การตรวจพันธุกรรม

(เปลี่ยนทางจาก Genetic testing)

การตรวจพันธุกรรมเป็นการตรวจที่ทำเพื่อหาการเปลี่ยนแปลงในลำดับดีเอ็นเอหรือโครงสร้างของโครโมโซม อาจรวมไปถึงการตรวจสิ่งที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของรหัสพันธุกรรม เช่น การตรวจวิเคราะห์อาร์เอ็นเอ ซึ่งเป็นผลผลิตของการแสดงออกของยีน หรือการตรวจวิเคราะห์ทางชีวเคมีเพื่อวัดปริมาณของโปรตีนผลลัพธ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง[1] ในทางการแพทย์นั้นการตรวจพันธุกรรมสามารถใช้วินิจฉัยหรือวินิจฉัยแยกโรคทางพันธุกรรมที่สงสัยได้ ใช้ทำนายความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือภาวะบางอย่างได้ และใช้ตรวจเพื่อนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจเลือกแนวทางการรักษาโรคในกลุ่มบุคคลที่มีลักษณะทางพันธุกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งได้[1] นอกจากทางการแพทย์แล้วการตรวจพันธุกรรมยังสามารถนำไปใช้ในการตรวจความเป็นเครือญาติ เช่น ตรวจพิสูจน์ความเป็นพ่อลูก[2] หรือตรวจเพื่อนำไปเปรียบเทียบฐานข้อมูลเพื่อวิเคราะห์เชื้อสายบรรพบุรุษของผู้รับการตรวจก็ได้[3] การตรวจพันธุกรรมในพืชและสัตว์ก็อาจมีประโยชน์ในลักษณะเดียวกันกับการตรวจในมนุษย์ (เช่น การตรวจความเป็นเครือญาติ หาบรรพบุรุษ วินิจฉัยหรือทำนายโรคทางพันธุกรรม เป็นต้น)[4] เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการคัดเลือกพันธุ์[5] หรือเพื่อประกอบการเพิ่มความหลากหลายทางพันธุกรรมในกลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์[6] เป็นต้น

เจ้าหน้าที่กำลังดูผลตรวจดีเอ็นเอโปรไฟล์เพื่อประกอบการหาที่มาของสัตว์ที่ผ่านศุลกากร

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Genetic testing". American Medical Association (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-10-03.
  2. "Paternity Testing". American Pregnancy Association (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2012-04-25. สืบค้นเมื่อ 2019-10-03.
  3. Resnick, Brian (2019-01-28). "The limits of ancestry DNA tests, explained". Vox (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-10-03.
  4. "UC Davis Veterinary Genetics Laboratory | Animal DNA testing | forensic testing | animal genetic research and diagnostics". www.vgl.ucdavis.edu. สืบค้นเมื่อ 2019-10-03.
  5. "Selective breeding and gene technology". www.bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2019-10-14.
  6. Hunter, Margaret E.; Hoban, Sean M.; Bruford, Michael W.; Segelbacher, Gernot; Bernatchez, Louis (2018-07-17). "Next‐generation conservation genetics and biodiversity monitoring". Evolutionary Applications. 11 (7): 1029–1034. doi:10.1111/eva.12661. ISSN 1752-4571. PMC 6050179. PMID 30026795.