โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส

(เปลี่ยนทางจาก Infectious mononucleosis)

โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส (อังกฤษ: infectious mononucleosis, IM) หรือ โมโน เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์หรืออีบีวี[2] ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเด็ก ซึ่งมักมีอาการไม่รุนแรง[2] หากผู้ป่วยเป็นวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ตอนต้น มักมีอาการไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และอ่อนเพลีย[2] อาการมักดีขึ้นภายใน 2-4 สัปดาห์ แต่อาจอ่อนเพลียต่อได้หลายเดือน[2] บางรายมีตับโตหรือม้ามโตร่วมด้วย[3] อาจพบการฉีดขาดของม้ามได้ แต่พบน้อย ไม่ถึง 1%[6]

โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส
(Infectious mononucleosis)
ชื่ออื่นGlandular fever, Pfeiffer's disease, Filatov's disease,[1] kissing disease
ผู้ป่วยโรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิสมีต่อมน้ำเหลืองโตที่คอ
สาขาวิชาInfectious disease
อาการไข้, เจ็บคอ, ต่อมน้ำเหลืองโตที่คอ, อ่อนเพลีย[2]
ภาวะแทรกซ้อนตับโตหรือม้ามโต[3]
ระยะดำเนินโรค2–4 สัปดาห์[2]
สาเหตุไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์, ส่วนใหญ่ติดทางน้ำลาย[2]
วิธีวินิจฉัยวินิจฉัยจากอาการและการตรวจเลือด[3]
การรักษาดื่มน้ำมากๆ, พักผ่อน, ใช้ยาแก้ปวดลดไข้ เช่น พาราเซตามอล และ ไอบูโปรเฟน[2][4]
ความชุก45 ต่อ 100,000 ต่อปี (สหรัฐอเมริกา)[5]

เชื้อทีเป็นสาเหตุหลักของโรคนี้คือเชื้อไวรัสเอ็ปสไตน์-บาร์หรืออีบีวี มีอีกชื่อว่าไวรัสเฮอร์ปีส์ในมนุษย์ ชนิดที่ 4 ซึ่งอยู่ในแฟมิลีไวรัสเฮอร์ปีส์[3] นอกจากนี้ยังมีเชื้ออื่นอีกแต่พบไม่บ่อย[3] ส่วนใหญ่ติดต่อผ่านทางน้ำลาย ช่องทางอื่นที่พบได้น้อยคือทางน้ำอสุจิและทางเลือด[2] ผู้ป่วยอาจติดเชื้อผ่านการสัมผัสวัตถุที่ปนเปื้อน เช่น แก้วน้ำ แปรงสีฟัน[2] ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 สัปดาห์ ก่อนเริ่มแสดงอาการ[2] การวินิจฉัยทำได้โดยดูจากอาการเป็นหลัก บางครั้งอาจจำเป็นต้องตรวจยืนยันโดยการตรวจหาแอนติบอดีในเลือด[3] ผลการตรวจนับเม็ดเลือดมักพบว่ามีเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซัยต์สูงกว่าปกติ โดยเป็นลิมโฟซัยต์แบบผิดปกติ (atypical) มากกว่า 10%[3][7] ในสมัยก่อนเคยมีชุดตรวจสำเร็จรูปเช่น monospot แต่ปัจจุบันไม่แนะนำให้ใช้แล้ว เนื่องจากมีความแม่นยำต่ำ[8]

ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันเชื้อนี้[2] การป้องกันโรคยังคงเน้นไปที่การงดใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน และงดจูบกับผู้ป่วย[2] ผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นได้เอง[2] การรักษาเป็นการบรรเทาอาการและการรักษาประคับประคองโดยทั่วไป ได้แก่ การดื่มน้ำ พักผ่อนให้เพียงพอ ใช้ยาแก้ปวดลดไข้เพื่อบรรเทาอาการไข้และอาการปวด เช่น พาราเซตามอล หรือไอบูโปรเฟน[2][4]

ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอายุประมาณ 15-24 ปี[7] ส่วนในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กเล็ก ซึ่งมักมีอาการไม่รุนแรง[9] หากพิจารณาเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยอายุ 16-20 ปี ที่มีอาการเจ็บคอ จะพบว่ามีสาเหตุจากโรคนี้ราว 8%[7] ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 45 ต่อประชากรแสนคน[5] คนทั่วไปราว 95% จะเคยมีการติดเชื้ออีบีวีมาก่อน[5] โรคนี้พบได้ตลอดปี[7] ได้รับการบรรยายรายละเอียดของโรคเป็นครั้งแรกเมื่อช่วงปี ค.ศ. 1920s และเป็นที่รู้จักในหมู่คนทั่วไปว่า "โรคจูบ" จากการที่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัสน้ำลาย[10]

อ้างอิง แก้

  1. Filatov's disease ใน Who Named It?
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 "About Epstein-Barr Virus (EBV)". CDC. January 7, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2016. สืบค้นเมื่อ Aug 10, 2016.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 "About Infectious Mononucleosis". CDC. January 7, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2016. สืบค้นเมื่อ 10 August 2016.
  4. 4.0 4.1 Ebell, MH (12 April 2016). "JAMA PATIENT PAGE. Infectious Mononucleosis". JAMA. 315 (14): 1532. doi:10.1001/jama.2016.2474. PMID 27115282.
  5. 5.0 5.1 5.2 Tyring, Stephen; Moore, Angela Yen; Lupi, Omar (2016). Mucocutaneous Manifestations of Viral Diseases: An Illustrated Guide to Diagnosis and Management (ภาษาอังกฤษ) (2 ed.). CRC Press. p. 123. ISBN 9781420073133. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-11.
  6. Handin, Robert I.; Lux, Samuel E.; Stossel, Thomas P. (2003). Blood: Principles and Practice of Hematology (ภาษาอังกฤษ). Lippincott Williams & Wilkins. p. 641. ISBN 9780781719933. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-11.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Ebell, MH; Call, M; Shinholser, J; Gardner, J (12 April 2016). "Does This Patient Have Infectious Mononucleosis?: The Rational Clinical Examination Systematic Review". JAMA. 315 (14): 1502–9. doi:10.1001/jama.2016.2111. PMID 27115266.
  8. "Epstein-Barr Virus and Infectious Mononucleosis Laboratory Testing". CDC. January 7, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2016. สืบค้นเมื่อ 10 August 2016.
  9. Marx, John; Walls, Ron; Hockberger, Robert (2013). Rosen's Emergency Medicine - Concepts and Clinical Practice (ภาษาอังกฤษ) (8 ed.). Elsevier Health Sciences. p. 1731. ISBN 1455749877. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-11.
  10. Smart, Paul (1998). Everything You Need to Know about Mononucleosis (ภาษาอังกฤษ). The Rosen Publishing Group. p. 11. ISBN 9780823925506.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก