เอ็มเอส เวสเตอร์ดัม

เอ็มเอส เวสเตอร์ดัม เป็นเรือสำราญในชั้นวิสตา (Vista-class) ของสายการเดินเรือ ฮอลแลนด์อเมริกา (Holland America Line) เป็นเรือลำที่สามที่มีชื่อเวสเตอร์ดัม ขณะเดียวกันก็เป็นเรือลำที่สามในชั้นวิสตาที่ดำเนินการโดยสายการเดินเรือ เวสเตอร์ดัมมีเรือพี่น้องคือเรือ โอสเตอร์ดัม (Oosterdam), เซาเดอร์ดัม (Zuiderdam) และ นอร์ดัม (Noordam) จุดเริ่มต้นของชื่อเรือทั้งสี่ลำนั้น มาจากคำบอกทิศทั้งสี่ในเข็มทิศในภาษาดัตช์

เรือ เวสเตอร์ดัม เทียบท่าเมืองซานฮวน ปวยร์โตรีโก พ.ศ.2558
ประวัติ
ชื่อเวสเตอร์ดัม
ตั้งชื่อตามทิศตะวันตกในเข็มทิศ (ภาษาดัตช์)
ผู้ให้บริการสายการเดินเรือ ฮอลแลนด์อเมริกา
ท่าเรือจดทะเบียนธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
อู่เรือบ. ฟินกันติเอริ (Fincantieri)
Yard numberมาร์เกรา (Marghera), 6077
เดินเรือแรก16 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
Christened25 เมษายน พ.ศ. 2547
บริการพ.ศ. 2547–ปัจจุบัน
ท่าจอดรอตเทอร์ดัม
รหัสระบุ
สถานะดำเนินการ
ลักษณะเฉพาะ (เมื่อแรกสร้าง)
ชั้น: เรือสำราญ ชั้นวิสตา
ขนาด (ตัน): 81,811 ตันกรอส
ความยาว: 285.23 m (935.8 ft)
ความกว้าง: 32.25 m (105.8 ft)
ดาดฟ้า: 11 ชั้น (ผู้โดยสาร)
ระบบพลังงาน: ดีเซล-ไฟฟ้า
ระบบขับเคลื่อน: เอบีบี อะซิพอด (Azipod)
ความเร็ว:
  • 24 นอต (44 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 28 ไมล์ต่อชั่วโมง) (สูงสุด)
  • 22 นอต (41 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 25 ไมล์ต่อชั่วโมง) (เดินทาง)
ความจุ: ผู้โดยสาร 1,964 คน
ลูกเรือ: 800 คน
ลักษณะเฉพาะ (หลังซ่อมบำรุง เมษายน 2550)
ขนาด (ตัน): 82,500 ตันกรอส
เรือ เวสเตอร์ดัม (ขวา) เทียบท่าในหมู่เกาะเติกส์และเคคอส ขนาบข้างเรือ คาร์นิวาลบรีซ (Carnival Breeze)
ทางเดินชั้นดาดฟ้า ทางกราบขวาของเรือ เวสเตอร์ดัม

การต่อเรือและปูมเรือที่สำคัญ แก้

เวสเตอร์ดัม ได้มีพิธีตั้งชื่อเรือเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2547 ในนครเวนิส ประเทศอิตาลี โดยนักแสดงชาวดัตช์ เรเน เซาเต็นเดก (Renée Soutendijk)[1] เช่นเดียวกับเรือระดับชั้นวิสตาทั้งหมด เวสเตอร์ดัม ติดตั้งเครื่องกำเนิดกำลังร่วมดีเซลและกังหันก๊าซ (CODAG) และระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า อะซิพอด (Azipod) รูปแบบของชุดงานศิลปะที่ประดับตกแต่งในเรือคือ มรดกของชาวดัตช์ในโลกใหม่ ภาพวาดของเรือในประวัติศาสตร์ของดัตช์เช่น เรือฮัลเฟอมาน (Halve Maen) ของเฮนรี ฮัดสัน ประติมากรรมและรูปปั้นต่าง ๆ จัดแสดงอยู่ทั่วทั้งเรือ ผลงานร่วมสมัยรวมถึงภาพวาดของ แอนดี วอร์ฮอล (Andy Warhol) และประติมากรรมต้นฉบับโดยศิลปินจากเมืองเซโดนา แอริโซนา ซูซานนา โฮลต์ (Susanna Holt)[2] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2550 ได้มีการเพิ่มห้องพัก 34 ห้องรวมทั้งการดัดแปลงพื้นที่สาธารณะหลายแห่งของเรือ[3][4]

วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ในขณะที่เดินเรือผ่านอ่าวยากุตัต (Yakutat Bay) ทางใต้ของอุทยานแห่งชาติคลูอานี (Kluane National Park) รัฐบริติชโคลัมเบีย เรือเวสเตอร์ดัมได้ชนกับก้อนน้ำแข็งและสร้างความเสียหายให้กับตัวเรือยาว 4.6 เมตร (15 ฟุต) ใต้แนวระดับน้ำ[5]

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เรือเวสเตอร์ดัมเกิดเพลิงไหม้ในห้องเครื่องกลั่นน้ำทะเล หลังจากออกจากท่าเรือซีแอตเทิล มีผู้โดยสาร 2,086 คนและลูกเรือ 798 คนบนเรือโดยไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ เรือได้กลับไปที่ซีแอตเทิลและได้รับการตรวจสอบเพื่อได้รับอนุญาตในการเดินทาง ในวันถัดมาโดยหน่วยยามฝั่งสหรัฐ[6][7]

ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เครื่องบินน้ำรุ่น เดอฮาวิลแลนด์แคนาดา ดีเอชซี-3 โอตเตอร์ (de Havilland Canada DHC-3 Otter) ของสายการบิน โพรเมช (Promech Air) นำนักบินและผู้โดยสารอีกแปดคน จากเรือเวสเตอร์ดัม บนเส้นทางท่องเที่ยวของสายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐอะแลสกา ได้ชนกับหน้าผาหินแกรนิตระยะห่าง 32 กม. (20 ไมล์) ใกล้ทะเลสาบเอลลา (Ella Lake, Alaska) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเคตชิแกน (Ketchikan) ทั้งเก้าคนเสียชีวิต[8]

เหตุการณ์จากการระบาดทั่วของโคโรนาไวรัส พ.ศ. 2562-2563 แก้

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เรือเวสเตอร์ดัมออกเดินทางหลังจากหยุดพักที่ฮ่องกงในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ได้ถูกปฏิเสธไม่ให้เทียบท่าในประเทศฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น และเกาะกวม จากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)[9][10] หลังจากได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เพื่อให้ผู้โดยสารขึ้นฝั่งในประเทศไทย เนื่องจากเรือกำลังมุ่งหน้าไปยังท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ใกล้กรุงเทพมหานคร การอนุญาตให้จอดเทียบท่านั้นกลับถูกปฏิเสธในวันถัดไป อย่างไรก็ตามเรือยังคงรักษาเส้นทางสู่กรุงเทพมหานคร และเวลาประมาณ 16.30 น. ของวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เรือเวสเตอร์ดัมได้แล่นเรือไปรอบ ๆ น่านน้ำทางตอนใต้ของเวียดนาม[11][12][13] จากข้อมูลของฟลิป คนิบเบอ (Flip Knibbe) ผู้โดยสารชาวดัตช์บนเรือ ผู้โดยสารทุกคนต้องตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายเป็นครั้งที่สอง ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอ็นโอเอส (NOS) ของเนเธอร์แลนด์ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ คนิบเบอ กล่าวว่า "Dit schip is virusvrij": 'เรือลำนี้ปราศจากไวรัส' ต่างจากเรือสำราญไดมอนด์พรินเซส ซึ่งจอดเทียบท่าอยู่ที่ท่าเรือโยโกฮามะ ในประเทศญี่ปุ่น เรือลำนี้ไม่ได้ถูกกักกัน ทุกคนสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ร้านค้าและร้านอาหารเปิดให้บริการ และรายการบันเทิงยังคงดำเนินต่อไป[13]

เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์เรือได้รับอนุญาตให้จอดเทียบท่าที่เมืองพระสีหนุ ประเทศกัมพูชา[14] ต่อมาวันที่ 15 กุมภาพันธ์ มาเลเซียรายงานว่าพลเมืองชาวอเมริกันวัย 83 ปีที่ลงจากเรือเวสเตอร์ดัม และบินไปมาเลเซียเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ มีผลการทดสอบในเชิงบวกสำหรับ COVID-19[15] ในการทดสอบครั้งที่สองซึ่งขอโดยทั้งสายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา และทางการกัมพูชาผู้โดยสารหญิงรายนั้นมีผลทดสอบยืนยันเป็นบวก[16] แม้จะมีการพบกรณีดังกล่าว นายกรัฐมนตรีฮุนเซนก็ได้เข้าเยี่ยมชมเรือโดยไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย และสนับสนุนผู้โดยสารในการเที่ยวชมเมือง ซึ่งจุดกระแสความกังวลว่าการพบปะสนทนาดังกล่าว จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อ[17]

ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ผู้โดยสาร 233 คนสุดท้ายของเรือ ได้ทำการขึ้นฝั่งทั้งหมดหลังจากการทดสอบการติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งผู้โดยสาร 781 คนของเวสเตอร์ดัมให้ผลการทดสอบเป็นลบ[18] ส่วนลูกเรือ 747 คนยังคงอยู่บนเรือ ในระหว่างรอการตัดสินใจจากเจ้าของสายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา[19]

เป็นที่เชื่อกันว่ามีผู้โดยสารประมาณ 650 คนบนเรือที่มาจากสหรัฐอเมริกา, 270 คนมาจากแคนาดา, 130 คนมาจากสหราชอาณาจักร, 100 คนจากเนเธอร์แลนด์, 50 คนจากเยอรมนี และผู้โดยสารอีกหลายคนมาจากออสเตรเลีย โดยลูกเรือประกอบด้วยชาวอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์เป็นส่วนใหญ่[20]

เรือที่ใช้ชื่อ เวสเตอร์ดัม ในอดีต แก้

เรือเวสเตอร์ดัมลำแรกอยู่ในสายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2489 ถึง 2508 โดยเป็นเรือสินค้า/เรือโดยสาร ซึ่งมีที่พัก 143 ที่สำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่ง ขณะที่ถูกสร้างขึ้นเป็นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เรือลำนี้จึงจมลงสามครั้งก่อนที่จะออกเดินทางในครั้งแรก เรือถูกทิ้งระเบิดและจมโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2485 ในอู่ต่อเรือในรอตเทอร์ดัม ฝ่ายเยอรมันยกเรือขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2487 แต่เรือถูกจมลงอย่างรวดเร็วโดยกองกำลังใต้ดินของชาวดัตช์ หลังจากถูกยกขึ้นเป็นครั้งที่สอง กองกำลังต่อต้านได้จมเรือลงอีกครั้งในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2488 ต่อมาในที่สุดเรือก็เสร็จสมบูรณ์ และดำเนินการเดินเรือในเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกซึ่งใช้เวลาเที่ยวละแปดวัน จำนวนสองเที่ยวในแต่ละเดือนระหว่างรอตเตอร์ดัมและนิวยอร์ก[21] เรือได้ปลดระวางเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 และถูกขายไปยังสเปนในฐานะเศษซาก[22]

เรือเวสเตอร์ดัม ลำที่สองให้บริการในสายการเดินเรือโฮม (Home Lines) ในชื่อเรือเอ็มเอส โฮเมอริก (MS Homeric) ในปี พ.ศ. 2529 ต่อมาสายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา ได้เข้าซื้อเรือในปี พ.ศ. 2531 และเปลี่ยนชื่อเป็นเอ็มเอส เวสเตอร์ดัม ในปี พ.ศ. 2533 เรือมีการปรับปรุงเพิ่มความยาวอีก 36.9 เมตร (121 ฟุต 1 นิ้ว) ที่อู่ต่อเรือไมยาร์ (Meyer Werft) ในเยอรมัน โดยหลังจากการเดินเรือ 643 เที่ยวในระยะเวลา 13 ปีกับสายการเดินเรือฮอลแลนด์อเมริกา เรือได้ถูกขายต่อไปยังบริษัทในเครือของกอสตาโกรเชรี (Costa Crociere) ในปี พ.ศ. 2545 และเปลี่ยนชื่อเป็นเอ็มเอส กอสตาเออูโรปา (MS Costa Europa)[21] และตั้งแต่นั้นเรือถูกเช่าเป็นระยะเวลาสิบปีโดยสายการเดินเรือทอมสันครูซ (Thomson Cruises) ซึ่งเริ่มเดินเรือในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 และได้เปลี่ยนชื่อเป็นเอ็มเอส ทอมสันดรีม (MS Thomson Dream)[23] ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อตามชื่อของบริษัทอีกครั้งเป็น เอ็มเอส มาเรลลาดรีม (MS Marella Dream) ในสิ้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560

อ้างอิง แก้

  1. "Holland America Names Dutch Actress Renée Soutendijk As Godmother To MS Westerdam". News release. Holland America Lines. 9 April 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-11. สืบค้นเมื่อ 3 August 2008.
  2. "MS Westerdam". Holland America Line. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2016. สืบค้นเมื่อ 25 September 2007.
  3. "Holland America Line's Investment in Signature of Excellence Surpasses $425 Million". News release. Holland America Line. 1 November 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 3 August 2008.
  4. "Fast Fact Sheet – MS Westerdam" (PDF). Holland America Line. September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 June 2011. สืบค้นเมื่อ 3 August 2008.
  5. "Cruise ship hits fixed ice; some damage but hull not breached". The Anchorage Daily News. Associated Press. 11 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2011. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
  6. Reuters (30 June 2014). "Boiler Room Fire Forces Cruise Ship Back to Port". Chicago Tribune. สืบค้นเมื่อ 1 July 2014.
  7. Associated Press (29 June 2014). "Boiler room fire forces cruise ship back to port". New York Post. สืบค้นเมื่อ 30 June 2014.
  8. Varandani, Suman (26 June 2015). "Alaska Plane Crash: 9 People Killed After Sightseeing Plane Carrying Cruise Ship Passengers Crashes". ibtimes.com.
  9. "Cruise ship that visited Hong Kong searches for a port after Philippines, Japan deny entry". USA Today. 6 February 2020. สืบค้นเมื่อ 6 February 2020.
  10. Jerick Sablan (7 February 2020). "Guam denies entry to ship over coronavirus concerns". Pacific Daily News. สืบค้นเมื่อ 9 February 2020.
  11. "Thailand bars Westerdam cruise ship, China virus toll tops 1,000". Bangkok Post. 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  12. "Thailand refuses entry to cruise ship with no coronavirus cases". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 11 February 2020. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  13. 13.0 13.1 "Nederlanders vast op cruiseschip Westerdam: 'We hebben behoorlijk spijt'". nos.nl (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  14. "Cruise ship rejected by five ports docks at last". BBC News. 13 February 2020. สืบค้นเมื่อ 13 February 2020.
  15. "Coronavirus: Westerdam cruise passenger infected, Malaysia confirms". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 15 February 2020. สืบค้นเมื่อ 15 February 2020.
  16. "American Woman from Cruise Ship Tests Positive Again for Coronavirus in Malaysia". The New York Times. 16 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-17. สืบค้นเมื่อ 16 February 2020.
  17. Beech, Hannah (2020-02-17). "Cambodia's Coronavirus Complacency May Exact a Global Toll". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-02-18.
  18. "Last passengers leave the cruise ship in Cambodia after discarding COVID-19". La Vanguardia. 2020-02-19. สืบค้นเมื่อ 2020-02-20.[ลิงก์เสีย]
  19. "Updated Statement Regarding Westerdam". hollandamerica. 20 February 2020. สืบค้นเมื่อ 20 February 2020.
  20. "Coronavirus: How did Cambodia's cruise ship welcome go wrong?". BBC News Asia. 20 February 2020.
  21. 21.0 21.1 "What's in a Name: Vista Ships Reflect Tradition" (PDF). Holland America Lines. January 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 June 2011. สืบค้นเมื่อ 29 July 2008.
  22. "The History of Holland America's Westerdam Ships". ships of the past. shipsandcruises.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2015. สืบค้นเมื่อ 1 April 2010.
  23. Niemelä, Teijo (6 July 2009). "Costa charters Costa Europa for Thomson Cruises". Cruise Business Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-08. สืบค้นเมื่อ 6 July 2009.

แหลงข้อมูลอื่น แก้