โรบิน หลี่ เยี่ยนหง (จีน: 李彦宏; พินอิน: Lǐ Yànhóng; เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1968) เป็นทั้งนักการเมือง, นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ตชาวจีน เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเสิร์ชเอนจินไป่ตู้[2] และเป็นหนึ่งในคนที่รวยที่สุดในประเทศจีน โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 18.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2017[1] หลี่เป็นสมาชิกคนหนึ่งของการประชุมสภาปรึกษาการเมืองแห่งประชาชนจีนครั้งที่ 12[3]

โรบิน หลี่
李彦宏
โรบิน หลี่ ในปี ค.ศ. 2010
เกิด (1968-11-17) 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1968 (55 ปี)
หยางฉวน มณฑลชานซี ประเทศจีน
สัญชาติจีน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยปักกิ่ง
มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์กที่เมืองบัฟฟาโล (ซูนี)
อาชีพนักการเมือง, ผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ต
ตำแหน่งผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการไป่ตู้
กรรมการในเอดูเคชันแอนด์เทคโนโลยีกรุป อิงค์
คู่สมรสหม่า ตงหมิ่น
บุตร4 คน
โรบิน หลี่
อักษรจีนตัวย่อ李彦宏
อักษรจีนตัวเต็ม李彥宏

หลี่ศึกษาการจัดการข้อมูลที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์กที่เมืองบัฟฟาโล ในปี ค.ศ. 1996 เขาได้คิดค้นแรงก์เดกซ์ ซึ่งเป็นเสิร์ชเอนจินแรกที่มีอัลกอริทึมการจัดอันดับหน้าและการให้คะแนนเว็บไซต์[4] ส่วนในปี ค.ศ. 2000 เขาได้ก่อตั้งไป่ตู้ร่วมกับเอริก ซู่ ซึ่งหลี่เป็นกรรมการผู้จัดการของไป่ตู้ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2004 บริษัทได้จดทะเบียนในแนสแด็กเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2005[5] นอกจากนี้ หลี่ได้รับการรวมเป็นหนึ่งใน 15 นักวิทยาศาสตร์ชาวเอเชียที่น่าจับตามอง โดยเอเชียนไซเอนทิสต์แมกกาซีนเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2011[6]

ในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2014 โรบิน หลี่ ได้รับการแต่งตั้งจากนายพัน กี-มุน ซึ่งเป็นเลขาธิการสหประชาชาติ ในฐานะประธานร่วมของกลุ่มที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านการปฏิวัติข้อมูลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน[7]

ชีวิตช่วงต้น แก้

หลี่เกิดที่มณฑลชานซี ประเทศจีน ที่ซึ่งเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ในวัยเด็กของเขา พ่อแม่ของเขาทั้งคู่เป็นคนงานในโรงงาน หลี่เป็นลูกคนที่สี่ในพี่น้องทั้งหมดห้าคน และเป็นเด็กผู้ชายเพียงคนเดียว[8]

เขาลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งซึ่งเขาศึกษาด้านการจัดการข้อมูลและได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ครั้นฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1991 หลี่ได้เรียนต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์กที่เมืองบัฟฟาโล เดิมที เขาต้องการสำเร็จการศึกษาปริญญาเอกด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ แต่เมื่อเขาได้รับปริญญาโทสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ในปี ค.ศ. 1994 ก็ตัดสินใจที่จะไม่เรียนต่อ[8]

เส้นทางสู่ไป่ตู้ แก้

ในปี ค.ศ. 1994 หลี่ได้เข้าร่วมไอดีดี อินฟอร์เมชันเซอร์วิส ซึ้งเป็นแผนกรัฐนิวเจอร์ซีย์ของดาวโจนส์แอนด์คอมพานี ที่ซึ่งเขาช่วยพัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์สำหรับเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลฉบับออนไลน์[9] เขายังทำงานเกี่ยวกับการปรับปรุงอัลกอริทึมสำหรับเสิร์ชเอนจิน เขายังคงทำงานอยู่ที่ไอดีดี อินฟอร์เมชันเซอร์วิส ตั้งแต่พฤษภาคม ค.ศ. 1994 ถึงมิถุนายน ค.ศ. 1997 โดยในปี ค.ศ. 1996 ขณะทำงานที่ไอดีดี หลี่ได้คิดค้นคิดค้นอัลกอริทึมการให้คะแนนเว็บไซต์แรงก์เดกซ์สำหรับการจัดอันดับหน้าของเสิร์ชเอนจิน[4][10][11] ซึ่งได้รับรางวัลสิทธิบัตรในสหรัฐ[12] มันเป็นเสิร์ชเอนจินแรกที่ใช้ไฮเปอร์ลิงก์เพื่อวัดคุณภาพของเว็บไซต์ที่เป็นดัชนี[13] โดยเกิดขึ้นก่อนสิทธิบัตรอัลกอริทึมที่คล้ายกันยื่นโดยกูเกิลช่วงสองปีต่อมาในปี ค.ศ. 1998[14] แลร์รี เพจ ผู้ก่อตั้งกูเกิลอ้างถึงผลงานของหลี่ในสิทธิบัตรของสหรัฐบางรายการสำหรับเพจแรงก์[15] ซึ่งต่อมาหลี่ได้ใช้เทคโนโลยีเพจแรงก์ของเขาสำหรับเสิร์ชเอนจินไป่ตู้

หลี่ทำงานเป็นวิศวกรพนักงานของอินโฟซีค ซึ่งเป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตเสิร์ชเอนจินผู้บุกเบิก ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1997 ถึงธันวาคม ค.ศ. 1999 ความสำเร็จของเขาคือฟังก์ชันการค้นหารูปภาพที่ใช้โดย Go.com[16] นับตั้งแต่ก่อตั้งไป่ตู้ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2000 หลี่ได้เปลี่ยนบริษัทเป็นเสิร์ชเอนจินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 80 เปอร์เซนต์จากข้อความค้นหา และเสิร์ชเอนจินอิสระ[คลุมเครือ] ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2005 ไป่ตู้ประสบความสำเร็จในการเสนอขายหุ้นไอพีโอบนแนสแด็ก และในปี 2007 ก็ได้กลายเป็นบริษัทจีนแห่งแรกที่รวมอยู่ในดัชนีแนสแด็ก-100 นอกจากนี้ เขาได้ปรากฏในรายชื่อ "50 บุคคลที่มีความสำคัญในตอนนี้" ประจำปีของซีเอ็นเอ็นมันนีเมื่อปี ค.ศ. 2007[17]

เกียรติประวัติ แก้

ในปี ค.ศ. 2001 เขาได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน"ผู้บุกเบิกนวัตกรรมท็อปเท็นของจีน" เก็บถาวร 2007-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ส่วนในปี ค.ศ. 2002 และ ค.ศ. 2003 เขาได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน"สิบผู้มีชื่อเสียงด้านไอที"สองสมัยติดต่อกัน ครั้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 2004 เขาได้รับเลือกให้อยู่ในเซสชันที่สองของ"สิบบุคคลหนุ่มสาวด้านซอฟต์แวร์ที่โดดเด่น" สำหรับวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 2005 เขาได้รับเลือกให้อยู่ในเซสชันที่สองของ"รางวัลเยาวชนอาเซียน" เก็บถาวร 2016-08-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 2005 เขาได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน"บุคคลด้านเศรษฐกิจจีนแห่งปีของซีซีทีวี 2005" เก็บถาวร 2016-09-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รวมถึงเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2006 เขาได้รับเลือกให้เป็น "ผู้นำทางธุรกิจที่ดีที่สุดในโลก" ในปี ค.ศ. 2006 โดยอเมริกันบิสสิเนสวีคลี

ชีวิตส่วนตัว แก้

หลี่ได้สมรสกับหม่า ตงหมิ่น ซึ่งทำงานให้แก่ไป่ตู้เช่นกัน[18][19] พวกเขามีลูกสี่คนและอาศัยอยู่ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "Robin Li". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 October 2017.
  2. www.baidu.com
  3. "政协委员李彦宏:高薪挖著名教授成为不了优秀大学". China Internet Information Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-05. สืบค้นเมื่อ March 5, 2016.
  4. 4.0 4.1 "About: RankDex", rankdex.com; accessed 3 May 2014.
  5. "Baidu mesmerizes Wall Street - Taipei Times". www.taipeitimes.com. สืบค้นเมื่อ 13 August 2017.
  6. "The Ultimate List Of 15 Asian Scientists To Watch – Robin Li". AsianScientist.com. 15 May 2011. สืบค้นเมื่อ 6 June 2011.
  7. "UN Secretary-General's Data Revolution expert group". undatarevolution.org. สืบค้นเมื่อ 13 August 2017.
  8. 8.0 8.1 "李彦宏 - MBA智库百科" (ภาษาจีน). Wiki.mbalib.com. 1 May 2012. สืบค้นเมื่อ 5 May 2012.
  9. "Robin Li's vision powers Baidu's Internet search dominance - Taipei Times". www.taipeitimes.com. สืบค้นเมื่อ 13 August 2017.
  10. Greenberg, Andy, "The Man Who's Beating Google" เก็บถาวร 2013-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Forbes magazine, October 05, 2009
  11. Yanhong Li, "Toward a Qualitative Search Engine," IEEE Internet Computing, vol. 2, no. 4, pp. 24–29, July/August 1998, doi:10.1109/4236.707687
  12. USPTO, "Hypertext Document Retrieval System and Method" เก็บถาวร 2011-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, US Patent number: 5920859, Inventor: Yanhong Li, Filing date: 5 February 1997, Issue date: 6 July 1999
  13. "Baidu Vs Google: The Twins Of Search Compared". FourWeekMBA. 18 September 2018. สืบค้นเมื่อ 16 June 2019.
  14. Altucher, James (March 18, 2011). "10 Unusual Things About Google". Forbes. สืบค้นเมื่อ 16 June 2019.
  15. "Method for node ranking in a linked database". Google Patents. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2015. สืบค้นเมื่อ 19 October 2015.
  16. Watts, Jonathan (8 December 2005). "The man behind China's answer to Google: accused by critics of piracy and censorship". สืบค้นเมื่อ 13 August 2017 – โดยทาง The Guardian.
  17. CNN Money, June 2007, "50 people who matter now", cnn.com; accessed 3 May 2014.
  18. "Baidu focuses on AI as founder hires new management team". scmp.com. สืบค้นเมื่อ 11 October 2017.
  19. "She has been a partner of Robin Li, now return to Baidu as a special assistant". www.bestchinanews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-03. สืบค้นเมื่อ 11 October 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้