ตับอักเสบซี

(เปลี่ยนทางจาก Hepatitis C)

โรคตับอักเสบซี (อังกฤษ: Hepatitis C) เป็นโรคติดต่อที่ก่อโดยไวรัสตับอักเสบซี (HCV) ซึ่งหลัก ๆ แล้วส่งผลต่อตับ;[2] เป็นหนึ่งในชนิดของตับอักเสบจากไวรัส[7] ในการติดต่อระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการหรือมีอาการที่เบามาก[1] อาจมีบ้างที่พบไข้, ปัสสาวะสีเข้ม, ปวดท้อง หรือดีซ่าน[1] ไวรัสจะคงอยู่ในตับราว 75% ถึง 85% จากที่ติดเชื้อแรกเริ่มผู้ที่ติดเชื้อ[1] อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผ่านไปเป็นปี มันมักนำไปสู่โรคตับ และบางครั้ง ตับแข็ง[1] ที่ซึ่งในบางกรณีตับแข็งนี้อาจนำไปสู่ตับวาย, มะเร็งตับ หรือ วาริกซ์ในหลอดอาหาร และ กระเพาะ[2]

ตับอักเสบซี
ภาพกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแสดงไวรัสตับอักเสบซี จากการเพาะเลี้ยงเซลล์ (สเกล = 50 นาโนเมตร)
สาขาวิชาวิทยาระบบทางเดินอาหาร, วิทยาโรคติดต่อ
อาการปกติไม่มีอาการ[1]
ภาวะแทรกซ้อนตับวาย, มะเร็งตับ, หลอดเลือดขอดในหลอดอาหาร และกระเพาะ[2]
ระยะดำเนินโรคระยะยาว (80%)[1]
สาเหตุไวรัสตับอักเสบซีโดยทั่วไปติดต่อผ่านทางเลือดสู่เลือดากเลือดสู่เลือด[1][3]
วิธีวินิจฉัยตรวจเลือดเพื่อหาแอนติบอดี หรืออาร์เอ็นเอของไวรัส[1]
การป้องกันการใช้เข็มที่ฆ่าเชื้อแลัว, การตรวจเลือดก่อนการถ่ายเลือด[4]
การรักษายา, ปลูกถ่ายตับ[5]
ยายาต้านไวรัส (โซโฟบูเวียร์, ซิเมพรีเวียร์, ฯลฯ)[1][4]
ความชุก71 ล้าน (2017)[6]
การเสียชีวิต399,000 (2016)[6]

HCV ติดต่อหลัก ๆ ผ่านทางการติดต่อจากเลือดสู่เลือด (blood-to-blood contact) อันเกี่ยวเนื่องจากการฉีดยา, อุปกรณ์การแพทย์ที่ไม่ได้ทำความสะอาดให้ดี, การบาดเจ็บจากเข็มฉีดยาในเจ้าหน้าที่การแพทย์ และจาก การถ่ายเลือด[1][3] เมื่อมีการตรวจสกรีนเลือดแล้ว ความเสี่ยงที่จะเกิดในการถ่ายเลือดนั้นต่ำลงกว่าหนึ่งในสองล้าน[1] และอาจติดต่อจากมารดาสู่ทารกขณะคลอดได้[1] และไม่ได้ติดต่อผ่านทางผิวเผิน[4] ไวรัสตับอีกเสบซีเป็นหนึ่งในห้าตับอักเสบจากไวรัสที่เป็นที่รู้จัก: เอ, บี, ซี, ดี และ อี[8]

ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้รักษาตับอักเสบซี[1][9]

ในวันที่ 5 ตุลาคม 2020 ฮาร์วีย์ เจ. ออลเทอร์ (Harvey J. Alter), ไมเคิล ฮอว์ทัน (Michael Houghton) และ ชาลส์ เอ็ม. ไรซ์ (Charles M. Rice) ได้รับรางวัลโนเบิลสาขาการแพทย์และสรีรวิทยาสำหรับการค้นพบไวรัสตับอักเสบซีซึ่งก่อโรคนี้[10]

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 "Q&A for Health Professionals". Viral Hepatitis. Centers for Disease Control and Prevention. สืบค้นเมื่อ 28 September 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 Ryan KJ, Ray CG, บ.ก. (2004). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. pp. 551–52. ISBN 978-0-8385-8529-0.
  3. 3.0 3.1 Maheshwari, A; Thuluvath, PJ (February 2010). "Management of acute hepatitis C". Clinics in Liver Disease. 14 (1): 169–76, x. doi:10.1016/j.cld.2009.11.007. PMID 20123448.
  4. 4.0 4.1 4.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WHO2015
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NEJM2011
  6. 6.0 6.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WHO2019Fact
  7. "Hepatitis MedlinePlus". U.S. National Library of Medicine. สืบค้นเมื่อ 2020-06-19.
  8. "Viral Hepatitis: A through E and Beyond". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. April 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2016. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016.
  9. Webster, Daniel P; Klenerman, Paul; Dusheiko, Geoffrey M (2015). "Hepatitis C". The Lancet. 385 (9973): 1124–35. doi:10.1016/S0140-6736(14)62401-6. ISSN 0140-6736. PMC 4878852. PMID 25687730.
  10. Gallagher, James (2020-10-05). "Hepatitis C discovery wins the Nobel Prize". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-10-05.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก