ตัวออกซิไดซ์

(เปลี่ยนทางจาก ตัวรับอิเล็กตรอน)

ตัวออกซิไดซ์ (อังกฤษ: oxidizing agent) ในสาขาเคมี มีความหมายสองอย่าง ความหมายแรกเป็นสายพันธ์เคมีชนิดหนึ่งที่แยกอิเล็กตรอนออกจากสายพันธ์เคมีอีกชนิดหนึ่ง มันเป็นส่วนประกอบหนึ่งในปฏิกิริยาลดการออกซิไดซ์ (ปฏิกิริยารีดอกซ์) (oxidation-reduction (redox) reaction) อีกความหมายหนึ่ง ตัวออกซิไดซ์เป็นสายพันธุ์เคมีชนิดหนึ่งที่ถ่ายโอนอะตอมที่มีกระแสไฟฟ้าลบ ปกติก็คือออกซิเจนไปให้กับสารตั้งต้นชนิดหนึ่ง การสันดาป การระเบิดจำนวนมาก และปฏิกิริยาแบบรีดอกซ์อินทรีย์ (organic redox reaction) เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาถ่ายโอนอะตอม พลังงานในสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นจากการถ่ายเทอิเล็กตรอนจากตัวรับอิเล็กตรอนที่เลวไปสู่ตัวรับอิเล็กตรอนที่ดีที่สุด และปล่อยพลังงานออกมา ที่นำไปใช้ในปฏิกิริยาต่าง ๆ ได้

ภาพที่เป็นสากลที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพสำหรับสารเคมีที่ทำให้เกิดการออกซิไดซ์
ฉลากสินค้าอันตรายสำหรับตัวออกซิไดซ์

ตัวรับอิเล็กตรอนในสิ่งมีชีวิต

แก้

ตัวรับอิเล็กตรอนที่สำคัญในสิ่งมีชีวิต ได้แก่

  • Nicotinamide adenine dinucleotide (NAD+) หรือเอ็นเอดี เมื่อรับอิเล็กตรอนจะอยู่ในรูป NADH + H+ เป็นตัวรับอิเล็กตรอนสำคัญในไมโทคอนเดรีย
  • Nicotinamide adenine dinucleotide phosphate (NADP+) หรือเอ็นเอดีพี เมื่อรับอิเล็กตรอนจะอยู่ในรูป NADPH + H+ เป็นตัวรับอิเล็กตรอนสำคัญในคลอโรพลาสต์
  • ฟลาวิน นิวคลีโอไทด์ หรือ เอฟเอดี (FAD+) เป็นตัวรับอิเล็กตรอนในวัฏจักรเครบส์ พบในไมโทคอนเดรีย เมื่อรับอิเล็กตรอนจะเปลี่ยนรูปเป็น FADH2
  • ยูบิควิโนน (ubiquinone; UQ) เป็นโปรตีนขนาดเล็ก แทรกอยู่ในชั้นไขมันของเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรีย เคลื่อนที่ภายในเยื่อหุ้มได้ดี จึงช่วยรับส่งอิเล็กตรอนระหว่างตัวรับขนาดใหญ่ที่เคลื่อนที่ในเยื่อหุ้มได้ไม่ดี
  • ไซโตโครม (cytochrome) เป็นตัวพาอิเล็กตรอนที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบ พบในเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรีย และเยื่อหุ้มไทลาคอยด์ของคลอโรพลาสต์ มี 3 ชนิดคือชนิด เอ บี ซี ในไมโทคอนเดรีย ไซโตโครมซี เป็นโปรตีนที่จับอยู่กับผิวนอกของเยื่อหุ้มชั้นใน
  • โปรตีนเหล็ก-กำมะถัน (iron-sulfur protein) เป็นโปรตีนที่มีเหล็กและกำมะถัน เป็นองค์ประกอบ