คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นคณะพยาบาลแห่งแรกของไทย กำเนิดมาจาก โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาล ในยุคโรงเรียนราชแพทยาลัย นับได้ว่าเป็นคณะพยาบาลที่วางรากฐานด้านการพยาบาลที่ยอดเยี่ยมของไทย

คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
Faculty of Nursing Mahidol University
สถาปนา12 มกราคม พ.ศ. 2439 (128 ปี)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.เอมพร รตินธร
ที่อยู่
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
อาคารมหิดลอดุลยเดช – พระศรีนครินทร
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
วารสารวารสารพยาบาลศาสตร์ (JOURNAL OF NURSING SCIENCE)
สี  สีขาว
เว็บไซต์ns.mahidol.ac.th

ประวัติ

แก้
 
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีฯ และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถฯ ที่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้วิวัฒนาการมาจาก โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์ แลการพยาบาลไข้ ได้รับพระราชทานกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2439 โดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็น "โรงเรียนผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทย"

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงเห็นว่าวิชาแพทย์ผดุงครรภ์มีความจำเป็นแก่ชีวิตของสตรี เนื่องจากในสมัยนั้นสตรีต้องเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากการคลอดบุตร จึงได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ตั้งโรงเรียนเพื่ออบรมผดุงครรภ์ขึ้นในบริเวณโรงพยาบาลศิริราชเริ่มเปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2439 โดยใช้ชื่อว่า “ โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์แลการพยาบาลไข้ ” สังกัดกรมศึกษาธิการ ซึ่งต่อมาเรียกว่ากระทรวงธรรมการ ขึ้นภายในบริเวณโรงศิริราชพยาบาล ซึ่งนับเป็นโรงเรียนพยาบาลแห่งแรก และเป็นจุดเริ่มของการศึกษาด้านการพยาบาลของประเทศด้วย

ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯให้ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ เป็นผู้อำนวยการคนแรก การศึกษาวิชาการพยาบาลจึงได้เริ่มต้นตั้งแต่บัดนั้น ในระยะต่อมาโรงเรียนได้พัฒนามาเป็นลำดับจนเป็น “ โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ” ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามเป็น “ มหาวิทยาลัยมหิดล ” ในปี พ.ศ. 2512

  • พ.ศ. 2515 "โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย" คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้รับอนุมัติให้ยกวิทยฐานะเป็น “ คณะพยาบาลศาสตร์ ” เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน นับเป็นคณะที่ 13 ของ มหาวิทยาลัยมหิดล ตามหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 18 เล่ม 89 ตอนที่ 103 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 [1] โดยมีนางสงวนสุข ฉันทวงศ์ เป็นคณบดีคนแรก และมีวิวัฒนาการเรื่อยมาตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ความก้าวหน้าทางการศึกษา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีตามลำดับจนถึงปัจจุบัน และขยายหลักสูตร จนสามารถจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท (พ.ศ. 2520) และปริญญาเอก (พ.ศ. 2532)ได้[2]

ภาควิชาและสำนักงาน

แก้
 
อาคารคณะพยาบาลศาสตร์ (ซ้าย) ตั้งอยู่ใกล้กับท่าพรานนก

ภาควิชา

แก้

ปัจจุบันคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีภาควิชาดังต่อไปนี้[3]

  • ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์
  • ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน
  • ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์
  • ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์
  • ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
  • ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
  • ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์

สำนักงาน

แก้

ปัจจุบันคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีสำนักงานดังต่อไปนี้[4]

  • สำนักงานการศึกษา
    • งานบริการการศึกษา
    • งานพัฒนานักศึกษา
    • งานห้องสมุด
  • สำนักงานวิจัยและบริการวิชาการ
    • งานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
    • งานบริการวิชาการ
  • สำนักงานยุทธศาสตร์และการพัฒนา
    • งานนโยบาย แผน และงบประมาณ
    • งานพัฒนาคุณภาพ และบริหารความเสี่ยง
    • งานประชาสัมพันธ์ และพัฒนาภาพลักษณ์องค์กร
  • สำนักงานคณบดี
    • งานทรัพยากรบุคคล
    • งานคลัง และพัสดุ
    • งานบริหารจัดการ
    • งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสูตร

แก้
ระดับประกาศนียบัตร
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง (สำหรับนักศึกษานานาชาติ)
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง แบ่งออกเป็น สาขาการพยาบาลหัวใจและทรวงอก, การบริหารการพยาบาล, การพยาบาลผู้สูงอายุ, การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง, การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์, การพยาบาลออโธปิดิกส์, การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคเรื้อรัง และการพยาบาลศัลยกรรมอุบัติเหตุ
ระดับปริญญาตรี
  • หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต[5]
ระดับปริญญาโท
  • หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต[6]
    • สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่
    • สาขาการผดุงครรภ์ขั้นสูง
    • การพยาบาลเด็ก
    • การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
    • สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ
    • สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
ระดับปริญญาเอก
  • หลักสูตรพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรภาษาไทย)
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล (หลักสูตรนานาชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ) เป็นโครงการร่วมระหว่าง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และ คณะพยาบาลศาสตร์ ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในอเมริกา แคนนาดา ออสเตรเลีย โดยนักศึกษาต้องไปทำวิจัยมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่เลือกเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี[7]


อ้างอิงจากน้ำอิงย่านบ้านโป่ง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษาม,การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหิดล,7 กรกฎาคม พ.ศ. 2515
  2. ประวัติความเป็นมาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. ภาควิชาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  4. "สำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-11. สืบค้นเมื่อ 2013-11-04.
  5. การศึกษาระดับปริญญาตรีและเฉพาะทางคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  6. หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (M.N.S.) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  7. Doctor of Philosophy in Nursing Program (Ph.D) เก็บถาวร 2013-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Joint Program between Faculty of Nursing and Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University