เหตุระเบิดในเทียนจิน พ.ศ. 2558

เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เกิดเหตุระเบิดสองระลอกห่างจากกัน 32 วินาที บริเวณโกดังตู้ส่งสินค้าในท่าเรือเทียนจิน เขตปินไห่ นครเทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน[4][5] โดยไม่ทราบสาเหตุของการระเบิดอย่างแน่ชัดในทันที แต่รายงานเบื้องต้นบ่งชี้ว่าอาจเป็นอุบัติเหตุทางอุตสาหกรรม[5] สื่อของทางการจีนกล่าวว่าการระเบิดในเบื้องต้นเกิดจากวัตถุอันตรายที่ไม่ทราบชนิดภายในตู้ส่งสินค้าทางเรือ ณ โกดังเก็บสินค้าของบริษัทขนส่งรุยไฮโลจิสติกส์เป็นอย่างน้อย[6] ซึ่งบริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทจัดการวัตถุอันตรายที่ได้รับอนุญาตจากทางการ[4]

เหตุระเบิดในเทียนจิน พ.ศ. 2558
ภาพถ่ายเหตุระเบิดในเทียนจิน
วันที่12 สิงหาคม พ.ศ. 2558
เวลาประมาณ 23:36 น. เวลามาตรฐานจีน
สถานที่ท่าเรือเทียนจิน
ที่ตั้งเขตปินไห่ นครเทียนจิน ประเทศจีน
ประเภทการระเบิดทางเคมี
สาเหตุสารไนโตรเซลลูโลสเกิดติดไฟ[1]
เสียชีวิต173[2][3]
บาดเจ็บไม่ถึงตาย797 คน[3]
สูญหาย8 คน[3]
แผนที่บริเวณท่าเรือเทียนจิน พ.ศ. 2554
ภาพความเสียหายต่ออาคารและรถยนต์ที่ปรากฏในเช้าวันต่อมา
ควันไฟจากการลุกไหม้ในเช้าวันต่อมา

เบื้องหลัง แก้

บริษัทรุยไฮโลจิสติกส์ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2555 เป็นบริษัทขนส่งเอกชนที่ดำเนินงานรับจัดการวัตถุเคมีอันตรายภายในท่าเรือเทียนจินโดยเฉพาะ เช่น อากาศอัดแรงดัน วัสดุติดไฟและมีฤทธิ์กัดกร่อน สารในปฏิกิริยารับอิเล็กตรอน และสารเคมีเป็นพิษ ซึ่งบริษัทได้รับมอบหมายจากสำนักงานความปลอดภัยทางพาณิชย์นาวีเทียนจินให้เป็นตัวแทนรับอนุญาตในการจัดการสารเคมีอันตรายเหล่านี้[7]

ตามเอกสารทางการที่บันทึกไว้ในปี พ.ศ. 2557 พบว่าในโกดังสินค้าซึ่งบริษัทขนส่งรุยไฮเป็นเจ้าของอยู่นั้น มีการเก็บรักษาสารเคมีอันตรายอยู่ภายในประกอบไปด้วย แคลเซียมคาร์ไบด์ โซเดียมไนเตรต และโพแทสเซียมไนเตรต[8] อย่างไรก็ดีทางการจีนยอมรับว่าการบันทึกข้อมูลที่ขาดตกบกพร่องและอาคารสำนักงานบริษัทที่ได้รับความเสียหาย ประกอบกับการประสานงานที่ไม่ลงรอยกันกับหน่วยงานด้านศุลกากร ทำให้ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่าภายในโกดังสินค้าดังกล่าวบรรจุสารเคมีอะไรไว้กันแน่[9]

การระเบิด แก้

เมื่อเวลา 22:50 น. ของวันที่ 12 สิงหาคม ตามเวลาท้องถิ่น (21:50 น. ตามเวลาในไทย) มีรายงานว่าเกิดเหตุเพลิงไหม้บริเวณโกดังสินค้าในเขตปินไห่ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจึงตอบสนองต่อเหตุดังกล่าว แต่ไม่สามารถควบคุมเพลิงและป้องกันไม่ให้มีการลุกลามไว้ได้ จนกระทั่งเวลาประมาณ 23:30 น. (22:30 น. ตามเวลาในไทย) เกิดการระเบิดขึ้นระลอกแรก ตามมาด้วยการระเบิดระลอกที่สองในอีก 32 วินาทีถัดมา[10] ซึ่งสามารถรับรู้แรงระเบิดได้หลายกิโลเมตรจากจุดเกิดเหตุ ทั้งนี้แรงระเบิดทั้งสองระลอกมีขนาดเทียบเท่ากับเหตุแผ่นดินไหวขนาด 2.3 และ 2.9 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ ทั้งยังปรากฏประกายไฟปะทุจากการระเบิดสูงขึ้นไปในอากาศหลายร้อยเมตร[11][12] ศูนย์เครือข่ายเฝ้าระวังแผ่นดินไหวของจีนรายงานว่าการระเบิดระลอกแรกและระลอกที่สองมีขนาดเท่ากับระเบิดทีเอ็นทีขนาด 3 ตัน และ 21 ตัน ตามลำดับ[13]

ต่อมาเมื่อเวลา 02:45 น. (01:45 น. ตามเวลาในไทย) ของวันที่ 13 สิงหาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 คน จากเหตุระเบิดครั้งใหญ่ ณ โกดังเก็บวัตถุอันตราย สำนักข่าวปักกิ่งก็ยืนยันเช่นเดียวกันว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 300 - 400 คน[14]

ต่อมาเวลา 14:30 น. (13:30 น. ตามเวลาในไทย) ปฏิบัติการควบคุมเพลิงถูกระงับไว้ชั่วคราวเนื่องจากไม่ทราบรายละเอียดและปริมาณที่แน่ชัดของวัตถุอันตรายในโกดังสินค้าดังกล่าว และมีการส่งทีมเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีลงพื้นที่เพื่อประเมินวัตถุอันตราย ณ จุดเกิดเหตุ ประเมินผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ ทั้งยังประเมินวิธีการที่ดีที่สุดในการควบคุมเพลิง, ปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือ รวมไปถึงปฏิบัติการเก็บกวาดซากปรักหักพัง[15][16]

การบาดเจ็บและเสียชีวิต แก้

รัฐบาลท้องถิ่นเมืองเทียนจินระบุว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 700 คน จากเหตุระเบิดดังกล่าว[17][18] หลายคนมีอาการบาดเจ็บจากแผลไฟไหม้และสะเก็ดระเบิด ทั้งนี้มีเจ้าหน้าที่ดับเพลิงมากกว่า 1,000 นาย ณ ที่เกิดเหตุ เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 21 นาย[19][16] ในขณะที่ยังไม่สามารถติดต่อได้อีกจำนวน 36 นาย อย่างไรก็ตามในเช้าวันที่ 14 สิงหาคม ทีมกู้ภัยพบผู้รอดชีวิตหนึ่งรายเป็นเจ้าหน้าที่ดับเพลิงอายุ 19 ปี นามว่า "โจว ถี่"[20][4][21][22][23][24][25]

รายงานข่าวจากหลายสำนักระบุว่ามีผู้บาดเจ็บสาหัสอย่างน้อย 71 คน และมีผู้เสียชีวติมากกว่า 50 คน[17][26] ส่วนตัวเลขผู้เสียชีวิตจากทางการอยู่ที่ 55 คน ซึ่งอ้างอิงมาจากตัวเลขที่รายงานโดยสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีของทางการจีน[25]

ความเสียหาย แก้

ภาพถ่ายและภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าบริเวณโดยรอบโกดังสินค้าได้รับความเสียหายอย่างมาก[27] โดยเหตุระเบิดดังกล่าวมีความรุนแรงมากเสียจนดาวเทียมฮิมะวะริของญี่ปุ่นสามารถจับภาพเหตุการณ์นี้ไว้ได้จากอวกาศ[28]

แรงระเบิดยังได้ทำลายอาคารของบริษัทขนส่งจำนวนเจ็ดบริษัท ตลอดจนรถยนต์จำนวนหลายพันคันที่จอดอยู่ในลานจอดใกล้เคียง[29] ส่งผลให้อาคารที่พักอาศัยโดยรอบรัศมี 2 กิโลเมตรจากจุดเกิดเหตุได้รับความเสียหาย เช่น กระจกหน้าต่างแตกกระจาย กระเบื้องหลังคาหลุดลอก และฝ้าเพดานพังถล่ม[25] เช่นเดียวกับสถานีรถไฟฟ้าตงไหของรถไฟฟ้าใต้ดินเทียนจินสาย 9 (Tianjin Metro Line 9) ที่หลังคาของสถานียุบตัวลงและกีดขวางการเดินรถ ทำให้ต้องระงับการให้บริการรถไฟฟ้าทั้งสายในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558[30]

เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เทียนเหอ-หนึ่งเอ (Tianhe-1A) ถูกปิดลงหลังศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติเทียนจินได้รับความเสียหายจากเหตุระเบิดดังกล่าว อย่างไรก็ตามเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด และยังคงสามารถทำงานได้ตามปกติ[31]

มลภาวะ แก้

มีรายงานว่าโซเดียมไซยาไนด์อย่างน้อย 700 ตัน ถูกเก็บไว้ ณ ที่เกิดเหตุ[32] และพบการรั่วไหลของสารดังกล่าวบริเวณท่อระบายน้ำ[33][34] ซึ่งในเช้าวันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม เจ้าหน้าที่ตรวจพบก๊าซพิษอาทิเช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ และไนโตรเจนออกไซด์ ภายในระยะห่าง 500 เมตร รอบจุดเกิดเหตุ แต่ปริมาณของก๊าซไม่เกินระดับที่กำหนดไว้ตามมาตรฐาน ส่วนระยะห่างรัศมี 2 กิโลเมตร จากจุดเกิดเหตุ ไม่มีการตรวจพบก๊าซอันตรายดังกล่าว[9]

การตอบสนองจากทางการ แก้

สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีรายงานว่าประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เร่งรัด "ความพยายามทุกวิถีทางเพื่อช่วยเหลือเหยื่อระเบิดและระงับเปลวเพลิง"[5] จากรายงานของสื่อทางการระบุว่าผู้บริหารระดับสูงของบริษัทรุยไฮโลจิสติกส์กำลังอยู่ในการควบคุมตัวของทางการ[18]

ในเช้าวันถัดมาหลังจากคืนวันเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ทหารเริ่มทยอยลงพื้นที่เกิดเหตุในเทียนจินและเริ่มปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือ มีการขนย้ายอุปกรณ์หนักเข้ามาในพื้นที่ เช่น รถตักดิน เข้ามาเพื่อเก็บกวาดซากความเสียหาย และมีการส่งผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์และชีวเคมีลงพื้นที่มากกว่า 200 คน เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนจากการที่สารเคมีถูกเผาไหม้ฟุ้งกระจายขึ้นสู่บรรยากาศโดยรอบบริเวณ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่จากทางการยังได้ตั้งสถานีติดตามและเฝ้าระวังใกล้กับจุดเกิดเหตุขึ้นจำนวน 12 สถานี มีการตรวจพบ "มลสารอันตรายในอากาศ" เหนือระดับปกติ และมีการปิดกั้นระบบระบายน้ำโดยรอบบริเวณ ในขณะที่มีการนำตัวอย่างน้ำไปทดสอบอีกด้วย[35]

ส่วนเจ้าหน้าที่กู้ภัยกำลังอยู่ระหว่างการกำจัดสารโซเดียมไซยาไนด์ปริมาณกว่า 700 ตัน ที่ถูกเก็บอยู่ภายใน โดยใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์เป็นตัวปรับสภาพความเป็นกลาง[36]

ทางการจีนยังได้ออกคำสั่งให้ผู้อยู่อาศัยในบริเวณโดยรอบมากกว่า 3,500 หลังคาเรือนต้องอพยพไปพักพิง ณ ศูนย์พักพิงชั่วคราว เนื่องจากกังวลว่าจะมีเหตุระเบิดเกิดขึ้นตามมาอีกระลอก ทั้งนี้มีผู้อยู่อาศัยบางส่วนเลือกที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว[25]

ด้านนายกัว เชิงคุน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความปลอดภัยสาธารณะ ได้ลงพื้นที่เกิดเหตุและเร่งรัดความพยายามช่วยชีวิตอย่างเต็มที่[37]

ปฏิกิริยาตอบรับ แก้

มีรายงานว่าทางการจีนพยายามปิดกั้นการรายงานข่าวทั้งทางสื่อสารมวลชนและบนสื่อสังคมออนไลน์ นักข่าวและประชาชนโดยรอบถูกกันไม่ให้เข้าใกล้จุดเกิดเหตุเป็นระยะห่างประมาณ 1 หรือ 2 กิโลเมตร นอกจากนี้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตหลายคนรายงานว่าข้อความเกี่ยวกับเหตุระเบิดดังกล่าวของตนกำลังถูกลบทิ้ง[9] ส่วนนักข่าวจากสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นถูกระงับไม่ให้ถ่ายภาพเหตุการณ์[38] ทั้งนี้มีรายงานเพิ่มเติมอีกว่าแม้เหตุการณ์จะผ่านไปแล้วเป็นเวลากว่าแปดชั่วโมง สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมในเทียนจินกลับยังไม่ได้รายงานเหตุระเบิดดังกล่าว แต่กำลังฉายละครโทรทัศน์แทน[38][39] ซึ่งในความเป็นจริงแล้วปรากฏการรายงานข่าวในช่วงเช้าตั้งแต่เวลา 7 นาฬิกา[40].

นอกจากนี้ยังปรากฏอีกว่าผู้สื่อข่าวของซีเอ็นเอ็น วิลล์ ริปลีย์ ซึ่งถ่ายภาพบรรยากาศด้านนอกโรงพยาบาลเทียนจิน ถูกเพื่อนและญาติของผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตระงับการรายงานสดเนื่องจากอยู่ในความเศร้าเสียใจ[41]

อ้างอิง แก้

  1. "Tianjin blast probe suggests action against 123 people". Xinhua. 5 February 2016. สืบค้นเมื่อ 5 February 2016.
  2. 2.0 2.1 "Tianjin explosion: China sets final death toll at 173, ending search for survivors". The Guardian. Associated Press. 12 September 2015. สืบค้นเมื่อ 14 September 2015.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "155位"8–12"事故遇难者身份公开" (ภาษาจีน). Sohu. 2 September 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2015. สืบค้นเมื่อ 2 September 2015.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Huge explosions in China's Tianjin port area kill 17, hurt 400". สืบค้นเมื่อ 13 August 2015.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Massive explosion in China's Tianjin". BBC News. 12 August 2015. สืบค้นเมื่อ 12 August 2015.
  6. Graham-Harrison, Emma (12 August 2015). "Explosions in Chinese city of Tianjin kill at least 17 and injure hundreds". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 12 August 2015.
  7. "天津爆炸企业"瑞海物流"是个什么公司?". The Beijing News. 13 August 2015. สืบค้นเมื่อ 13 August 2015.
  8. "天津爆炸:消防员未被告知不能用水灭火". Southern Weekly. 13 August 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-13. สืบค้นเมื่อ 13 August 2015.
  9. 9.0 9.1 9.2 Shanglin, Luan (14 August 2015). "Chemicals at blasted warehouse not yet determined: authorities". Xinhua (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 14 August 2015.
  10. "ระเบิดเมืองเทียนจินล่าสุดพบผู้เสียชีวิต 17 ราย บาดเจ็บหลายร้อย". ประชาชาติธุรกิจ. 13 August 2015. สืบค้นเมื่อ 15 August 2015.
  11. "Huge explosion in Chinese port city of Tianjin". The Guardian. 12 August 2015. สืบค้นเมื่อ 12 August 2015.
  12. "Blast Rocks Chinese City of Tianjin, Hundreds Reported Injured". NBC News. 12 August 2015. สืบค้นเมื่อ 12 August 2015.
  13. China blasts: Casualties as Tianjin warehouse blows up. BBC News. 12 August 2015. สืบค้นเมื่อ 12 August 2015.
  14. "Timeline of Tianjin explosions". Shanghai Daily. 13 August 2015. สืบค้นเมื่อ 14 August 2015.
  15. "Timeline of Tianjin explosions". Shanghai Daily. 13 August 2015. สืบค้นเมื่อ 14 August 2015.
  16. 16.0 16.1 "Firefighting halted at site of Tianjin warehouse blasts after 11 firefighters confirmed killed". สืบค้นเมื่อ 13 August 2015.
  17. 17.0 17.1 "Update 10-Huge blasts at Chinese port kill 50, injure more than 700". Reuters. 13 August 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-16. สืบค้นเมื่อ 13 August 2015.
  18. 18.0 18.1 "More than a dozen killed, hundreds hospitalized after massive explosions rocks Chinese city". Fox News Channel. 12 August 2015. สืบค้นเมื่อ 12 August 2015.
  19. "天津港爆炸已致56人死亡 其中消防员21人". Tencent News (ภาษาจีน).
  20. ""首名获救消防员周倜照片公布(图)". Sina Corp. August 14, 2015. สืบค้นเมื่อ August 15, 2015.
  21. KSPR. "URGENT – China Tianjin explosions firefighter deaths". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-15. สืบค้นเมื่อ 13 August 2015.
  22. Jiang, Steven; Ford, Dana (12 August 2015). "Explosion rocks Chinese city of Tianjin; 7 reported killed". CNN. สืบค้นเมื่อ 12 August 2015.
  23. "Hundreds injured after huge explosion in Chinese port city of Tianjin". MSN News. 12 August 2015. สืบค้นเมื่อ 12 August 2015.
  24. "Deadly Explosions Hit China's Port of Tianjin". The New York Times. 12 August 2015. สืบค้นเมื่อ 12 August 2015.
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 Ryan, Fergus; Phillips, Tom (14 August 2015). "China blasts: thousands seek refuge as Tianjin explosions death toll reaches 55". The Guardian. Guardian News and Media Limited or its affiliated companies. สืบค้นเมื่อ 14 August 2015.
  26. "At Least 44 Dead Hundreds Injured in Warehouse Explosions". ABC News. 13 August 2015. สืบค้นเมื่อ 13 August 2015.
  27. Phipps, Claire; Weaver, Matthew (13 August 2015). "China blasts: fireball from Tianjin explosions injures hundreds and kills at least 44 – latest updates". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 13 August 2015.
  28. "Tianjin explosions visible from space". The Guardian. 13 August 2015. สืบค้นเมื่อ 13 August 2015..
  29. "At least 17 dead as huge warehouse blasts hit Chinese port". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-19. สืบค้นเมื่อ 13 August 2015.
  30. "China explosions: a visual guide to what happened in Tianjin". The Guardian. 13 August 2015. สืบค้นเมื่อ 14 August 2015.
  31. "Supercomputer Tianhe-1A shut down due to Tianjin blast". 12 August 2015. สืบค้นเมื่อ 12 August 2015.
  32. "爆炸现场下午将降雨 700吨氰化纳遇水生剧毒" (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 14 August 2015.
  33. "爆炸物主要为硝酸类化学品,下水沟里检出氰化钠" (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 14 August 2015.
  34. ck 13465. "媒体:天津爆炸现场下水沟检出氰化钠 说明已经泄露" (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 14 August 2015.
  35. "Tianjin detects harmful air pollutants, Beijing stays clear - China". China Daily. 13 August 2015. สืบค้นเมื่อ 14 August 2015.
  36. "China explosions: Chemical specialists sent to Tianjin". BBC News. 13 August 2015. สืบค้นเมื่อ 14 August 2015.
  37. huaxia. "Police chief urges all-out efforts to save lives". Xinhua.
  38. 38.0 38.1 Cheung, Eric (13 August 2015). "CNN, local Chinese media struggle to report on Tianjin explosion". Hong Kong Free Press.
  39. Hanrahan, Mark (13 August 2015). "Tianjin Explosions: National Disasters In China Prompt Wave Of Media Censorship". International Business Times. สืบค้นเมื่อ 13 August 2015.
  40. "《津晨播报》 20150813". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-23. สืบค้นเมื่อ 2015-08-13.
  41. CNN, CNN (13 August 2015). "Emotions run high at Chinese hospital after blasts". CNN.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

39°2′19″N 117°44′13″E / 39.03861°N 117.73694°E / 39.03861; 117.73694