ใบระบาด

สปีชีส์ของพืช
ใบระบาด
ใบระบาด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Solanales
วงศ์: Convolvulaceae
สกุล: Argyreia
สปีชีส์: A.  nervosa
ชื่อทวินาม
Argyreia nervosa
(Burm.f.) Bojer
เมล็ดของใบระบาด

ใบระบาด (ชื่อสามัญ: Baby Wood Rose, Baby Hawaiian Woodrose, Elephant Climber, Elephant Creeper, Elephant Creeper Silver, Elephant Vine, Silver Morning, Silver Morning Glory, Morning Glory, Wood Rose, Woolly Morning Glory)[1] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Argyreia nervosa (Burm.f.) Bojer) มีชื่อพื้นเมือง เช่น ผักบุ้งเงิน ผักระบาด หรือ เมืองมอน เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แก้

พรรณไม้ในวงศ์ผักบุ้ง ลำต้นสีเขียว เลื้อยพันได้ ไม้เลื้อยอายุหลายปี ทอดเลื้อยได้ไกล 10 เมตร ทุกส่วนของใบระบาดมีน้ำยางสีขาว กิ่งอ่อนสีขาว มีขนสีขาวเงินปกคลุมหนาแน่น ใบสีเขียวเทา ใต้ใบและผิวนอกของกลีบดอกมีขนสีขาวแกมเงิน วงกลีบดอกรูปหลอด ภายในสีชมพูอมม่วงอ่อน ผลเป็นแบบกระเปาะมีกลีบเลี้ยงติด ลักษณะผลค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร เมล็ดสีดำ[2] เป็นไม้พื้นเมืองของอินเดียมีชื่อในภาษาสันสกฤตว่า विधारा (Vidhara) มีการกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก รวมทั้งในฮาวายและประเทศแถบทะเลแคริบเบียน พบมากที่ฮาวาย สามารถกลายเป็นพืชรุกรานได้

สารสำคัญ

แก้

มีสารเออร์โกลีนและเอไมด์ของกรดไลเซอร์กิก มีฤทธิ์หลอนประสาท[3] ห้ามรับประทานใบและเมล็ด โดยใบห้ามนำมารับประทาน หากรับประทานใบเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลุ้มคลั่ง มึนงง ตาพร่า ส่วนเมล็ดถ้ารับประทานเข้าไปจะทำให้ประสาทหลอน

บรรณานุกรม

แก้
  • หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  "ใบระบาด (Bai Rabat)".  หน้า 168.
  • หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  "ใบละบาท". หน้า 443-444.
  • สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  "ใบระบาด".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/herbs/.
  • ไม้ประดับออนไลน์.  "ใบละบาท".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.maipradabonline.com.

ระเบียงภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. https://medthai.com/ใบระบาด/
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-11. สืบค้นเมื่อ 2018-12-03.
  3. จารุพันธ์ ทองแถม. พืชมหัศจรรย์โลกวิกฤติ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้