โพนคร (Po Nagar) เป็นหอเทวาลัยของชาวจาม ที่สร้างขึ้นในช่วงก่อน ค.ศ. 781 และตั้งอยู่ในจังหวัดในยุคกลาง Kauthara ใกล้กับญาจาง ประเทศเวียดนาม ในปัจจุบัน สร้างขึ้นเพื่อบูชา ยานโพนคร (Yan Po Nagar) ซึ่งเป็นเทพธิดาแห่งแผ่นดินผู้ซึ่งได้รับการระบุชื่อร่วมกับเทพีของฮินดู ภควตี และ มหิษาสุรมรรทินี และผู้ที่ซึ่งในภาษาเวียดนามเรียกว่า Thiên Y Thánh Mẫu

โพนคร
เทวาลัยโพนคร
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
จังหวัดจังหวัดคั้ญฮหว่า
เทพยานโพนคร
ที่ตั้ง
ที่ตั้งญาจาง
ประเทศประเทศเวียดนาม
โพนครตั้งอยู่ในเวียดนาม
โพนคร
ที่ตั้งในเวียดนาม
พิกัดภูมิศาสตร์12°15′55″N 109°11′44″E / 12.26528°N 109.19556°E / 12.26528; 109.19556พิกัดภูมิศาสตร์: 12°15′55″N 109°11′44″E / 12.26528°N 109.19556°E / 12.26528; 109.19556
สถาปัตยกรรม
ประเภทจามปา
เสร็จสมบูรณ์กลางศตวรรษที่ 10-13[1]

ประวัติศาสตร์ แก้

จารึกจากปี 781 ระบุว่ากษัตริย์แห่งจาม พระเจ้าสัตยวรมัน (Satyavarman) ทรงฟื้นคืนพระราชอำนาจในบริเวณ "Ha-Ra Bridge" และพระองค์ได้บูรณะวิหารที่ถูกทำลาย จากคำจารึกนี้สามารถอนุมานได้ว่าพื้นที่ก่อนหน้านี้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของต่างชาติอยู่ชั่วคราวและพวกเขาได้ทำลายวิหารที่มีอยู่เดิม จารึกอื่น ๆ ระบุว่าภายในมนเทียรมี มุขลึงค์ประดับด้วยเครื่องประดับและมีลักษณะคล้ายกับศีรษะของเทวดา โจรต่างชาติที่ซึ่งอาจมาจาก ชวา "ผู้ที่หากินกับอาหารน่ากลัวกว่าซากศพน่ากลัว, ผิวตัวดำสนิทและผอมแห้งน่ากลัว และยังชั่วร้ายเหมือนความตาย" มาถึงทางเรือและได้ขโมยเครื่องประดับและหักลึงค์ไป[2]: 91  แม้ว่าพระกษัตริย์จะทรงขับไล่พวกโจรกลับออกไปทางทะเล แต่สมบัติก็ได้สูญหายไปตลอดกาล จารึกยังระบุด้วยว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงฟื้นฟูศิวลึงค์ขึ้นใหม่ในปี 784[3] [4] [2]: 48 

เสนาปตีปร (Senapati Par) ผู้นำทหารจามภายใต้รัชสมัยของพระเจ้าหริวรมันที่ 1 (Harivarman I) ได้บริจาคเงินเพื่อก่อสร้างในปี ค. ศ. 817 เสนาปตีได้โจมตีชาวเขมรในพระราชปกครองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ต่อมาพระเจ้าหรอวรมันที่ 1 ได้รับการสืบทอดตำแหน่งโดยพระราชโอรสพระเจ้าวิกรนตวรมันที่สาม (Vikrantavarman III) ซึ่งก็เป็นผู้บริจาคทรัพย์ช่วยสร้างเช่นกัน[2]: 104 

จารึกจากปี 918 ของกษัตริย์จาม พระจเลลเจ้าอินทรวรมันที่ 3 ระบุพระราชโองการให้สร้างเทวรูปทองคำถวายแด่เทพีภควตี ภายหลังจารึกมีรายงานว่ารูปปั้นทองคำเดิมถูกขโมยไปโดยพระเจ้าราเชนทรวรมันที่สอง (Rajendravarman II) กษัตริย์เขมร ในปี 950[2]: 124  และในปี 965 กษัตริย์ชัยอินทรวรมันที่หนึ่ง (Jaya Indravarman I) ได้แทนที่รูปปั้นที่หายไปด้วยเทวรูปหินองค์ใหม่[2]: 124  [4]: 56  จารึกจากปี 1050 ระบุว่ามีการถวายที่ดิน ทาส เครื่องประดับและโลหะมีค่าแก่เทวรูปโดยพระเจ้าชยปรเมศวรวรมันที่หนึ่ง (Jaya Parameshvaravarman I) [2]: 61  และได้มี Paramabhodisdess ผู้สร้าง "เครื่องบูชาอันมั่งคั่ง" ในปี 1084 หลังจากกลับมารวมประเทศอีกครั้ง[2]: 73  พระเจ้าชัยอินทรวรมันที่สามได้ทรงถวายศิวลึงค์ และ ศรีศนวิษณุ (Shrishana Vishnu) ให้แก่เทวาลัยในปี 1141 และอีกครั้งในปี 1143[2]: 75  ในปี 1160 พระเจ้าชัยหริวรมันที่หนึ่ง (Jaya Harivarman I) ได้ "มอบของขวัญมากมาย"[2]: 77  ข้อความในจารึกระบุว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่ง อาณาจักรขอม "ยึดเมืองหลวงของจามปาและยึดศิวลึงค์ทั้งหมด"[2]: 170  จารึกในเวลาต่อมาบ่งบอกถึงการเฉลิมฉลองของลัทธิเพื่อเป็นเกียรติแก่เทพธิดา Yan Po Nagar ตลอดจนการปรากฏตัวของรูปปั้นที่อุทิศให้กับเทพเจ้าหลักของ ศาสนาฮินดู และ พุทธศาสนา[5]

ในศตวรรษที่ 17 ชาว เวียดได้ เข้ายึดครองจามปาและเข้ายึดหอเทวาลัยที่เรียกว่าหอคอย Thiên Y Thánh Mâu [6] ตำนานเวียดนามหลายเรื่องเกี่ยวกับเทพธิดาและหอเทวาลัยได้เกิดขึ้นตามมาต่อจากนั้น

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. estimates by Trần Kỳ Phương (Tran 2009, 182)
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
  3. Ngô Vǎn Doanh, Champa: Ancient Towers, p.192.
  4. 4.0 4.1 Maspero, G., 2002, The Champa Kingdom, Bangkok: White Lotus Co., Ltd., ISBN 9789747534993 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Maspero" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  5. Ngô Vǎn Doanh, Champa: Ancient Towers, p.192 f.
  6. Ngô Vǎn Doanh, Champa: Ancient Towers, p.198.

บรรณานุกรม แก้

  • Coedès, George, The Indianized States of Southeast Asia. Honolulu: East-West Center Press, 1968.
  • Ngô Vǎn Doanh, Champa: Ancient Towers. Hanoi: The Gioi Publishers, 2006. Chapter 14: "Po Nagar Tower: The Temple of the Goddess of the Country," pp. 187 ff.
  • Trần Kỳ Phương (2009): The Architecture of the Temple-Towers of Ancient Champa. in Hardy, Andrew et al. (ed): Champa and the Archaeology of Mỹ Sơn (Vietnam). NUS Press, Singapore