โรเบิร์ต บุย
โรเบิร์ต บุย (อังกฤษ: Robert G. Boughey, หรือที่รู้จักในชื่อ โรเบิร์ต จี. บุย) เป็นสถาปนิกสัญชาติอเมริกัน จากรัฐเพนซิลเวเนีย เป็นที่รู้จักในนามผู้ก่อตั้งบริษัทสถาปนิกโรเบิร์ต จี บุย แอนด์แอสโซซิเอทส์ จำกัด อดีตอาจารย์วิจัยประจำสถาบันแพร็ทต์ โดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาคการออกแบบในเขตภูมิภาคร้อนชื้นและตะวันออกกลาง (ค.ศ. 1969)[1][2] เขาจบปริญญาตรีจากสถาบันแพรตต์ (Pratt Institute) ในปี ค.ศ. 1959 และไปศึกษาต่อในด้านงานออกแบบเขตร้อนที่สมาคมสถาปัตยกรรม วิทยาลัยสถาปัตยกรรม (AA) ณ กรุงลอนดอน ในปี ค.ศ. 1967
โรเบิร์ต บุย | |
---|---|
เกิด | สหรัฐอเมริกา |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า |
|
รางวัล | UNESCO Asia-Pacific Awards for Cultural Heritage Conservation |
ผลงานสำคัญ |
|
งานออกแบบส่วนใหญ่ของเขา มักเป็นงานโมเดิร์นในเขตภูมิภาคร้อนชื้น หรือที่เรียกว่า Tropical Zone ทั้งในประเทศไทย และประเทศบังกลาเทศ โดยเป็นทั้งงานออกแบบอาคารพาณิชย์ สถานีรถไฟ หอศิลปะ เป็นต้น ปัจจุบันเขามีสำนักงานออกแบบในประเทศไทย มีผลงานที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในประเทศไทย เช่น สยามดิสคัฟเวอรี (ภายนอกแบบเก่า) อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี สำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และผลงานที่มีชื่อเสียงในบังกลาเทศ เช่น สถานีรถไฟกามาลาปูร์ เป็นต้น
งานเด่น
แก้- National Museum of Bangladesh, ธากา
- Kamalapur Railway Station, ธากา, ประเทศบังกลาเทศ, ค.ศ. 1961–64
- Notre Dame College, ประเทศบังกลาเทศ
- Saint Joseph Higher Secondary School, ธากา, ประเทศบังกลาเทศ
- Domestic Terminal, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย, ค.ศ. 1982
- Bank of America, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
- Diethelm Towers, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
- สำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
- บุบเรสซิเดนส์, กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
- หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
- สยามเซ็นเตอร์ (ยุคแรก)
- สยามดิสคัฟเวอรี
- อาคารคิวเฮ้าส์ ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพ
-
สถานีรถไฟกามาลาปูร์ ประเทศบังกลาเทศ -
สำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) -
อาคารสยามพิวรรธน์ และสยามดิสคัฟเวอรี
รางวัล
แก้- UNESCO Asia-Pacific Awards for Cultural Heritage Conservation[3]