รามนาตจุวามิโกยิล
รามนาตจุวามิโกยิล (ทมิฬ: இராமநாதசுவாமி கோயில்) เป็นโบสถ์พราหมณ์บูชาพระศิวะในเมืองราเมศวรัม บนเกาะปามปันในรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย และเป็นหนึ่งในสิบสองชโยติรลึงค์, 275 ปาทัลเปตรสถลัม โกยิลมีการขยับขยายในศตวรรษที่ 12 โดยจักรวรรดิปัณฑยะ และครรภคฤห์ประธานได้รับการทำนุบำรุงโดยชัยวีระ จินไกอริยันแห่งอาณาจักรชัฟนา โกยิลนี้มีระเบียงที่ยาวที่สุดในบรรดาโบสถ์พราหมณ์ในประเทศอินเดีย[1] เทพเจ้าองค์ประธานคือพระศิวะในรูปของลิงคัมของรามนาถสวามี เชื่อกันว่าประดิษฐานขึ้นโดยพระรามก่อนพระองค์จะข้ามสะพานไปยังลังกาทวีป ราชโคปุรัมของโกยิลสูล 53 เมตร[1]
ศรีรามนาตจุวามิโกยิล | |
---|---|
อะรุลมิกุ ศรี รามนาถสวามี ติรุโฆยิล | |
โคปุรัมสีทองอร่ามของศรีรามนาถสวามีโกยิล | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เขต | รามนาถปุรัม |
เทพ | ราเมศวร (พระศิวะ) ราเมศวรี (พระปารวตี) |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | ราเมศวรัม |
รัฐ | รัฐทมิฬนาฑู |
ประเทศ | ประเทศอินเดีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 9°17′17″N 79°19′02″E / 9.288106°N 79.317282°E |
สถาปัตยกรรม | |
ประเภท | สถาปัตยกรรมทมิฬ |
รามายณะระบุว่าพระราม อวตารปางที่เจ็ดของพระวิษณุภาวนาต่อพระศิวะเพื่อให้ยกโทษที่บาปที่สังหารพรหมิณขณะทำศึกกับราวณะในลังกาทวีป[2][3] พระรามประสงค์จะมีศิวลึงค์องค์หนึ่งเพื่อบูชาพระศิวะ จึงได้รับสั่งให้หนุมานไปนำลึงค์นั้นมาจากหิมาลัย แต่หนุมานมาถึงช้า พระรามจึงเสกลึงค์ขนาดเล็กขึ้นจากทรายที่มีบนชายหาด ลึงค์นี้เชื่อกันว่าคือรามนาถสวามีลึงคัม องค์ประธานของโกยิลนี้[4] ซึ่งแทนองค์รามนาถสวามี (พระศิวะ)[1] ปัจจุบันในครรภคฤห์ ประดิษฐานลึงค์คัมทั้งสององค์ องค์หนึ่งเสกขึ้นจากทรายโดยพระราม เป็นองค์ประธาน อีกองค์คือที่หนุมานนำมาจากเขาไกรลาศ เรียกวิศวลึงค์ หรือวิศวลึงค์คัม[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 V., Meena. Temples in South India. Kanniyakumari: Harikumar Arts. pp. 11–12.
- ↑ Jones 2007, p. 359
- ↑ Harshananda 2012, p. 115
- ↑ 4.0 4.1 Singh 2009, p. 18
บรรณานุกรม
แก้- Mittal, Sushil (2004). The Hindu World. New York: Routledge. ISBN 0-203-64470-0.
- Jones, Constance (2007). Encyclopedia of Hinduism. New York: Infobase Publishing. ISBN 978-0-8160-5458-9.
- Bandopadhyay, Manohar (2010). Tourist destinations in India. Delhi: Oriental Books. ISBN 978-93-8094-400-5.[ลิงก์เสีย]
- Brockman, Norbert C. (2011). Encyclopedia of Sacred Places. California: ABC-CLIO, LLC. ISBN 978-1-59884-655-3.
- Chaturvedi, B. K. (2006). Shiv Purana (First ed.). New Delhi: Diamond Pocket Books (P) Ltd. ISBN 81-7182-721-7.
- Chakravarti, Mahadev (1994). The Concept of Rudra-Śiva Through The Ages (Second Revised ed.). Delhi: Motilal Banarsidass. ISBN 81-208-0053-2.
- Cole, Henry Hardy (1885). Preservation of National Monuments - First Report of the Curator of Ancient Monuments in India for the year 1883-84. The Government Central Branch Press, Calcutta.
- Eck, Diana L. (1999). Banaras, city of light (First ed.). New York: Columbia University Press. ISBN 0-231-11447-8.
- Gwynne, Paul (2009). World Religions in Practice: A Comparative Introduction. Oxford: Blackwell Publication. ISBN 978-1-4051-6702-4.
- Harding, Elizabeth U. (1998). "God, the Father". Kali: The Black Goddess of Dakshineswar. Motilal Banarsidass. pp. 156–157. ISBN 978-81-208-1450-9.
- Harshananda, Swami (2012). Hindu Pilgrimage Centres (second ed.). Bangalore: Ramakrishna Math. ISBN 978-81-7907-053-6.
- Lochtefeld, James G. (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: A-M. Rosen Publishing Group. p. 122. ISBN 0-8239-3179-X.
- M., Thangaraj (2003). Tamil Nadu: an unfinished task. SAGE. p. 170. ISBN 978-0-7619-9780-1.
- Murali, J. C. (2000). Tamizhaga Sivatalangal. Chennai: Chatura Padipakkam.
- R., Venugopalam (2003). Meditation: Any Time Any Where (First ed.). Delhi: B. Jain Publishers (P) Ltd. ISBN 81-8056-373-1.
- Setu Māhātmyam (Skānda Purāṇa Book 3:Chapter 1 (Bramha Khaṇḍa:Setu Māhātmyam) ).
- Seturaman, K (2001). Rameswaram Koil. Madurai: J. J. Publications.
- Singh, Sanjay (2009). Yatra2Yatra. Yatra2Yatra. p. 18. ISBN 978-81-908569-0-4.
- Singh, Sarina (2009). South India (Lonely Planet Regional Guide) (5th ed.). Lonely Planet. ISBN 978-1-74179-155-6.
- S.P. Loganathan (16 February 2012). "Shortage of priests at Rameswaram temple". Deccan Chronicle. สืบค้นเมื่อ 19 February 2012.[ลิงก์เสีย]
- T., Ramamurthy (2007). Engineering in Rocks For Slopes Foundations And Tunnels (2bd ed.). Delhi: PHI Learning Private Limited. ISBN 978-81-203-3275-1.
- Vivekananda, Swami. "The Paris Congress of the History of Religions". The Complete Works of Swami Vivekananda. Vol. 4.
- Zee News (20 February 2012). "Renovation & consecration completed in 630 temples". Zee News. สืบค้นเมื่อ 19 February 2012.