กวาง

(เปลี่ยนทางจาก Cervidae)
กวาง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: โอลิโกซีนตอนต้น–ปัจจุบัน
ชนิดของกวาง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: สัตว์ (Animalia)
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง (Chordata)
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia)
อันดับ: สัตว์กีบคู่ (Artiodactyla)
อันดับย่อย: สัตว์เคี้ยวเอื้อง (Ruminantia)
วงศ์: กวาง (Cervidae)
Goldfuss, 1820
วงศ์ย่อย
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
กวางเรนเดียร์ หรือกวางแคริบู (Rangifer tarandus) ซึ่งเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกทางเหนือ

กวาง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ (อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง) ที่จัดอยู่ในวงศ์ Cervidae

มีลักษณะขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและไม่มีเขา ลักษณะเขาตัน ไม่กลวง เป็นเกลียว บางชนิดอาจแตกแขนงได้มากเหมือนกิ่งไม้ ไม่มีถุงน้ำดี ชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ กินใบไม้อ่อน หญ้าอ่อน

การจำแนก

แก้

วงศ์ Cervidae [1]

Cervidae
Cervinae
Muntiacini

เก้งจีน



เก้งแวมไพร์  



Cervini



กวางแฟลโลว์  



กวางแฟลโลว์เปอร์เซีย







กวางรูซาชวา 



กวางป่า  





กวางแดง  



กวางธอโรลด์ 



กวางซีกา 






ละองละมั่ง 



กวางคุณพ่อดาวีด 







กวางบึง 




เนื้อทราย



กวางดาว 






Capreolinae
Rangiferini

กวางเรนเดียร์ (กวางแคริบู)  





กวางบร็อคเกตแดง  




กวางหางขาว  



กวางล่อ  






กวางมาร์ช



กวางบร็อคเกตเทา



กวางปูดู  



กวางแอนเดียนเหนือ  





Capreolini

กวางโร  



กวางน้ำ  



Alceini

กวางมูส หรือ เอลก์ยูเรเชีย  





 
กวางป่าตัวเมีย ซึ่งไม่มีเขา

การปรับตัวต่อถิ่นอาศัย

แก้

จากการศึกษาวิวัฒนาการของสัตว์วงศ์กวางและกระจง ซึ่งเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน พบว่ามีหลายชนิดที่มีลักษณะการปรับตัวทางวิวัฒนาการเป็นแบบเข้าหากัน คือ กวางและกระจงที่มีถิ่นอาศัยต่างถิ่นกัน อาจมีรูปร่างภายนอกที่คล้ายคลึงกันได้ หากสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาของถิ่นอาศัยนั้นมีสภาพใกล้เคียงกัน [3] ซึ่งภายใต้สภาพการเลี้ยงในสวนสัตว์ในแต่ละที่ แต่ละกลุ่มประชากรในถิ่นอาศัยที่มีสภาพทางนิเวศวิทยาที่แตกต่างกันนั้น อาจจะเป็นคนละชนิด ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันก็ได้ [4]

ความสำคัญต่อมนุษย์

แก้

กวางเป็นสัตว์ที่มีบทบาทสำคัญต่อการตำรงชีวิตของมนุษย์มานานแล้ว ตั้งแต่ยุคที่มีการล่าสัตว์เพื่อนำมาทำเป็นอาหาร เอาหนังมาทำเครื่องนุ่งห่ม ต่อมาได้มีการนำกวางมาเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อบริโภคเนื้อ เป็นเกมกีฬาของชนชั้นสูงและมีการพัฒนาขึ้นมาจนเกิดเป็นอุตสาหกรรมการเลี้ยงกวางหรือฟาร์มกวาง [5]

นอกจากนี้แล้ว กวาง ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งดาวโชคลาภ กวาง ในภาษาจีนจะเรียกว่า "ลู่" (鹿) เป็นสัตว์สิริมงคลตามความเชื่อของจีน ซึ่งหมายถึงเทพดาวลก (ผู้เป็น 1 ใน 3 เทพดาว ฮก ลก ซิ่ว) ดังนั้นกวางจึงมีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ เป็นตัวแทนหมายถึง เทพแห่งดาวโชคลาภและชื่อเสียง[6] กวางหลายชนิดถูกจัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง สถานภาพทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้ [7]

หมายเหตุ

แก้

สัตว์เคี้ยวเอื้องอื่นบางชนิดเรียกว่ากวางตามชื่อสามัญ แต่ไม่ใช่กวางแท้ ๆ เช่น สัตว์ในวงศ์กวางชะมด (ชื่อสามัญ: Musk deer; ชื่อวิทยาศาสตร์: Moschidae) และกวางผา (ชื่อสามัญ: Goral; ชื่อวิทยาศาสตร์: Naemorhedus sp.)[8] [9]

อ้างอิง

แก้
  1. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  2. (สวัสดิ์, 2527)
  3. Biology and management of the Cervidae. a conference held at the Conservation and Research Center, National Zoological Park, Smithsonian Institution, Front Royal, Virginia, August 1-5, 1982
  4. การศึกษาลำดับนิวคลีโอไทดสัตววงศกวางเพื่อประโยชนในการจำแนกสัตวปาของกลาง เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. โดย กณิตา อุยถาวร. สืบค้น 26 ตุลาคม 2556
  5. กวาง เก็บถาวร 2013-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. รัตตนาฟาร์ม
  6. กวาง สัญลักษณ์แห่งดาวโชค[ลิงก์เสีย]. โฮโรเวิลด์
  7. กวาง. การเลี้ยงกวางจากกรมปศุสัตว์
  8. กวาง เก็บถาวร 2008-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  9. "การเลี้ยงกวาง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-17. สืบค้นเมื่อ 2009-03-29.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้