พลตรี ไชย ประทีปะเสน (พ.ศ. 2449 - พ.ศ. 2504)[1] นักการเมืองชาวไทย เป็นอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (จอมพล แปลก พิบูลสงคราม) อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี[2] อดีตสมาชิกพฤฒสภา และเป็นสมาชิกคณะราษฎรสายทหารบก

ไชย ประทีปะเสน
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2487
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 มิถุนายน พ.ศ. 2449
เสียชีวิต1 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 (53 ปี)

ประวัติ

แก้

ไชย ประทีปะเสน เป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[3][4]

ภาพหมู่คณะราษฎรสายทหารบก

ไชย ประทีปะเสน ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในสมัยของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2485[5] นับเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย และต่อมาในปี พ.ศ. 2486 ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกหน้าที่หนึ่ง[6] จนถึงเดือนกุมภาพัฯธ์ พ.ศ. 2487 จึงพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[7] เหลือเพียงดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพียงตำแหน่งเดียว ต่ออีกจนถึงเดือนกันยายนของปีเดียวกัน

ในปี พ.ศ. 2489 ไชย ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกพฤฒสภา[8] ในวุฒิสภาไทย ชุดที่ 1 จนถึงปี พ.ศ. 2490

ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 เกิดแนวความคิดในการปรับปรุงพัฒนาบ้านเมือง หลังภัยสงครามโลกครั้งที่สอง ในรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ซึ่งในขณะนั้น พลโท ประยูร ภมรมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เสนอให้มีการก่อสร้างโรงแรมขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2495 เพื่อเตรียมรองรับการประชุมสหภาพรัฐสภา สมัยที่ 45 ในปี พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรี จึงมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งบริษัทจำกัดขึ้น เพื่อเป็นองค์กรดำเนินการจัดตั้งโรงแรมดังกล่าว โดยมีชื่อว่า "บริษัทสหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด" มีชื่อภาษาอังกฤษว่า "The Syndicate of Thai Hotels and Tourists Enterprises Limited" จดทะเบียนเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2496 โดยมีเขา และผู้เริ่มการตั้งบริษัท จำนวนรวม 8 คน คือ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ พลโท ประยูร ภมรมนตรี โชติ คุณะเกษม สัญญา ยมะสมิต พันตรี รักษ์ ปันยารชุน พลตรี ไชย ประทีปะเสน ศุจิน ลพานุกรม และหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์)[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. อนุสรณ์พลตรีไชย ประทีปะเสน. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พระจันทร์. 2505. 340 หน้า
  2. รายนามเลขาธิการคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๔๗๕-ปัจจุบัน[ลิงก์เสีย]
  3. กจช.,สร.0201.16/48, เรื่องรายนามผู้เริ่มก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
  4. พล.ท.ประยูร ภมรมนตรี, บันทึกเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ว่าด้วยกำเนิดความมุ่งหมายการปฏิวัติ ความสำเร็จ และความผิดพลาด, (กรุงเทพฯ : บรรณกิจเทรดดิ้ง, 2517), หน้า 110 - 116.
  5. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (นายดิเรก ชัยนาม นายกอ มไหสวรรย์ สมบัติสิริ พลตรี ไชย ประทีปะเสน)
  7. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  8. วุฒิสภา ชุดที่ ๑ (สมาชิกพฤฒสภา พ.ศ. ๒๔๘๙)[ลิงก์เสีย]
  9. ประวัติบริษัท
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-28. สืบค้นเมื่อ 2020-04-13.
  11. แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์