โรงเรียนปากพนัง
โรงเรียนปากพนัง เป็นโรงเรียนประจำอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แบบสหศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 27 ถนนชายทะเล ตำบลปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
โรงเรียนปากพนัง | |
---|---|
Pak Phanang School | |
ที่ตั้ง | |
เลขที่ 27 ถนนชายทะเล ตำบลปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80140 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ป.น. / PN |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ |
คติพจน์ | สุวิชาโน ภวํโหติ (ผู้รู้ดีคือผู้เจริญ) |
สถาปนา | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2442 |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1080210818 |
ผู้อำนวยการโรงเรียน | นายอรุณ รอดสันติกุล |
จำนวนนักเรียน | 2,361 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2560)[1] |
สี | ฟ้า แดง |
เพลง | มาร์ชโรงเรียนปากพนัง |
เว็บไซต์ | http://www.pakphanang.ac.th/ |
ประวัติ
แก้โรงเรียนปากพนัง ก่อตั้งเมื่อ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2442 ที่วัดเสาธงทอง โดยพระรัตนธัชมุนี (ม่วง รตนทฺธโช) ผู้อำนวยการศึกษามณฑลนครศรีธรรมราช เดิมใช้ชื่อว่าโรงเรียนไพบูลย์บำรุง มีหลวงพิบูลย์สมบัติ นายอำเภอเบี้ยซัด นายผัน ผู้พิพากษาศาลแขวงเบี้ยซัด และพระทอง เจ้าอธิการวัดเสาธงทอง เป็นผู้อุปถัมภ์ มีนักเรียน 21 คน
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2565 ได้สร้างอาคารเรียนขึ้นบริเวณโรงเรียนเทศบาลปากพนัง 1 และเมื่อ พ.ศ. 2481 ได้ย้ายไปเรียนที่วัดนันทาราม และได้สร้างอาคารเรียนถาวรขึ้น ณ ที่ตั้งโรงเรียนปากพนังปัจจุบัน โดยเปิดเรียนเมื่อ พ.ศ. 2482 เป็นโรงเรียนมัธยมโดยเฉพาะ จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2487 ได้เกิดไฟไหม้โรงเรียนทั้งหลัง จึงได้ขอฝากเรียนที่วัดนันทาราม วัดเสาธงทอง และโรงเรียนสตรีปากพนัง และเมื่อ พ.ศ. 2490 ได้สร้างอาคารเรียนชื่อว่า "อาคารลักษณา"
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2507 ได้สร้างอาคารเรียนชื่อว่า "อาคารประชาอุทิศ 1" และเมื่อ พ.ศ. 2515 ได้สร้างห้องประชุม และโรงอาหาร ส่วนเมื่อ พ.ศ. 2519 ได้สร้างอาคารเรียนชื่อว่า "อาคารประชาอุทิศ 2" และเริ่มเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อ พ.ศ. 2520
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2522 กระทรวงศึกษาธิการได้ยุบโรงเรียนปากพนัง แผนกประถมศึกษาตอนปลาย รวมกับโรงเรียนปากพนัง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2522 ทำให้โรงเรียนปากพนังแบ่งเป็น 2 เขต โดยมีโรงเรียนเทศบาลปากพนัง 1 คั่นอยู่ระหว่างกลาง และเมื่อ พ.ศ. 2542 ได้ทำการแลกเปลี่ยนสถานที่และอาคารเขต 2 กับอาคารเรียนของโรงเรียนเทศบาลปากพนัง 1 และได้ฉลองครอบ 100 ปีแห่งการสถาปนาโรงเรียนปากพนัง[2]
ต่อมาเมื่อ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ได้เกิดเหตุฆาตกรรมภายในโรงเรียนปากพนัง[3]มีผู้เสียชีวิต 2 ราย
ทำเนียบผู้บริหาร
แก้ลำดับที่ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
โรงเรียนไพบูลย์บำรุง | |||
1 | นายห่อ จันทราทิพย์ | – | – |
2 | นายเลี่ยม สิงหพันธ์ | – | – |
3 | นายบัว ไชยนุพงศ์ | – | – |
4 | นายเจริญ วราภรณ์ | – | – |
5 | นายบุญช่วย กาญจนาภรณ์ | – | – |
6 | นายพร้อม มณีสาร | – | – |
โรงเรียนปากพนัง | |||
1 | นายเจริญ วราภรณ์ | พ.ศ. 2474 | พ.ศ. 2481 |
2 | นายถัด พรหมมานพ | พ.ศ. 2481 | พ.ศ. 2484 |
3 | นายบูรณะ ศรีดิษฐ์ | พ.ศ. 2484 | พ.ศ. 2488 |
4 | นายว่อง วราภรณ์ | พ.ศ. 2488 | พ.ศ. 2489 |
5 | นายจรัส ธรรมพันธ์ | พ.ศ. 2489 | พ.ศ. 2492 |
6 | นายจรัล ประโมจนีย์ | พ.ศ. 2492 | พ.ศ. 2498 |
7 | นายผ่อง รักษจิตต์ | พ.ศ. 2498 | พ.ศ. 2501 |
8 | นายเปลี่ยน บุญชูวงศ์ | พ.ศ. 2501 | พ.ศ. 2513 |
9 | นายวิสิทธิ์ คีรินทร์นนท์ | พ.ศ. 2513 | พ.ศ. 2514 |
10 | นายอนันต์ บุญส่ง | พ.ศ. 2514 | พ.ศ. 2518 |
11 | นายศุภมน เสาหฤทวงศ์ | พ.ศ. 2518 | พ.ศ. 2519 |
12 | นายประดิษฐ์ วังสะวิบูลย์ | พ.ศ. 2519 | พ.ศ. 2525 |
13 | นายหิรัญ บุปผา | พ.ศ. 2525 | พ.ศ. 2528 |
14 | นายเรืองเกียรติ อัฐพร | พ.ศ. 2528 | พ.ศ. 2535 |
15 | นายแข นนทแก้ว | พ.ศ. 2535 | พ.ศ. 2536 |
16 | นายอุส่าห์ ศิวาโมกข์ | พ.ศ. 2536 | พ.ศ. 2544 |
17 | นายกลิ่น นาคนวล | พ.ศ. 2544 | พ.ศ. 2550 |
18 | นายภักดี เหมทานนท์ | พ.ศ. 2551 | พ.ศ. 2555 |
19 | นายประดับ แก้วนาม | พ.ศ. 2555 | พ.ศ. 2558 |
20 | นายประเสริฐ ชีใหม่ | พ.ศ. 2558 | พ.ศ. 2562 |
21 | ดร.สุภาพ เต็มรัตน์ | พ.ศ. 2562 | พ.ศ.2566 |
22 | นายอรุณ รอดสันติกุล | พ.ศ.2566 | ปัจจุบัน |
หลักสูตร
แก้ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
แก้- โครงการห้องเรียนพิเศษ
- โครงการห้องเรียนพิเศษส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (Science Mathematics and Technology Program ; SMTP) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (36 คน)
- โครงการห้องเรียนพิเศษส่งเสริมพัฒนาศักยภาพด้านภาษาสู่สากล (English Improvement Program ; EIP) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (30 คน)
- โครงการห้องเรียนปกติ
- ห้องเรียนปกติ ระดับชั้นละ 10 ห้อง (400 คน)
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
แก้- โครงการห้องเรียนพิเศษ
- โครงการห้องเรียนพิเศษส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (Science Mathematics and Technology Program ; SMTP) ระดับชั้นละ 1 ห้อง (36 คน)
- โครงการห้องเรียนปกติ
- แผนการเรียนวิทย์ - คณิต ระดับชั้นละ 2 ห้องเรียน (80 คน)
- แผนการเรียนศิลป์ - คณิต ระดับชั้นละ 2 ห้องเรียน (80 คน)
- แผนการเรียนศิลป์ - ทั่วไป ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน (40 คน)
- แผนการเรียนศิลป์ - อังกฤษ ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน (40 คน)
- แผนการเรียนศิลป์ - จีน ระดับชั้นละ 1 ห้องเรียน (40 คน)
อ้างอิง
แก้- ↑ http://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view_student.php?School_ID=1080210818&Area_CODE=101712 จำนวนนักเรียนโรงเรียนปากพนัง
- ↑ http://www.pakphanang.ac.th/index.php?mod=blog&path=web/blog&id_sub_menu=30&namemenu=%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99 เก็บถาวร 2023-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติโรงเรียนปากพนัง
- ↑ กรณีศึกษาเรื่องการประเมินผู้กระทำผิดและผลกระทบต่อผู้สูญเสียเหตุการณ์นักเรียนยิงกันตาย วันที่ 6 มิถุนายน 2546 อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- โรงเรียนปากพนัง เก็บถาวร 2019-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน