ไข้ลาสซา (อังกฤษ: Lassa fever) หรือ ไข้เลือดออกลาสซา (Lassa hemorrhagic fever, LHF) เป็นชนิดของไข้เลือดออกจากไวรัสที่เกิดจากไวรัสลาสซา ไวรัสในวงศ์ Arenaviridae[1] ผู้ติดเชื้อไวรัสจำนวนมากไม่แสดงอาการ[1] เมื่อแสดงอาการ ผู้ป่วยมักมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ อาเจียน และปวดกล้ามเนื้อ[1] อาการที่พบได้น้อยกว่าปกติรวมถึงมีเลือดออกในปากและทางเดินอาหาร[1] ความเสี่ยงในการเสียชีวิตหลังติดเชื้ออยู่ที่ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ และมักเกิดขึ้นภายในสองสัปดาห์เมื่อเริ่มมีอาการ[1] ผู้ป่วยที่หายดีประมาณ 1 ใน 4 มีภาวะสูญเสียการได้ยิน ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอาการดีขึ้นภายในสามเดือน[1]

ไข้ลาสซา
ชื่ออื่นไข้เลือดออกลาสซา
สื่อการศึกษาชุมชนสำหรับโรคไข้ลาสซา
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ
อาการไข้, ปวดศีรษะ, เลือดออก[1]
ภาวะแทรกซ้อนสูญเสียการได้ยินบางส่วนหรือทั้งหมด เป็นเวลาชั่วคราวหรือถาวร[1]
การตั้งต้น1–3 สัปดาห์หลังติดเชื้อ[1]
สาเหตุไวรัสลาสซา[1]
ปัจจัยเสี่ยงสัมผัสกับสัตว์ฟันแทะในแอฟริกาตะวันตก[1]
วิธีวินิจฉัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันโรคไวรัสอีโบลา, มาลาเรีย, ไข้รากสาดน้อย[1]
การรักษาการดูแลประคับประคอง[1]
พยากรณ์โรค~1% เสี่ยงต่อการเสียชีวิต (โดยรวม)[1]
ความชุก400,000 รายต่อปี[2]
การเสียชีวิต5,000 รายต่อปี[2]

ผู้ป่วยไข้ลาสซาจะแสดงอาการในช่วง 7 ถึง 21 วันหลังติดเชื้อ[3] โดยร้อยละ 80 ของผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการน้อย[3][4] อาการที่ไม่รุนแรงประกอบด้วยไข้, เหนื่อยหอบ, อ่อนแรง และปวดศีรษะ[3]

โดยปกติไข้ลาสซาเริ่มติดต่อสู่คนผ่านทางการสัมผัสปัสสาวะหรืออุจจาระของ Natal multimammate mouse (Mastomys natalensis) สัตว์ฟันแทะจำพวกหนูที่ติดเชื้อ[1] หลังจากนั้นเชื้อสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดยตรง[1] การวินิจฉัยจากการสอบถามอาการทำได้ยาก การยืนยันโรคใช้วิธีตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาอาร์เอ็นเอของไวรัส แอนติบอดีสำหรับไวรัส หรือตัวไวรัสเองในการเพาะเลี้ยงเซลล์[1] สาเหตุที่การวินิจฉัยเป็นไปได้ยากเนื่องจากอาการของไข้ลาสซาคล้ายกับโรคอื่น เช่น โรคไวรัสอีโบลา มาลาเรีย ไข้รากสาดน้อย และไข้เหลือง[1]

ยังไม่มีวัคซีนสำหรับรักษาไข้ลาสซา[5] การป้องกันโรคใช้การแยกผู้ติดเชื้อและลดการสัมผัสกับหนู[1] ความพยายามอื่น ๆ ในการควบคุมการแพร่กระจายของโรครวมถึงการใช้แมวจับหนู และการเก็บอาหารในภาชนะปิดสนิท[1] การรักษามุ่งไปที่ภาวะขาดน้ำและการรักษาตามอาการ[1] มีการแนะนำยาต้านไวรัสไรบาวิรินในการรักษา[1] แต่หลักฐานที่สนับสนุนการใช้ยานี้ยังไม่ชัดเจน[6]

มีการบรรยายถึงไข้ลาสซาเป็นครั้งแรกช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950[1] และมีการระบุไวรัสที่ก่อโรคในปี ค.ศ. 1969 จากรายงานผู้ป่วยในเมืองลาสซา รัฐบอร์โน ประเทศไนจีเรีย[1][7] ไข้ลาสซาเป็นโรคที่พบได้ทั่วไปในประเทศแถบแอฟริกาตะวันตก เช่น ไนจีเรีย ไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน กินี และกานา[1][2] มีรายงานผู้ป่วย 300,000–500,000 ราย และเสียชีวิต 5,000 รายต่อปี[2][8]

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 1.21 1.22 1.23 1.24 1.25 "Lassa fever". WHO. March 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2016. สืบค้นเมื่อ 2 November 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Ogbu O, Ajuluchukwu E, Uneke CJ (2007). "Lassa fever in West African sub-region: an overview". Journal of Vector Borne Diseases. 44 (1): 1–11. PMID 17378212. Lassa fever is endemic in West Africa.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Signs and Symptoms | Lassa Fever | CDC". www.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 6 March 2019. สืบค้นเมื่อ 18 June 2019.
  4. Greenky D, Knust B, Dziuban EJ (May 2018). "What Pediatricians Should Know About Lassa Virus". JAMA Pediatrics. 172 (5): 407–408. doi:10.1001/jamapediatrics.2017.5223. PMC 5970952. PMID 29507948.
  5. Yun, N. E.; Walker, D. H. (2012). "Pathogenesis of Lassa Fever". Viruses. 4 (12): 2031–2048. doi:10.3390/v4102031. PMC 3497040. PMID 23202452.
  6. Eberhardt, KA; Mischlinger, J; Jordan, S; Groger, M; Günther, S; Ramharter, M (October 2019). "Ribavirin for the treatment of Lassa fever: A systematic review and meta-analysis". International Journal of Infectious Diseases. 87: 15–20. doi:10.1016/j.ijid.2019.07.015. PMID 31357056.
  7. Frame JD, Baldwin JM, Gocke DJ, Troup JM (1 July 1970). "Lassa fever, a new virus disease of man from West Africa. I. Clinical description and pathological findings". Am. J. Trop. Med. Hyg. 19 (4): 670–6. doi:10.4269/ajtmh.1970.19.670. PMID 4246571.
  8. Houlihan, Catherine; Behrens, Ron (12 July 2017). "Lassa fever". BMJ. 358: j2986. doi:10.1136/bmj.j2986. PMID 28701331. S2CID 206916006.