กะเทย (ชีววิทยา)

(เปลี่ยนทางจาก Hermaphrodite)

กะเทย (อังกฤษ: hermaphrodite) ในทางชีววิทยา หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีอวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งเพศหญิงและเพศชายอยู่ในตัวเดียวกัน[1] หรือมีอวัยวะเพศแบบก่ำกึ่งบอกไม่ได้แน่ว่าเป็นผู้หญิงหรือชาย หรือบางอวัยวะเป็นชาย บางอวัยวะเป็นหญิง

หอยทาก Helix aspersa ขณะกำลังผสมพันธุ์กัน
Hylocereus undatus ต้นไม้ที่เป็นกะเทยในดอกเดียวมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย
Hermaphroditus บุตรแห่งเทพเจ้ากรีก Hermes และ Aphrodite ต้นกำเนิดของคำ "hermaphrodite"

กะเทยพบได้ในสิ่งมีชีวิตทั่วไปในอัตราที่แตกต่างกัน ในคนพบกะเทยได้เป็นส่วนน้อยแต่ในพืชและสัตว์หลายชนิดเป็นกะเทยทั้งหมดหรือเป็นกะเทยเป็นส่วนใหญ่ ในพืชการการผสมพันธุ์จะเกิดในดอกเดียวกัน ต้นเดียวกัน หรือข้ามต้นก็ได้ สัตว์ที่มีกำเนิดเป็นกะเทย เช่น ไส้เดือน หอยทาก ปลาบางชนิด ไส้เดือนแต่ละตัวมีทั้งอวัยวะเพศตัวผู้และตัวเมีย เวลาผสมพันธุ์ต้องผสมกับอีกตัวหนึ่ง โดยที่แต่ละตัวเป็นทั้งตัวผู้และตัวเมียพร้อมกัน[2] อย่างไรก็ดีด้วยเหตุผลทางวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตมักมีกลไกป้องกันมิให้เกิดการปฏิสนธิในตนเอง (self-fertilization)

ในมนุษย์ แก้

ถ้ามีทั้งอวัยวะเพศหญิงและอวัยวะเพศชายอยู่ในคนเดียวกัน เรียกว่า "กะเทยแท้" แต่ถ้าอวัยวะเพศเป็นแบบครึ่งหญิงครึ่งชาย หรือบางอวัยวะเป็นหญิงบางอวัยวะเป็นชาย เรียกว่า "กะเทยเทียม"[2]

กะเทยแท้ แก้

กะเทยแท้ (true hermaphrodite) ที่รู้จักกันเป็นส่วนใหญ่เป็นหมัน มีอวัยวะเพศภายนอกก่ำกึ่ง แต่ก็มักจะดูคล้ายไปทางเพศใดเพศหนึ่ง ที่สำคัญคือมีทั้งอัณฑะและรังไข่ บางคนอาจมีรังไข่อยู่ข้างหนึ่งของตัว อีกข้างหนึ่งเป็นอัณฑะ หรือบางคนมีก้อนตรงตำแหน่งของรังไข่ บางคนอาจมีลักษณะของร่างกายภายนอกเป็นหญิงซีกหนึ่งอีกซีกหนึ่งเป็นชาย ความผิดปกตินั้นอาจมีสาเหตุมาจากโครโมโซมบางส่วนผิดปกติไปในขณะที่ทารกเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์มารดาก็ได้ กะเทยแท้จึงไม่เป็นกรรมพันธุ์[2]

ตัวอย่างของกะเทยแท้มีให้เห็นน้อยมาก มีตัวอย่างจากทหารชาวอิตาลีนายหนึ่งชื่อ "ดาเนียล เบิร์กแฮมเมอร์" แต่งงานกับภรรยามา 7 ปี และมีชีวิตสมรสตามปกติแต่ไม่มีบุตร อวัยวะเพศชายของเขาปกติ คืนหนึ่งก่อนเข้านอนเขารู้สึกว่ามีอะไรดิ้นอยู่ในท้อง ต่อมาอีกหนึ่งชั่วโมงก็คลอดลูกออกมาเป็นผู้หญิง เขาสารภาพว่าตนเองได้ปกปิดเป็นความลับตลอดมาว่าร่างกายของเขาซีกหนึ่งเป็นชาย อีกซีกหนึ่งเป็นผู้หญิง เขาเคยมีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ชายเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็ตั้งครรภ์ หลังจากคลอดลูกแล้ว เขาสามารถให้ลูกดูดนมได้จากเต้านมข้างขวา ซีกตัวข้างขวาของเขาเป็นผู้หญิง ซีกซ้ายเป็นผู้ชาย[2]

กะเทยเทียม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Merriam-Webster Dictionary Retrieved 28 June 2011
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 นพ. วิจารน์ พานิช (31 ตุลาคม พ.ศ. 2524). "กะเทยก็เป็นกรรมพันธุ์ (ตอนที่ 1)". หมอชาวบ้าน. doctor.or.th. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้