โรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน

โรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน หรือ โรคกล้ามเนื้อลีบดูเชน[5] หรือ โรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยนแบบดูชีนน์[6] (อังกฤษ: Duchenne muscular dystrophy, DMD) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้มีกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยน ถ่ายทอดทางโครโมโซม X แบบลักษณะด้อย (X-linked recessive) มีลักษณะเฉพาะคือมีการเจริญผิดเพี้ยนของกล้ามเนื้อทำให้มีกล้ามเนื้อลีบ อ่อนแรง เคลื่อนไหวลำบาก และเสียชีวิตได้ มีจำนวนผู้ป่วย 1 คน ต่อประชากรชาย 3,500 คน ถือเป็นโรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยนที่พบบ่อยที่สุด ส่วนใหญ่พบผู้ป่วยเป็นเพศชายเท่านั้น โดยผู้หญิงมักพบเป็นพาหะของโรค โรคนี้เกิดจากการมีการกลายพันธุ์ในยีนดิสโทรฟิน (dystrophin gene) ซึ่งอยู่บนโครโมโซมเอ็กซ์ (Xp21) ยีนดิสโทรฟินนี้จะถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีนดิสโทรฟิน ซึ่งเป็นโปรตีนโครงสร้างที่สำคัญของกล้ามเนื้อ โดยเป็นส่วนหนึ่งของดิสโตรไกลแคน คอมเพลกซ์ (dystroglycan complex, DGC) ซึ่งอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์

โรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน
(Duchenn muscular dystrophy)
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์แสดงให้เห็นกล้ามเนื้อน่องของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยนแบบดูชีนน์ แสดงให้เห็นภาพตัดขวางของเซลล์กล้ามเนื้อที่ถูกแทนที่ด้วยเซลล์ไขมันและเนื้อเยื่อพังผืด
สาขาวิชาMedical genetics, pediatrics
อาการMuscle weakness, trouble standing up, scoliosis[1][2]
การตั้งต้นAround age 4[1]
สาเหตุGenetic (X-linked recessive)[2]
วิธีวินิจฉัยGenetic testing[2]
การรักษาPhysical therapy, braces, surgery, assisted ventilation[1][2]
พยากรณ์โรคAverage life expectancy 26[3]
ความชุกIn males, 1 in 3,500-6,000;[2] in females, 1 in 50,000,000 [4]

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการที่อายุ 3-4 ปี บางครั้งอาจพบได้ในตั้งแต่ยังเป็นทารก อาการเริ่มแรกจะพบมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อสะโพกและขาส่วนต้น (proximal muscle weakness) และมีการลีบของกล้ามเนื้อให้เห็น ต่อมาจะเริ่มมีอาการอ่อนแรงที่แขน คอ และกล้ามเนื้อบริเวณอื่น อาจพบอาการแสดงในระยะเริ่มแรกเป็นการเจริญเกินเทียม (pseudohypertrophy) ซึ่งจะเห็นเหมือนมีน่องโตและกล้ามเนื้อไหล่ใหญ่กว่าปกติ อ่อนเพลียง่าย ยืนลำบากต้องใช้มือยัน เดินล้มบ่อย เดินเขย่ง ขึ้นบันไดลำบาก เป็นต้น[5] เมื่ออาการเป็นมากขึ้นจะมีการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อเกิดเป็นเนื้อเยื่อพังผืด (fibrosis) ขึ้นทดแทน เมื่ออายุถึง 10 ปี ผู้ป่วยอาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน จนถึงอายุ 12 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องใช้เก้าอี้รถเข็น อาการในระยะต่อมาคืออาจมีการเจริญเติบโตผิดปกติของกระดูกทำให้มีกระดูกผิดรูป รวมถึงโค้งกระดูกสันหลังด้วย การสูญเสียกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่องนี้ในที่สุดจะทำให้มีอาการอ่อนแรงทั้งตัวคล้ายเป็นอัมพาต สติปัญญามักไม่ต่างจากคนปกติ อายุขัยโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคนี้มักอยู่ในช่วงประมาณ 18-25 ปี

โรคนี้ยังไม่มีวิธีรักษาให้หาย[1] อาการต่างๆ ของผู้ป่วยอาจดีขึ้นได้บ้างด้วยการทำกายภาพบำบัด การใช้กายอุปกรณ์ และการผ่าตัด[1] ในผู้ที่มีกล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรงอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ[2] บางอาการอาจดีขึ้นด้วยยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ช่วยชะลอการเสื่อมของกล้ามเนื้อ ยากันชักช่วยควบคุมอาการชักและอาการเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อ และยากดภูมิคุ้มกันช่วยชะลอการถูกทำลายของเซลล์กล้ามเนื้อที่ตาย[1] เป็นต้น

อาการ แก้

แม่แบบ:More medical citations needed

โรค DMD ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแบบก้าวกระโดด อันเนื่องจากการทลายความเป็นระเบียบของเส้นใยกล้ามเนื้อ, การตายและการแทนที่เนื้อเยื่อเกี่ยวพันหรือไขมัน[2] ส่วนอาการอ่อนเพลียนั้นพบได้ทั้วไปในผู้ป่วย[7]

อาการต่าง ๆ มักแสดงออกก่อนอายุครบห้าปี และอาจสามารถพบได้นับตั้งแต่ขณะที่เด็กชายเริ่มก้าวเท้าก้าวแรกของเขา[8] พบความผิดปกติโดยทั่วไปในความสามารถในการเคลื่อนไหวซึ่งนำไปสู่การเดินที่ผิดเพี้ยนจากคนปกติ[9] They tend to walk on their toes,[9] บางส่วนเกิดจากการสั้นลงของ Achilles tendon[10] การหกล้มสามารถพบได้บ่อยครั้ง[11] การเดินของผู้ป่วยจะยากลำบากขึ้นเรื่อย ๆ ความสามารถในการเดินจะสูญสลายไปทั้งหมด โดยทั่วไปแล้วภายในอายุ 13 ปี[9] ผู้ชายส่วนใหญ่ที่ป่วยด้วย DMD จะมีอาการ "เป็นอัมพาตตั้งแต่คอลงมา" ภายในอายุ 21 ปี[8] โรคกล้ามเนื้อหัวใจโดยเฉพาะ กล้ามเนื้อหัวใจโตนั้นพบได้ทั่วไป พบได้ในผู้ป่วยอายุ 18 เกือบครึ่งหนึ่ง[9] อาการหัวใจวายจากเลือดคั่ง หรือ หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะนั้นอาจพบได้บ้างแม่แบบ:Medical citation needed ในระยะท้าย ๆ ของโรค ความผิดปกติในการหายใจและการกลืนอาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจนำไปสู่ปอดบวม[12]

 
อาการกอเวอส์ (Gowers' sign)

อาการเอกลักษณ์พื้นฐานของโรค DMD คือการพบปัญหาในการยืนขึ้นจากท่านั่งหรือนอน[11] และแสดงออกให้เห็นเป็น อาการกอเวอส์ (Gowers’ sign) ที่ให้ผลเป็นบวก เมื่อผู้ป่วยเด็กกำลังพยายามเพื่อลุกขึ้นจากท่านอนคว่ำบนท้อง เขาจะทดแทนความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเชิงกรานด้วยการใช้กล้ามเนื้อปลายแขนแทน[9] เริ่มแรกจากการยืนขึ้นโดยใช้แขนและเข่า จากนั้นจึง ใช้มือในการ "เดิน" นำขาเพื่อยืนขึ้นตรง อีกอาการเฉพาะของ DMD คืออาการซูโดไฮเปอร์ทรอฟี (pseudohypertrophy; การโต) ของกล้ามเนื้อลิ้น คาล์ฟ และไหล่ (ในอายุ 4 หรือ 5ปี)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "NINDS Muscular Dystrophy Information Page". NINDS. March 4, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 July 2016. สืบค้นเมื่อ 12 September 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 "Muscular Dystrophy: Hope Through Research". NINDS. March 4, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2016. สืบค้นเมื่อ 12 September 2016.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Lis2011
  4. Nozoe KT, Akamine RT, Mazzotti DR, Polesel DN, Grossklauss LF, Tufik S (2016). "Phenotypic contrasts of Duchenne Muscular Dystrophy in women: Two case reports". Sleep Sci. 9 (3): 129–133. doi:10.1016/j.slsci.2016.07.004. PMC 5241604. PMID 28123647.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 โรคกล้ามเนื้อลีบดูเชน เก็บถาวร 2011-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หน่วยเวชพันธุศาสตร์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
  6. http://www.thcc.or.th/ebook1/2016/mobile/index.html#p=270
  7. Angelini C, Tasca E (December 2012). "Fatigue in muscular dystrophies". Neuromuscular Disorders : NMD. 22 Suppl 3: S214-20. doi:10.1016/j.nmd.2012.10.010. PMC 3526799. PMID 23182642.
  8. 8.0 8.1 Rowland, L.P. (1985). "Clinical Perspective: Phenotypic Expression In Muscular Dystrophy". ใน Strohman, C.; Wolf, S. (บ.ก.). Gene Expression in Muscle. Advances in Experimental Medicine and Biology. Plenum Press. pp. 3–5. ISBN 978-1-4684-4907-5.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 Darras BT, Urion DK, Ghosh PS, Adam MP, Ardinger HH, Pagon RA, และคณะ (2018). "Dystrophinopathies". PMID 20301298. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  10. Emery AE, Muntoni F, Quinlivan RC (2015). Duchenne Muscular Dystrophy (Fourth ed.). OUP Oxford. ISBN 978-0-19968148-8. สืบค้นเมื่อ 27 May 2020.
  11. 11.0 11.1 "Muscular dystrophy - Symptoms and causes". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-06. สืบค้นเมื่อ 2015-02-06.
  12. MedlinePlus Encyclopedia Duchenne muscular dystrophy

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก