เหงียน วัน เถี่ยว
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
พลโท เหงียน วัน เถี่ยว (เวียดนาม: Nguyễn Văn Thiệu, ภาษาเวียดนาม: [ŋʷǐənˀ vān tʰîəwˀ] ( ฟังเสียง); 5 เมษายน พ.ศ. 2466 – 29 กันยายน พ.ศ. 2544) เป็นประธานาธิบดีของเวียดนามใต้ตั้งแต่ พ.ศ. 2510 จนถึง พ.ศ. 2518[1][2] เขาลี้ภัยออกนอกประเทศไปก่อนที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์จะยึดประเทศได้ เสียชีวิตเมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2544 ด้วยโรคหลอดเลือดสมอง
เหงียน วัน เถี่ยว | |
---|---|
เถี่ยวในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2509 | |
ประธานาธิบดีเวียดนามใต้คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 21 ตุลาคม 2510 – 21 เมษายน 2518 | |
นายกรัฐมนตรี | เหงียน กาว กี่ เหงียน วัน หลก เจิ่น วัน เฮือง เจิ่น เถี่ยน เคียม เหงียน บ๊า เกิ๋น |
รองประธานาธิบดี | เหงียน กาว กี่ (2510–2514) เจิ่น วัน เฮือง (2514–2518) |
ก่อนหน้า | ตัวเอง (ในตำแหน่งประธานคณะกรรมการนำชาติ) |
ถัดไป | เจิ่น วัน เฮือง |
ประธานคณะกรรมการนำชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มิถุนายน 2508 – 21 ตุลาคม 2510 | |
นายกรัฐมนตรี | เหงียน กาว กี่ |
ก่อนหน้า | ฟาน คัก สืว |
ถัดไป | ยุบตำแหน่ง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 เมษายน ค.ศ. 1923 ฟานซาง-ท้าปจ่าม จังหวัดนิญถ่วน อินโดจีนของฝรั่งเศส |
เสียชีวิต | 29 กันยายน ค.ศ. 2001 บอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ | (78 ปี)
พรรคการเมือง | แนวร่วมสังคมประชาธิปไตยแห่งชาติ |
คู่สมรส | เหงียน ถิ มาย อัญ |
บุตร | สาม (ลูกชายสอง ลูกสาวหนึ่ง) |
วิชาชีพ | นายทหาร นักการเมือง |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | รัฐเวียดนาม เวียดนามใต้ |
สังกัด | กองทัพแห่งรัฐเวียดนาม กองทัพบกแห่งสาธารณรัฐเวียดนาม |
ประจำการ | 2486–2510 |
ยศ | พลโท (Trung Tướng) |
บังคับบัญชา | ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยทหารดาลัต (2499–2503) ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7 (2503–2504) ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 1 (2504–2505) ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 (2505–2507) ผู้บัญชาการเหล่าทัพที่ 4 (2507–2508) |
ผ่านศึก | ความพยายามรัฐประหารเวียดนามใต้ ค.ศ. 1960 รัฐประหารเวียดนามใต้ ค.ศ. 1963 |
ประวัติ
แก้เถี่ยวเกิดเมื่อ 5 เมษายน พ.ศ. 2466 ในครอบครัวที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เข้าทำงานในกองทัพรัฐบาลฝรั่งเศส ผ่านการฝึกจากสถาบันการทหารแห่งชาติ ที่เมืองเว้ และรับรัฐการทหารต่อมาในสมัยของโง ดิ่ญ เสี่ยมที่เป็นประธานาธิบดี
ต่อมา เหงียน วัน เถี่ยว เป็นหนึ่งในคณะรัฐประหารที่โค่นล้มเสี่ยมในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2506 ทำให้เขาได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีและได้เป็นประธานาธิบดีในที่สุด ในระหว่างการดำรงตำแหน่ง เหงียน วัน เถี่ยวต่อต้านการเจรจากับฝ่ายคอมมิวนิสต์หรือเวียดนามเหนือ และไม่ยอมให้ข้อตกลงระหว่างเวียดนามเหนือและสหรัฐฯที่ไม่เป็นทางการรวมเข้าในข้อตกลงสันติภาพปารีสว่าด้วยเวียดนามในเดือนมกราคม พ.ศ. 2516 อย่างไรก็ตามเขาตัดสินใจผิดพลาด ทำให้กองทัพเวียดนามใต้ถอยทัพหลังการโจมตีที่บวนมาถวตในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 ถึงจะมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยแต่ก็ทำให้เวียดนามใต้พ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงและรัฐบาลของเขาต้องล้มไป
ชีวิตช่วงต้น
แก้เถี่ยวเกิดที่ฟานซาง เป็นบุตรของเจ้าของที่ดินรายเล็ก ฐานะดี ที่กาเงินจากเกษตรกรรมและประมง เถี่ยวเป็นบุตรคนสุดท้องจากลูก ๆ ทั้ง 5 คน[3] บางรายงานระบุว่าเถี่ยวเกิดในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 แต่กลับใช้วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2466 แทน เนื่องจากวันเกิดที่สองนั้นเป็นมงคลยิ่งกว่า[4] บรรดาพี่ชายหาเงินเพื่อให้เขาได้เข้าเรียนในโรงเรียนชนชั้นนำที่ดำเนินกิจการโดยฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมเวียดนามในขณะนั้น[4] ถึงแม้ว่าในตอนนั้นยังไม่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก (เขาเปลี่ยนศาสนาหลังแต่งงาน) เถี่ยวเข้าเรียนที่เพลเลริน ซึ่งเป็นโรงเรียนคาทอลิกของฝรั่งเศสที่เว้ และกลับบ้านเกิดหลังเรียนจบ[5]
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จักรวรรดิญี่ปุ่นบุกรุกอินโดจีนของฝรั่งเศสและควบคุมบริเวณนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นเข้ายึดครองจังหวัดนิญถ่วนใน พ.ศ. 2485 แต่ปฏิกิริยาจากคนในท้องที่กลับเงียบสงัด และเถี่ยวทำงานในทุ่งข้าวกับพ่ออีก 3 ปี[3]
ชีวิตส่วนตัว
แก้ใน พ.ศ. 2494 เถี่ยวแต่งงานกับ เหงียน ถิ มาย อัญ ลูกสาวของผู้ประกอบการเวชสมุนไพรวิทยาที่ร่ำรวยจากสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เธอนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และเถี่ยวหันมานับถือศาสนานี้ใน พ.ศ. 2501 นักวิจารณ์อ้างว่าที่เขาทำเช่นนี้เพื่อเพิ่มโอกาสในการขึ้นยศทหาร เนื่องจากโง ดิ่ญ เสี่ยมสนับสนุนคนที่นับถือโรมันคาทอลิก[4][6] ทั้งคู่มีลูกชายสองคนและลูกสาวคนเดียว[7]
เครื่องอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องอิสริยาภรณ์เวียดนามใต้
แก้โดยจะเรียงลำดับเกียรติที่สูงไปหาต่ำ[8]
- เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชาติเวียดนาม ชั้นประถมาภรณ์
- เหรียญบุญญาภินิหารทหาร
- เครื่องอิสริยาภรณ์ราชการดีเด่นเวียดนาม ชั้นที่ 1 (ทหารบก)
- เครื่องอิสริยาภรณ์ราชการดีเด่นเวียดนาม ชั้นที่ 1 (ทหารอากาศ)
- เครื่องอิสริยาภรณ์ราชการดีเด่นเวียดนาม ชั้นที่ 1 (ทหารเรือ)
- เหรียญสรรเสริญราชการ (ทหารบก)
- แกลแลนทรี่ครอส ประดับใบปาล์ม (ใบปาร์ม 3 ใบ)
- เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียด ชั้นที่ 1
- เหรียญแห่งความประพฤติดี ชั้นที่ 2
- เหรียญรณรงค์เวียดนาม
- เหรียญรับราชการทหาร ชั้นที่ 2
เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- เกาหลีใต้ :
- พ.ศ. 2512 - เครื่องอิสริยาภรณ์มูกูฮวา
- ฝรั่งเศส :
- สหรัฐ :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บังคับบัญชา
อ้างอิง
แก้- ↑ Ronald B. Frankum Jr. Historical Dictionary of the War in Vietnam, 2011 p.331 "Nguyễn Văn Thiệu"
- ↑ Bruce M. Lockhart, William J. Duiker The A to Z of Vietnam, 2010, p.283. "Nguyễn Văn Thiệu"
- ↑ 3.0 3.1 Lamb, David (1 October 2001). "Nguyen Van Thieu, 78; S. Vietnam's President". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 11 October 2009.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Butterfield, Fox (1 October 2001). "Nguyen Van Thieu Is Dead at 76; Last President of South Vietnam". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 11 October 2009.
- ↑ "Nguyen Van Thieu". The Daily Telegraph. UK. 1 October 2001. สืบค้นเมื่อ 11 October 2009.
- ↑ "South Viet Nam: A Vote for the Future". Time. 15 September 1967.
- ↑ Stowe, Judy (2 October 2001). "Nguyen Van Thieu". The Independent. UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2009. สืบค้นเมื่อ 11 October 2009.
- ↑ รายชื่อเครื่องอิสริยาภรณ์เวียดนามใต้
- ไมเคิล ลีเฟอร์. พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กทม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2548. หน้า 295
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "Nguyen Van Thieu, 78; S. Vietnam's President", Los Angeles Times, 1 October 2001
- "Nguyen Van Thieu Is Dead at 76; Last President of South Vietnam", New York Times, 1 October 2001
- "Nguyen Van Thieu", The Independent (UK), 2 October 2001
- "1975: Vietnam's President Thieu resigns" BBC