วงศ์นกยาง
นกยาง หรือ นกกระยาง (อังกฤษ: heron, bittern, egret) เป็นนกวงศ์หนึ่ง ที่อยู่ในอันดับนกกระทุง (Pelecaniformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Ardeidae
วงศ์นกยาง ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: พาลีโอซีน-ปัจจุบัน, 55–0Ma | |
---|---|
นกยางโทนใหญ่ หรือ นกกระยางขาว (Ardea alba) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์ปีก Aves |
อันดับ: | นกกระทุง Pelecaniformes |
วงศ์: | วงศ์นกยาง Ardeidae Leach, 1820[1] |
วงศ์ย่อย[1] | |
| |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ |
มีลักษณะโดยรวม คือ เป็นนกน้ำที่มีทั้งขนาดเล็ก, ขนาดกลาง และขนาดใหญ่มีคอและขายาว มักพบเดินท่องน้ำหากินหรือยืนนิ่งบนกอหญ้าหรือพืชน้ำ คอยใช้ปากแหลมยาวจับสัตว์น้ำเล็ก ๆ หรือแมลงบนพื้นเป็นอาหาร ขณะบินจะพับหัวและคอแนบลำตัว เหยียดขาไปข้างหลัง ทำรังรวมกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่บนต้นไม้ ใช้กิ่งไม้สานกันอย่างหยาบ ๆ[2] พบทั้งหมด 61 ชนิดทั่วโลก พบในประเทศไทย 20 ชนิด [3] หากินในเวลากลางวัน[4]
รายชื่อนกในวงศ์นกยางที่พบในประเทศไทย
แก้ชื่อ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | สถานะ |
---|---|---|
นกกระสานวล | Ardea cinerea | นกอพยพ, เคยขยายพันธุ์ในประเทศไทย |
นกกระสาใหญ่ | Ardea sumatrana | หายากมาก |
นกกระสาแดง | Ardea purpurea | นกอพยพ |
นกยางโทนใหญ่ | Ardea alba | |
นกยางโทนน้อย | Egretta intermedia | นกอพยพ |
นกยางเปีย | Egretta garzetta | |
นกยางจีน | Egretta eulophotes | นกอพยพ, หายากมาก เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ทั่วโลก[5] |
นกยางทะเล | Egretta sacra | |
นกยางกรอกพันธุ์อินเดีย | Ardeola grayii | |
นกยางกรอกพันธุ์จีน | Ardeola bacchus | นกอพยพ |
นกยางกรอกพันธุ์ชวา | Ardeola speciosa | |
นกยางควาย | Bubulcus ibis | |
นกยางเขียว | Butorides striata | |
นกแขวก | Nycticorax nycticorax | |
นกยางลายเสือ | Gorsachius melanolophus | |
นกยางไฟหัวดำ | Ixobrychus sinensis | |
นกยางไฟหัวเทา | Ixobrychus eurhythmus | นกอพยพผ่าน |
นกยางไฟธรรมดา | Ixobrychus cinnamomeus | |
นกยางดำ | Ixobrychus flavicollis | |
นกยางแดงใหญ่ | Botaurus stellaris | นกอพยพ |
ความเชื่อ
แก้นกยาง หรือ นกกระยาง เป็นนกที่ปรากฏอยู่ในความเชื่อร่วมของชาวเอเชียหลายชนชาติ ที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวพันกับพิธีศพหรือความตาย โดยชาวญี่ปุ่นเรียกว่า "ตันโจะ" (ญี่ปุ่น: 丹頂; อันเป็นชื่อร่วมกับนกกระเรียนมงกุฎแดง) เชื่อว่าเป็นนกที่เป็นพาหนะนำพาดวงวิญญาณผู้ตายไปสู่สัมปรายภพ หรือหลักฐานทางโบราณคดีของเวียดนาม ย้อนไปในยุควัฒนธรรมดงเซินเมื่อ 2,500 ปีก่อน ปรากฏรูปนกในกลองมโหระทึก เชื่อกันว่าเป็นนกยาง (บ้างก็ว่าเป็นนกกระเรียน)
ในความเชื่อของชาวโตบา กลุ่มปฐมชาติของเกาะซาโมเซอร์ ในเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย มีการเก็บศพไว้ภายในอาคารที่มีรูปทรงคล้ายบ้าน เรียกอาคารนี้ว่า "โจโร" (joro) จากภาพถ่ายเก่าปี ค.ศ. 1920 ปรากฏลักษณะของอาคารนี้มีห้องเป็นรูปสี่เหลี่ยม ยกพื้นเรือนสูง และบนหลังคามีโลงศพจำลอง และมีนกสองตัวยืน เรียกว่า "มานุก-มานุก" (manuk-manuk) มีหน้าที่ปกป้องดวงวิญญาณของผู้ตายตลอดการเดินทางไปสู่โลกหน้า เชื่อกันว่าเป็นนกกระยาง [6][4]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Ardeidae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
- ↑ "วงศ์นกยาง (Ardeidae)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-25. สืบค้นเมื่อ 2012-11-09.
- ↑ Walters, Michael P. (1980). Complete Birds of the World. David & Charles PLC. ISBN 0715376667.
- ↑ 4.0 4.1 "ฟ้าวันใหม่สุดสัปดาห์ 28 10 60 เบรก 1". ฟ้าวันใหม่. 2017-10-28. สืบค้นเมื่อ 2017-10-28.
- ↑ BirdLife International (2004). Egretta eulophotes. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes a brief justification of why this species is vulnerable
- ↑ "นักวิชาการประวัติศาสตร์ เผยความรู้เรื่อง "นกส่งวิญญาณ" หลังมีการแชร์นกบินวนยอดพระเมรุมาศ". ข่าวสด. 2017-10-27. สืบค้นเมื่อ 2017-10-28.