โฌแซ็ฟ ฟอร์ล็องซ์

โฌแซ็ฟ-นีกอลา-แบลซ ฟอร์ล็องซ์ (ฝรั่งเศส: Joseph-Nicolas-Blaise Forlenze) มีชื่อแรกเกิดคือ จูเซปเป นีโกเลาะ เลโอนาร์โด บีอาโจ ฟอร์เลนซา (อิตาลี: Giuseppe Nicolò Leonardo Biagio Forlenza, 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1757 – 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1833) เป็นทั้งจักษุแพทย์และศัลยแพทย์ชาวอิตาลี ที่ได้รับการถือว่าเป็นหนึ่งในจักษุแพทย์ที่สำคัญที่สุดระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 และคริสต์ศตวรรษที่ 19 เขาเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศฝรั่งเศสในยุคจักรวรรดินโปเลียนสำหรับการผ่าตัดต้อกระจก

โฌแซ็ฟ ฟอร์ล็องซ์
เกิด3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1757(1757-02-03)
ปีแชร์โน แคว้นบาซีลีคาตา
เสียชีวิต22 กรกฎาคม ค.ศ. 1833(1833-07-22) (76 ปี)
ปารีส อีล-เดอ-ฟร็องส์
สัญชาติอิตาลี
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาจักษุวิทยา
สถาบันที่ทำงานออแตลเดแซ็งวาลีด
ออแตล-ดีเยอ

ประวัติ แก้

ฟอร์ล็องซ์เป็นบุตรของเฟลีเชและวีตา ปากาโน เขาเกิดที่ปีแชร์โน (แคว้นบาซีลีคาตา) ในช่วงรัชสมัยแห่งราชอาณาจักรเนเปิลส์ จากครอบครัวแพทย์ เฟลีเชซึ่งเป็นบิดาของเขา, เซบัสตีอาโน และจูเซปเปซึ่งเป็นลุงของเขาต่างเป็นศัลยแพทย์ช่างตัดผมของตระกูลขุนนางกาเปเช มีนูโตโล จากรูโอตี หลังจากเข้าศึกษาหลักสูตรการสอนศาสนาโดยวิธีถาม-ตอบ ที่รูโอตี เขาได้ย้ายไปยังเนเปิลส์เพื่อศึกษาศัลยศาสตร์ และไปตั้งตัวต่อในประเทศฝรั่งเศสภายใต้การสอนของปีแยร์-โฌแซ็ฟ เดอโซ ซึ่งเขาได้กลายเป็นเพื่อนสนิทและเป็นผู้ทำงานร่วมกันในการศึกษาทางกายวิภาค

ต่อมา ฟอร์ล็องซ์เดินทางไปประเทศอังกฤษ ที่เขาพักอยู่เป็นเวลาสองปี โดยเก็บประสบการณ์ที่โรงพยาบาลเซนต์จอร์จในกรุงลอนดอน แล้วได้รับการกำกับโดยจอห์น ฮันเตอร์ เขายังได้เดินทางไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์และเยอรมนี ครั้นกลับสู่ประเทศฝรั่งเศส เขาก็ได้เริ่มอาชีพจักษุแพทย์ เขามีความแน่วแน่ในการรักษาโรคตาต่าง ๆ และใช้หน้ากากขี้ผึ้งเป็นตัวอย่างให้เห็น[1]

ใน ค.ศ. 1797 เขาฝึกการผ่าตัดตาที่บ้านพักคนชราในปารีส ต่อหน้าคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากสถาบัน เช่นเดียวกับสมาชิกหลายคนของรัฐบาล รวมถึงนักวิชาการฝรั่งเศสและต่างประเทศ ในปี ค.ศ. 1798 เขาได้เป็นศัลยแพทย์ที่ออแตลเดแซ็งวาลีด และออแตล-ดีเยอ ของปารีส ซึ่งเขาได้ทำการรักษาแบบอินเตอร์เวนชันที่น่าทึ่งจำนวนมาก

ฟอร์ล็องซ์ได้รักษาทหารของกองทัพของนโปเลียนที่กลับมาจากอียิปต์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากโรคทางตาที่รุนแรง เขารักษาบุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น ฌ็อง-เอเตียน-มารี ปอร์ตาลีส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนมัสการ และกวี ปองซ์ เดอนี เลอเบริง ได้รับการนำต้อกระจกที่มีอยู่เป็นเวลาสิบสองปีจากดวงตาข้างหนึ่งออก เลอเบริงจึงอุทิศต่อเขาในบทกวีชื่อเลคงเกสเดอโลมซูร์ลานาจูร์ (Les conquêtes de l’homme sur la nature)[2] จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีพระราชกฤษฎีกา แต่งตั้งให้เขาเป็น "ศัลยแพทย์ดวงตาแห่งลีเซ, บ้านพักรับร้องพลเรือน และสถาบันการกุศลทั้งหมดแห่งหน่วยงานต่าง ๆ ของจักรวรรดิ"[3] ดังนั้น ฟอร์ล็องซ์จึงได้รับการส่งไปยังจังหวัดฝรั่งเศสเพื่อรักษาโรคตา

การงานของเขาขยายไปถึงอังกฤษและอิตาลี ซึ่งเขาทำการผ่าตัดฟรีในเมืองต่าง ๆ เช่น ตูริน และโรม ในกรุงโรม เขารักษาพระคาร์ดินัล โดรีอา และได้รับเกียรติต่อสาธารณชนโดยคาโรลีน แห่งบูร์บง ดยุกแห่งแบร์รี ส่วนต้นฉบับของเขาอย่างข้อควรพิจารณาสำหรับการผ่าตัดของม่านตาเทียม (ค.ศ. 1805) ถือเป็นหนึ่งในงานทางการแพทย์ที่สำคัญที่สุดของยุคสมัย[4] ฟอร์ล็องซ์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1833 โดยเป็นโรคการตกเลือดในสมอง ที่ "กาเฟเดอฟอย" ในกรุงปารีส ซึ่งเขาใช้เวลาช่วงเย็นที่นั่นบ่อยครั้ง

ผลงาน แก้

  • กงซิเดราซิยงซูร์ลูเปราซิยงเดลาปูปิเยร์อาร์ติฟิซิแย็ล (Considérations sur l'opération de la pupille artificielle), ค.ศ. 1805
  • โนติซซูร์เลอเดเวโลเปมองเดอลาลูมีแยร์เอเดซองแซซิยงดองเลซาเวเกลอ-นี, อาลาซุยเดอลูเปราซิยงเดอลากาตาลาต์ (Notice sur le développement de la lumière et des sensations dans les aveugles-nés, à la suite de l'opération de la cataracte), ค.ศ. 1817

เกียรติประวัติ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Rabbe, Sainte-Preuve, Biographie universelle et portative des contemporains, Chez l'éditeur, 1836, p.1721
  2. O lyre, ne sois pas ingrate !
    Qu’un doux nom dans nos vers éclate
    Brillant comme l’astre des cieux !
    Je revois sa clarté première;
    Chante l’art qui rend la lumière;
    Forlenze a dévoilé mes yeux.
    Joseph Fr. Michaud, Louis Gabriel Michaud, Biographie universelle, ancienne et moderne, Michaud frères, 1838, p.263
  3. Jan Ellen Goldstein, Console and Classify. The French Psychiatric Profession in the Nineteenth Century, Chicago Press, 2002, p. 63
  4. Salvatore De Renzi, Storia della medicina Italiana, Volume 5, Filiatre-Sebezio, 1848, p.430
  5. Almanach royal pour l'an MDCCCXXX, Testu et cie, 1830, p.283

บรรณานุกรม แก้

  • Jan E. Goldstein, Console and Classify. The French Psychiatric Profession in the Nineteenth Century, Chicago Press, 2002
  • Rabbe, Sainte-Preuve, Biographie universelle et portative des contemporains, Chez l'éditeur, 1834
  • Marie-Nicolas Bouillet, Alexis Chassang, Dictionnaire universel d’histoire et de géographie, Hachette, 1878

แหล่งข้อมูลอื่น แก้