเด็นดังต่อไปนี้
- ประเด็นที่กัมพูชาเห็นว่าคำพิพากษาเดิมนั้นได้อาศัยเขตแดนระหว่างประเทศที่มีมาอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งไทยและกัมพูชาต่างให้การยอมรับ
- ประเด็นที่กัมพูชาเห็นว่าเขตแดนดังกล่าวเป็นไปตามแผนที่ในภาคผนวก 1 ที่ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชาซึ่งศาลได้อ้างถึงในหน้า 21 ของคำพิพากษาเดิม ซึ่งศาลได้อาศัยแผนที่ฉบับนี้เพื่อวินิจฉัยว่าการที่กัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารนั้นเป็นผลโดยตรงที่เกิดขึ้นเองจากการที่กัมพูชามีอธิปไตยเหนือบริเวณที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่
- ประเด็นที่คำพิพากษาเดิมได้ตัดสินให้ไทยมีพันธกรณีต้องถอนกำลังทหารหรือบุคลากรอื่นออกจากบริเวณใกล้เคียงตัวปราสาทที่ตั้งอยู่บนเขตแดนของกัมพูชา โดยกัมพูชาเห็นว่าพันธกรณีที่มีลักษณะทั่วไปและต่อเนื่องดังกล่าวย่อมเป็นไปตามถ้อยคำในคำพิพากษาเดิมที่ศาลได้ยอมรับว่ากัมพูชามีอธิปไตยเหนือบริเวณดังกล่าว
กัมพูชาอธิบายต่อว่า แม้ไทยจะไม่โต้แย้งว่ากัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหาร แต่เมื่อไทยโต้แย้งว่ากัมพูชาไม่มีอธิปไตยเหนือบริเวณโดยรอบและใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร ย่อมถือว่าไทยโต้แย้งว่าเส้นเขตแดนที่ศาลได้ยอมรับไว้ตามคำพิพากษาเดิมนั้นไม่ถูกต้องทั้งหมด ซึ่งย่อมกระทบไปถึงบริเวณตัวปราสาทด้วยเช่นกัน
กัมพูชาจึงมีขอให้ศาลวินิจฉัยและสั่งว่า พันธกรณีที่ไทยต้องถอนกำลังทหารหรือกำลังตำรวจใด ๆ หรือเจ้าหน้าที่ยามหรือผู้เฝ้าดูแลอื่น ๆ ที่ไทยได้เคยให้ประจำอยู่ ณ ตัวปราสาทหรือบริเวณใกล้ตัวปราสาท (ตามบทปฏิบัติการข้อ 2 ของคำพิพากษาเมื่อ พ.ศ. 2505) เป็นผลโดยเฉพาะที่เกิดจากพันธกรณีอันทั่วไปและต่อเนื่องที่ไทยจะต้องเคารพบูรณภาพอาณาเขตของกัมพูชา โดยที่บริเวณตัวปราสาทและบริเวณใกล้เคียงในอาณาเขตดังกล่าวได้มีการปักปันโดยเส้นเขตแดนตามแผนที่ซึ่งศาลได้อ้างถึงในหน้า 21 ของคำพิพากษาเดิมอันศาลได้อาศัยเป็นฐานในการพิพากษา
ลักษณะการพิจารณาคดี
แก้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาคดีที่รัฐร้องขอให้ศาลตีความคำพิพากษาตามธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ข้อ 60 ซึ่งไทยและกัมพูชาต่างเป็นภาคี ประกอบกับระเบียบศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ข้อ 98 โดยศาลจะอาศัยเพียงคำร้องของกัมพูชาฝ่ายเดียวเพื่อรับคดีไว้พิจารณาก็ได้ อย่างไรก็ดี เมื่อศาลได้รับคดีเข้าสู่สารบบความแล้ว ก่อนที่ศาลจะสามารถตีความคำพิพากษาเดิม ศาลจะต้องวินิจฉัยคำร้องของกัมพูชาเสียก่อนว่ามีเหตุแห่งคดีที่เข้าเงื่อนไขให้ตีความได้หรือไม่ ซึ่งหากพิจารณาจากแนววินิจฉัยในอดีตแล้ว[6] ศาลจะพิจารณาเงื่อนไขสองประการคือ
- คำร้องของกัมพูชาต้องมุ่งหมายให้ตีความคำพิพากษาเดิมอย่างแท้จริงเพื่อให้ความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาเดิมชัดเจนยิ่งขึ้นเท่านั้น โดยมิใช่เพื่อตอบคำถามใหม่ที่ไม่ได้ถูกพิพากษาตามคำพิพากษาเดิม
- คำร้องของกัมพูชาต้องแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาและไทยมีข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาดังกล่าว
หากคำร้องไม่เข้าเงื่อนไขทั้งสอง ศาลก็จะพิพากษาว่าคำร้องดังกล่าวไม่สามารถนำไปสู่การตีความคำพิพากษาเดิมได้ อย่างไรก็ดีหากคำร้องบางส่วนหรือทั้งหมดเข้าเงื่อนไขดังกล่าว ศาลก็จะพิจารณาคำร้องส่วนดังกล่าวเพื่อตีความคำพิพากษาเดิม โดยการตีความจะปรากฏในคำพิพากษาฉบับใหม่
กระทรวงการต่างประเทศคาดว่าไทยจะต้องทำความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรให้ศาลภายในประมาณเดือนตุลาคม 2554 ซึ่ง คาดว่ากระบวนพิจารณาการตีความอาจจะแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2555[7]
การโต้แย้งของฝ่ายไทย
แก้กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ฝ่ายไทยโต้แย้งประเด็นของกัมพูชา โดยยกธรรมนูญศาลโลกข้อ 60 มาอ้าง การตีความคำพิพากษาต้องเป็นเรื่องต่อเนื่องจากคดีหลัก คือ คดีปราสาทพระวิหาร และหากศาลตัดสินโดยใช้แผนที่เขตแดนของฝรั่งเศสจะทำให้เป็นการพิจารณาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเขตแดนซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของศาล[8]
การร้องขอให้กำหนดวิธีการชั่วคราว
แก้เนื้อหาคำร้องของกัมพูชา
แก้กัมพูชาได้ยื่นคำร้องเป็นภาษาฝรั่งเศสความยาว 3 หน้า[9] มีใจความสำคัญดังนี้
กัมพูชากล่าวว่า นับตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2554 เป็นต้นมา มีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นบริเวณปราสาทพระวิหารและจุดอื่น ๆ ตามเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชา ส่งผลให้ชาวบ้านในพื้นที่เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บและต้องเดินทางหนีภัย ซึ่งเหตุการณ์ร้ายแรงดังกล่าวได้ดำเนินมาจนกระทั่งเวลาที่กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลโดยไทยเป็นฝ่ายที่ตั้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ทั้งหมด ศาลจึงจำเป็นต้องมีวิธีการอันเร่งด่วนเพื่อคุ้มครองรักษาสิทธิของกัมพูชา และป้องกันมิให้ความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น หากปราศจากวิธีการของศาลและไทยยังคงดำเนินการต่อเนื่อง ก็จะทำให้ปราสาทพระวิหารเสียหาย รวมไปถึงทำให้ผู้คนล้มตายและทุกข์ทรมานจากการปะทะกันโดยอาวุธ ซึ่งจะร้ายแรงยิ่งขึ้น
กัมพูชาจึงขอให้ศาลระบุวิธีการชั่วคราวดังต่อไปนี้
- ให้ไทยถอนกำลังจากจุดต่าง ๆ ในบริเวณประสาทพระวิหารอันเป็นดินแดนของกัมพูชาโดยทันทีและปราศจากเงื่อนไข
- ห้ามมิให้ไทยดำเนินการทางทหารใด ๆ ในบริเวณประสาทพระวิหาร
- สั่งให้ไทยไม่กระทำการใด ๆ ที่อาจแทรกแซงสิทธิของกัมพูชาหรือทำให้ความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น
ลักษณะการพิจารณาคดี
แก้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอำนาจเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวตามธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ข้อ 41 ซึ่งไทยเป็นภาคี ประกอบกับระเบียบศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ข้อ 73 ถึง 78 โดยกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวถือเป็นส่วนหนึ่งของคดีที่กัมพูชาได้ขอให้ศาลตีความคำพิพากษาเดิม
ก่อนที่ศาลจะสามารถระบุวิธีการชั่วคราว ศาลต้องวินิจฉัยคำร้องว่าได้ปรากฏเหตุที่เข้าเงื่อนไขให้สามารถระบุวิธีการชั่วคราวได้หรือไม่ ซึ่งหากพิจารณาจากแนววินิจฉัยในอดีตแล้ว[10] ศาลจะพิจารณาเงื่อนไขสามประการคือ
- กัมพูชาต้องแสดงให้ศาลเห็นถึงมูลคดีในเบื้องต้นว่าการขอให้ตีความคำพิพากษาเดิมนั้นสามารถนำไปสู่การพิจารณาในเนื้อหาต่อไปได้ กล่าวคือศาลต้องพอใจในเบื้องต้นว่ากัมพูชามิได้ขอให้ตีความคำถามใหม่ที่ไม่ได้ถูกพิพากษาตามคำพิพากษาเดิม และกัมพูชาและไทยต่างมีข้อพิพาทเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาดังกล่าวอยู่จริง (อย่างไรก็ดี ไทยย่อมมีสิทธิต่อสู้หักล้างมูลคดีเบื้องต้นดังกล่าวในภายหลังได้)
- กัมพูชาต้องแสดงให้เห็นว่าวิธีการชั่วคราวจำเป็นเพื่อคุ้มครองสิทธิของกัมพูชาจากความเสียหายที่ไม่สามารถเยียวยาได้ภายหลัง
- กัมพูชาต้องแสดงให้เห็นว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนเนื่องจากความเสียหายที่ไม่สามารถเยียวยาได้ภายหลังอาจเกิดขึ้นก่อนที่ศาลจะได้พิจารณาคดีที่ขอให้ตีความคำพิพากษาเดิมแล้วเสร็จ
กระทรวงการต่างประเทศคาดว่าศาลจะนัดฟังการแถลงคดีด้วยวาจาโดยกัมพูชาและไทย ประมาณวันที่ 30–31 พฤษภาคม 2554 เพื่อให้ตัวแทนแต่ละฝ่ายได้ชี้แจงข้อมูลต่อศาลเกี่ยวกับการขอให้มีวิธีการชั่วคราว โดยแต่ละฝ่ายจะมีเวลาแถลงคดีด้วยวาจาประมาณฝ่ายละ 4 ชั่วโมง[11]
การโต้แย้งของฝ่ายไทย
แก้สำหรับคำร้องขอวิธีการชั่วคราวของกัมพูชานั้น ฝ่ายไทยชี้ว่า คำขอดังกล่าวไม่เข้าเกณฑ์ สถานการณ์ปัจจุบันไม่ได้เร่งด่วนและไม่มีความเสี่ยงจะเกิดความเสียหายที่ไม่อาจแก้ไขได้ การอ้างถึงปราสาทตาเมือนและปราสาทตาควายไม่ได้เกี่ยวข้องกับปราสาทพระวิหาร และสถานการณ์ทั่วไปตามชายแดนของทั้งสองประเทศยังคงเป็นไปอย่างปกติ นอกจากนี้การจัดทำหลักเขตแดนระหว่างสองประเทศยังมีกลไกทวิภาคีอยู่[8]
การแถลงด้วยวาจา
แก้ศาลกำหนดการแถลงด้วยวาจาออกเป็นสองรอบ ในวันที่ 31 พฤษภาคม และ 1 มิถุนายน สำหรับวันที่ 31 พฤษภาคม ได้กำหนดให้กัมพูชาแถลงเวลา 10.00–12.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น และไทยแถลงเวลา 16.00–18.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น และในวันที่ 1 มิถุนายน กำหนดให้กัมพูชาแถลงเวลา 10.30–11.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น และไทยแถลงเวลา 17.00–18.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น
ด้านฮอร์ นัม ฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา แถลงด้วยวาจาต่อศาลว่า กัมพูชาเตรียมร้องขอวิธีการชั่วคราวจากศาลเพื่อปกป้องสันติภาพและหลีกเลี่ยงการยกระดับการปะทะในพื้นที่ ยืนยันว่าประเทศไทยอยู่ใต้เงื่อนไขต้องถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่รอบปราสาท[12] ส่วนทางด้านฝ่ายไทย วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรไทยประจำเนเธอร์แลนด์, อิทธิพร บุญประคอง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการแถลงด้วยวาจาร่วมกับกัมพูชา[13]
คำสั่งศาล
แก้วันที่ 7 กรกฎาคม 2554 แผนกข้อมูลข่าวสาร (Information Department) ของศาลแถลงว่า ศาลจะอ่านคำสั่งสำหรับคำร้องของกัมพูชาที่ขอให้ศาลกำหนดวิธีการชั่วคราว ในวันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม 2554 เวลา 10:00 นาฬิกา (เวลาท้องถิ่น) ณ วังสันติ (Peace Palace)[14] ครั้นวันเวลาดังกล่าว ศาลนั่งพิจารณา โดยมี ฮิซะชิ โอะวะดะ ประธานศาลเป็นประธานในการนั่งพิจารณา[14] โอะวะดะอ่านคำสั่งของศาลมีใจความดังนี้[15]
- ด้วยมติเอกฉันท์ ให้ยกคำร้องของไทยที่ขอให้ศาลจำหน่ายคำร้องของกัมพูชาซึ่งขอให้กำหนดวิธีการชั่วคราวออกจากสารบบความของศาลฯ
- กำหนดวิธีการชั่วคราว ดังต่อไปนี้
- ด้วยมติ 11 ต่อ 5 เสียง กำหนดเขตปลอดทหารชั่วคราว แล้วให้คู่ความทั้งสองถอนบุคลากรทางทหารที่ประจำอยู่ในเขตนั้นออกไปทันที และให้งดเว้นจากการส่งทหารใด ๆ เข้าไปยังเขตดังกล่าว ทั้งห้ามดำเนินกิจกรรมใด ๆ ทางทหาร ณ เขตนั้นด้วย
- ด้วยมติ 15 ต่อ 1 เสียง ห้ามประเทศไทยขัดขวางกัมพูชาจากการเข้าถึงปราสาทพระวิหารโดยเสรี หรือจากการส่งเสบียงโดยปราศจากบุคลากรทางทหารเข้าไปยังปราสาทนั้น
- ด้วยมติ 15 ต่อ 1 เสียง ให้คู่ความทั้งสองร่วมมือกันในอันที่จะให้ผู้สังเกตการณ์จากอาเซียนเข้าถึงเขตปลอดทหารชั่วคราวได้
- ด้วยมติ 15 ต่อ 1 เสียง ห้ามคู่ความทั้งสองปฏิบัติการใด ๆ อันจะยังให้ข้อพิพาทย่ำแย่ลงหรือลุกลามขึ้น หรือระงับยากขึ้น
- ด้วยมติ 15 ต่อ 1 เสียง ให้คู่ความทั้งสองรายงานให้ศาลทราบเป็นระยะ ๆ ถึงการปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวข้างต้น
- ด้วยมติ 15 ต่อ 1 เสียง ให้บรรดามูลคดีอันเป็นเหตุให้มีคำสั่งนี้คงอยู่ในความควบคุมของศาลต่อไป จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาในคำร้องขอให้ตีความ
ปฏิกิริยา
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การแถลงด้วยวาจา
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พิพากษา
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ปฏิกิริยา
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-16. สืบค้นเมื่อ 2011-05-08.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-04-05. สืบค้นเมื่อ 2011-05-08.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-16. สืบค้นเมื่อ 2011-05-07.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-16. สืบค้นเมื่อ 2011-05-09.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-16. สืบค้นเมื่อ 2011-05-08.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-03-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-08.
- ↑ http://www.mfa.go.th/web/3037.php?id=27269[ลิงก์เสีย]
- ↑ 8.0 8.1 "กษิต" แจงกรณีกัมพูชายื่นคำร้องต่อศาลโลกให้ออกวิธีการชั่วคราว[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-04-05. สืบค้นเมื่อ 2011-05-08.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-17. สืบค้นเมื่อ 2011-05-08.
- ↑ http://www.mfa.go.th/web/3037.php?id=27269[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""ฮอร์ นัมฮง" แถลงด้วยวาจาต่อศาลโลก สั่งไทยถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาททันที!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-06-05.
- ↑ ""กษิต ภิรมย์"เข้าร่วมการแถลงด้วยวาจาไทย-กัมพูชา คดีปราสาทเขาพระวิหารที่ศาลโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-06-05.
- ↑ 14.0 14.1 "Press Release 2011/20 - The Court to deliver its Order on Monday 18 July 2011 at 10 a.m." (PDF). International Court of Justice. 7 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2011-08-15.
- ↑ "Order of 18 July 2011 - Request for the Indication of Provisional Measures" (PDF). International Court of Justice. 18 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2011-07-23.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- (อังกฤษ) Request for interpretation of the Judgment of 15 June 1962 in the case concerning the Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand) (Cambodia v. Thailand) เก็บถาวร 2021-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
- (ไทย) phraviharn.org เก็บถาวร 2013-04-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - กระทรวงการต่างประเทศ ราชอาณาจักรไทย