แป้งโกะ
จินตนัดดา ลัมะกานนท์[1] (เกิด 2 พฤษภาคม 2529)[2] ชื่อเล่นว่า แป้งหอม(ก) เป็นที่รู้จักในชื่อ แป้งโกะ เป็นนักร้อง นักดนตรี นักประพันธ์ดนตรี นักแสดง นางแบบ นักออกแบบกราฟิก และจิตรกรแอนิเมชันหญิงชาวไทย[2] มีชื่อเสียงมาจากการเป็นเน็ตไอดอล[3] และจากอินเทอร์เน็ตมีมที่ภายในเวลาไม่นานมีผู้คนมากกว่าหนึ่งล้านคนเข้าชมวีดิทัศน์เธอขับร้องและเล่นดนตรีในเว็บไซต์ยูทูบ[2]
จินตนัดดา ลัมะกานนท์ แป้งโกะ | |
---|---|
จินตนัดดาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2554 | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 จินตนัดดา ลัมะกานนท์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
อาชีพ | นางแบบ นักแสดง นักร้อง นักดนตรี จิตรกรแอนิเมชัน นักออกแบบกราฟิก ยูทูบเบอร์ |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน |
ผลงานเด่น |
|
สังกัด | บีลีฟ เรคคอร์ด (2553–2557) วอทเดอะดัก (2557–ปัจจุบัน) |
ชื่อ
แก้ชื่อตัวและชื่อสกุลของเธอนั้น อ่านว่า "จินนัดดา ลำมะกานน"[4]
ส่วนชื่อเล่นของจินตนัดดานั้น แหล่งข้อมูลหลายแห่งรายงานไว้ผิดแผกกัน บ้างว่าชื่อ "แป้ง" บ้างว่า "แป้งหอม" เช่น บทความในเว็บไซต์ เด็กดี (21 กุมภาพันธ์ 2554), ผู้จัดการออนไลน์ (22 เมษายน 2554), และ กระปุก (30 พฤษภาคม 2554) รายงานพ้องกัน โดยอ้างคำให้สัมภาษณ์ของเธอว่า เธอชื่อเล่นจริงว่า "แป้ง" แต่เป็นที่รู้จักในชื่อ "แป้งโกะ" มากกว่า ชื่อดังกล่าวนี้ มาจากการที่วัยเยาว์มีเพื่อนร่วมชั้นเรียนชื่อ "แป้ง" หลายคน เพื่อประโยชน์ในการจำแนกตัว เธอจึงเรียกตนเองว่า "แป้งโกกิ" (ชื่อแป้งทำอาหารยี่ห้อหนึ่ง) แล้วต่อมา กร่อนเป็น "แป้งโกะ"[2][3][5]
ขณะที่ เว็บไซต์ เอ็มไทย (23 พฤษภาคม 2554) อ้างคำกล่าวของเธอว่า "[ชื่อ 'แป้งโกะ'] เป็นเหมือนฉายา...เพราะจริง ๆ แล้ว ชื่อ 'แป้งหอม' แต่เพื่อน ๆ เรียก 'แป้ง' เฉย ๆ ส่วน 'โกะ' เพื่อน ๆ เรียกกันไปเรียกกันมา ก็เลยกลายเป็นคำติดปากไปเลย"[6]
อย่างไรก็ดี จินตนัดดาให้สัมภาษณ์เองในรายการ เซเว็บบริที (Cewebrity) ของวอยซ์ทีวี เมื่อเดือนสิงหาคม 2554 ว่า ชื่อเล่นจริง ๆ คือ "แป้งหอม" แต่ตัดเหลือ "แป้ง" เพราะเข้าใจว่า "แป้งหอม" ฟังแล้วเชย ต่อมาจึงเติม "โกะ" เข้าไปให้น่ารัก[4]
อนึ่ง จินตนัดดายังได้รับฉายาว่า "สาวล้านวิว" อันเนื่องมาจากมีผู้เข้าชมวีดิทัศน์ของเธอในเว็บไซต์ยูทูบมากกว่าหนึ่งล้านคน[2] ขณะที่สังคมออนไลน์จีนให้ฉายาเธอว่า "เลี่ยง นฺหวี่" (จีน: 靓女; พินอิน: liàng nǚ; มลายู: leng lui) หมายความว่า สาวสวย[7] และญี่ปุ่นเรียกเธอว่า "คะวะอีบังโกะกุ" (かわいいバンコク, Kawaii Bankoku) หมายความว่า สาวกรุงเทพฯ ที่น่ารัก[8]
ประวัติ
แก้วัยเยาว์
แก้จินตนัดดาเป็นชาวกรุงเทพมหานคร เป็นบุตรีของณรงค์ ลัมะกานนท์ นักจัดรายการวิทยุ และทำธุรกิจด้านอาหาร ร้านอาหารชื่อ บ้านประพักตร์ ซึ่งนำเอาชื่อมารดาของคุณณรงค์มาตั้ง[9]
ในวัยเด็ก จินตนัดดาชอบร้องเพลง และฝันใฝ่การเป็นนักร้อง ซึ่งบิดามารดาสนับสนุน แต่ไม่เคยประกวดประชันเป็นกิจจะลักษณะ ต่อมาจึงเรียนทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล โดยเฉพาะการเล่นซออู้ ซอด้วง และเปียโน[2]
จินตนัดดาศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนหญิงล้วน โรงเรียนราชินีบน[3] ณ ที่นั้น เธอมักขลุกตัวอยู่ในวงดุริยางค์ของโรงเรียน เพราะสนุกสนานกับเครื่องดนตรีต่าง ๆ[2] ในโอกาสหนึ่ง เธอเห็นรุ่นพี่เล่นกีตาร์แล้วชอบใจ จึงหัดเล่นเองระยะหนึ่ง แต่ทิ้งไป โดยเธอให้เหตุผลว่า "...รู้สึกว่ากีตาร์มันตัวใหญ่ เราเล่นไม่ได้หรอก..."[2] ต่อมาเมื่อเรียนมหาวิทยาลัย จึงหัดกีตาร์อีกครั้งจนเล่นเป็น[2]
นอกจากความชอบดนตรีแล้ว จินตนัดดายังใฝ่ใจในศิลปะ เธอว่า ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะบิดาก็ชอบศิลปะเช่นกัน[2] เมื่อเรียนที่โรงเรียนราชินีบน จินตนัดดาอยู่ชมรมศิลปะ และวาดรูปประกวดหลายครั้ง[2] เธอกล่าวว่า "...[ศิลปะ] เป็นวิชาเดียวที่ได้เกรดเอตลอด แม้จะจำไม่ได้ว่าตัวเองวาดรูปไหนเป็นรูปแรก"[2]
การศึกษาต่างประเทศ และเน็ตไอดอล
แก้เมื่อจบมัธยมศึกษาตอนต้น บิดามารดาเห็นว่า เธอมีทักษะภาษาต่างประเทศต่ำ จึงให้ไปเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่อที่วิทยาลัยเวล์ลิงเทินอีสต์เกิลส์ (Wellington East Girls' College) กรุงเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ เป็นเวลาสามปี[3][10] จินตนัดดาเลือกเรียนสาขาศิลปะเป็นหลัก[2] เธอกล่าวว่าการเรียนต่างประเทศทำให้เธอเป็นผู้ใหญ่ กล้าแสดงออก และพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น เพราะช่วงเวลาสามปีนั้นต้องอาศัยอยู่กับชาวนิวซีแลนด์ซึ่งเธอบรรยายไว้ดังนี้[2]
"...ไม่ค่อยดูแลประคบประหงมเหมือนคนไทย...เราต้องทำตัวให้ทรหดเมื่ออยู่กับเขา...เพราะว่าไปเขาก็ไม่ใส่ใจแป้ง เป็นครอบครัวฝรั่ง มีพ่อแม่ แล้วก็ลูกหนึ่งคน ข้าวกลางวันเขาคลุกข้าวโพดกับน้ำตาลให้เรากิน เราก็กินแบบนี้อยู่เป็นปีเลยค่ะ พอกลางวัน เราต้องทำข้าวกลางวันไปกินเองที่โรงเรียน เขาก็ให้ทูน่ากระป๋องและให้ข้าวมา เราก็ต้องกินแบบนั้น...แป้งจะกลับเมืองไทย...เราก็ออกตั้งแต่หกโมงเช้า ออกจากบ้านตอนตีสี่ เขาก็ไม่ไปส่งเรา [ที่สนามบิน]...ตอนหลัง โรงเรียนก็คอมเพลน [ตำหนิ] ไป...ปีต่อมาเราก็ขอเปลี่ยนโฮสต์ [เจ้าบ้าน]...เป็นครอบครัวจีน ก็ได้กินอิ่ม สบายไป..."
แม้วัยเยาว์ชอบแสดงออก แต่เมื่อเติบโตขึ้นแล้ว ความกล้าแสดงออกเริ่มลดลงตามวัย ในระหว่างเรียนที่ประเทศนิวซีแลนด์ จึงหันไปเขียนอนุทินลงบล็อก เพื่อส่งเรื่องราวและรูปภาพให้ครอบครัว ครั้งหนึ่งเธอให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ว่า "...พอได้เขียนไดอารี ก็เริ่มมีความกล้าเขียนกล้าพูดมากขึ้น แต่ถ้าให้ขึ้นโชว์ก็จะไม่ค่อยกล้า...ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมเราต้องขี้อายตอนโต...ไม่ค่อยมั่นใจในตัวเอง..."[2] มีผู้ติดตามอ่านและชื่นชอบบล็อกของจินตนัดดาพอสมควร[10] เขาเหล่านั้นเผยแพร่รูปภาพของเธอต่อไปในอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง ทำให้เธอได้รับความนิยมในสังคมออนไลน์[3][10]
อุดมศึกษา
แก้หลังสำเร็จมัธยมศึกษาตอนปลาย จินตนัดดากลับมาศึกษาระดับอุดมศึกษาต่อในประเทศไทย คณะโรงแรมและการท่องเที่ยว ภาคอังกฤษ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล[10][11] เพราะเห็นว่า ครอบครัวทำธุรกิจอาหาร ประกอบตนเองชอบเที่ยว วิชาการสาขานี้คงเป็นประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว[2] แต่เมื่อเรียนไประยะหนึ่ง เธอเห็นว่าสาขานี้ไม่ต้องตรงความประสงค์ที่แท้จริงของตน จึงลาออกไปสอบเข้าและศึกษาสาขานิเทศศิลป์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี[10] ซึ่งเธอเห็นว่า เป็นแนวทางที่ถูกต้องสำหรับตนแล้ว[2]
ในระหว่างศึกษาที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีนั้น จินตนัดดาเป็นนางแบบนิตยสารด้วย[5] และราว พ.ศ. 2552–2553 เธอได้ฝึกงานที่ เอ็มพี กราฟิกเฮ้าส์ มีหน้าที่ออกแบบตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์สำหรับผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และเว็บไซต์ต่าง ๆ[12] งานแรกของเธอคือรับจ้างชาวอังกฤษออกแบบแฟลชเกม (flash game)[12]
จินตนัดดาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรม สาขานิเทศศิลป์ เมื่อปี พ.ศ. 2553[2][3] แล้วศึกษาปริญญาโทสาขาเดียวกันนั้นต่อ[10] เวลาที่จินตนัดดาสำเร็จเป็นบัณฑิตนั้น เป็นช่วงเดียวกับวงดนตรีซิงกูล่าร์ สังกัดโซนีมิวสิก เปิดตัวพร้อมเพลงแรกของวงคือ "เบาเบา" ซึ่งเป็นเพลงแนวอคูสติก ขณะนั้น ผู้กำกับมิวสิกวิดีโอเพลงดังกล่าวได้พบรูปภาพของจินตนัดดาที่มีอยู่ทั่วไปในอินเทอร์เน็ตเข้าก็ต้องใจ จึงติดต่อหา จินตนัดดากล่าวว่า ตอนนั้นเป็นเวลาแปดโมงเช้า และเธอหลับอยู่ จึงลุกขึ้นมารับโทรศัพท์ด้วยความสลึมสลือ[6] เมื่อมิวสิกวิดีโอเพลง "เบาเบา" เผยแพร่แล้ว เพลงดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ในปี 2553 นั้น จินตนัดดาจึงได้แสดงมิวสิกวิดีโอเพลง "เธอบอก" ของ นำโชค ทะนัดรัมย์ และปีต่อมา เพลง "สิวเม็ดใหญ่" ของ พาที สารสิน อีก[3][5][6]
การเป็นนักดนตรี และอินเทอร์เน็ตมีม
แก้หลังเล่นมิวสิกวิดีโอเพลง "เบาเบา" เสร็จ คณะทำงานมิวสิกวิดีโอดังกล่าวทราบอยู่แล้วว่าจินตนัดดาร้องเพลงได้ จึงชี้ชวนไปเป็นนักร้อง โดยให้ไปทดสอบเสียงที่ค่ายเพลง บีลีฟ เรคคอร์ด เมื่อเห็นว่ามีความสามารถดี ค่ายเพลงจึงตกลงทำเพลงด้วยกัน และทำสัญญาในเวลานั้นด้วย[13] แต่เนื่องจากติดเรียนปริญญาโท เธอจึงขอผัดไปคุยรายละเอียดเรื่องเพลงภายหลัง[2][10]
ระหว่างนั้น จินตนัดดาอัดวีดิทัศน์ตนเองร้องและเล่นกีตาร์เพลง "เบาเบา" แล้วนำลงเผยแพร่ในเว็บไซต์ยูทูบเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553 ซึ่งภายหลังเธอให้สัมภาษณ์ว่า เพียงนึกสนุก เพราะ "มิวสิกวิดีโอเพลง 'เบาเบา' ออกแล้ว นางเอกเพลง 'เบาเบา' ก็ควรออกวิดีโอบ้าง"[14] และกล่าวว่า เธอต้องการทราบผลตอบรับของผู้ฟังเธอร้องเพลง เพื่อหยั่งอนาคตการเป็นนักดนตรีของเธอ[13] มีผู้คนจำนวนมากเข้าชมวีดิทัศน์ดังกล่าวในยูทูบอย่างรวดเร็ว ไม่ช้าก็มีผู้ชมมากกว่าหนึ่งล้านครั้ง[6] สถิติดังกล่าวไม่เป็นที่คาดหมายได้ของจินตนัดดาเช่นกัน เธอตกใจจนปิดช่องของตนในยูทูบไปชั่วระยะหนึ่ง แต่เพราะมีผู้เรียกร้องให้เธอกลับมา จินตนัดดาจึงเปิดช่องนั้นอีกครั้ง[11] ครั้งหนึ่ง เธอกล่าวว่า "...ตอนแรกที่อัปคลิปร้องเพลงของตัวเองลงยูทูบ ตกใจมาก คนมาดูเยอะมาก คิดว่าเยอะไปรึเปล่า เลยปิดแชแนล [ช่อง] ของตัวเองไปพักหนึ่ง แต่ก็กลับมาเปิด คิดว่าดีที่มีคนมาเมนต์ [วิพากษ์] จะได้มีกำลังใจ มีติบ้าง ชมบ้าง ก็มาพัฒนากัน...ต่อไป..."[11]
ภายหลัง เธอได้อัดวีดิทัศน์ตัวเองร้องเพลงหลายเพลงแล้วนำลงเผยแพร่ในเว็บไซต์ยูทูบ เช่น เพลง "คิสมี" (Kiss Me) ของ วงซิกเปนซ์นอนเดอะริเชอร์ (Sixpence None the Richer) (3 ธันวาคม 2553) "เผื่อลืม" ของ วงวัน-ทู-ทรี โซล (10 ธันวาคม 2553) "เธอคือของขวัญ" ของ นำโชค ทะนัดรัมย์ (31 ธันวาคม 2553) "ทะเลใจ" ของ วงคาราบาว (2 กุมภาพันธ์ 2554) และ "ทะเลสีดำ" ของ กันยารัตน์ ติยะพรไชย (27 พฤศจิกายน 2554) วีดิทัศน์ทั้งหมดนี้มีผู้เข้าชมและแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมากภายในเวลาอันรวดเร็วเช่นกัน[15]
เมื่อว่างเรียนแล้ว จินตนัดดาและค่ายเพลงของเธอจึงเริ่มทำเพลงกัน โดยวางโครงการว่า เพลงของจินตนัดดาจะเป็นแนวอคูสติก หรือไม่ก็แนวที่ฟังง่าย ประสมกับแนวแจซที่เธอชอบเป็นการส่วนตัว และประกอบแนวป๊อปและบอสซาโนวา[2] นอกจากความชอบแล้ว จินตนัดดากล่าวถึงสาเหตุที่เลือกแนวเพลงเช่นนี้ว่า เพราะเธอไม่ชอบเต้น[13]
เดือนพฤษภาคม 2554 จินตนัดดาออกซิงเกิลแรกของตน ชื่อเพลง "โพสต์การ์ด" (Postcard) หมายถึง ไปรษณียบัตร และมีเนื้อหาว่า ในวันแดดล่มลมตก ผู้ร้องนั่งเขียนความในใจลงในไปรษณียบัตรใบหนึ่ง เพียงแต่ไม่ทราบว่าคนที่ควรรับนั้นอยู่ที่ใด[16] เพลงนี้ จินตนัดดาร่วมเขียนเนื้อร้องและทำนองด้วย[16] ต่อมาวันที่ 1 กรกฎาคม 2554 มิวสิกวิดีโอเพลง "โพสต์คาร์ด" ซึ่งถ่ายทำที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดสมุทรปราการ ได้รับการเผยแพร่ครั้งแรก[4] และเพลงดังกล่าวก็รวมไว้ในอัลบัมรวมเพลงใหม่ของค่าย ที่มีชื่อยาวว่า Believe Compilation 03 Sing It by Wall's Cornetto โคนดนตรี ด้วย[16]
ครั้นวันที่ 20 กรกฎาคม 2554 จินตนัดดาลงวีดิทัศน์ตนเองร้องและบรรเลงเพลง "เต้าหู้ไข่" ในยูทูบมีผู้ชมเป็นอันมากไม่ต่างกับวีดิทัศน์ก่อน ๆ หน้า[13] ภายหลังเธอให้สัมภาษณ์ว่า เธอเขียนเพลง "เต้าหู้ไข่" เองตั้งแต่ครั้งที่เป็นนักศึกษา มีเนื้อหาตลก และต้องการใช้คำ "เต้าหู้ไข่" เปรียบเปรยถึงความรัก เพราะเขียนเพลงขึ้นระหว่างรับประทานอาหารที่ร้านติ่มซำ[13] เธอกล่าวด้วยว่า อาจบันทึกเสียงแล้วให้เพลงนี้เป็นเพลงแถมในอัลบัมแรกของเธอที่บัดนี้ยังอยู่ระหว่างดำเนินการก็ได้[13] เดือนสิงหาคม 2554 นิตยสาร อะเดย์ มีอายุครบสิบเอ็ดปี และเลือกให้จินตนัดดาขึ้นปก ฉบับที่ 132 ประจำเดือนนั้นด้วย[1]
ชีวิตส่วนตัว
แก้นอกจากความสนใจในดนตรีและศิลปะแล้ว จินตนัดดายังชื่นชอบการถ่ายภาพและการเดินทาง เธอหวังมาแต่เด็กว่าจะได้เดินทางรอบโลก (circumnavigation) สักครา และเปิดร้านกาแฟ พร้อมเล่นดนตรีสด และขายไปรษณียบัตรที่ทำขึ้นจากภาพซึ่งเธอถ่ายเอง[12]
อนึ่ง นอกจากเป็นนักร้องและนักดนตรีแล้ว จินตนัดดายังทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันตามที่ตนสนใจ เช่น ออกแบบและขายเสื้อผ้าเองที่ตลาดนัดจตุจักรและเทศกาลแฟต[6] ตลอดจนรับออกแบบกราฟิกและแอนิเมชัน ซึ่งเธอทำประจำอยู่ที่ โคตรชิวและหัวกลมสตูดิโอ[10] บรรดาผลงานของเธอนั้น รวมถึง แอนิเมชันมิวสิกวิดีโอเพลง "นิดนึง" ของ พิจิกา จิตตะปุตตะ และกราฟิกรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ตั้งแต่ฤดูกาลแรกด้วย (แต่ไม่ปรากฏว่า จินตนัดดายังผลิตรายการดังกล่าวอยู่หรือไม่ หรือถึงฤดูกาลใด)[2] อย่างไรก็ดี เธอวิจารณ์งานของตนเองว่า ยังขาดแนวทางที่แน่นอน โดยเธอกล่าวว่า[2]
"...งานของแป้งเองก็ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของเอกลักษณ์มากนักว่า เราถนัดหรือชอบงานแบบไหน เวลาไปเจองานสวย ๆ ก็คิดว่าชอบงานแบบนี้ แต่พอสักพักไป เจออีกงาน เราก็ชอบอีกแบบหนึ่ง ช่วงนี้ก็กำลังค้นหาตัวเองอยู่ว่าชอบแบบไหน..."
ผลงานเพลง
แก้อีพี
แก้ชื่ออัลบั้ม | รายละเอียดอัลบั้ม | รายชื่อเพลง |
---|---|---|
Pango |
|
|
ซิงเกิล
แก้ปี | เพลง | อัลบั้ม |
---|---|---|
2554 | "โพสต์การ์ด"[17] | ไม่มีอัลบั้ม |
2556 | "ปล่อย" | |
2557 | "เผื่อว่าเธอคิด..." | |
2558 | "คำสาป (Curse)" | Pango |
2559 | "โคจร" | |
"พระจันทร์ (Moon)" (พ.ศ. 2559) | ||
2560 | "พื้นที่ปลอดภัย" | |
"ลา" | ||
2567 | "Parallel Universe (โลกคู่ขนาน)" | ไม่มีอัลบั้ม |
"Gone (โลกที่เคยคิดว่ามีเธอ)" |
เพลงประกอบภาพยนตร์
แก้ปี | เพลง | ภาพยนตร์ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2555 | "ผ่านเลยไป" | ภาพยนตร์ Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ (พ.ศ. 2555) | ร้องกับ เสือโคร่ง |
2556 | "เราต่างเห็นตะวันเท่าจันทรา" | สารคดี เราต่างเห็นตะวันเท่าจันทรา | |
"ฤดูที่ฉันเหงา" | ภาพยนตร์ ฤดูที่ฉันเหงา | ร้องกับ วรเวช ดานุวงศ์ | |
2557 | "คิดถึงใครไม่รู้" | ภาพยนตร์ Hello Strangers | ร้องกับ ว่านไฉ |
เพลงประกอบละคร
แก้ปี | เพลง | ละคร | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
2557 | "เพลงคู่" | นางร้ายซัมเมอร์ | ช่อง 3 |
2562 | "ดูแลตัวเองไม่ไหว" | วัยแสบสาแหรกขาด โครงการ 2 | |
"สักครั้ง" | กลับไปสู่วันฝัน | พีพีทีวี |
เพลงอื่น ๆ
แก้ปี | เพลง | ศิลปินอื่น | อัลบั้ม |
---|---|---|---|
2554 | "เดียวดายและแสงดาว" (ร้องร่วมกับสิงโต นำโชค) |
สิงโต นำโชค | สิงโตนำโชค (สเปเชียลอีดิชัน) [Singto Numchok (Special Edition)] |
2559 | "ฉันอยู่ตรงนี้" | แบล็คเฮด (ต้นฉบับ) | Covercity Project |
2562 | "คำอธิบาย" | อีเวอรี่ (ต้นฉบับ) | Cover Project: A Part of Love Story |
"ฉันจะมีเธออยู่" | สิงโต นำโชค (ต้นฉบับ) | ||
"ทำได้เพียง" | ทเวนตีไฟฟ์อาเวอส์ (ต้นฉบับ) |
ผลงานการแสดง
แก้มิวสิกวิดีโอ
แก้ปี | เพลง | ศิลปิน | บทบาท |
---|---|---|---|
2553 | "เบาเบา"[18] | ซิงกูล่าร์ | ตัวเอง |
"เธอบอก (พ.ศ. 2553)" | สิงโต นำโชค | ตัวเอง | |
"สิวเม็ดใหญ่" | พาที สารสิน | ตัวเอง | |
2554 | "เดียวดายและแสงดาว (พ.ศ. 2554)" | แป้งโกะ และสิงโต นำโชค | ตัวเอง |
2556 | "หยุดเล่นอะไรแบบนี้สักที" | ศุภรุจ เตชะตานนท์ | ตัวเอง |
"อยากรู้ (พ.ศ. 2556)" | พลาสติกพลาสติก | พยาบาล |
ภาพยนตร์
แก้- 2556 – ฤดูที่ฉันเหงา: แจน
- 2562 – ยุคนี้ที่มีเธอ: มิน (ตอนโต)
ละคร
แก้ปี | เรื่อง | รับบท | เครือข่าย |
---|---|---|---|
2557 | Club Friday the Series ความลับของคลิปขอแต่งงาน | บี | จีเอ็มเอ็ม 25 |
2558 | เคหาสน์ดาว | ดาวส่อง (คุณจ๋อม) | ช่องวัน |
ห้าแยกลำปางหนา | น้ำบวย | ช่อง 5 | |
ตะวันตัดบูรพา | ธิชา | ช่องวัน | |
จุดนัดฝัน | เต้ย | ||
2559 | ปีกทอง | อลิน | จีเอ็มเอ็ม 25 |
เราเกิดในรัชกาลที่ ๙ เดอะซีรีส์ ตอน 14 ตุลา | พนักงานออฟฟิศ | ช่องวัน 31 | |
2560 | พ่อบ้านใจกล้าสตอรี่ ตอนที่ 17 , 19 | พิลิน | ช่องเวิร์คพอยท์ |
Club Friday The Series 9 รักครั้งหนึ่ง ที่ไม่ถึงตาย ตอน รักต้องแลก | อุ้ย | จีเอ็มเอ็ม 25 | |
เปิดสวิตช์ให้ติดรัก | ดาว | ยูทูบ | |
2561 | Kiss Me Again จูบให้ได้ถ้านายแน่จริง | แสนสวย | จีเอ็มเอ็ม 25 |
นางสาวไม่จำกัดนามสกุล | มาลิน (รับบทร้ายครั้งแรก) | ช่องวัน 31 | |
2562 | ปลาร้าทรงเครื่อง | แคทลียา | จีเอ็มเอ็ม 25 |
2567 | มือปราบกระทะรั่ว | พญ.ภคพร เลิศรักษาสุข (หมอแอน) | ช่อง 3 เอชดี |
รายการโทรทัศน์
แก้พ.ศ. | รายการ | ออกอากาศ | วันที่ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2561 | ถ่ายเรี่ยราด EP.6 - ถ่ายกรุ๊ปทัวร์จีนให้ดูสงบ | LINE TV | วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม 2560 | ปองกูล สืบซึ้ง และ อีฟ GURU |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "a day 132". a day magazine. 2554-08-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2554-09-13.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 2.17 2.18 2.19 2.20 2.21 พลภัทร วรรณดี (2554-04-22). "มหัศจรรย์ "แป้งโกะ" สาวล้านวิว!". ผู้จัดการรายวัน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-11. สืบค้นเมื่อ 2554-09-13.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 พี่เหมี่ยว (2554-02-21). ""แป้งโกะ" สวยใสสไตล์เบาเบา". เด็กดี. สืบค้นเมื่อ 2554-09-13.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 Cewebrity (2554-08-16). "Voice TV Cewebrity Episode 10 แป้งโกะ จินตนัดดา ลัมมะกานนท์". Wedding in Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-10. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2554.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 5.0 5.1 5.2 "แป้งโกะ จินตนัดดา ลัมะกานนท์". กระปุก. 2554-05-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-28. สืบค้นเมื่อ 2554-09-13.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 teen_admin (2554-05-23). "เปิดหมด!! แป้งโกะ ทุกเรื่อง ที่นี่ที่เดียว". mthai. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 2554-09-13.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ russel (2011-06-28). "Wondering Pango (แป้งโกะ) from Bangkok, Thailand - Lenglui #176" (ภาษาอังกฤษ, จีน และ มาเลย์). Dailylenglui. สืบค้นเมื่อ 2011-09-13.
- ↑ "かわいいバンコク" (ภาษาญี่ปุ่น). Wedding in Thailand. n.d. สืบค้นเมื่อ 2011-09-13.
- ↑ "Make yourself at home @ บ้านประพักตร์". Wedding in Thailand. 2550-11-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-07. สืบค้นเมื่อ 2554-09-13.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 10.7 iamamwa (2554-06-28). "แป้งโกะ-จินตนัดดา ลัมมะกานนท์ วิชาสถาปัตย์ สอนให้เราคิดอย่างมีระบบ". Sanook! Campus. สืบค้นเมื่อ 2554-09-13.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 11.0 11.1 11.2 "เจาะลึกคลิปเด่น-คนดัง "โคม-ปะการัง, เกย์ มึน โฮ /แคมปัส'8". ผู้จัดการออนไลน์. 2554-05-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-27. สืบค้นเมื่อ 2554-09-13.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 12.0 12.1 12.2 jeedjad (2553-06-09). "Let's Tweet สาวน้อยอารมณ์ติสต์ ขวัญใจ Social Network". dplus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-29. สืบค้นเมื่อ 2554-09-13.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 Suwitcha Chaiyong (n.d.). "Pango's Postcard proves popular" (ภาษาอังกฤษ). Student Weekly. สืบค้นเมื่อ 2554-09-13.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ จินตนัดดา ลัมะกานนท์ (2554-08-02). แป้งโกะ ในรายการ I AM SIAM ½. YouTube: chvthailand. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 15:17. สืบค้นเมื่อ 2554-09-13.
{{cite AV media}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ปรากฏใน ช่องวิดีโอที่ยูทูบของ แป้งโกะ
- ↑ 16.0 16.1 16.2 "Pango – Postcard (Official Audio)". chudjane. 2554-05-22. สืบค้นเมื่อ 2554-09-13.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "แป้งโกะ สาวน้อย เสียงใส ที่สร้างกระแส Talk Of The Town ในวงการ You Tube". บีลีฟ เรคคอร์ด. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-15. สืบค้นเมื่อ 2554-09-13.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "แป้งโกะ-จินตนัดดา ลัมมะกานนท์ เธอคือใคร". showmax.tv. ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 2554-09-13.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แป้งโกะ ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)
- แป้งโกะ ที่เฟซบุ๊ก
- แป้งโกะ ที่ยูทูบ
- แป้งโกะ ที่อินสตาแกรม