7 สีคอนเสิร์ตออนทัวร์
7 สีคอนเสิร์ตออนทัวร์ เป็นรายการพิเศษทางโทรทัศน์ ที่ดำเนินการถ่ายทอดสด บางส่วนของการแสดงดนตรี (คอนเสิร์ต) ซึ่งสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 จัดขึ้นโดยสัญจรไปตามสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศ อย่างไม่เป็นประจำทุกสัปดาห์ อันสืบเนื่องจากรายการ 7 สีคอนเสิร์ต ที่ถ่ายทอดสดการแสดงทั้งหมด ซึ่งจัดขึ้นในสถานที่ประจำทุกวันเสาร์ ระหว่างเวลาประมาณ 12:00-13:00 น. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 จนถึงปี พ.ศ. 2558 เป็นระยะเวลารวม 29 ปี 2 เดือนเศษ[1]
7 สีคอนเสิร์ตออนทัวร์ | |
---|---|
ประเภท | การแสดงดนตรีสด |
พัฒนาโดย | ฝ่ายรายการ ช่อง 7 สี |
เสนอโดย | พีรวัศ กุลนันท์วัฒน์ รพีภัทร เอกพันธ์กุล |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | ประสิทธิ์ ชำนาญไพร |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
การผลิต | |
ความยาวตอน | 75 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 7 เอชดี |
ออกอากาศ | 4 มกราคม พ.ศ. 2529 – ปัจจุบัน |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
7 สีคอนเสิร์ต |
"7 สีคอนเสิร์ต"
แก้ประวัติ
แก้"7 สีคอนเสิร์ต" เป็นรายการแสดงดนตรีสด สำหรับศิลปินนักร้องทั้งเดี่ยวและกลุ่ม ที่กำลังมีผลงานเพลงออกสู่สาธารณชน โดยบางโอกาสในระยะหลัง จะให้ดารานักแสดงในสังกัดช่อง 7 สีมาแสดงดนตรีด้วยกันเป็นพิเศษ ซึ่งเริ่มออกอากาศสดเป็นครั้งแรก เมื่อเวลา 12:30 น. ของวันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2529 จากลานเพลินเจ็ดสี ภายในบริเวณที่ทำการของช่อง 7 สีเอง หลังสถานีขนส่งหมอชิตเดิม[2] ซึ่งมีศิลปินนักร้องนักแสดง และนักดนตรีที่ร่วมแสดงบนเวที ได้แก่พุ่มพวง ดวงจันทร์, ศิรินทรา นิยากร, กิตติคุณ เชียรสงค์, นันทิดา แก้วบัวสาย, ชลธิชา สุวรรณรัตน์, รณชัย ถมยาปริวัฒน์-ไพศาล อัญญธนา และวงคีรีบูน, โอภาส ทศพร, เพ็ญโพยม เรืองโรจน์, กลุ่มศิลปินมรดกไทย, มณีนุช เสมรสุต, นราธิป กาญจนวัฒน์ (แดง วงชาตรี), สุชาติ ชวางกูร, มาลีวัลย์ เจมีน่า, ชรัส เฟื่องอารมย์, กอบกิจ ทับทิม-นิภาวรรณ ทวีพรสวรรค์ และกลุ่ม 18 กะรัต, สาว สาว สาว และจารุณี สุขสวัสดิ์ โดยมีวงดนตรีฮอตทูทรอต ร่วมบรรเลงตลอดรายการ
รายการมีตราสัญลักษณ์เป็นภาพตัวโน้ตสองขาสีทอง หัวของขาหน้าและขาทั้งสองเป็นสีทึบ มีลายเส้นตราสัญลักษณ์ช่อง 7 สีอยู่ภายใน เส้นบนที่เชื่อมระหว่างสองขา และหัวของขาหลังเป็นลายเส้น ใต้สัญลักษณ์นี้มีตัวอักษรชื่อรายการแบบดิจิตอล เลียนตามตัวเลขที่แสดงในเครื่องคิดเลข ซึ่งใช้มาตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนยุค 2538-2542 ใช้ตัวเลข7จากโลโก้ช่อง7,แผ่นซีดีแทนอ.อ่างและตัวอักษรสไตล์เอเชียโบราณใต้สัญลักษณ์ ออกแบบโดย จเร ธรรมะประศาสตร์[2] ซึ่งเป็นผู้กำกับรายการในระยะแรกด้วย และเพลงนำของรายการ ซึ่งใช้มาตั้งแต่เริ่มต้นเช่นกัน เรียบเรียงทำนองโดย ประสิทธิ์ ชำนาญไพร (เสียชีวิตแล้ว) สำหรับผู้บรรยายเปิดรายการในยุคแรก ได้แก่จักรพันธุ์ ยมจินดา อดีตผู้ประกาศข่าวของสถานีฯ นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลเมขลา ประจำปี พ.ศ. 2530 ประเภทรายการเพลงดีเด่น และยังเคยมีศิลปินนักร้องชาวต่างชาติ ขึ้นแสดงบนเวทีของรายการ ได้แก่ ไมเคิลเลินส์ทูร็อก, ริคกี้ มาร์ติน, แมนดี มัวร์, หลิน จื้ออิ่ง, เฉินหลง เป็นต้น
อนึ่ง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เคยมีเหตุการณ์พิเศษ ซึ่งทำให้รายการต้องปรับเปลี่ยน รูปแบบการนำเสนอหลายครั้ง เช่นรายการในวันเสาร์ที่ 19 และ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ต้องย้ายสถานที่จัดแสดง ไปยังเอ็มซีซีฮอลล์ ภายในห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน เป็นการชั่วคราว เนื่องจากอุทกภัยครั้งใหญ่, งดถ่ายทอดสดรายการในวันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เนื่องจากมีการทำรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม โดยนำเทปรวมรายการที่แพร่ภาพไปแล้ว มาออกอากาศซ้ำเป็นการทดแทน หรือเลื่อนเวลาถ่ายทอดสด รายการในวันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ไปเป็น 11:05 น. เป็นต้น
-
ตราสัญลักษณ์รายการยุคแรก
มีฉากหลังเป็นภาพหมู่ดาว -
ตราสัญลักษณ์รายการยุคที่2
มีฉากหลังเป็นมือหุ่นยนต์กดปุ่ม -
บรรยากาศหน้าเวที
ที่ลานเพลินเจ็ดสี
สถานที่จัดแสดง
แก้นับแต่รายการเริ่มออกอากาศเป็นต้นมา มีการโยกย้ายสถานที่จัดแสดงอยู่หลายครั้ง ตามลำดับระยะเวลาดังต่อไปนี้[2]
- ลานเพลินเจ็ดสี สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (4 มกราคม พ.ศ. 2529-26 กรกฎาคม พ.ศ. 2540)
- พระปิ่นเกล้าฮอลล์ เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า (2 สิงหาคม พ.ศ. 2540-30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545)
- พระราม 2 ฮอลล์ ชั้น 4 เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 (7 ธันวาคม พ.ศ. 2545-29 ธันวาคม พ.ศ. 2555)
- ลานไนน์สแควร์ ศูนย์การค้าเดอะไนน์เซ็นเตอร์ ถนนพระราม 9 (5 มกราคม พ.ศ. 2556[3]-28 มีนาคม พ.ศ. 2558[1])
ผู้ดำเนินรายการ
แก้รายการจัดให้มีพิธีกรคู่ เป็นผู้ทำหน้าที่เปิดรายการ และแนะนำช่วงต่าง ๆ ของการแสดง รวมถึงสัมภาษณ์พูดคุยกับศิลปิน ที่มาขึ้นเวทีระหว่างการแสดง รวมถึงพาเข้าไปชมบรรยากาศ ภายในห้องแต่งตัว หรือห้องซ้อมก่อนการแสดง โดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น 15 คน โดยแบ่งออกเป็น 9 คู่ ดังต่อไปนี้[2]
- ตั๊ก-มยุรา เศวตศิลา (2529-2536) - ผู้ดำเนินรายการดีเด่นหญิง รางวัลเมขลา ประจำปี พ.ศ. 2530
- เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ (2529-2530) - ผู้ดำเนินรายการดีเด่นชาย รางวัลเมขลา ประจำปี พ.ศ. 2529
- แซม-ยุรนันท์ ภมรมนตรี (2531-2536)
- หนุ่ม-ศรราม เทพพิทักษ์ (2536-2538)
- นัท-มีเรีย เบนเนเดดตี้ (2536-2538)
- เอ-อนันต์ บุนนาค (2539-2541)
- ต้อม-รชนีกร พันธุ์มณี (2539-2540)
- กิ๊ก-สุวัจนี ไชยมุสิก (2540-2544)
- ก้อง-สหรัถ สังคปรีชา (2541-2544)
- บี๋-สวิช เพชรวิเศษศิริ (2544-2545)
- ได๋-ไดอาน่า จงจินตนาการ (2544-2545)
- แซน-พนมกร ตังทัตสวัสดิ์ (2545-2549)
- ทราย-อินทิรา เจริญปุระ (2545-2549)
- น้ำ-รพีภัทร เอกพันธ์กุล (2549-2558), (2565 (พิธีกร 7 สีคอนเสิร์ต ออนทัวร์))
- เชียร์-ฑิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์ (2549-2558), (2565 (พิธีกรรับเชิญ 7 สีคอนเสิร์ต ออนทัวร์))
อืกหนึ่ง รายการเคยจัดให้มีพิธีกรรับเชิญพิเศษ ในกรณีที่พิธีกรหลักติดภารกิจ ดังต่อไปนี้
- เต็งหนึ่ง-กฤษณกันท์ มณีผกาพันธ์ - ทำหน้าที่แทนรพีภัทร ในรายการประจำวันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553
- เบเบ้-ธันย์ชนก ฤทธินาคา - ทำหน้าที่แทนทิฆัมพร ในรายการประจำวันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553
- เติ้ล-ตะวัน จารุจินดา - ทำหน้าที่แทนรพีภัทร ในรายการประจำวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553
- เกรซ-กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า - ทำหน้าที่แทนทิฆัมพร ในรายการประจำวันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554, วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 และวันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
- แพนเค้ก-เขมนิจ จามิกรณ์ - ทำหน้าที่แทนทิฆัมพร ในรายการประจำวันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557
- กอล์ฟ-อนุวัฒน์ ชูเชิดรัตนา ทำหน้าที่แทนรพีภัทร ในรายการประจำวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557
"7 สีคอนเสิร์ตออนทัวร์"
แก้ประวัติ
แก้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558 พลากร สมสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เปิดเผยถึงการปรับผังรายการ ช่วงนอกเวลาไพรม์ไทม์ ตั้งแต่เดือนเมษายน โดยปรับปรุงการนำเสนอรายการ 7 สีคอนเสิร์ต เป็นรูปแบบคอนเสิร์ตสัญจร ไปตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น 7 สีออนทัวร์ โดยช่วงเวลา 12:00-13:00 น. ของทุกวันเสาร์นั้น ช่อง 7 สีนำรายการ เชฟกระทะเหล็กประเทศไทย มาออกอากาศแทน ดังนั้นรายการ 7 สีคอนเสิร์ต จึงออกอากาศเป็นครั้งสุดท้าย ในวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม[1]
ต่อมาทางช่อง 7 สีจัดสรรผังรายการเป็นพิเศษ เพื่อดำเนินการถ่ายทอดสด คอนเสิร์ตสัญจรดังกล่าวด้วย พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อใหม่อีกครั้งเป็น 7 สีคอนเสิร์ตออนทัวร์ โดยเริ่มเป็นครั้งแรกที่จังหวัดขอนแก่น ในวันเสาร์ที่ 25 เมษายน ระหว่างเวลา 15:00-20:00 น. สำหรับช่วงเวลาถ่ายทอดสด กำหนดไว้ในเวลา 16:15-17:30 น.[ต้องการอ้างอิง]
สถานที่จัดแสดง
แก้- 25 เมษายน พ.ศ. 2558 - ลานอเนกประสงค์ บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้า บ้านแอนด์บียอนด์ จังหวัดขอนแก่น
- 7 เมษายน พ.ศ. 2561 - ศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซ่า จังหวัดอุดรธานี
- 11 สิงหาคม พ.ศ. 2561 - ลานกิจกรรม หน้าศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซา จังหวัดสุราษฏร์ธานี [4])
- 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - Alive Park Hall ชั้น G ศูนย์การค้า ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต จังหวัดปทุมธานี [ต้องการอ้างอิง]
- 22 ธันวาคม พ.ศ. 2561 - ศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซ่า จังหวัดพิษณุโลก
- 20 เมษายน พ.ศ. 2562 - ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
- 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 - ห้างสรรพสินค้า Big C สาขา 2 การเคหะธนบุรี กรุงเทพมหานคร
- 26 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - ลานกิจกรรมตุ้มโฮม @อุบลสแควร์ ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
- 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 - ห้างสรรพสินค้า Big C สาขาอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
ผู้ดำเนินรายการ
แก้- แอมป์ - พีรวัศ กุลนันท์วัฒน์ (2561 - )
- ทับทิม - อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์ (2561 - 2562)
- นํ้า - รพีภัทร เอกพันธ์กุล (2565 - )
- ฝ้าย - สุภาพร มะลิซ้อน (2565)
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 ปิดตำนาน "7 สีคอนเสิร์ต", 20 มีนาคม 2558, ประชาชาติธุรกิจออนไลน์.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "หน้าเว็บเดิมของรายการ 7 สีคอนเสิร์ต". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 2012-06-18.
- ↑ 7 สีคอนเสิร์ตก้าวสู่ปีที่ 27 กับสถานที่ใหม่ คลิปข่าวจากรายการคันปาก ในเว็บไซต์บั๊กกะบูดอตทีวี
- ↑ “พอร์ช-มิกค์-แบงค์-ฌอห์ณ-ฐิสา-พิม-มุกดา” พระนางสุดฮอต ช่อง 7HD ยกทัพเรียกเสียงหวีดสนั่นเวที “7สีคอนเสิร์ต ออนทัวร์” จ.สุราษฎร์ธานี คลิปข่าวจากช่อง 7 ในเว็บไซต์ซีเอชเจ็ดดอตคอม