อันดับปลาลิ้นกระดูก
(เปลี่ยนทางจาก Osteoglossiformes)
อันดับปลาลิ้นกระดูก ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: จูแรสซิกตอนปลาย-ปัจจุบัน | |
---|---|
ปลาอะราไพม่าขนาดใหญ่ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ | |
ปลาไหลผีอะบาอะบา ซึ่งเป็นปลาเพียงชนิดเดียวในวงศ์ปลาไหลผี (Gymnarchidae) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Osteoglossiformes |
วงศ์ | |
|
อันดับปลาลิ้นกระดูก (อังกฤษ: Bony tongues fish) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่งที่มีวิวัฒนาการไม่ต่างจากปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์มากนัก ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Osteoglossiformes (/ออส-ที-โอ-กลอส-สิ-ฟอร์-เมส/) จากฟอสซิลอายุกว่า 60 ล้านปี ที่ค้นพบในทวีปอเมริกาเหนือ บรรพบุรุษของปลาในอันดับนี้มีขนาดใหญ่ ยาวกว่า 14 ฟุต มีลักษณะพิเศษคือ บริเวณส่วนหัวและลิ้นเป็นกระดูกแข็ง อันเป็นที่มาของชื่อ ทั้งหมดเป็นปลาน้ำจืด ไม่พบในทะเล เป็นปลากินเนื้อ มีการกระจายพันธุ์ทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น พบทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้, ทวีปแอฟริกา, ทวีปอเมริกาใต้, ทวีปออสเตรเลีย
โดยแบ่งออกเป็นวงศ์ต่าง ๆ ดังนี้
แก้- วงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ทวีปแอฟริกา, ทวีปอเมริกาใต้ และทวีปออสเตรเลีย มีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ ปลาตะพัด (Scleropages spp., Osteoglossum spp.) ชนิดต่าง ๆ
- วงศ์ปลาอะราไพม่า (Arapaimidae) ได้แก่ ปลาตะพัดแอฟริกา (Heterotis niloticus) และ ปลาช่อนอเมซอน หรือ ปลาอะราไพม่า (Arapaima gigas) พบในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่มีความยาวที่สุดในโลกด้วย (วงศ์นี้โดยมากจะถูกจัดให้เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลาตะพัด[1])
- วงศ์ปลากราย (Notopteridae) พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ภูมิภาคเอเชียใต้, ทวีปแอฟริกา มีทั้งหมด 10 ชนิด ได้แก่ ปลากราย (Chitala ornata) ปลาตองลาย (C. blanci) เป็นต้น
- วงศ์ปลาไหลผี (Gymnarchidae) พบในทวีปแอฟริกามีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ ปลาไหลผีอะบาอะบา (Gymnarchus niloticus) ซึ่งสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน ๆ
- วงศ์ปลางวงช้าง (Mormyridae) พบในทวีปแอฟริกา มีมากถึง 200 ชนิด สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนได้ด้วยเช่นกัน
- วงศ์ปลาผีเสื้อ (Pantodontidae) พบในทวีปแอฟริกา เป็นปลาผิวน้ำ มีเพียงชนิดเดียว คือ ปลาผีเสื้อ (Pantodon buchholzi)
นอกจากนี้แล้วยังมีอีก 2 วงศ์ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้วจากโลก คือ Ostariostomidae และ Singidididae[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 5. ISBN 974-00-8701-9
- ↑ [1]จากFishbse.org
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิสปีชีส์มีข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ Osteoglossiformes