เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (ระบบเศรษฐกิจ)

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (อังกฤษ: Creative economy) เป็นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลในการเพิ่มมูลค่าให้แนวคิด จอห์น ฮาวกินส์ พัฒนาแนวคิดนี้ในปี 2001 เพื่ออธิบายระบบเศรษฐกิจที่มูลค่าขึ้นอยู่กับคุณสมบัติเชิงจินตนาการใหม่ ๆ แทนที่จะใช้ทรัพยากรแบบเดิม เช่น ที่ดิน แรงงาน และทุน:[1] เมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ซึ่งจำกัดอยู่เฉพาะภาคส่วนใดภาคหนึ่ง คำนี้ใช้เพื่ออธิบายความคิดสร้างสรรค์ของทั้งเศรษฐกิจในภาพรวม

ผู้สังเกตการณ์บางคนเห็นว่า ความคิดสร้างสรรค์ เป็นคุณลักษณะเฉพาะของเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วในคริสต์ศตวรรษที่ 21 เช่นเดียวกับภาคการผลิตที่มีลักษณะเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20[2]

นิยามของเศรษฐกิจสร้างสรรค์

แก้

นิยามของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในสมัยใหม่ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง[3] เมื่อจอห์น ฮาวกินส์ ทำให้คำว่า "เศรษฐกิจสร้างสรรค์" เป็นที่นิยมในปี 2001 เขานำคำดังกล่าวไปใช้กับศิลปะ สินค้าและบริการทางวัฒนธรรม ของเล่นและเกม และการวิจัยและพัฒนา[4] รูปแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่พบได้ทั่วไปที่สุดมีองค์ประกอบร่วมกันหลายอย่าง แบบจำลองความคิดสร้างสรรค์ของฮาวกินส์นั้นครอบคลุมทุกประเภท ไม่ว่าจะแสดงออกมาในงานศิลปะหรือการสร้างสรรค์นวัตกรรม[5] รูปแบบวัฒนธรรมที่แคบกว่าจะเน้นไปที่ ศิลปะ การออกแบบ และ สื่อ และโดยปกติจะจำกัดเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีการเสนอไว้[6] คำศัพท์ดังกล่าวหมายความถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดที่ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลเพื่อมูลค่าทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าผลลัพธ์นั้นจะมีองค์ประกอบทางวัฒนธรรมหรือไม่ก็ตาม ในกรณีนี้ เศรษฐกิจสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นทุกที่ที่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคลเป็นแหล่งที่มาหลักของมูลค่า และเป็นสาเหตุหลักของธุรกรรม

มีหลายวิธีในการวัดผลเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยสามารถใช้ตัวชี้วัดเดียวกันกับระบบเศรษฐกิจอื่น ๆ ได้ เช่น ผลผลิตของผู้ผลิต ค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค การจ้างงาน และการค้า ธุรกิจยังใช้ข้อมูลการประเมินมูลค่า ห่วงโซ่มูลค่า ราคา และธุรกรรมด้วย มีตัวชี้วัดด้านทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม การวัดสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น แนวคิด การออกแบบ แบรนด์ และแบบอย่าง ถือเป็นความท้าทาย[7] นอกจากนี้ ลักษณะงานยังแตกต่างกัน จึงมีพนักงานไม่เต็มเวลาเป็นสัดส่วนสูง และมีธุรกรรมจำนวนมากที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเงิน

รัฐบาลมีความล่าช้าในการปรับสถิติระดับชาติเพื่อจับรูปแบบใหม่ของการประกอบอาชีพ การผลิต และธุรกรรมที่สร้างสรรค์ ข้อมูลระดับประเทศเกี่ยวกับการจ้างงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และการค้า จึงมักเชื่อถือได้น้อย สหรัฐและสหราชอาณาจักรกำลังดำเนินการปรับสถิติระดับประเทศเพื่อให้สามารถวัดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของตนได้แม่นยำยิ่งขึ้น[8]

ประวัติ

แก้

รากฐานของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในปัจจุบันย้อนกลับไปถึงประเด็นหลักสองประเด็น ได้แก่ ลักษณะของงาน โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและงานของตน การเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก มุ่งเน้นไปที่การขยายตัวของเมือง ข้อมูล และความรู้ และได้รับการพัฒนาโดยนักเศรษฐศาสตร์และนักเขียนด้านการจัดการ[9] ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 แนวคิดเหล่านี้ได้รับการแสดงออกว่าเป็นสังคมหลังอุตสาหกรรม สังคมสารสนเทศ สังคมแห่งความรู้ และ สังคมเครือข่าย แนวคิดเหล่านี้ให้ความสำคัญกับข้อมูลและความรู้มากกว่าการสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ๆ ของแต่ละบุคคล และแทบจะไม่มีการกล่าวถึงความคิดสร้างสรรค์ส่วนบุคคลหรือบริบททางวัฒนธรรมเลย

ประเด็นที่สอง คือเรื่องศิลปะและวัฒนธรรม ยุโรปเริ่มตระหนักถึงองค์ประกอบทางเศรษฐกิจของวัฒนธรรม และพัฒนาแนวคิดด้านอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 สิ่งเหล่านี้ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม การออกแบบ และสื่อ แนวทางนี้ได้รับการนำโดยกระทรวงวัฒนธรรม สื่อ และกีฬาของอังกฤษ ซึ่งได้กำหนดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไว้ 14 ประเภทในปี 1998 แต่ต่อมาปรับลดลงเหลือ 12 ประเภท[10]

การพัฒนาอื่น ๆ ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษ ได้แก่ มวลชนสร้างสรรค์ (Creative class) ของ ริชาร์ด ฟลอริดา และ เมืองสร้างสรรค์ ของ ชาร์ลส์ แลนดรี[11][12] ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคลที่มีบทบาทหลักในฐานะแหล่งที่มาสำคัญของเศรษฐกิจยุคใหม่ได้รับการเสนอโดยจอห์น ฮาวกินส์ ในปี 2001[13] เขาให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์มากกว่าข้อมูลหรือวัฒนธรรม โดยให้คำจำกัดความผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ว่า เป็นสินค้า บริการ หรือประสบการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ และมีลักษณะส่วนตัว แปลกใหม่ มีความหมาย เขากล่าวว่าลักษณะเฉพาะของมันนั้นมีสองประการ: เป็นผลมาจากความคิดสร้างสรรค์ และมูลค่าทางเศรษฐกิจของสิ่งเหล่านั้นขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ The Creative Economy ฉบับพิมพ์ครั้งที่สองของ Howkins ในปี 2013 แสดงให้เห็นถึงความตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์และความจำเป็นในการรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมดไว้ด้วยกันมากยิ่งขึ้น

ฮาวกินส์ยอมรับว่าเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์มีอยู่ในสังคมหลายแห่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 'ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่เรื่องใหม่ และเศรษฐศาสตร์ก็ไม่ใช่สิ่งใหม่เช่นกัน แต่สิ่งที่ใหม่คือธรรมชาติของความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสอง'[14] เขาเสนอว่าความสัมพันธ์ใหม่นี้สะท้อนถึงการศึกษาระดับสูงที่มีการเพิ่มคุณภาพขึ้น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจ้างงาน การเปิดเสรีตลาด ค่าจ้างเฉลี่ยที่สูงขึ้น เวลาว่างมากขึ้น และการขยายตัวของเมืองที่เพิ่มมากขึ้น

ในปี 2013 องค์การกองทุนเพื่อวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีนวัตกรรม. และศิลปะแห่งชาติ (เนสตา; NESTA) ของอังกฤษ วิจารณ์แนวทางที่อิงตามวัฒนธรรมของรัฐบาลอังกฤษ โดยกล่าวว่า "ตัวอย่างเช่น คำจำกัดความไม่ได้รวมถึงกลุ่มซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ (และกำลังเติบโต) ของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์"[15] และยังเสนอรูปแบบใหม่ที่เน้นความเข้มข้นเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งใช้เกณฑ์ 5 ประการในการวัดระดับความคิดสร้างสรรค์ของอาชีพเฉพาะอย่างหนึ่ง โดยไม่คำนึงว่าคนงานคนนั้นอยู่ในอุตสาหกรรมที่ได้รับการเสนอชื่อหรือไม่ เกณฑ์ดังกล่าวได้แก่ ความแปลกใหม่ ความต้านทานต่อการกลไก และไม่ซ้ำซาก

เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์มักพบได้ทั่วไปในระบบเศรษฐกิจตลาด โดยสามารถได้รับผลประโยชน์จากเสรีภาพทางปัญญาและศิลปะ ไม่มีการตรวจพิจารณา การเข้าถึงความรู้ การเข้าถึงทุนส่วนตัว และเสรีภาพในการกำหนดราคาตลาด และที่ซึ่งประชากรสามารถเลือกซื้อหรือเช่าสิ่งของได้ตามต้องการ ระบบเศรษฐกิจแบบสั่งการอาจอนุญาตให้บุคคลที่ได้รับเลือกสามารถสร้างสรรค์ได้ แต่ไม่สามารถรักษาระบบเศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์ไว้ได้ การเติบโตของเศรษฐกิจจีนตั้งแต่ปี 1980 ได้รับการกระตุ้นจากความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมตามกลไกตลาด[16] ยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น จีน และประเทศอื่น ๆ มองว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นพลังเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการจ้างงาน การเติบโตทางเศรษฐกิจ และสวัสดิการสังคม ในการประชุมองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD Forum) ประจำปี 2014 มีการประกาศว่า 'ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมทั้งหมด และกระตุ้นการเติบโตที่ครอบคลุมทุกส่วนภาค'[17][18][19]

ปัญหา

แก้

ฮอวกินส์เคยกล่าวไว้ว่า ปัญหาปัจจุบันของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้แก่[20] สุนทรียศาสตร์ การสร้างคุณลักษณะเด่นชัด แบบจำลองธุรกิจ (ห่วงโซ่คุณค่า) เครือข่าย (ระบบ, นิเวศวิทยา) วัฒนธรรม (มูลค่าในตัวและมูลค่าเชิงอุปกรณ์) การศึกษาและการเรียนรู้ ทรัพย์สินทางปัญญา (กรรมสิทธิ์และโอเพนซอร์ส) การจัดการ ดิจิทัลและออนไลน์ นโยบาย การกำหนดราคา สถิติสาธารณะ (คำจำกัดความ) ซอฟต์แวร์ วิสาหกิจเริ่มต้น ภาษี การออกแบบชุมชนเมือง และการงาน

ประเทศไทย

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. John Howkins (2001; 2nd Edition, 2013), The Creative Economy, Chap 1.
  2. OCED 2014 Forum .
  3. John Howkins, ‘Creative Ecologies’, 2009, Chap 2.
  4. United Nations Development Programme, (UNDP); United Nations Educational, Scientific, and Cultural Organization, (UNESCO) (2013). Creative economy report 2013 widening local development pathways (PDF). New York: United Nations Development Programme. pp. 19–20. ISBN 978-92-3-001211-3. สืบค้นเมื่อ 5 March 2015.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. John Howkins, 2013, op cit., Chap 1.
  6. "Creative Industries Mapping Documents 2001". GOV.UK (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-08-24.
  7. Robert S Kaplan and David Norton, ‘Strategy Maps: Converting Intangible Assets into Tangible Outcomes’, 2004; and International Accounting Standards, ‘IAS 38: Intangible Assets’, revised 12 May 2014.
  8. US Department of Commerce, ‘Preview of 2013 Comprehensive Revision of the National Income and Producer Accounts, March 2013; and Howkins, 2013, page 153.
  9. Peter Drucker, ‘The Landmarks of Tomorrow’, 1959; and Daniel Bell, ‘The Coming of Post-Industrial Society, 1973.
  10. Creative Industries Mapping, Documents 2001: https://www.gov.uk/government/publications/creative-industries-mapping-documents-2001.
  11. Richard Florida, ‘The Rise of the Creative Class: And how it’s transforming work, leisure, community and everyday life’, 2002.
  12. Charles Landry, ‘The Creative City: A toolkit for urban innovators’ 2000.
  13. John Howkins, The Creative Economy, 2001.
  14. John Howkins, The Creative Economy, 2013.
  15. Hasan Bakhshi, Ian Hargreaves and Juan Mateos-Garcia, ‘A Manifesto for the Creative Economy’, NESTA, 2013.
  16. Marina Guo, ‘Creative Transformations’, 2011.
  17. OECD 2014 Forum .
  18. ‘The 'creative economy', and the broad spectrum of creative industries that it encompasses, is increasingly important in the 21st century's global economy’ (Colette Henry and Anne de Bruin, 2011).
  19. Entrepreneurship and the Creative Economy: Process, Practice and Policy Ruth Towse and Christian Handke, ‘Creative Economy, Creative Cities’, 2013.
  20. John Howkins, ‘Current Issues in Creative Economies’, Drucker School of Management, 2014.