โน้ตดนตรี
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โน้ต ในทางดนตรี มีความหมายได้สองทาง หมายถึง สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการนำเสนอระดับเสียง และความยาวของเสียง หรือหมายถึงตัวเสียงเองที่เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์เหล่านั้น โน้ตดนตรีแต่ละเสียงจะมีชื่อเรียกประจำของมันเองในแต่ละภาษา เช่น โด-เร-มี-ฟา-ซอล-ลา-ที บางครั้งอาจเขียนอักษรละติน A ถึง G แทนโน้ตดนตรี
ชื่อโน้ตดนตรี
แก้เสียงต่างๆ | I | II | III | IV | V | VI | VII | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เนเชอรัล | C | D | E | F | G | A | B | |||||
ชาร์ป | C♯ | D♯ | F♯ | G♯ | A♯ | |||||||
แฟลต | D♭ | E♭ | G♭ | A♭ | B♭ | |||||||
เนเชอรัล (ยุโรปเหนือ) | C | D | E | F | G | A | H | |||||
ชาร์ป (ยุโรปเหนือ) | Cis | Dis | Fis | Gis | Ais | |||||||
แฟลต (ยุโรปเหนือ) | Des | Es | Ges | As | B | |||||||
ชื่ออื่นๆ (ยุโรปเหนือ) | - | - | - | - | - | - | - | - | - | - | Bes | B |
แบบ moveable(ascending) |
Do | Di | Re | Ri | Mi | Fa | Fi | Sol | Si | La | Li | Ti |
แบบ moveable (descending) | Do | Ra | Re | Me | Mi | Fa | Se | Sol | Le | La | Te | Ti |
ยุโรปใต้ | Do | Re | Mi | Fa | Sol | La | Si | |||||
ชื่ออื่นๆ | Ut | - | - | - | So | - | Ti | |||||
แบบอินเดีย | Sa | Re | Ga | Ma | Pa | Da | Ni | |||||
แบบเกาหลี | Da | Ra | Ma | Ba | Sa | Ga | Na | |||||
ความถี่เสียงโดยประมาณ (เฮิรตซ์) | 262 | 277 | 294 | 311 | 330 | 349 | 370 | 392 | 415 | 440 | 466 | 494 |
หมายเลขโน้ต MIDI | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 |
ชื่อไทยที่นิยม | ด | #ด | ร | #ร | ม | ฟ | #ฟ | ซ | #ซ | ล | #ล | ท |
ชื่อเรียกตัวโน้ตในบันไดเสียงไดอาโทนิก
แก้- โน้ตตัวที่ 1 เรียกว่า โทนิก (Tonic)
- โน้ตตัวที่ 2 เรียกว่า ซุปเปอร์โทนิก (Supertonic)
- โน้ตตัวที่ 3 เรียกว่า มีเดียน (Mediant)
- โน้ตตัวที่ 4 เรียกว่า ซับโดมิแนนท์ (Subdominant)
- โน้ตตัวที่ 5 เรียกว่า โดมิแนนท์ (Dominant)
- โน้ตตัวที่ 6 เรียกว่า ซับมีเดียน (Submediant)
- โน้ตตัวที่ 7 เรียกว่า ลีดดิ้งโน้ต หรือลีดดิ้งโทน (Leading note or Leading tone)
ตัวโน้ตที่ใช้เขียน
แก้ตัวโน้ตหนึ่งตัวที่ใช้สำหรับบันทึกบทเพลงจะมีค่าของโน้ตหนึ่งค่า นั่นคือระยะเวลาในการออกเสียงของตัวโน้ต เช่น ตัวดำ ตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น เป็นต้น เมื่อตัวโน้ตต่างๆ ถูกเขียนลงบนบรรทัดห้าเส้น ตัวโน้ตแต่ละตัวจะถูกวางไว้บนตำแหน่งที่แน่นอนตามแนวตั้ง (คาบเส้นบรรทัดหรือระหว่างช่องบรรทัด) และกำหนดระดับเสียงที่แน่นอนด้วยกุญแจประจำหลัก เส้นแต่ละเส้นและช่องว่างแต่ละช่องถูกตั้งชื่อตามเสียงของโน้ต ซึ่งชื่อเหล่านี้เป็นที่จดจำโดยนักดนตรี ทำให้นักดนตรีทราบได้ว่าจุดใดควรจะเล่นเครื่องดนตรีด้วยระดับเสียงใด ตามตำแหน่งหัวของโน้ตบนบรรทัด ตัวอย่างเช่น
บรรทัดห้าเส้นด้านบนแสดงให้เห็นถึงเสียงโน้ต C4, D4, E4, F4, G4, A4, B4, C5 ตามตัวโน้ตที่วางอยู่บนตำแหน่งต่างๆ แล้วจากนั้นไล่ระดับเสียงลง โดยไม่มีเครื่องหมายตั้งบันไดเสียงหรือเครื่องหมายแปลงเสียง
ภาพ | ชื่อตัวโน้ต | จังหวะ (ในอัตราจังหวะ 4/4) |
---|---|---|
โน้ตตัวกลม | 4 จังหวะ | |
โน้ตตัวขาว | 2 จังหวะ | |
โน้ตตัวดำ | 1 จังหวะ | |
โน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น | ครึ่งจังหวะ |
โน้ตตัวกลม ( Whole Note ) 1 ตัว = ตัวขาว 2 ตัว ( ) หรือตัวดำ 4 ตัว ( )
โน้ตตัวขาว ( Half Note ) 1 ตัว = ตัวดำ 2 ตัว ( )
โน้ตตัวดำ ( Quarter Note ) 1 ตัว = ตัวเขบ็ต 1 ชั้น 2 ตัว ( )
โน้ตตัวเขบ็ต ( Eighth Note ) 1 ตัว = ตัวเขบ็ต 2 ชั้น 2 ตัว ( )
ความถี่ของโน้ต
แก้ในทางเทคนิค ดนตรีสามารถสร้างขึ้นได้จากโน้ตที่มีความถี่ของเสียงใดๆ ก็ได้ เนื่องจากเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุและวัดได้ในหน่วยเฮิรตซ์ (Hz) ซึ่ง 1 เฮิรตซ์เท่ากับการสั่นครบหนึ่งรอบต่อวินาที ตั้งแต่สมัยก่อนมีเพียงโน้ตที่มีความถี่คงตัวแค่ 12 เสียงเท่านั้นโดยเฉพาะดนตรีตะวันตก ซึ่งความถี่เสียงคงตัวเหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ต่อกัน และถูกนิยามไว้ที่โน้ตตัวกลาง A4 (เสียงลา อ็อกเทฟที่สี่) ซึ่งเป็นสาเหตุที่เสียงลาเริ่มต้นเขียนแทนด้วยอักษร A ปัจจุบันโน้ต A4 มีความถี่อยู่ที่ 440 เฮิรตซ์ (ไม่มีเศษทศนิยม)
หลักการตั้งชื่อโน้ตจะระบุเป็นอักษรละติน เครื่องหมายแปลงเสียง (ชาร์ป/แฟลต) และหมายเลขอ็อกเทฟตามลำดับ โน้ตทุกตัวจะมีเสียงสูงหรือต่ำกว่า A4 เป็นจำนวนเต็ม n ครึ่งเสียง นั่นหมายความว่าโน้ตที่มีเสียงสูงกว่า n จะเป็นจำนวนบวก หากเสียงต่ำกว่า n จะเป็นจำนวนลบ ความถี่ f ของโน้ตตัวอื่นเมื่อเทียบกับโน้ต A4 จึงมีความสัมพันธ์ดังนี้
ตัวอย่างเช่น เราสามารถคำนวณหาความถี่ของโน้ต C5 ซึ่งเป็นโน้ต C ตัวแรกที่อยู่สูงกว่า A4 และโน้ตดังกล่าวมีระดับเสียงที่สูงกว่า A4 เป็นจำนวน 3 ครึ่งเสียง (A4 → A♯4 → B4 → C5) จะได้ n = +3 ดังนั้นความถี่ของโน้ต C5 คือ
หรืออย่างโน้ตที่มีระดับเสียงต่ำกว่า A4 เช่น โน้ต F4 มีระดับเสียงต่ำกว่า A4 เป็นจำนวน 4 ครึ่งเสียง (A4 → A♭4 → G4 → G♭4 → F4) จะได้ n = −4 ดังนั้นความถี่เสียงของ F4 คือ
และสุดท้าย สูตรดังกล่าวสามารถใช้เปรียบเทียบความถี่ของโน้ตชื่อเดียวกันแต่ต่างอ็อกเทฟได้ ซึ่ง n จะกลายเป็นพหุคูณของ 12 ถ้ากำหนดให้ k เป็นจำนวนอ็อกเทฟส่วนต่างที่มากกว่าหรือน้อยกว่า A4 เช่นโน้ต A5 จะได้ k = +1 หรือโน้ต A2 จะได้ k = −2 เป็นต้น สามารถลดรูปสูตรได้เหลือเพียง
ทำให้เกิดผลว่า สำหรับโน้ตที่ชื่อเดียวกันในหนึ่งช่วงอ็อกเทฟ โน้ตในระดับสูงกว่าจะมีความถี่เป็นสองเท่าของโน้ตในระดับต่ำกว่า หรือด้วยอัตราความถี่ 2:1 และหนึ่งช่วงอ็อกเทฟมี 12 ครึ่งเสียง
นอกจากนี้ความถี่ของเสียงมีการวัดโดยละเอียดเป็นหน่วยเซนต์ (cent) โดยหนึ่งครึ่งเสียงจะมีค่าเท่ากับ 100 เซนต์ นั่นหมายความว่า 1200 เซนต์จะเท่ากับ 1 อ็อกเทฟ และตัวคูณ 1 เซนต์บนความถี่เสียงจะมีค่าเท่ากับรากที่ 1200 ของ 2 หรือเท่ากับประมาณ 1.0005777895
สำหรับการใช้กับระบบ MIDI มาตรฐาน ความถี่เสียงของโน้ตจะจับคู่กับหมายเลข p ตามสูตรนี้
ทำให้โน้ต A4 จับคู่อยู่กับโน้ตหมายเลข 69 ในระบบ MIDI และทำให้เติมเต็มช่วงความถี่อื่นๆ ที่ไม่ตรงกับความถี่สากลมาเป็นหมายเลขของโน้ตได้อีกด้วย