ไม้พาย
ไม้พาย หรือ พาย (อังกฤษ: paddle) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับผลักดันของเหลว ทั้งในลักษณะของการพุ้ยน้ำเพื่อขับเคลื่อนเรือ (พายเรือ) หรือใช้ในการผสมของเหลว (ไม้พายผสมอาหาร) ไม้พายประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ ด้ามพาย (shaft) และใบพาย (blade)
ประวัติ
แก้ไม้พายในอารยธรรมต่าง ๆ
-
แบบจำลองไม้พาย (ล่าง) และฉมวกจับปลา (บน) ที่พิพิธภัณฑ์นอร์ทแคโรไลนา
-
ไม้พายและฉมวกของชนเผ่า Yu'pik และ Inupiaq ในอะแลสกา
-
ใบพายเรือแคนูในปาปัวนิวกินี ที่สถาบันศิลปะโฮโนลูลู
ลักษณะ
แก้ไม้พายที่ใช้ในการขับเคลื่อนเรือ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ แบบไม้พายใบเดี่ยว (single-bladed paddle) และ แบบไม้พายสองใบ (double-bladed paddle) ซึ่งในประเทศทางตะวันตกเรียกตามชนิดของเรือ คือ ไม้พายเรือแคนู (ไม้พายใบเดี่ยว) และไม้พายเรือคายัก (ไม้พายสองใบ)
ไม้พายใบเดี่ยว
แก้ไม้พายใบเดี่ยว หรือเรียก ไม้พายเรือแคนู ไม้พายที่ใช้กันทั่วไปในเรือแคนู ประกอบด้วยไม้ ไฟเบอร์กลาส คาร์บอนไฟเบอร์ หรือก้านโลหะ (สำหรับด้ามพาย - shaft) ที่มีด้ามจับที่ปลายด้านหนึ่งและใบพาย (blade) ที่ปลายอีกด้านหนึ่ง
ในประเทศไทย ใบพายชนิดนี้พบได้ทั่วไปในเรือที่ใช้แรงคนทุกประเภท ส่วนมากทำด้วย ไม้ ไฟเบอร์กลาส คาร์บอนไฟเบอร์ ต่างจากไม้พายเรือแคนู ตรงที่ไม่มีด้ามจับเป็นทำมุมฉากกับด้ามพาย และนอกจากไม้พายปกติยังสามารถพบพายในลักษณะอื่นได้อีก 2 แบบคือ "พายคิ้ว" ที่มีการตกแต่งตามขอบคิ้วของใบพาย และ "พายทุย" ที่มีด้ามพายสั้น ใบป้อม[1]
ไม้พายสองใบ
แก้ไม้พายสองใบ (ใบคู่) หรือเรียก ไม้พายเรือคายัก ไม้พายสำหรับใช้ในเรือคายัก นั้นยาวกว่าไม้พายเรือแคนู และมีใบพาย 2 ใบที่ปลายแต่ละด้าน แกนกลางเป็นด้ามจับ
ไม้พายเรือคายักที่มีใบพาย 2 ใบอยู่ในระนาบเดียวกัน (เมื่อมองลงตามแนวด้ามพาย) เรียกว่า "ใบพายสมมาตร" (non-feathered) ไม้พายที่ใบพายทั้งสองบิดตัวทำมุมต่างระนาบกัน เรียกว่า "ใบพายอสมมาตร" (feathered) ไม้พายอสมมาตรจะทำมุมต่าง ๆ เช่น 30, 45 หรือแม้แต่ 90 องศา ไม้พายเรือคายักสมัยใหม่ส่วนมากทำจากด้ามสองชิ้นซึ่งสามารถต่อเข้าด้วยกันได้ และปรับทำมุมได้ทั้งแบบสมมาตรหรือแบบอสมมาตร โดยปกติด้ามพายจะเป็นแกนตรงตลอดด้าม แต่ในบางกรณีจะมีการเพิ่ม 'ข้อเหวี่ยง' (เป็นส่วนข้องอสำหรับจับ) โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ใช้ไม้พายสะดวกสบายยิ่งขึ้นและลดความเครียดที่ข้อมือ เนื่องจากเรือไม่รองรับน้ำหนักไม้พายแบบไม้แจว ไม้พายจึงทำจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบา และอาจมีน้ำหนัก 900 กรัม หรือน้อยกว่า และมีอาจราคาแพงมากถ้ามีน้ำหนักเบาถึง 600 กรัม การประหยัดน้ำหนักเกิดที่ใบพายมากกว่าที่ด้ามพาย
ไม้พายเรือคายักที่มีราคาถูกกว่า มีด้ามพายเป็นอะลูมิเนียม ในขณะที่ไม้พายราคาแพงกว่าใช้ด้ามพายไฟเบอร์กลาส หรือคาร์บอนไฟเบอร์ ที่เบากว่า ไม้พายบางชนิดมีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่าสำหรับคนที่มีมือเล็ก ความยาวของพายจะแตกต่างกันไปโดยไม้พายที่ยาวขึ้นจะเหมาะกับคนที่แข็งแรงกว่า คนตัวสูงและคนที่ใช้พายในเรือคายักที่กว้าง ใบพายมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไป ใบพายที่มีพื้นผิวขนาดใหญ่เหมาะสำหรับคนที่แข็งแรงและมีข้อต่อหัวไหล่ที่ดี โดยทั่วไปใบพายมี 3 ขนาด[2]
เนื่องจากการพายเรือตามปกติต้องใช้การจุ่มและยกใบพายสลับกัน สีของใบพายอาจส่งผลต่อการมองเห็นของเรือคายักต่อผู้ควบคุมเรือยนต์รอบข้างภายใต้สภาวะการมองเห็นที่จำกัด ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยใบพายสีขาวหรือสีเหลืองจะได้เปรียบมากกว่าใบพายสีดำหรือสีน้ำเงิน และภายใต้สภาพแสงที่จำกัดควรสวมไฟฉายแบบสวมหัว เทปกันน้ำสะท้อนแสงสูง หรืออุปกรณ์เรืองแสงอื่น ๆ บนเรือคายัก หรือใบพายเพื่อเพิ่มทัศนวิสัย
การใช้งาน
แก้ไม้พายใบเดี่ยว หรือไม้พายเรือแคนูจับด้วยสองมือโดยเว้นระยะห่างจากกัน มือหนึ่งจับที่ปลายด้ามมักอยู่สูงกว่ามือที่อยู่กลางไม้พายเสมอ สำหรับการใช้งานปกติจะลากผ่านน้ำไปด้านหน้า (ทางหัวเรือ) และพายไปด้านหลัง (ท้ายเรือ) เพื่อขับเคลื่อนเรือไปข้างหน้า ซึ่งการออกแรงส่วนจะอยู่ที่มือที่จับกลางไม้พาย มือที่อยู่ด้านบนมักทำหน้าที่คล้ายเป็นจุดหมุน หรือช่วยออกแรงพายไปในทางเดียวกัน[3]
ไม้พายเรือคายักมีสองใบ จุ่มสลับกันที่ด้านใดด้านหนึ่งของเรือคายัก และออกแรงพอ ๆ กันทั้ง 2 ข้างโดยมือที่อยู่ด้านบนทำหน้าที่คล้ายเป็นจุดหมุนของการพาย มือที่อยู่ด้านล้างจะออกแรงไปด้านหลัง
ไม้พายมีความแตกต่างจาก ไม้แจว ตรงที่ไม้พายถืออยู่ในมือของผู้ใช้ และได้รับการสนับสนุนแรงอย่างสมบูรณ์โดยฝีพาย ในขณะที่การแจวนั้นได้รับการสนับสนุนโดยเรือเป็นหลัก การสวมถุงมือช่วยป้องกันไม่ให้มือพองเมื่อต้องพายเป็นเวลานาน
ไม้พายเรือแข่ง
แก้ไม้พายสำหรับแข่งเรือแคนูและคายักมีการออกแบบเป็นพิเศษ ให้ผิวโค้งมากขึ้น เพื่อกักและดันน้ำได้มากซึ่งจะช่วยให้ฝีพายแข่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการพาย
ไม้พายใบปีกนก (wing-bladed paddle) เป็นที่นิยมมากในการแข่งเรือคายัก ไม้พายมีลักษณะคล้ายช้อนและมักเป็นรูปทรงอสมมาตรแบบรูปปีกนก และทำหน้าที่สร้างแรงยกด้วยด้านนูนของใบพายซึ่งจะช่วยดึงไม้พายไปข้างหน้า (ลู่ตามน้ำเมื่อผลักใบพายไปด้านหน้า) โดยต้องออกแรงมากในการลากกลับ (การพาย) ต่างกับไม้พายแบนที่มีแรงต้านเมื่อผลักไปข้างหน้า[4] ไม้พายแบบด้ามงอซึ่งเป็นที่นิยมในการพายเรือแคนูแบบระยะไกลและแบบมาราธอน ใบพายที่ทำมุมจากแกนด้ามพายโดยปกติ 12 ถึง 15 องศา
ไม้แจว
แก้หรือเรียก แจว[1] มีลักษณะคล้ายกับไม้พาย แต่ต่างกันที่ไม้แจวมีด้ามและมีขนาดที่ยาวกว่ามาก และไม้แจวใช้ควบคู่การยึดกับตัวเรือ โดยติดตั้งบน หลักแจว ที่โดยมากจะอยู่ท้ายเรือเป็นทั้งขับเรือและบังคับทิศทาง โดยทั่วไปในประเทศไทยการแจวผู้แจวเรือในท่ายืนและการพายเรือในท่านั่ง ในต่างประเทศ ได้แก่ พม่า ในทะเลสาบอินเลชาวประมงพายเรือในท่ายืนขาเดียว ซึ่งใช้ขาอีกข้างช่วยในการพาย (อาจเรียกการแจวที่ไม่มีหลักแจว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ) ในประเทศทางตะวันตกและประเทศจีนผู้แจวเรือสามารถแจวในท่านั่ง (rowing)
ปัจจุบันกีฬาใหม่ที่มีการใช้ไม้พายและเป็นที่นิยมเล่นทั้งในทะเลและทะเลสาบ คือ สแตนด์อัปแพดเดิลบอร์ด (Standup Paddleboard - SUP) โดยการยืนพายบนกระดานเซิร์ฟ ไม้พายมีด้ามที่ยาวมาก และใบพายสั้นทรงห้าเหลี่ยม หรือสามเหลี่ยม มุมมน กีฬานี้ยังไม่ได้รับการบรรจุในกีฬาโอลิมปิก[5][6] ไม้พายบก พัฒนาจากสแตนด์อัปแพดเดิลบอร์ดเพื่อเป็นการฝึกบนพื้นเมื่อเวลาไม่สามารถลงน้ำได้ การพายบกใช่ไม้พายที่เปลี่ยนจากใบพายเป็นไม้ถ่อ หรืออาจติดล้อขนาดเล็ก
ไม้พายเรือมังกร
แก้เป็นไม้พายใบเดียว แบบปลายตัด คือขอบปลายใบพายตัดตรงตามประเพณีดั้งเดิม ที่มีใบพายรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูยาว มีด้ามจับเป็นทำมุมฉากกับด้ามพาย
ในการแข่งเรือมังกร ขนาดของใบพายที่ใช้แข่งหรือผลิตเพื่อการแข่งขันต้องได้รับการควบคุม และได้รับการอนุมัติการรับรองตามมาตรฐานซึ่งมีหลายขนาด[7] และวัสดุต่าง ๆ โดยที่นิยมคือ ไม้และคาร์บอนไฟเบอร์
ไม้พายแข่งเรือยาว
แก้การแข่งเรือยาว พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ เช่น อินเดีย พม่า ไทย กัมพูชา มีการจัดแข่งเรือที่เรียกว่า เรือยาว (longboat) ไม้พายยาว มีใบพายมีลักษณะเป็นขอบขนานปลายครึ่งวงกลม ลำเรือแคบยาวนั่งเรียงกันแถวเดียว โดยฝีพายจะแบ่งหน้าที่กันพายกันคนละด้านเรียงสลับกัน หรือแบบสองแถว[1]
ไม้พายเรือประเพณี
แก้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป ได้แก่ กัมพูชา พม่า และไทย มีการเห่เรือการประกอบการพาย สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ การเห่เรือหลวง (การเห่เรือในงานพระราชพิธี) และการเห่เรือเล่น (การเห่เรือเล่นของชาวบ้านในงานต่าง ๆ)[8][9] ในปัจจุบันการเห่เรือยังคงอยู่เฉพาะการเห่เรือหลวง ที่ใช้ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค ด้ามกลมพายตรงยาวกว่าไม้พายเรือปกติ ไม่มีด้ามจับแบบตั้งฉาก ใบพายปลายเกือบครึ่งวงกลม
-
ใบพายเรือมังกรมาตรฐานทรงสี่เหลี่ยมคางหมูยาว มีด้ามจับเป็นทำมุมฉากกับด้ามพาย
-
ใบพายเรือมังกรในหมู่เกาะโอกินาวะ มีใบพายและขนาดเรือที่ต่างไปจากการแข่งเรือมังกรมาตรฐาน
-
การแข่งเรือยาวราจิฟ คานธี ฝีพายเรียงแถวเดี่ยว มีคัดท้าย
-
ไม้พายและฝีพายเรือในกระบวนพยุหยาตราชลมารค
ไม้พายในพิธีกรรมทางวัฒนธรรม
แก้เป็นไม้พายสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือวัฒนธรรมชาติพันธุ์ แกะสลักหรือวาดลวดลายอย่างละเอียด
-
ชาติพันธุ์ทลิงกิตในรัฐอลาสกา
-
ชาติพันธุ์ชิชา
-
ไม้พายประกอบพิธีกรรมในปาปัวนิวกินี
เรือล้อพาย
แก้เป็นเรือที่มีระบบล้อพายเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเรือ โดยใช้วงล้อที่ติดตั้งใบพาย มีลักษณะคล้ายกับกังหันวิดน้ำ และติดตั้งอยู่ตรงส่วนท้ายของเรือ หรือด้านข้างลำเรือ ซึ่งเป็นระบบเดียวกับที่เห็นกันในเรือจักรไอน้ำ (เรือกลไฟ) ในช่วงศตวรรษที่ 19
ระบบล้อพายปรากฏขึ้นครั้งแรกในเอกสารของจีน โดยในปี ค.ศ. 784 ซึ่งเป็นช่วงยุคราชวงศ์ถัง นักประดิษฐ์ชื่อ หลี่เกา ได้ออกแบบเรือรบที่ใช้ล้อพายขึ้นเป็นครั้งแรก และยังปรากฏในบทความทางทหาร De Rebus Bellicis ฉบับลอกที่ทำขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งแสดงภาพจำลองเรือล้อพายของทหารโรมันจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ที่ขับเคลื่อนด้วยแรงวัว
ในเรือจักรไอน้ำ กลไกการการขับเคลื่อนเรือในยุคแรก ๆ ใช้เครื่องยนต์หมุนระบบล้อพายที่ประกอบด้วยใบพายหลายใบในกงล้อเดียว ซึ่งพัฒนาต่อมาเป็นลักษณะกังหันวิดน้ำแทน คือใบขับที่สั้นแต่กว้างและอยู่ภายในวงของกงล้อขนาดใหญ่และมีใบขับจำนวนมาก
ในวัฒนธรรม
แก้รูปไม้พายปรากฏในตราสัญลักษณ์ของเมืองและแคว้นต่าง ๆ
-
รายละเอียดของหลุมฝังศพที่สุสานยิวในวอร์ซอ
-
ตราแผ่นดินของ Amlikon-Bissegg, Canton of Thurgau สวิตเซอร์แลนด์
-
ตราสัญลักษณ์ประจำตำแหน่งของอัครมุขนายก Sławoj Leszek Głódź อธิการเมืองกดัญสก์ โปแลนด์
-
ตราสัญลักษณ์เทศบาลเมือง Kappel_am_Rhein ใน Kappel-Grafenhausen รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค เยอรมนี
-
ตราแผ่นดินของ Rudolfstetten-Friedlisberg, Canton Aargau สวิตเซอร์แลนด์
-
ตราสัญลักษณ์เทศบาลเมือง Oberriexingen
-
ตราสัญลักษณ์เทศบาลเมือง Kaskinen ฟินแลนด์
-
ตราสัญลักษณ์เทศบาลเมือง Sault-Brénaz ฝรั่งเศส
-
ตราสัญลักษณ์เทศบาล Vernaison ฝรั่งเศส
-
ตราสัญลักษณ์เทศบาลTěchlovice อำเภอ Děčín เช็กเกีย
-
ตราอาร์มของกองพันทหารช่างที่ 10 สหรัฐ
ดูเพิ่ม
แก้- จังหวะพายเรือแคนู
- ไม้พายผสมอาหาร
- ไม้แจว (oar)
- ไม้ตบก้น (spanking paddle)
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 ไพฑูรย์ ขาวมาลา, ทิศนา แขมมณี. เรือไทย สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. เล่มที่ 39, 2557.
- ↑ "Paddle | Canoe and Kayak Paddles". icanpaddle.com. สืบค้นเมื่อ 2016-11-08.
- ↑ ศิลปวัฒนธรรม “คัด-วาด” ที่ไม่เกี่ยวกับรูปภาพ,เขียนหนังสือ แต่เป็นเทคนิค “พายเรือ”
- ↑ Johnson Claes, Hoffman Johan. How a Wing Paddle Works: The secret of lift and drag of a wing paddle [Internet]. Version 1. The World As Computation. 2009 Feb 24. Available from: https://claesjohnsonmathscience.wordpress.com/article/how-a-wing-paddle-works-yvfu3xg7d7wt-33/.
- ↑ Yolo Board. Surfing and Paddleboarding on Its Way to the Olympics? เก็บถาวร 2020-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Padding Magazine Will Standup Paddleboarding Ever Be Included In The Olympics?
- ↑ Dragon Boat Dimensions สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2563
- ↑ กาพย์เห่เรือ (กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร) ความรู้ประกอบ เก็บถาวร 2020-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563.
- ↑ มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ประเภทของการเห่เรือ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 30 เรื่องที่ 1.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิธีการทำงานของไม้พาย เก็บถาวร 2017-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประวัติการพายเรือ