แม่น้ำแควน้อย (จังหวัดพิษณุโลก)

แม่น้ำแควน้อย เป็นแม่น้ำสายหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก มีต้นกำเนิดจากบริเวณภูหนอง ภูทอก และภูขัด[1] ซึ่งเป็นกลุ่มภูเขาในทิวเขาหลวงพระบางและทิวเขาเพชรบูรณ์ในเขตอำเภอนครไทย ไหลลงมาในแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านที่ราบหุบเขาแควน้อยซึ่งเป็นหุบเขาแคบ ๆ ทางตอนเหนือของอำเภอนครไทย จากนั้นไหลเป็นเส้นแบ่งเขตอำเภอนครไทยกับอำเภอชาติตระการ อำเภอชาติตระการกับอำเภอวังทอง และอำเภอวังทองกับอำเภอวัดโบสถ์ เข้าเขตอำเภอวัดโบสถ์และอำเภอพรหมพิราม เป็นเส้นแบ่งเขตอำเภอพรหมพิรามกับอำเภอเมืองพิษณุโลก เข้าเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก และไปออกแม่น้ำน่าน (แต่เดิมเรียกว่า "แม่น้ำแควใหญ่") ที่ปากโทก ระหว่างบ้านไผ่ค่อม ตำบลปากโทก กับบ้านจอมทอง ตำบลจอมทอง มีความยาวประมาณ 250 กิโลเมตร[1]

แม่น้ำแควน้อย
ที่ตั้ง
ประเทศ ไทย
จังหวัดพิษณุโลก
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำภูหนอง ภูทอก และภูขัด
 • ตำแหน่งตำบลน้ำกุ่ม อำเภอนครไทย
ปากน้ำปากโทก
 • ตำแหน่ง
ตำบลปากโทกและตำบลจอมทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก
 • พิกัด
16°53′57.9″N 100°13′49.2″E / 16.899417°N 100.230333°E / 16.899417; 100.230333
ความยาว250 กิโลเมตร (160 ไมล์)
ลุ่มน้ำ
ระบบแม่น้ำลุ่มน้ำน่าน
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายห้วยชุมพุก, ห้วยนาแซง, ห้วยหินช่อง, คลองน้ำตอน, ห้วยน้ำบง, คลองนางวัว, คลองน้ำเฟี้ย, ห้วยออมสิงห์, ลำคาน, ห้วยน้ำคุบ, ห้วยน้ำกว้าง, น้ำตาก, ห้วยตาดน้อย, ลำตานม, ห้วยหินขาว, ห้วยยาง, ห้วยวังลาด, คลองเฉลียง, คลองตากวย
 • ขวาน้ำคุ, น้ำกุ่ม, ห้วยพริกขิง, ห้วยแก่งคันนา, ห้วยทราย, คลองน้ำไซ, ห้วยมะคอม, คลองน้ำคลาด, คลองน้ำปอ, น้ำภาค, น้ำคลึง, ห้วยมะไฟ, ห้วยไผ่ดัก, ห้วยถ้ำพระ, ห้วยกุ่มใหญ่, ห้วยน้ำโจน, ห้วยทราย, ห้วยไชย์นาม, ห้วยเสริม, ห้วยหนองปลาไหล, ห้วยน้ำโจน 1, ห้วยอีทก, คลองโปร่งนก

เขตชุมชนริมแม่น้ำ

แก้

เขตชุมชนหลายแหล่งอยู่บริเวณลุ่มน้ำแควน้อย พื้นที่หลายแห่งเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับแม่น้ำแควน้อย ลำดับของเมืองเรียงจากจุดเริ่มต้นของแม่น้ำไปถึงจุดปลายสุด

เขื่อนสำคัญ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๒ (อักษร ก-ธ) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.