แผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะ ค.ศ. 2007

แผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะ ค.ศ. 2007 (ญี่ปุ่น: 能登半島地震โรมาจิNoto-hantо̄ Jishin) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) ในภูมิภาคโฮกูริกุ จังหวัดอิชิกาวะ ประเทศญี่ปุ่น ขนาด 6.9 แมกนิจูด ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ในทะเลญี่ปุ่นใกล้กับคาบสมุทรโนโตะ เกิดแรงสั่นรุนแรงในมาตราชินโดะ 6+ ในนครวาจิมะ นครนานาโอะ และเมืองอานามิซุ[6] มีผู้เสียชีวิต 1 รายในนครวาจิมะ และมีรายงานผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 356 ราย[5]

แผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะ ค.ศ. 2007
能登半島地震
แผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะ ค.ศ. 2007ตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
แผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะ ค.ศ. 2007
แผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะ ค.ศ. 2007ตั้งอยู่ในจังหวัดอิชิกาวะ
แผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะ ค.ศ. 2007
เวลาสากลเชิงพิกัด2007-03-25 00:41:57
รหัสเหตุการณ์ ISC11703278
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น25 มีนาคม ค.ศ. 2007 (2007-03-25) (พ.ศ. 2550)
เวลาท้องถิ่น9:41:48 JST (UTC+09:00)
ระยะเวลาประมาณ 30 วินาที[1]
ขนาด6.9 Mj (6.7 Mw)[2]
ความลึก11 กิโลเมตร
ศูนย์กลาง37°18′N 136°30′E / 37.3°N 136.5°E / 37.3; 136.5
ประเภทแผ่นดินไหวในแผ่นเปลือกโลก, รอยเลื่อนตามแนวเฉียง[3]
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจังหวัดอิชิกาวะ ประเทศญี่ปุ่น
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้X (อนุภาพรุนแรง) +[4]

ชินโดะ 6+ (ความรุนแรงที่วัดโดยเครื่องมือ 6.4)
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน0.96 g
945.4 Gal
สึนามิวัดได้ 22 เซนติเมตร
แผ่นดินถล่มมี
แผ่นดินไหวตาม500 ครั้ง
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 356 คน[5]

ธรณีวิทยา แก้

แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นผลมาจากรอยเลื่อนตามแนวเฉียง[3]จากข้อมูลขององค์การข้อมูลภูมิสารสนเทศประเทศญี่ปุ่นรายงานว่า รอยเลื่อนดังกล่าวยาว 21 กม. กว้าง 14 กม. แผ่นดินไหวทำให้รอยเลื่อนเปลี่ยนทิศทางไป 1.4 เมตร[3] สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมขั้นสูงแห่งชาติยังพบรอยเลื่อนยาวมากกว่า 18 กม. ซึ่งคาดว่าน่าจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้[7]

แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นแผ่นดินไหวในแผ่นเปลือกโลกที่เกิดขึ้นในรอยต่อระหว่างแผ่นยูเรเชียและแผ่นโอค็อตสค์ ซึ่งภูมิศาสตร์ของคาบสมุทรโนโตะก็ถูกสร้างขึ้นโดยแรงกดที่ผลักดันกลุ่มตะกอนจากทางตะวันออกเฉียงใต้ลักษณะนี้ทำให้คาบสมุทรโนโตะมีรอยเลื่อนอยู่มาก ในภูมิภาคนี้เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.6 ในจังหวัดอิชิกาวะ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993

ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 จำนวนแผ่นดินไหวที่มีขนาด 6.0 มีจำนวนการเกิดถี่มากขึ้น นักธรณีวิทยาบางคนกล่าวว่ากิจกรรมการเกิดแผ่นดินไหวในญี่ปุ่นตะวันตกอยู่ในสถานการณ์ที่เกิดมากที่สุด เช่น แผ่นดินไหวใหญ่ฮันชิน ค.ศ. 1995

แผ่นดินไหวครั้งนี้คล้ายคลึงกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในจังหวัดฟูกูโอกะ ค.ศ. 2005 มีการประกาศว่า "แผ่นดินไหวเกิดในพื้นที่ค่อนข้างเงียบ" คือพื้นที่มีอัตราการเกิดแผ่นดินไหวไม่บ่อยนัก ซึ่งการเกิดแผ่นดินไหวสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วประเทศญี่ปุ่นและพื้นที่โดยรอบ รอยเลื่อนที่เกิดจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ก็ยังไม่ได้รับการจำลองผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว เนื่องจากรอยเลื่อนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่เป็นรอยเลื่อนที่อยู่บนบก นักธรณีวิทยาบางคนพยายามจำลองแผ่นดินไหวประเภทนี้และแผ่นดินไหวบนบก

ความถี่ แก้

แผ่นดินไหวประเภทนี้คาดว่าจะเกิดขึ้นประมาณ 1 - 2 ครั้ง ในช่วง 20,000 ปี [7]

แผ่นดินไหวหลัก แก้

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นกำหนดจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวไว้ในพิกัด 37.3°N, 136.5°E มีความลึก 11 กม. ครั้งแรกแผ่นดินไหวถูกประเมินขนาดไว้ที่ 7.1 แต่ต่อมาถูกปรับลดลงมาเหลือขนาด 6.9 มีค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน 0.96 g [8]แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในบริเวณไม่มีแผ่นดินไหวใหญ่มาสักพักเรียกบริเวณนี้ว่า "ช่องว่างแผ่นดินไหว" แรงสั่นสะเทือนในนครวาจิมะใกล้เคียงกับชินโด 7 มาก เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ความรุนแรงแผ่นดินไหวชินโด 6+ ถูกวัดได้ในจังหวัดอิชิกาวะ และเป็นครั้งแรกที่ความรุนแรงแผ่นดินไหวชินโด 5 หรือมากกว่าถูกวัดได้ในจังหวัดโทยามะ

ผลกระทบทางธรณีฟิสิกส์ แก้

แผ่นดินไหวทำให้แผ่นดินเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 25 ซม. และเคลื่อนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองอานามิซุ 15 ซม. [3]

แรงสั่นสะเทือน แก้

รู้สึกถึงแรงสั่นไปไกลถึงทางตอนเหนือของโอชามันเบะ จังหวัดฮกไกโด ทางทิศตะวันตกของจังหวัดฮิโรชิมะ และทางตอนใต้ของเมืองนาฮาริ จังหวัดโคจิ ซึ่งอยู่ไกลจากจุดศูนย์กลางมาก [6]

ความเสียหาย แก้

จากข้อมูลของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์โลกและการป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติระบุว่ารูปแบบของแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวครั้งนี้คล้ายกับการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวใหญ่ฮันชิน และแผ่นดินไหวในนอร์ธริดจ์ แรงสั่นประเภทนี้เรียกว่า "แรงสั่นสะเทือนนักฆ่า" แผ่นดินไหวก่อคลื่นพัลส์ที่มีความถี่ 1-2 วินาที การสั่นแบบนี้สร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับอาคาร 2 ชั้น เมื่อแรงสั่นแบบนี้เดินทางถึงที่ราบที่มีพื้นดินอ่อน เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำ แรงสั่นจะก่อให้เกิดความเสียหายครั้งใหญ่

รายชื่อความเสียหาย แก้

  • หญิงชราวัย 52 ปี เสียชีวิตเนื่องจากถูกโคมไฟหินญี่ปุ่นโบราณล้มทับศีรษะ ในนครวาจิมะ[1][9]
  • รางรถไฟแบบบัลลาสต์ 25 ตัว ในสายโนโตะได้รับความเสียหายจนทำให้เกิดการบิดเบี้ยวของราง
  • พบรอยร้าว 22 จุดในรันเวย์ของท่าอากาศยานโนโตะ แต่ต่อมาถูกซ่อมภายในวันที่ 26 มีนาคม
  • ด่านเก็บเงินของถนนโนโตะ-ซาโตยามะ ไคโด พังถล่มลงมาบางส่วน ถนนได้รับการซ่อมในวันที่ 30 พฤศจิกายน
  • ประมาณการว่าเกิดไฟฟ้าดับ 110,000 หลัง ไม่มีน้ำปะปา 13,250 หลัง เครือข่ายโทรศัพท์บ้านได้รับความเสียหาย 260 หลัง
  • มีอาคารหลายแห่งขาดก๊าซหลังจากเกิดแผ่นดินไหว
  • เกิดปรากฏการณ์แผ่นดินเหลวในพื้นที่ชายฝั่งใกล้ศูนย์กลางและท่าเรือเมืองฮิมิ
  • มีราายงานผู้คนติดอยู่ในลิฟต์หลังแผ่นดินไหว

จังหวัดอิชิกาวะ (ณ วันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2007) แก้

จำนวนผู้ได้รับผลกระทบ ความเสียหายของโครงสร้าง ศูนย์
อพยพ
ชินโด
ผู้เสียชีวิต บาดเจ็บสาหัส บาดเจ็บเล็กน้อย เสียหายทั้งหมด เสียหายมาก เสียหายเล็กน้อย
อานามิซุ 0 3 36 72 94 2,197 3 6+
วาจิมะ 1 46 69 503 1,057 9,984 6
นานาโอะ 0 17 110 50 252 6,493 0
โนโตะ 0 2 10 1 10 1,018 0 6-
นากาโนโตะ 0 3 0 3 7 1,524 0
ชิกะ 0 10 27 14 217 3,385 1
ซูซุ 0 0 3 2 13 769 0 5+
คาโฮกุ 0 0 0 3 2 18 0 5-
โฮดาสึชิมิซุ 0 0 0 0 3 25 0
ฮากูอิ 0 0 1 3 13 133 0
ฮากูซัง 0 0 0 0 0 1 0 4
สึบาตะ 0 0 1 0 0 2 0
คางะ 0 0 0 0 0 6 0
รวมทั้งหมด 1 81 257 649 1,655 24,959 10 สูงสุด 6+

จังหวัดโทยามะ (ณ วันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 2007) แก้

จำนวนผู้ได้รับผลกระทบ ชินโด
บาดเจ็บสาหัส บาดเจ็บเล็กน้อย
โทยามะ 1 0 5-
ฮิมิ 0 1
โอยาเบะ 0 1
อิมิซุ 0 2
ทากาโอกะ 0 6 4
อูโอซุ 0 2
รวมทั้งหมด 1 12 สูงสุด 5-

สึนามิ แก้

มีการประกาศแจ้งเตือนสึนามิทันทีหลังจากเกิดแผ่นดินไหว การเตือนภัยสึนามิรายงานว่าจะมีสึนามิพัดเข้าชายฝั่งโนโตะและชายฝั่งคางะ โดยจะมีคลื่นขนาด 22 ซม.[10] 30 นาทีต่อมาคลื่นสึนามิก็พัดเข้าฝั่งดังกล่าว[11]

แผ่นดินไหวตาม แก้

ตรวจพบแผ่นดินไหวตามที่สามารถวัดได้มากกว่า 500 ครั้ง

แผ่นดินไหวตามขนาดชินโด 4 หรือมากกว่า[12][13]
วันที่
(ปี-เดือน-วัน)
เวลา
(UTC)
ขนาด ชินโด
2007-03-25 09:45:50 4.7 (Mj) 4
2007-03-25 09:52:37 4.5 (Mj) 4
2007-03-25 15:43:34 4.5 (Mj) 4
2007-03-25 18:11:45 5.3 (Mj) 5-
2007-03-26 07:16:36 5.3 (Mj) 4
2007-03-26 14:46:35 4.8 (Mj) 5-
2007-03-26 18:02:53 4.6 (Mj) 4
2007-03-28 08:08:15 4.9 (Mj) 5-
2007-03-28 13:05:31 4.7 (Mj) 4
2007-04-06 15:18:18 4.3 (Mj) 4
2007-05-02 20:44:38 4.7 (Mj) 4
2007-06-11 03:45:14 5.0 (Mj) 4
2008-01-26 04:33:00 4.8 (Mj) 5-

แผ่นดินไหวตามที่ใหญ่ที่สุดคือสีน้ำงินและแผ่นดินไหวขนาดมากว่า 4.8 ขึ้นไปเป็นสีฟ้าอ่อน

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม แก้

เหตุการณ์นาเอยามะ (苗山事件) เป็นตำนานเมืองเกี่ยวกับความลึกลับระหว่างการสื่อสารในเมืองนากาโนโตะกล่าวถึงปัญหาระหว่างการสัมภาษณ์ของเอ็นเอชเคกับชายคนหนึ่ง ทันทีหลังจากเกิดแผ่นดินไหว NHK กําลังถ่ายทอดการออกอากาศทางโทรทัศน์เกี่ยวกับการสัมภาษณ์ชายคนหนึ่งชื่อ นาเอยามะ (苗山) ผ่านสัญญาณโทรศัพท์ ในช่วงเวลาที่เกิดแผ่นดินไหวสถานี NHK กำลังออกอากาศรายการที่เรียกว่า "Sunday Debate" แต่เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นสถานีได้เปลี่ยนรายการไปรายงานเกี่ยวกับแผ่นดินไหวแทน ระหว่างการรายงานนั้น NHK ได้โทรไปติดต่อศาลากลางเมืองนากาโนโตะบนคาบสมุทรโนโตะซึ่งได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวครั้งนี้มาก ในเวลานั้นมีชายคนหนึ่งชื่อ นาเอยามะ (苗山) เป็นผู้รับโทรศัพท์ในศาลากลางขณะนั้น นักข่าวได้ถามคำถามต่าง ๆ และนาเอยามะก็ตอบคำถามด้วยความใจเย็นการสัมภาษณ์ดูเหมือนดำเนินไปด้วยความปกติ แต่ไม่นานนาเอยามะที่กำลังตอบคำถามก็เงียบลงไม่ได้พูดอะไรนักข่าวที่สังเกตเห็นความผิดปกติจึงพูดว่า "โมชิโมชิ" แต่น้ำเสียงของนาเอยามะที่ตอบกลับมากลับไม่เหมือนเสียงนาเอยามะในตอนแรก จากเสียงนาเอยามะที่ฟังดูสงบเปลี่ยนเป็นน้ำเสียงกระสับกระส่ายแตกต่างจากเสียงพูดตอนแรกอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเหตุการณ์นี้สร้างความลึกลับและขนหัวลุกและกลายมาเป็นตำนานเมืองนากาโนโตะ [14]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Earthquakes rock Pacific nations". BBC News. 2007-03-25.
  2. "Magnitude 6.7 - NEAR THE WEST COAST OF HONSHU, JAPAN". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-18. สืบค้นเมื่อ 2012-12-16.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "石川県能登半島沖を震源とする地震に伴う地殻変動(第1報)|国土地理院". Gsi.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2017-06-08.
  4. "Learning from Earthquakes: Noto Peninsula (Japan) Earthquake of March 25, 2007" (PDF), Earthquake Engineering Research Institute (report), EERI Special Earthquake Report, 2007
  5. 5.0 5.1 "気象庁 | 日本付近で発生した主な被害地震(平成8年~平成24年8月)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-14. สืบค้นเมื่อ 2013-01-05.
  6. 6.0 6.1 http://www.seisvol.kishou.go.jp/cgi-tmp/shindo_db/27680.html[ลิงก์เสีย]
  7. 7.0 7.1 "産総研:能登半島地震の震源域で長さ18km以上の活断層と一部で海底に達する変動を確認". Aist.go.jp. 2007-07-30. สืบค้นเมื่อ 2017-06-08.
  8. Yamada, Masumi; Park, Sun-Cheon; Mori, Jim (2008). "The 2007 Noto Peninsula, Japan, Earthquake (Mw 6.7): Damage to Wooden Structures" (PDF). Seismological Research Letters. Seismological Society of America. 79 (1): 20–24. doi:10.1785/gssrl.79.1.20.
  9. "6.9 Magnitude Earthquake Kills 1, Injures 170 in Japan". Fox News. 2007-03-25.
  10. "About the tsunami warning announced at the "2007 Noto Peninsula Earthquake"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-20. สืบค้นเมื่อ 2012-12-16.
  11. "Hokuriku quake kills one, injures 170". The Japan Times. 2007-03-26. สืบค้นเมื่อ 26 March 2007.
  12. http://www.seisvol.kishou.go.jp/cgi-tmp/shindo_db/15560.html[ลิงก์เสีย]
  13. http://www.seisvol.kishou.go.jp/cgi-tmp/shindo_db/16178.html[ลิงก์เสีย]
  14. "NHKの放送事故!?ネットで話題の「苗山事件」の深まる謎と真相とは?|エントピ[Entertainment Topics]". エントピ[Entertainment Topics]. สืบค้นเมื่อ 5 March 2023.