รา
รา หรือ เชื้อรา เป็นสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรเห็ดราซึ่งโตในรูปของใยหลายเซลล์ที่เรียกว่า ไฮฟา[1][2] ในทางตรงกันข้าม ราที่สามารถเติบโตในรูปแบบของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจะเรียกว่า ยีสต์
รามีความหลากหลายทางชีวภาพมาก ซึ่งการเติบโตของไฮฟา ทำให้เกิดรูปร่างที่ผิดแปลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนอาหาร[3] รามีโครโมโซมเพียงชุดเดียว (haploid) มีผนังเซลล์ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไคติน (chitin) ไม่มีคลอโรฟิลล์ ดำรงชีพแบบ saprophyte คือ หลั่งเอนไซม์ออกนอกเซลล์ เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และซับซ้อนให้ได้เป็นโมเลกุลที่เล็กที่สุดแล้วจึงดูดซับเข้าไปภายในเซลล์
ราถูกจัดให้เป็นจุลินทรีย์ และไม่ถูกจำแนกออกไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง แต่สามารถพบได้ในส่วนไซโกไมโคตาและอาสโกไมโคตา ในอดีต ราถูกจัดให้อยู่ภายในกลุ่มดิวเทอโรไมโคตา[4] ็
ราอยู่ในอาณาจักรเห็ดรา (Fungi kingdom) ซึ่งมีมากกว่า 100,000 ชนิด รวมถึงราที่ทำให้เกิดโรคราน้ำค้าง, เห็ดชนิดต่าง ๆ, ราที่ทำให้เกิดโรคราสนิมในพืช, และยีสต์. มีเชื้อราเพียง 100 ชนิดเท่านั้นที่ทราบกันว่าเป็นสาเหตุของโรคที่เกิดกับคนและสัตว์. ส่วนราอื่น ๆ อีกหลายชนิดมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อาหาร นั่นคือทำหน้าที่ย่อยสลายสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วและโดยวิธีนั้นสารประกอบที่จำเป็นจึงถูกนำกลับมาให้พืชใช้ได้อีก. นอกจากนี้ รากับพืชยังมีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกัน โดยช่วยพืชดูดซึมสารอาหารจากดิน. และราบางชนิดเป็นปรสิต.
จุดเริ่มต้นวงจรชีวิตของราเกิดจากสปอร์หนึ่งสปอร์ที่เล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ปลิวล่องลอยไปกับสายลม. ถ้าสปอร์ตกลงบนแหล่งอาหารที่เหมาะสมรวมทั้งมีองค์ประกอบอื่น ๆ ด้วย เช่น มีอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ สปอร์จะงอกเป็นเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายซึ่งเรียกว่า ใยรา (hyphae). ใยราจะรวมกลุ่มกันเป็นก้อนฟู ๆ ที่เรียกว่ากลุ่มใยรา (mycelium) ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า. ราอาจมีลักษณะคล้ายคราบสกปรกหรือรอยเปื้อน เช่น ราที่ขึ้นตามปูนยาแนวกระเบื้องในห้องน้ำ.
ราขยายพันธุ์เก่งมาก. ราธรรมดา ๆ ที่ขึ้นบนขนมปังไรโซปัส สโตโลนิเฟอร์ (Rhizopus stolonifer) มีลักษณะเป็นจุดสีดำเล็ก ๆ ซึ่งก็คืออับสปอร์. จุดสีดำแค่หนึ่งจุดมีสปอร์มากกว่า 50,000 สปอร์ แต่ละสปอร์สามารถสร้างสปอร์ใหม่ได้หลายร้อยล้านสปอร์ภายในเวลาไม่กี่วัน! ถ้ามีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ก็ง่ายมากที่ราจะขึ้นบนหนังสือ, รองเท้าบูต, หรือกระดาษบุผนังเหมือนกับที่มันขึ้นบนขอนไม้ในป่า.
รา “กิน” อาหารอย่างไร? ไม่เหมือนสัตว์และมนุษย์ซึ่งจะกินก่อนแล้วค่อยดูดซึมสารอาหารโดยอาศัยระบบย่อยอาหาร แต่รามักจะใช้วิธีกลับกัน. เมื่อโมเลกุลของสิ่งมีชีวิตมีขนาดใหญ่หรือซับซ้อนเกินกว่าจะกินเข้าไปได้ ราจะค่อย ๆ ปล่อยน้ำย่อยออกมาเพื่อย่อยโมเลกุลให้มีขนาดเล็กลงแล้วก็ดูดซึมสารอาหารเข้าไป. นอกจากนั้น เนื่องจากราไม่สามารถออกหาอาหารเองได้ มันจึงต้องอาศัยอยู่ในอาหาร.
ราสามารถผลิตสารพิษเรียกว่า สารพิษจากรา (mycotoxin) ซึ่งอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์. สารพิษดังกล่าวอาจมีผลต่อเราหากหายใจเข้าไป, กลืน, หรือสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง. แต่ราก็ไม่ได้เป็นอันตรายเสมอไป เพราะราบางชนิดมีประโยชน์มาก.
อ้างอิง
แก้- ↑ Moore D; Robson GD; Trinci APJ (editors). (2011). 21st Century Guidebook to Fungi (1st ed.). Cambridge University Press. ISBN 978-0521186957.
{{cite book}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Madigan M; Martinko J (editors). (2005). Brock Biology of Microorganisms (11th ed.). Prentice Hall. ISBN 0-13-144329-1. OCLC 57001814.
{{cite book}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Morgan, Mike. "Moulds". Microscopy UK. สืบค้นเมื่อ 26 June 2012.
- ↑ Hibbett DS, Binder M, Bischoff JF, Blackwell M, Cannon PF, Eriksson OE, และคณะ (2007). "A higher level phylogenetic classification of the Fungi" (PDF). Mycological Research. 111 (5): 509–547. doi:10.1016/j.mycres.2007.03.004. PMID 17572334. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-26. สืบค้นเมื่อ 2016-12-02.