โรคแคงเกอร์

ชื่อของโรคพืช

โรคแคงเกอร์ในพืช, โรคแอนแทรคโนส, โรคจุดดำ หรือ โรคเน่าในพืช (อังกฤษ: canker, anthracnose หรือ black spot) เป็นโรคพืชที่พบเห็นเป็นจุดหรือหย่อมขนาดเล็กของเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ซึ่งจะขยายตัวอย่างช้า ๆ เกิดบ่อยครั้งและอาจกินเวลาหลายปี โรคแคงเกอร์บางชนิดมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่บางชนิดเป็นอันตรายร้ายแรงอย่างยิ่งแก่พืชให้ยืนต้นตาย ซึ่งอาจมีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจต่อการเกษตรพืชสวน สาเหตุของโรคอาจเกิดได้จากจุลินทรีย์ (เชื้อก่อโรคในพืช) หลายประเภท ได้แก่ เชื้อรา แบคทีเรีย มัยโคพลาสมา และไวรัส ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้ส่วนใหญ่มีลักษณะทำให้เกิดโรคกับพืชชนิดหรือสกุลที่เฉพาะเจาะจง เช่น โรคแคงเกอร์ในพืชวงศ์ส้ม (citrus canker) แต่มีน้อยชนิดที่โจมตีพืชชนิดหรือสกุลอื่น สภาพอากาศและสัตว์สามารถช่วยหรือเป็นพาหะการแพร่ระบาดได้ แต่ทั้งนี้เป็นอันตรายต่อพืชให้แพร่ระบาดในพื้นที่เพียงเล็กน้อย

โรคแคงเกอร์ในบัตเตอร์นัต (butternut canker) เป็นโรคร้ายแรงของต้นบัตเตอร์นัต ซึ่งไม่มีวิธีรักษา

เชื้อก่อโรคแคงเกอร์ในไม้ต้นที่เข้าทำลายเนื้อเยื่อบริเวณลำต้นและกิ่ง มักเข้าทางปากแผลและโดยเฉพาะในช่วงที่พืชอ่อนแอในฤดูหนาวหรือมีความเครียดจากบาดแผลขนาดใหญ่ ค่อย ๆ เติบโตคล้ายเป็นปมไม้ แต่มีสีคล้ำกว่าเปลือกโดยปกติ

แม้ว่าสารฆ่าเชื้อราหรือสารฆ่าเชื้อแบคทีเรียสามารถรักษาโรคแคงเกอร์บางชนิดได้ แต่โดยทั่วไปที่วิธีที่ง่ายและได้ผลคือการทำลายต้นพืชที่ติดเชื้อเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค

ลักษณะอาการ แก้

อาการของโรคแคงเกอร์หรือโรคแอนแทรคโนส ที่ผลเริ่มจากจุดแผลแห้งเล็ก ๆ สีน้ําตาลแล้วค่อย ๆ เข้มขึ้นขยายออกเป็นวงกลมหรือวงรีซ้อนกันเป็นชั้น ๆ อาการของโรคจะเห็นชัดเจนในระยะที่ผลเริ่มสุกเมื่อมีความชื้นสูง จะพบการสร้างกลุ่มของสปอร์สีส้มหรือสีชมพู มีหยดเหลวข้นบริเวณแผลโรคแอนแทรคโนสที่เกิดบนใบ ถ้าเกิดกับใบอ่อนทําให้ใบหงิกงออาการเริ่มจากจุดสีเทาและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เข้มอยู่กระจัดกระจาย เนื้อเยื่อกลางแผลบางและฉีกขาดเป็นรู นอกจากนี้โรคแอนแทรคโนสยังสามารถเข้าทําลายกิ่ง ทําให้เกิดอาการไหม้[1]

ตัวอย่างชนิด แก้

 
โรคแคงเกอร์ในพืช (ขวา) เกิดจากการบาดเจ็บของเปลือกไม้ซึ่งทำให้เชื้อก่อโรคหรือแมลงเข้าไปติดต้นได้ เปรียบเทียบต้นไม้ที่แข็งแรงและส่วน (ซ้าย)ภาพเล็ก เปรียบเทียบภาพตัดเนื้อไม้แข็งแรง และต้นไม้ที่ติดเชื้อและมีโรคแคงเกอร์ ตามลำดับ
  • โรคแคงเกอร์ในแอปเปิล — เกิดจากรา Neonectria galligena
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลจันทร์ทอง หรือ โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลแอช — ปัจจุบันเข้าใจว่าเกิดจากแบคทีเรีย Pseudomonas savastanoi มากกว่าที่จะเป็นแบคทีเรีย Pseudomonas syringae ซึ่งเป็นชนิดใหม่จากการศึกษา DNA[2]
  • โรคแคงเกอร์ในบัตเตอร์นัต — เกิดจากรา Sirococcus clavigignenti-juglandacearum
  • โรคแคงเกอร์ในเกาลัดม้า (พืชสกุลเดียวกับมะเนียงน้ำ) — เกิดจากแบคทีเรีย Pseudomonas syringae pv. aesculi มีอาการยางแดงไหลคล้ายเลือดออก (bleeding canker)
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลส้ม — เกิดจากแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลสนไซเพรส (ได้แก่ สนดินสอ) — เกิดจากรา Seiridium cardinale
  • โรคแคงเกอร์ฟองขาวในพืชสกุลก่อ (โอ๊ก) — เกิดจากรา Geosmithia putterillii มีอาการยางสีขาวไหลออกและเป็นฟอง[3]
  • โรคแอนแทรคโนสในด็อกวูด Dogwood anthracnose— เกิดจากรา Discula destructiva
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลองุ่น — เกิดจากรา Eutypa lata ในประเทศไทยมักพบเกิดขึ้นบนผลองุ่น และเรียกโรคผลเน่านี้ว่า "โรคอีบุบ หรือ โรคลุกบุบ"[4]
  • โรคแคงเกอร์ในฮันนีโลคัส — เกิดจากรา Thyronectria austro-americana
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลสนลาร์ช — เกิดจากรา Lachnellula willkommii
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลหม่อน — เกิดจากรา Gibberella baccata
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลก่อ (โอ๊ก) — เกิดจากรา Diplodia quercina
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลสน — เกิดจากรา Fusarium circinatum
  • โรคแอนแทรคโนสในพืชสกุลเพลทเทนุส — เกิดจากรา Apiognomonia veneta
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลป็อปลาร์ — เกิดจากแบคทีเรีย Xanthomonas populi
  • โรคแคงเกอร์ในผักกาดก้านขาว — เกิดจากราดำ Leptosphaeria maculans
  • โรคแคงเกอร์ในพืชสกุลกุหลาบ — เกิดจากรา Leptosphaeria coniothyrium และ Cryptosporella umbrina
  • โรคแคงเกอร์สคลีโรเดอริสในพืชประเภทสน — เกิดจากรา Gremmeniella abietina
  • โรคแคงเกอร์ตะวันตกเฉียงใต้ — เกิดจากสภาพอากาศ (อากาศเย็นและแสงแดด)[5]
  • โรคแอนแทรคโนสในมะเขือเทศ — เกิดจากรา Colletotrichum coccodes
  • โรคแอนแทรคโนสในพืชสกุลหลิว — เกิดจากรา Marssonina salicicola

การจัดการควบคุม แก้

ไม่มีการรักษาทางเคมีที่มีประสิทธิภาพสำหรับต้นไม้ที่ติดเชื้อโรคแคงเกอร์ อย่างไรก็ตามการตัดกิ่งที่ติดเชื้อออก โดยตัดให้ต่ำกว่าแผลเปื่อย 1 นิ้ว หลังจากการตัดแต่ละครั้ง ให้ฆ่าเชื้อเครื่องมือตัดแต่งกิ่งโดยการแช่น้ำยาฟอกขาว (คลอรีน) หนึ่งส่วนต่อน้ำ 9 ส่วน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายการติดเชื้อไปยังส่วนที่แข็งแรงของต้นไม้ การตัดแต่งกิ่งกิ่งที่ติดเชื้ออาจยืดอายุต้นไม้ได้ แต่ไม่อาจหยุดการติดเชื้อได้ และอาจเป็นการเพิ่มความเครียดให้ต้นไม้นั้น การกำจัดต้นพืชที่มีอาการรุนแรงทิ้ง เช่น ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ยืนต้นตาย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของการติดเชื้อไปยังต้นไม้ที่แข็งแรงรอบข้าง ต้นไม้ที่ไม่ได้รับความเครียดจากความแห้งแล้ง แมลงศัตรูพืช หรือการขาดสารอาหารมักจะมีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่า[6][7]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "โรคแอนแทรคโนส". www.allkaset.com.
  2. Gardan, L.; Shafik, H.; Belouin, S.; Broch, R.; Grimont, F.; Grimont, P. A. D. (1999-04-01). "DNA relatedness among the pathovars of Pseudomonas syringae and description of Pseudomonas tremae sp. nov. and Pseudomonas cannabina sp. nov. (ex Sutic and Dowson 1959)". International Journal of Systematic and Evolutionary Microbiology (ภาษาอังกฤษ). 49 (2): 469–478. doi:10.1099/00207713-49-2-469. ISSN 1466-5026.
  3. "Foamy Bark Canker: A New Disease on Coast Live Oak". ANR Blogs (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  4. "โรคขององุ่น : การปลูกองุ่น". www.baanjomyut.com.
  5. Southwest Canker
  6. Damon L. Smith, Jennifer Olson. Seiridium canker of Junipers and Cypress. Oklahoma State University, Plant Disease and Insect Advisory, Vol. 7, No. 26. July 15, 2008.
  7. Jennifer Olson. Biscongiauxia (Hypoxylon) Dieback and Canker of Pecan. Oklahoma State University, Jul 8, 2013.