โรงเรียนเขวาไร่ศึกษา

โรงเรียนเขวาไร่ศึกษา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลเขวาไร่ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันเปิดสอนในช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ภายใต้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม กระทรวงศึกษาธิการ สหวิทยาเขต สะดืออิสาน

โรงเรียนเขวาไร่ศึกษา
Khwaorai Suksa School

Khwaorai Suksa School
ตราประจำโรงเรียน
ที่ตั้ง
พิกัด16°17′48″N 102°55′18″E / 16.296612°N 102.921557°E / 16.296612; 102.921557พิกัดภูมิศาสตร์: 16°17′48″N 102°55′18″E / 16.296612°N 102.921557°E / 16.296612; 102.921557
ข้อมูล
ชื่ออื่นข.ศ. K.R.S
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล - โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
คำขวัญปญฺญาย ปริสุชฺฌติ
(บุคคลย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา)
สถาปนา26 เมษายน พ.ศ. 2519 (47 ปี 338 วัน)
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1044410589
ผู้อำนวยการนายจิระศักดิ์ ปราณีนิจ
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
สี██████ เหลือง - ดำ
เพลงมาร์ชเขวาไร่ศึกษา
ต้นไม้เขวา

ประวัติโรงเรียน แก้

 
ต้นเขวา

โรงเรียนเขวาไร่ศึกษา ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2519 โดยมีคณะกรรมการสภาตำบลเขวาไร่ช่วยกันรวบรวมหลักฐานต่างๆ จนได้รับอนุมัติให้เปิดโรงเรียนแห่งนี้ได้เป็นผลสำเร็จ โดยกรมสามัญศึกษาแต่งตั้งให้ นายสมคิด บัวทัน อาจารย์ 1 ระดับ 4 โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งผ่านการอบรมเตรียมผู้บริหาร รุ่นที่ 13 มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ โดยเปิดสอนครั้งแรกมีห้องเรียน 2 ห้อง นักเรียน 95 คน ระยะแรกที่เปิดทำการซึ่งยังไม่มีอาคารเรียนนั้น โรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์จากโรงเรียนบ้านหนองเขื่อน ให้ใช้โรงยาวเป็นที่เรียนก่อน ในระหว่างปิดภาคเรียน ปลายปีการศึกษา 2519 ทางโรงเรียนโดยความร่วมมือจากทั้งคณะครู-อาจารย์ ผู้ปกครองนักเรียน กรรมการสภาตำบล ตลอดจนชาวบ้านที่มีจิตศรัทธา ได้บริจาควัสดุอุปกรณ์ต่างๆ จัดสร้างอาคารชั่วคราวหลังคามุงหญ้า ขนาด 6 ห้องเรียนและส้วม 1 หลัง (ปัจจุบันรื้อแล้ว) ขึ้นในบริเวณของโรงเรียน ตลอดจนอุปกรณ์การเรียนการสอน

ในปีการศึกษา 2521 และ 2523 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคาร 1

ในปีการศึกษา 2528 โรงเรียนได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษา ให้เข้าร่วมโครงการมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท (ม.พ.ช.2) รุ่นที่ 3 โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณ ด้านอาคารสถานที่ สิ่งสาธารณูปโภค สื่อการสอน และจัดอบรมบุคลากรให้ ซึ่งโรงเรียนได้รับอนุมัติให้สร้างอาคารเรียนถาวร โรงฝึกงานอุตสาหกรรม โรงฝึกงานคหกรรม ขยายระบบจ่ายกระแสไฟฟ้า ติดตั้งระบบประปาและได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์อื่นๆ เป็นจำนวนมาก เพื่อให้โรงเรียนมีความพร้อมที่จะพัฒนาชนบทตามนโยบายของโครงการ ม.พ.ช.

ในปีการศึกษา 2530 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของกรมสามัญศึกษา (ค.อมต.สศ.) ซึ่งเป็นโครงการจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นแบบให้เปล่า เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในพื้นที่ชนบทยากจนได้มีโอกาสเข้าเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาเพิ่มมากขึ้น

ในปีการศึกษา 2533 โรงเรียนได้เข้าร่วม โครงการโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม (มพชส.) รุ่นที่ 3 โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมในชนบทให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น

ในปีการศึกษา 2534 โรงเรียนได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษา ให้เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ในปีการศึกษา 2536 โรงเรียนได้รับการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียนจำนวน 1 หลัง

ในปีการศึกษา 2537 โรงเรียนได้รับการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างหอประชุมแบบ

ในปี พ.ศ. 2553 และปี พ.ศ. 2555 คณะศิษย์เก่า ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ได้ร่วมกันทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสร้างอาคาร ICT จำนวน 1 หลัง

ปัจจุบัน โรงเรียนได้รับคัดเลือกเข้าเป็นหนึ่งในโรงเรียนมาตรฐานสากลทั้ง 300 แห่งทั่วประเทศ[1]

ทำเนียบผู้บริหาร แก้

อาคาร สถานที่ แก้

โรงเรียนเขวาไร่ศึกษา ตั้งอยู่ในที่สารธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน เนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ แต่เนื้อที่ยังไม่พอตามมาตรฐานของกรมสามัญศึกษา จึงขอบริจาคจากชาวบ้านอีก 3 ราย คือ นางสุมาลี ศรีภูวงษ์ (ดรลา) บริจาค 9 ไร่ 60 ตารางวา นางสาวบุญเพ็ง บริจาค 3 ไร่ 13 ตารางวา และนายสุข ถุงสมบัติ บริจาค 3 ไร่ 2 งาน 7 ตารางวา รวมมีเนื้อที่ 40 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา[2]

ภายในโรงเรียนประกอบด้วยอาคารเรียนถาวร 3 หลัง อาคารเอนกประสงค์ อาคาหอประชุม โรงอาหาร อาคารโรงฝึกงานและสนามฟุตบอล

การจัดการศึกษา แก้

หลักสูตร แก้

โรงเรียนเขวาไร่ศึกษาเปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ช่วงชั้นที่ 3-4) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการศึกษาแห่งชาติ ปัจจุบัน องค์กรหลักของสถานศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ รวมแปดกลุ่ม คือ

  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

แผนการเรียน แก้

  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

อ้างอิง แก้

ข้อมูลเพิ่มเติม แก้