โรงเรียนดงบังพิสัยนวการนุสรณ์
โรงเรียนดงบังพิสัยนวการนุสรณ์ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 สหวิทยาเขต 4 พุทธมณฑลเทพปทุม กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มี หลวงพ่อพระครูพิสัยนวการ เป็นองค์อุปถัมภ์โรงเรียน ปัจจุบันเปิดสอนในช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ตั้งอยู่ที่ ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
โรงเรียนดงบังพิสัยนวการนุสรณ์ | |
---|---|
Dongbungpisainawakarnnusorn School | |
ตราประจำโรงเรียน | |
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ด.พ. D.P.S |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล - โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง |
คติพจน์ | สุวิชาโน ภวํ โหติ (ผู้รู้ดี คือผู้เจริญ) |
สถาปนา | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days หากใช้ปีคริสต์ศักราช) |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1044410627 |
ผู้อำนวยการ | นายเฉลิมชัย สืบสุนทร |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษา |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน![]() ![]() |
สี | เหลือง - เขียว |
เพลง | มาร์ชดงบังพิสัยนวการนุสรณ์ |
เว็บไซต์ | http://www.dbps.ac.th |
ประวัติโรงเรียน
แก้โรงเรียนดงบังพิสัยนวการนุสรณ์ ตั้งอยู่เยื้องถนนสายวาปีปทุม - พยัคฆภูมิพิสัย ณ ตำบลดงบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
เดิมเป็นสาขาของโรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์โดยได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นสาขาเมื่อ พ.ศ. 2533 โดยใช้ศูนย์พัฒนาตำบลดงบังเป็นสถานที่เรียนชั่วคราว มีนายสุรศักดิ์ ศิริ อาจารย์โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์เป็นผู้ประสานงานสาขา เปิดรับสมัครนักเรียน ม. 1 เข้าเรียนรุ่นแรกในปีการศึกษา 2534
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2535 ได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษาให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนเอกเทศ โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนดงบังพิสัยนวการนุสรณ์ ซึ่งหลวงพ่อพระครูพิสัยนวการ (หลวงปู่ดือ อินทธมฺโม)[1] เจ้าคณะอำเภอนาดูน วัดดงบังโพธาราม ได้กรุณาให้ใช้ชื่อของท่านเป็นชื่อโรงเรียนและรับเป็นองค์อุปถัมภ์โรงเรียน สภาตำบลดงบังได้อนุมัติที่ดินดอนป่ายางสาธารณประโยชน์เนื้อที่ 41 ไร่ 1 งาน 38 ตารางวาเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียน
ปีการศึกษา 2538 โรงเรียนได้เปิดทำการเรียนการสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีนายสุรศักดิ์ ศิริดำรง เป็นผู้บริหารคนแรก ตำแหน่งครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการตามลำดับ[2]
สัญลักษณ์
แก้ตราและสีประจำโรงเรียน
แก้-
ตราประจำโรงเรียน
-
สีประจำโรงเรียน
- ตราโรงเรียน
- วงกลมล้อมรอบอักษรย่อโรงเรียน หมายถึง ความสมัครสมาน สามัคคี
- พระธาตุนาดูน หมายถึง ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมจริยธรรม
- รัศมี หมายถึงสติปัญญาที่ปราดเปรื่อง
- สีประจำโรงเรียน เหลือง - เขียว
- สีเหลือง หมายถึง ความฉลาด
- สีเขียว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์
คำขวัญและปรัชญา
แก้- ปรัชญาของโรงเรียน สุวิชาโน ภวํ โหติ ผู้รู้ดี คือผู้เจริญ
- คติพจน์ของโรงเรียนวิชาการเก่ง เคร่งวินัย ใฝ่คุณธรรม เป็นผู้นำสังคม
- เอกลักษณ์ของโรงเรียนคุณธรรม นำความรู้ คู่หนังประโมทัย[3]
ต้นไม้ประจำโรงเรียน
แก้ต้นไม้ประจำโรงเรียน คือ ต้นหว้า
ทำเนียบผู้บริหาร
แก้ลำดับ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ตำแหน่ง |
1 | นายสุรศักดิ์ ศิริ | พ.ศ. 2538 | พ.ศ. 2543 | ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ |
2 | นายสุรเชษฐ์ ช่างถม | 9 ก.พ. 2544 | 9 ก.พ. 2549 | ผู้อำนวยการ |
3 | นายทรงรัตน์ ธนมาลาพงศ์ | 17 ก.พ. 2549 | 21 ส.ค. 2556 | ผู้อำนวยการ |
4 | ดร.นิพนธ์ ยศดา | 22 ส.ค. 2556 | 3 ธ.ค. 2558 | ผู้อำนวยการ |
5 | ดร.ประสิทธิ์ ชาญศิริ | 14 ธ.ค. 2558 | 10 ธันวาคม 2561 | ผู้อำนวยการ |
6 | ดร.เอกลักษณ์ บุญท้าว | 10 ธันวาคม 2561 | 8 ตุลาคม 2563 | ผู้อำนวยการ |
7 | นายเฉลิมชัย สืบสุนทร | 22 มกราคม 2564 | 30 กันยายน 2566 | ผู้อำนวยการ |
8 | นายโชคชัย แสงสว่าง | 1 ตุลาคม 2566 | ปัจจุบัน | ผู้อำนวยการ |
อาคาร สถานที่
แก้โรงเรียนดงบังพิสัยนวการนุสรณ์ตั้งอยู่ ณ ดินดอนป่ายางสาธารณประโยชน์เนื้อที่ 41 ไร่ 1 งาน 38 ตารางวา ภายในประกอบด้วยอาคารเรียนถาวร 4 หลัง หอประชุม และสนามฟุตบอล[4]
การจัดการศึกษา
แก้หลักสูตร
แก้โรงเรียนดงบังพิสัยนวการนุสรณ์เปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ช่วงชั้นที่ 3-4) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการศึกษาแห่งชาติ ปัจจุบัน องค์กรหลักของสถานศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ รวม 8 กลุ่ม คือ
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
- กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
- กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
- กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
แผนการเรียน
แก้- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |