โรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางประจำตำบลดงใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26 กระทรวงศึกษาธิการ เป็นโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติรัชมังคลาภิเษก ตั้งอยู่ที่ ตำบลดงใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันเปิดสอนในช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย
โรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก | |
---|---|
Dongyaiwitthayakhom Ratchamankhalabhisek School | |
![]() | |
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ดว.ร. / DY.R. |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง โรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติรัชมังคลาภิเษก |
คติพจน์ | “ นฺตถิ ปฺญญา สม อาภา ” (ไม่มีแสงสว่างใดใด เทียมเท่าแสงสว่างแห่งปัญญา) |
สถาปนา | 7 มกราคม พ.ศ. 2531 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days หากใช้ปีคริสต์ศักราช) |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1044410621 |
ผู้อำนวยการ | นายภูวดล ภูสิม |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษา |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน![]() ![]() |
สี | น้ำเงิน - เหลือง |
เพลง | มาร์ชดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก |
เว็บไซต์ | www.dongyaiwit.ac.th |
ประวัติโรงเรียน
แก้โรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2529 เดิมเป็นสาขาของโรงเรียนวาปีปทุม โดยมีนายมังกร ปทุมพร เป็นผู้ประสานงาน
มีเนื้อที่ 130 ไร่ 2 งาน โดยได้รับบริจาคจากชาวบ้านและสภาตำบลดงใหญ่ร่วมกับชาวบ้าน โดยการนำของนายชื่น ชาวพงษ์ กำนันตำบลดงใหญ่ ได้ก่อสร้างอาคารชั่วคราวให้ จำนวน 1 หลัง
วันที่ 7 มกราคม 2531 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลและได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้นาม “รัชมังคลาภิเษก” ต่อชื่อโรงเรียนและเข้าโครงการ “โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร” ได้รับงบประมาณค่าก่อสร้างอาคารเรียนและสถานที่ที่จำเป็นในการเรียนการสอน
พ.ศ. 2536 เป็นปีแรกที่เปิดสาขาทำการสอนที่โรงเรียนยางวิทยาคม ตำบลยาง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม โดยมีนายสังคม โคตรสีเขียว เป็นผู้ประสานงาน
พ.ศ. 2537 เป็นปีแรกที่เปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
พ.ศ. 2541 เข้าโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
พ.ศ. 2545 เป็นปีแรกที่ใช้หลักสูตรสถานศึกษา พุทธศักราช 2544 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และเป็นโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2550 เป็นสถานศึกษาแบบอย่างการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของเขตตรวจราชการที่ 7 สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2552 ได้รับป้าย “งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พ.ศ. 2554 ได้รับเกียรติบัตรขั้นที่ 1 “งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” ตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พ.ศ. 2555 ได้รับเกียรติบัตรโรงเรียนดีเด่นด้านคุณธรรม จริยธรรม ประจำปี 2555 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดโรงเรียนต้นแบบลูกเสือประจำปี 2555 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26
พ.ศ. 2558 โรงเรียนได้คัดเลือกเป็นโรงเรียนแกนนำนำร่องการจัดการเรียนรู้ ศตวรรษที่ 21 ผ่านการประเมินผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับดี ชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทเนตรนารีวิสามัญ การประกวดระเบียบแถวสวนสนามลูกเสือ เนตรนารี ระดับจังหวัดประจำปี 2558 และเป็นตัวแทนไปแข่งขันระดับประเทศที่สนามศุภชลาศัย กรุงเทพฯ ได้รับรางวัลระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 “โรงเรียนส่งเสริมด้านวิชาการยอดเยี่ยม ปีงบประมาณ 2558” ได้รับรางวัลระดับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 “โรงเรียนส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้ของนักเรียนยอดเยี่ยม ปีงบประมาณ 2558”[1]
ทำเนียบผู้บริหาร
แก้ลำดับ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ตำแหน่ง |
1 | นายมังกร ปทุมพร | พ.ศ. 2529 | พ.ศ. 2533 | รักษาการครูใหญ่ |
2 | นายสิทธิศาสตร์ รัตนพิบูลย์ศิริ | พ.ศ. 2533 | พ.ศ. 2540 | อาจารย์ใหญ่ |
3 | นายอดิศักดิ์ มุ่งชู | พ.ศ. 2540 | พ.ศ. 2542 | ผู้อำนวยการ |
4 | นายประมวลทรัพย์ ไวสาหลง | พ.ศ. 2542 | พ.ศ. 2553 | ผู้อำนวยการ |
5 | นางคณาพร เทียมกลาง | พ.ศ. 2553 | พ.ศ. 2555 | ผู้อำนวยการ |
6 | นายจงกล เวียงสมุทร | พ.ศ. 2555 | พ.ศ. 2558 | ผู้อำนวยการ |
7 | นายไพทูล พรมมากุล | พ.ศ. 2558 | พ.ศ.2561 | ผู้อำนวยการ |
8 | ดร.สำอางค์ จันทนนตรี | พ.ศ.2561 | พ.ศ.2563 | ผู้อำนวยการ |
9 | ดร.ปรีชา การสอาด | พ.ศ.2563 | พ.ศ.2565 | ผู้อำนวยการ |
10 | นายภูวดล ภูสิม | พ.ศ.2565 | ปัจจุบัน | ผู้อำนวยการ |
อาคาร สถานที่
แก้โรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก มีเนื้อที่ 130 ไร่ 2 งาน ภายในประกอบด้วยอาคารเรียนถาวร 3 หลัง อาคารเอนกประสงค์ โรงฝึกงาน โรงอาหาร หอประชุม และสนามฟุตบอล[2]
การจัดการศึกษา
แก้หลักสูตร
แก้โรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก เปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ช่วงชั้นที่ 3-4) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการศึกษาแห่งชาติ ปัจจุบัน องค์กรหลักของสถานศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ รวม 8 กลุ่ม คือ
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
- กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
- กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-18. สืบค้นเมื่อ 2017-10-13.
- ↑ ข้อมูลสิ่งก่อสร้าง[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์หลักโรงเรียน เก็บถาวร 2017-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน