โรคจิตระยะสั้น

(เปลี่ยนทางจาก Brief psychotic disorder)

ตามระบบการจำแนกความผิดปกติทางจิตใจ DSM-IV-TR และ DSM-5 โรคจิตระยะสั้น[1] (อังกฤษ: brief psychotic disorder) เป็นภาวะโรคจิตที่เกิดอย่างฉับพลันโดยมีอาการโรคจิตอย่างน้อยหนึ่งอย่าง เช่น พูดไม่ปะติดปะต่อ (incoherence) หลงผิด (delusions) ประสาทหลอน (hallucinations) พฤติกรรมสับสนวุ่นวาย (disorganization) เคลื่อนไหวน้อยเกินไปหรือมากเกินไป (catatonia) ที่คงยืนระหว่าง 1 วันถึง 1 เดือนบ่อยครั้งพร้อมกับอารมณ์แปรปรวน ในที่สุดอาการทั้งหมดจะสงบไปและคนไข้จะกลับไปใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม อาการอาจเกิดตามช่วงที่เครียดมากรวมทั้งการสูญเสียบุคคลที่รัก คนไข้อาการนี้ในเกณฑ์วินิจฉัยของ DSM-5 โดยมาก จัดว่ามี acute and transient psychotic disorders ในเกณฑ์วินิจฉัยของ ICD-10 ภาวะนี้เคยเรียกว่า "brief reactive psychosis" ในเกณฑ์วินิจฉัยก่อนหน้า DSM-IV[2][3] ภาวะนี้อาจกลับเป็นซ้ำ และไม่ควรจะมีเหตุจากโรคตามการจำแนกอื่น ๆ

โรคจิตระยะสั้น
(Brief psychotic disorder)
สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก, จิตเวชศาสตร์

รายละเอียด แก้

ความผิดปกติเป็นการเกิดอาการโรคจิตอย่างฉับพลัน ซึ่งอาจรวมอาการหลงผิด ประสาทหลอน พูดหรือกระทำสับสนวุ่นวาย และเคลื่อนไหวน้อยหรือมากเกินไป อาการต้องไม่มีเหตุจากโรคจิตเภท, schizoaffective disorder, โรคหลงผิด (delusional disorder) หรืออาการฟุ้งพล่าน (mania) ตามที่ปรากฏในโรคอารมณ์สองขั้ว ต้องไม่มีเหตุจากยา (เช่น แอมเฟตามีน) หรือโรค/อาการอื่น ๆ (เช่น เนื้องอกในสมอง) ส่วนคำภาษาฝรั่งเศสว่า bouffée délirante หมายถึงโรคที่มีอาการโรคจิต (psychotic disorder) ที่ไม่มีอารมณ์แปรปรวน ไม่ใช่โรคจิตเภท ซึ่งโดยมากคล้ายกับโรคนี้และ schizophreniform disorder ตามเกณฑ์วินิจฉัยของ DSM-III-R และ DSM-IV[4]

อาการปกติจะคงยืนอย่างน้อยหนึ่งวัน แต่ไม่เกินหนึ่งเดือน แล้วในที่สุดคนไข้ก็จะกลับไปใช้ชีวิตได้เป็นปกติเหมือนเดิม อาจเกิดเพราะเหตุการณ์เครียด หรือเพราะสถานการณ์อื่น ๆ ที่ตัวก่อความเครียดอาจไม่ชัดเจน เช่น อาการโรคจิตหลังคลอด (postpartum psychosis) เมื่อวินิจฉัย แพทย์จะต้องแยกแยะพฤติกรรมที่จัดว่าเหมาะสมตามวัฒนธรรม เช่น ความเชื่อและพฤติกรรมทางศาสนา โรคนี้เชื่อว่าเชื่อมกับ หรือว่าเหมือนกับ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเฉพาะวัฒนธรรม ๆ เช่น[5]

  • latah เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดในเอเชียอาคเนย์ เป็นภาวะที่บุคคลมีพฤติกรรมผิดปกติโดยเป็นผลจากอาการช็อกอย่างฉับพลัน เมื่อทำให้ตกใจ/ประหลาดใจ คนที่มีอาการจะมีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ร้องเสียงลั่น สบถสาบาน เคลื่อนไหวเหมือนกับเต้นรำ หัวเราะอย่างควบคุมไม่ได้ และปกติจะเลียนคำพูดหรือเลียนพฤติกรรมของบุคคลรอบ ๆ ตัว[6]
  • koro หรือว่า shrinking penis (จู๋หด) เป็นโรคหลงผิดเฉพาะวัฒนธรรมที่บุคคลเชื่ออย่างเปลี่ยนไม่ได้ว่า อวัยวะเพศของตนกำลังหดลงแล้วจะหายไป แม้จะไม่มีความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต่ออวัยวะเพศ[7][8]
  • amok เป็น "พฤติการณ์ที่บุคคลเข้าทำร้ายคนอื่นหรือทำลายวัตถุต่าง ๆ อย่างดุเดือด ปกติเป็นคนคนเดียวหลังจากได้ครุ่นคิดวิตกในเรื่องนั้น ที่ดั้งเดิมจัดว่า เกิดโดยเฉพาะในวัฒนธรรมมาเล แต่ปัจจุบันพิจารณาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า เป็นพฤติกรรมโรคจิต (psychopathological behavior)"[9]

โรคมีรูปแบบสามอย่างคือ

  1. brief psychotic disorder with a stressor (แบบมีตัวทำให้เครียด) เช่น ความบาดเจ็บหรือความตายในครอบครัว
  2. brief psychotic disorder without a stressor (แบบไร้ตัวทำให้เครียด)
  3. brief psychotic disorder with postpartum onset (แบบเกิดหลังคลอด) ปกติเกิดประมาณ 4 สัปดาห์หลังคลอด

ความชุก แก้

อุบัติการณ์และความชุกของโรคนี้ยังไม่ชัดเจน แต่ทั่วไปจัดว่าไม่สามัญ[10] ทั่วโลก มันเกิดในหญิงเป็นสองเท่าของชาย โดยมีอัตรายิ่งกว่านั้นในสหรัฐอเมริกา ปกติจะเกิดในช่วงปลายช่วงอายุ 30-40 ปีและต้นช่วงอายุ 40-50 ปี[5] เหตุยังไม่ชัดเจน ทฤษฎีหนึ่งระบุกรรมพันธุ์ เพราะโรคสามัญกว่าในบุคคลที่สมาชิกครอบครัวมีความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) เช่นโรคซึมเศร้าหรือโรคอารมณ์สองขั้ว อีกทฤษฎีหนึ่งระบุว่า เกิดจาทักษะการรับมือกับเหตุการ์ที่ไม่ดี (poor coping skill) คือเกิดอาการโรคโดยเป็นยุทธการป้องกันหรือหนีจากเหตุการณ์ที่น่ากลัวหรือก่อความเครียด ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้อ่อนแอในการเกิดอาการโรคจิตอย่างสั้น ๆ ในกรณีโดยมาก โรคนี้จุดชนวนโดยเหตุการณ์ที่ทำให้เครียดหรือทำให้บอบช้ำทางกายใจ

หญิงในภาวะที่มีฮอร์โมนเพศ คือ estrogen น้อยอาจเกิดอาการนี้ จะมีภาวะนี้ปกติในช่วงก่อนมีประจำเดือน หลังคลอด หรือในช่วงระยะวัยทอง โดยอาการโรคจิตบ่อยครั้งสัมพันธ์กับโรคอารมณ์สองขั้วหรือโรคจิตเภทที่เป็นมูลฐาน อาการโรคจิตเช่นนี้ บ่อยครั้งจัดเป็น premenstrual exacerbation (อาการก่อนประจำเดือนที่เกิดเพิ่ม), menstrual psychosis (อาการโรคจิตตามรอบประจำเดือน) หรือ postpartum psychosis (อาการโรคจิตหลังคลอด) การคลอดบุตรอาจก่อโรคนี้ในหญิงบางคน[11] หญิงประมาณ 1 ใน 10,000 คนประสบกับอาการนี้หลังจากคลอดบุตรไม่นาน[12]

มีโรคหรืออาการทางแพทยอื่น ๆ ที่เป็นเหตุของอาการซึ่งแพทย์ต้องพิจารณา รวมทั้งภาวะซึมเศร้าหลังคลอด, เอชไอวีและเอดส์, มาลาเรีย, ซิฟิลิส, โรคอัลไซเมอร์, โรคพาร์คินสัน, ภาวะเลือดมีกลูโคสน้อย (hypoglycaemia), โรคลูปัส, โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง, เนื้องอกในสมอง และ pediatric autoimmune neuropsychiatric disorders (PANS)[13]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "psychosis", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) โรคจิต
  2. VandenBos, Gary R, บ.ก. (2015). APA dictionary of psychology (2nd ed.). Washington, DC: American Psychological Association. p. 145. doi:10.1037/14646-000. ISBN 978-1-4338-1944-5. brief psychotic disorder in DSM-IV-TR and DSM-5, a disturbance involving the sudden onset of at least one psychotic symptom (e.g., incoherence, delusions, hallucinations, or grossly disorganized or catatonic behavior). The condition is often accompanied by emotional turmoil and lasts from 1 day to 1 month, with complete remission of all symptoms and a full return to previous levels of functioning. It may develop following a period of extreme stress, such as the loss of a loved one. Formerly called brief reactive psychosis.
  3. Kaplan and Sadock's Comprehensive Textbook of Psychiatry (2017), ACUTE AND TRANSIENT PSYCHOTIC DISORDERS AND BRIEF PSYCHOTIC DISORDER, Comparative Nosology "Brief psychotic disorder is defined by DSM-5 as a psychotic condition that involves the sudden onset of psychotic symptoms and lasts 1 day or more but less than 1 month. Remission is full and patients return to their premorbid level of functioning. Thus, most individuals diagnosed with brief psychotic disorder under DSM-5 would be classified as having acute and transient psychotic disorders under ICD-10."
  4. Chabrol, H (2003). "Chronic hallucinatory psychosis, bouffée délirante, and the classification of psychosis in French psychiatry". Current Psychiatry Reports. 5 (3): 187–91. doi:10.1007/s11920-003-0040-2. PMID 12773270.
  5. 5.0 5.1 "eMedicine - Brief Psychotic Disorder : Article by Mohammed A Memon".
  6. "The Study of Malayan Latah". April 1984. doi:10.2307/3350936. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  7. American Psychiatric Association (2000). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (4th, text ed.). American Psychiatric Association. pp. 898–901. ISBN 978-0-89042-025-6.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  8. "Koro". dictionary.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-16.
  9. "amok". Merriam-Webster, Incorporated. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-12.
  10. https://www.inkling.com/read/kaplan-sadock-concise-clinical-psychiatry-3rd/chapter-11/11-4-brief-psychotic-disorder
  11. "What Is Brief Psychotic Disorder?". WebMD. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-14. สืบค้นเมื่อ 2019-11-18.
  12. Nolen-Hoeksema, Susan (2014). Abnormal Psychology (6th ed.). New York, NY: McGraw-Hill Education. pp. 230–231. ISBN 9780078035388.
  13. Chang, Kiki; Frankovich, Jennifer; Cooperstock, Michael; Cunningham, Madeleine W.; Latimer, M. Elizabeth; Murphy, Tanya K.; Pasternack, Mark; Thienemann, Margo; Williams, Kyle (2014-10-17). "Clinical Evaluation of Youth with Pediatric Acute-Onset Neuropsychiatric Syndrome (PANS) : Recommendations from the 2013 PANS Consensus Conference". Journal of Child and Adolescent Psychopharmacology. 25 (1): 3–13. doi:10.1089/cap.2014.0084. ISSN 1044-5463. PMC 4340805. PMID 25325534.

อ้างอิงอื่น ๆ แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค