หิชรา

(เปลี่ยนทางจาก Hijra (South Asia))

ในอนุทวีปอินเดีย หิชรา (อักษรโรมัน: hijra[n 2]) เป็นคำกว้าง ๆ สำหรับเรียกหญิงข้ามเพศ และอาจใช้เรียกรวมกลุ่มยูนุช และ คนหลากเพศ ที่อาศัยในชุมชนที่ยึดถือปฏิบัติระบบวงศ์วานที่เรียกว่า คุรุเจละ (guru-chela)[2][3][4][5] ชื่ออื่น ๆ ของหิชรา เช่น อารวณี (aravani), อารุวณี (aruvani) และ โชคัปปะ (jogappa)[6] ส่วนในชุมชนหิชราบางกลุ่มในอินเดียนิยมเรียกตนเองว่าเป็นพวก กินนร ตามชื่อของสัตว์ในตำนาน ส่วนในปากีสถานเรียกว่า ฆวาจะระอ์ ซิรา (khawaja sira) ซึ่งมีความหมายเดียวกับคนข้ามเพศในภาษาอูรดู[7]

หิชรา
A group of Hijra in Bangladesh
หิชรากลุ่มหนึ่งในบังกลาเทศ
การออกเสียง[ˈɦɪdʒɽa]
ความหมายคำกว้างสำหรับเรียกคนข้ามเพศ, คนหลายเพศ, ยูนุช
ประเภทอัตลักษณ์ทางเพศ
คำอื่น ๆ
คำพ้องความหมายAravani, Jagappa, Kinnar, Khawaja Sira, Khadra, Moorat
คำที่เกี่ยวข้องBakla, Khanith, Kothi, กะเทย, เพศที่สาม, ผู้หญิงข้ามเพศ, Akava'ine, Muxe
ประชากรศาสตร์
วัฒนธรรมเอเชียใต้
พื้นที่ที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
อนุทวีปอินเดีย
 อินเดีย10 ล้าน+[1][n 1]
 ปากีสถาน250,000+ (2017)
 บังกลาเทศ12,000+ (2022)
ข้อมูลด้านกฎหมาย
การรับรองใช่ (อินเดีย, ปากีสถาน, บังกลาเทศ)
การคุ้มครองจำกัด

หิชราได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในฐานะเพศที่สามในอนุทวีปอินเดียหลายประเทศ[8][9][10] ในฐานะเพศที่ไม่ใช่ทั้งหญิงและชาย มีการบันทึกถึงหิชราปรากฏในหลักฐานลายลักษณ์อักษรของอนุทวีปอินเดียมาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังเช่นในกามสูตร นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 มา หิชรากลายมาเป็นเป้าของทางการอังกฤษเจ้าอาณานิคมซึ่งมีเป้าหมายกำจัดหิชรา การเป็นหิชราถูกตีตราว่าผิดกฎหมายภายใต้มาตรา 377 ของประมวลกฎหมายอาญาอินเดีย (1860), และยังได้รับการตีตราให้เป็นชนเผ่าอาชญากรรมในปี 1871 แนวคิดการต่อต้านหิชรายังคงอยู่ในสังคมอินเดียเรื่อยมาแม้จะได้รับเอกราชแล้วก็ตาม[11]

หิชราส่วนใหญ่ในปัจจุบันอาศัยอยู่ในชุมชนที่มีการระบุตนอย่างชัดเจนว่าเป็นชุมชนหิชรา และเป็นชุมชนที่มีการจัดระบบระเบียบอย่างดี ชุมชนเหล่านี้มีผู้นำคือคุรุ[4] ชุมชนเหล่านี้ประกอบด้วยชนหลายรุ่นอายุที่อยู่ในภาวะยากจนอดอยาก หรือที่ถูกปฏิเสธโดยหรือหนีออกมาจากครอบครัวเดิมของตน[12] สมาชิกจำนวนมากของชุมชนหิชราประกอบอาชีพค้าประเวณี[13]

คำว่า หิชรา เป็นคำฮินดูสถาน[14] โดยธรรมเนียมแล้วมีแปลเป็นอังกฤษว่าเป็นพวก "เพศกะเทย" ที่ซึ่ง "ความกำกวมของอวัยวะเพศชายเป็นศูนย์กลางของการนิยามนี้"[15] อย่างไรก็ตาม แม้โดยทั่วไปหิชราส่วนใหญ่จะเกิดมาเป็นเพศชาย มีหิชราส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดมาด้วยภาวะเพศกำกวม[16] หิชราบางส่วนอาจเข้าร่วมพิธีกรรมเปลี่ยนผ่านเพื่อเริ่มต้นใหม่ (initiation rite) เข้าสู่ชุมชนหิชรา พิธีกรรมนี้เรียกว่า "นิรวาณ" ซึ่งประกอบด้วยการตัดองคชาต อัณฑะ และถุงหุ้มอัณฑะ ทิ้ง[13]

นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา นักเคลื่อนไหวหิชราและองค์การนอกรัฐจำนวนหนึ่งได้ทำการล็อบบีให้มีการรับรองหิชราเป็นประเภทหนึ่งของ "เพศที่สาม" ที่ไม่ใช่หญิงหรือชาย โดยรัฐ[17] ในบังกลาเทศ การเรียกร้องนี้ประสบผลสำเร็จ และผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นหิชรายังได้รับสิทธิพิเศษบางประการในการศึกษาและอาชีพรายได้ต่ำบางกลุ่ม[18][19] ส่วนในอินเดีย ศาลสูงสุดอินเดียได้รับรองหิชราในเดือนเมษายน 2014 เช่นเดียวกับคนข้ามเพศ ยูนุช และคนหลายเพศ ให้เป็น "เพศที่สาม" ตามกฎหมาย[2][20][21] เนปาล ปากีสถาน อินเดีย และบังกลาเทศ ล้วนมีการรับรองสถานะเพศที่สามโดยกฎหมาย โดยอินเดีย เนปาล และปากีสถาน ยังอนุญาตให้ระบุเพศที่สามบนเอกสารทางการบางชนิด และบนหนังสือเดินทาง[22]

อ้างอิง

แก้
  1. Roy, Jeff (2014). "Unveiling Koovagam". World Policy Journal. 31 (2): 93. doi:10.1177/0740277514541061.
  2. 2.0 2.1 "India recognises transgender people as third gender". The Guardian. 15 April 2014. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  3. Shaw et al. 2017, Köllen 2016, p. 171, Seow 2017, p. 132, Ginicola, Smith & Filmore 2017, p. 189
  4. 4.0 4.1 Nanda 1985, pp. 35–54 "The most significant relationship in the hijra community is that of the guru (master, teacher) and chela (disciple)."
    Cohen 1995, "Hijras are organized into households with a hijra guru as head, into territories delimiting where each household can dance and demand money from merchants"
  5. "Who are the hijras?". สืบค้นเมื่อ 2022-08-14.
  6. "Hijra Community, India (Govt.)".
  7. "Engendering rights". 19 July 2017.
  8. Shaw et al. 2017, Bevan 2016, p. 70
  9. "7 Countries Giving Transgender People Fundamental Rights the U.S. Still Won't". mic.com. สืบค้นเมื่อ 17 June 2016.
    "Hijras and Bangladesh: The creation of a third gender". pandeia.eu. 2 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2016. สืบค้นเมื่อ 17 June 2016.
  10. Hossain, Adnan (April 2017). "The paradox of recognition: hijra, third gender and sexual rights in Bangladesh". Culture, Health & Sexuality. Taylor & Francis. 19 (12): 1418–1431. doi:10.1080/13691058.2017.1317831. eISSN 1464-5351. ISSN 1369-1058. OCLC 41546256. PMID 28498049. S2CID 5372595.
  11. Hinchy 2019, pp. 95–109.
  12. Nanda 1999, p. 116 "None of the hijra narratives I recorded supports the widespread belief in India that hijras recruit their membership by making successful claims on intersex infants. Instead, it appears that most hijras join the community in their youth, either out of a desire to more fully express their feminine gender identity, under the pressure of poverty, because of ill treatment by parents and peers for feminine behaviour, after a period of homosexual prostitution, or for a combination of these reasons.".
  13. 13.0 13.1 Nanda 1996.
  14. Reddy 2010, p. 243 "By and large, the Hindi/Urdu term hijra is used more often in the north of the country, whereas the Telugu term kojja is more specific to the state of Andhra Pradesh, of which Hyderabad is the capital."
  15. Nanda 1999.
  16. Nanda 1991, "Among thirty of my informants, only one appeared to have been born intersexed.".
  17. Agrawal 1997, pp. 273–97.
  18. "Gurus of eunuchs can not recommend castration: Govt". 9 March 2012.
  19. Karim, Mohosinul (11 November 2013). "Hijras now a separate gender". Dhaka Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2013. สืบค้นเมื่อ 11 November 2013.
  20. McCoy, Terrence (15 April 2014). "India now recognizes transgender citizens as 'third gender'". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  21. "Supreme Court recognizes transgenders as 'third gender'". The Times of India. 15 April 2014. สืบค้นเมื่อ 15 April 2014.
  22. Julfikar Ali Manik and Ellen Barry, "A Transgender Bangladeshi Changes Perceptions After Catching Murder Suspects", The New York Times, 3 April 2015.

หมายเหตุ

แก้
  1. This number is for Southeast Asia.
  2. ฮินดี: हिजड़ा   อูรดู: ہِجڑا   เบงกอล: হিজড়া   กันนาดา: ಹಿಜಡಾ   เตลูกู: హిజ్రా   ปัญจาบ: ਹਿਜੜਾ   โอเดีย: ହିନ୍ଜଡା
    , and ਖੁਸਰਾ/کھسرا khusra (Punjabi).

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้