บัวอียิปต์

(เปลี่ยนทางจาก Nymphaea caerulea)
บัวอียิปต์
ดอกบัวอียิปต์ในมอริเชียส
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
อันดับ: Nymphaeales
วงศ์: Nymphaeaceae
สกุล: Nymphaea
สปีชีส์: N.  caerulea
ชื่อทวินาม
Nymphaea caerulea
Sav.[1]

บัวอียิปต์ ชื่อวิทยาศาสตร์: Nymphaea caerulea เป็นพืชในวงศ์ Nymphaeaceae พบกระจายพันธุ์ในแอฟริกาตอนกลางและเหนือ เป็นพืชน้ำลำต้นอยู่ในโคลน ใบลอยบนผิวน้ำ ใบเกือบกลมขอบเรียบ มีจุดสีม่วงด้านล่างของใบ ดอกสีน้ำเงินอ่อน ตรงกลางสีขาว บานเฉพาะตอนเช้า มีสารออกฤทธิ์ที่ทำให้มีอาการคล้ายถูกสะกดจิต ประสาทหลอน

การกระจายพันธุ์ แก้

แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นแหล่งกำเนิดอยู่ตามแนวแม่น้ำไนล์และส่วนอื่นๆของแอฟริกาตะวันออก เคยแพร่กระจายเป็นบริเวณกว้างในอดีต รวมถึงไทยและอินเดีย

ศาสนาและศิลปะ แก้

 
หินสลักในสมัยอียิปต์โบราณ แสดงเทพบา เทพแห่งความตายนั่งอยู่บนแท่น ล้อมรอบด้วยบัวศักดิ์สิทธิ์ สมัยราชอาณาจักรใหม่ ราชวงศ์ที่ 18

บัวสาย เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอียิปต์เช่นกัน พืชและดอกถูกใช้ในศิลปะอียิปต์บ่อยๆ บัวอียิปต๋มีความสำคัญมากกว่าในตำนานของอียิปต์ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์ เพราะดอกตูมกลางคืน และบานตอนกลางวัน ในเฮลิโอโพลิสกล่าวว่าสุริยเทพราเกิดขึ้นจากดอกบัว และเชื่อว่าตอนกลางคืนจะกลับลงไปอยู่ในดอกบัว[2]

คุณสมบัติและการใช้ประโยชน์ แก้

บัวอียิปต์มีอะโพมอร์ฟีนซึ่งเป็นอัลคาลอยด์ที่ส่งผลต่อจิตใจ ซึ่งมีการใช้งานในอาณาจักรมายาและอียิปต์โบราณ[3]

สถานะทางกฎหมาย แก้

แลตเวีย แก้

เป็นพืชผิดกฎหมายในแลตเวียตั้งแต่พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ถือเป็นยาเสพติดประเภทที่ 1[4]

โปแลนด์ แก้

เป็นพืชที่ถูกคว่ำบาตรในโปแลนด์ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2552[5]

รัสเซีย แก้

เป็นพืชที่ผิดกฎหมายในรัสเซียตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เช่นเดียวกับ Salvia divinorum ใบระบาด และอื่นๆ[6]

อ้างอิง แก้

  • จารุพันธ์ ทองแถม. พืชมหัศจรรย์โลกวิกฤติ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555 หน้า 471
  1. "Nymphaea caerulea information from NPGS/GRIN". www.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 2008-12-04.
  2. Rawson, Jessica, Chinese Ornament: The lotus and the dragon, pp. 200 (quoted)–202, 1984, British Museum Publications, ISBN 0-714-11431-6
  3. Bertol, Elisabetta; Fineschi, Vittorio; Karch, Steven B.; Mari, Francesco; Riezzo, Irene (2004). "Nymphaea cults in ancient Egypt and the New World: a lesson in empirical pharmacology". Journal of the Royal Society of Medicine. 97 (2): 84–85. doi:10.1258/jrsm.97.2.84. PMC 1079300.
  4. "Par Krimināllikuma spēkā stāšanās un piemērošanas kārtību" (ภาษาลัตเวีย). likumi.lv. สืบค้นเมื่อ 2013-06-23.
  5. Dz.U. 2009 nr 63 poz. 520 เก็บถาวร 2011-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Internetowy System Aktów Prawnych. (โปแลนด์)
  6. "Постановление Правительства Российской Федерации от 31 декабря 2009 г. № 1186". 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-25. สืบค้นเมื่อ 2016-11-21.